= รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การรับรอง
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
ให้การรับรองนายหม่า จิง จง ผู้ว่าราชการจังหวัดโจวจง มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะ จำนวน ๙ คน
ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= โครงการบรรยายธรรม
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการบรรยายธรรม เรื่อง "ศีลและธรรมสำคัญอย่างไร" โดย พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม
เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา (วันมาฆบูชา) เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เพิ่มพูนความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นการจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของไทย พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
และจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานฯ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕
วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน
ในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาประเพณี "จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕" ระหว่าง รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมทั้งได้มีการมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ ดังนี้
กีฬาประเภทเปตอง ได้แก่ รัฐสภา
กีฬาประเภทปิงปอง ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทแบดมินตัน ได้แก่ รัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทฟุตบอลชาย ได้แก่ รัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทฟุตบอลหญิง ได้แก่ รัฐสภา
รางวัลมารยาทยอดเยี่ยม ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ
รางวัลสปิริตยอดเยี่ยม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
หลังจากจบพิธีปิดการแข่งขัน ได้มีงานเลี้ยงสังสรรค์ให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
= รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานเปิดกิจกรรมรัฐสภาสัญจรจังหวัดเชียงใหม่
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร
ประจำปี ๒๕๔๗ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๗ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย กฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของ
ฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองกับฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นเวทีพบปะกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชาชน
สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำปัญหา ในพื้นที่ไปสู่การแก้ไขที่เป็นรูปธรรม โดยมีประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่
ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมในการจัดกิจกรรม สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัด
ครั้งที่ ๒ แล้วในปีนี้ ซึ่งการจัดครั้งแรกจัดขึ้น ณ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
= ส.ส. ได้รับการคุ้มครองจากการประกันสุขภาพ
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนปิดการประชุมสภาสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗ ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เรียบร้อยแล้ว โดยให้บริษัท พีซีทีบี จำกัด และบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันให้บริการด้านสุขภาพแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประสงค์จะเข้ารับบริการจาก
โรงพยาบาลตามรายชื่อที่กำหนดไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๙๙ แห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ขอให้แสดงบัตรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก่โรงพยาบาล
เนื่องจากการดำเนินการจัดทำบัตรประกัน สุขภาพยังไม่เรียบร้อย ในกรณีที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้เพียงแต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมามอบให้ สำนักการคลังและงบประมาณ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการ เบิกจ่ายเงินคืน ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมา ติดต่อได้ที่ สำนักการคลังและงบประมาณ เพื่อดำเนินการ
ส่งให้บริษัทที่รับประกันสุขภาพ เพื่อเบิกจ่าย เงินคืน และในวันที่ ๑๗-๑๘ และวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๐๐ เป็นต้นไป
จะมีการตรวจร่างกายให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประสงค์จะติดต่อกับบริษัท
ผู้รับประกันให้ติดต่อได้กับ ร.ต.อ.หญิง สายจิตต์ พลอินทร์ โทร. ๐ ๑๓๐๐ ๑๔๒๒
= คณะกรรมาธิการการศึกษา "เสนอแนะ" ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
เสนอรายงานการศึกษาและพิจารณาแนวทางสู่การปฏิบัติ เรื่อง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ว่าด้วยการจัดการศึกษา หมวด ๖ มาตรา ๔๗ กำหนดให้มีระบบ
"การประกันคุณภาพการศึกษา" เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยกรมวิชาการ หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา
เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามบริบทการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ
คณะกรรมาธิการฯ ทำการศึกษาพิจารณาอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเป็นบทสรุปผลการศึกษาเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
และคณะรัฐมนตรีรับทราบ เพื่อมอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติต่อไป โดยข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาอยู่ระหว่าง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๕ สรุปข้อเสนอแนะได้ดังนี้คือ
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรเร่งปรับปรุงระบบ หลักเณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพตามประกาศกระทรวง
ศึกษาธิการให้เป็นไปตามมาตรา ๔๗ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้มีความ เชื่อมโยงทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก
และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
๒. ควรกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการศึกษาทั้งระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างสังกัด ให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับท้องถิ่น และให้มีมาตรฐานกลาง
ซึ่งสะท้อนคุณภาพที่แท้จริง และผู้ประเมินภายนอกควรมาจากผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนชุมชน
ผู้ปกครอง
๓. กระทรวงศึกษาธิการ ควรพัฒนาระบบประกันคุณภาพที่ครอบคลุมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควรส่งเสริมหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาดำเนินการวิจัยสถาบันและมีระบบสารสนเทศ
เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา โดยมีการสนับสนุนทั้งด้านผู้เชี่ยวชาญเพื่อ ให้คำแนะนำวิธีการ การตีความ
การทำงานและงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการควรสนับสนุน ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพภายในของตนเอง
และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
๔. การประเมินคุณภาพภายในและภายนอก ไม่ควรเป็นภาระแก่สถานศึกษามากเกินไป
ไม่ควรให้ความสำคัญกับเอกสารมากเกินควร แต่ควรให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
การตรวจเยี่ยมการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการแนะนำในประเด็นสำคัญเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น
รวมทั้งนำผลการประกันคุณภาพภายในมาประกอบด้วย
= สัมมนาเรื่อง "ลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย"
กองทุนรวมเป็นช่องทางในการลงทุนของผู้ลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่นำเงินมา
รวมกันเป็นกองทุนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ เงินฝาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ธุรกิจจัดการกองทุนรวม
ของไทยมีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น และกองทุนรวมตราสารทุนที่มีมูลค่า
ขายสุทธิสูงขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจจัดการกองทุนรวม ยังเป็นหนึ่งในธุรกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากทางการให้เป็น
เครื่องมือเพื่อการออมและการระดมทุนระยะยาวในตลาดทุน ดังนั้น กองทุนรวมจึงต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเน้นปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ลงทุนมิให้มีความเสี่ยงในการลงทุน เช่น ป้องกันมิให้บริษัทจัดการดำเนินการโดยไม่สุจริต
และต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยให้มีผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัยในการลงทุน คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
จึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย" ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา
๑๓.๓๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการลงทุนกองทุนรวมแก่ประชาชนและเพื่อระดมความคิดเห็น รวมทั้งรับทราบปัญหา อุปสรรค
จากผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะการลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย เพื่อสรุป
ข้อมูลเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้รับทราบต่อไป โดยได้เชิญนายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ดร.พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการ จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็ม เอฟ ซี จำกัด (มหาชน) นางดัยนา บุญนาค
กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ร่วมเป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
= รับสมัครข้าราชการรัฐสภา
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงนามในประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เรื่อง การรับสมัครข้าราชการรัฐสภาสามัญ ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
๑. เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ ๓
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ทาง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มีความรู้
ด้านภาษาญี่ปุ่น หรือเกาหลี หรือสเปน หรือเยอรมัน
หรืออาหรับเป็นอย่างดี
๒. เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ กฎหมายระหว่าง
ประเทศ เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ และ
ภาษาศาสตร์ มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
๓. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารโครงการและนโยบาย การบริหาร
องค์การและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
๔. นักพัฒนาบุคลากร ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโททางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึกษา นิเทศศาสตร์
หรือการประชาสัมพันธ์
ผู้สนใจขอและยื่นใบสมัครได้ระหว่างวันที่ ๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา
เว้นวันหยุดราชการ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มงานบริหารงานบุคคล สำนักบริหารงานกลาง
อาคารทิปโก้ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๑๖ ถนนพระรามที่ ๖ พญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐
ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ หรือเว็บไซต์ของรัฐสภาที่ www.parliament.go.th
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยกับการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ….
และร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบเรื่อง นายเสริมศักดิ์ การุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ แล้ว ประธานได้ขอปรึกษาที่ประชุมถึงเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประธาน
คณะกรรมาธิการร่วมกันในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ว่า ขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อนำไปพิจารณาทบทวนใหม่ โดยการขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมตามข้อบังคับการประชุมก่อน
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับที่ พ.ศ. ….
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายวราเทพ รัตนากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ร่างขึ้น
มาเพื่อปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้
บังคับมาเป็นเวลานานและเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้วเป็นจำนวนเงินต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุง
อัตราโทษเสียใหม่ให้เหมาะกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ในคราวเดียวกันด้วย หลังจากนั้นได้มีการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา
และเมื่อการพิจารณาร่างเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ๒๔๑ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี และ ไม่ลงคะแนน ๓ เสียง ให้ผ่านร่างพระราช
บัญญัติศุลกากร ฉบับที่ พ.ศ. .… เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
ที่ตั้งไว้ว่าควรปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวมีความเป็นเอกภาพและมีบทบัญญัติที่ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน ให้แก่คณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญัตติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายกันอย่างกว้างขวางใน
เรื่องคำนิยามของคำว่า "ผู้ประเมิน" รวมทั้งเรื่องสิทธิเรียกร้องในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และเรื่องการประเมินมูลค่าหรือมูลค่ารวม
ของเรือและทรัพย์สิน ซึ่งหลังจาก ที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตราเสร็จเรียบร้อยแล้วได้มีมติด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ ๒๗๙ เสียง
ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความ เสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจาณาเรื่องด่วน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงว่า โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรมโดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้มีการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และ เป็นธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อจากนั้น นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้ เป็นการกำหนดให้การงดการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี และเป็นการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และเพื่อเป็นการป้องกันการประวิงเวลาการบังคับคดี และเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เรื่องความหมายของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี รวมทั้งเรื่องการร้องคัดค้านต่อศาลได้ในกรณีที่ว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด และเรื่องการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรรมแก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หมายถึง บุคคล ภายนอกผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๐ สำหรับเรื่องการร้อง คัดค้านการขายทอดตลาดนั้น ในปัจจุบันการขายทอดตลาดได้รับการพัฒนามากขึ้น ทำให้ยากแก่การคบคิดกันฉ้อฉลในการเข้าสู้ราคาจึงเป็นผลให้การร้องคัดค้านโดยอ้างเหตุดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผลเท่าใด ส่วนเรื่องการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกนั้น ได้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติแล้ว และยังทำให้ผู้ที่มาซื้อ ทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดว่าจะได้รับทรัพย์สินที่ซื้อรวดเร็วขึ้นอีกด้วย หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๒๖๗ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และคณะเป็นผู้เสนอ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากปัจจุบันศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญาทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งต้องอาศัย ผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่น ดังนั้น เพื่อให้ศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษสามารถพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้ รวมทั้งมีวิธีพิจารณาพิเศษที่เหมาะสมกับลักษณะของคดีล้มละลาย อันจะเป็นผลให้การดำเนินคดี ล้มละลายมีความถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จากนั้น นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้แถลงว่า แต่จำเลยในคดีล้มละลายซึ่งกระทำผิดคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วยต้องนำจำเลยแยกไปขึ้นศาลอาญาในเขตพื้นที่ที่กระทำความผิด เช่นหากกระทำผิดที่กรุงเทพมหานคร ก็จะต้องนำจำเลยไปขึ้นศาลอาญาหรือศาลอาญาธนบุรี ทำให้จำเลยต้องมีภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขึ้นศาล ดังนั้นถ้าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ ก็จะเป็นการสะดวกแก่จำเลยในคดีล้มละลายที่ทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วย สามารถต่อสู้คดีอาญาที่ศาลล้มละลายได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการก็คือ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจำเลยและคู่ความเป็นอย่างมาก จึงได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการจัดตั้งศาลล้มละลายภูมิภาค และศาลล้มละลายจังหวัด และกรณีการ ยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย และเรื่องความแตกต่างของการยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลายกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไป ซึ่งนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า การจะจัดตั้งศาลล้มละลายเพิ่มหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจำเลยมีความผิดและลงโทษปรับไม่เกินกว่า ๑,๐๐๐ บาท นั้น เนื่องจากเกรงว่าหากยอมให้จำเลยอุทธรณ์ได้จะไม่คุ้มค่ากับการที่จะต้องจ้างทนายความมาดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้ ส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เป็นการอุทธรณ์ไปยังศาลฏีกา ต่างกันกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไปที่กำหนดให้การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ ๒๘๕ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. พิจารณากรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ป.วิ อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ โดยมี นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวของวุฒิสภาในบางมาตราและเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้ลงมติ เห็นชอบ ๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒๘๖ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ๓ เสียง ถือว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และของวุฒิสภา ๑๒ คน
ก่อนปิดการประชุม ประธานได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะเวลา คุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ส่วนรายละเอียดและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ติดต่อได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
ให้การรับรองนายหม่า จิง จง ผู้ว่าราชการจังหวัดโจวจง มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะ จำนวน ๙ คน
ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= โครงการบรรยายธรรม
วันอังคารที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการบรรยายธรรม เรื่อง "ศีลและธรรมสำคัญอย่างไร" โดย พระพิพิธธรรมสุนทร วัดสุทัศนเทพวราราม
เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา (วันมาฆบูชา) เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เพิ่มพูนความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นการจรรโลงและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของไทย พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
และจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานฯ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕
วันพฤหัสบดีที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน
ในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาประเพณี "จตุสัมพันธ์สามัคคี ครั้งที่ ๕" ระหว่าง รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พร้อมทั้งได้มีการมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ ดังนี้
กีฬาประเภทเปตอง ได้แก่ รัฐสภา
กีฬาประเภทปิงปอง ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทแบดมินตัน ได้แก่ รัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทฟุตบอลชาย ได้แก่ รัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กีฬาประเภทฟุตบอลหญิง ได้แก่ รัฐสภา
รางวัลมารยาทยอดเยี่ยม ได้แก่ สำนักราชเลขาธิการ
รางวัลสปิริตยอดเยี่ยม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
หลังจากจบพิธีปิดการแข่งขัน ได้มีงานเลี้ยงสังสรรค์ให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
= รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานเปิดกิจกรรมรัฐสภาสัญจรจังหวัดเชียงใหม่
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร
ประจำปี ๒๕๔๗ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๗ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย กฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของ
ฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองกับฝ่ายนิติบัญญัติ และเป็นเวทีพบปะกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชาชน
สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำปัญหา ในพื้นที่ไปสู่การแก้ไขที่เป็นรูปธรรม โดยมีประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่
ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมในการจัดกิจกรรม สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัด
ครั้งที่ ๒ แล้วในปีนี้ ซึ่งการจัดครั้งแรกจัดขึ้น ณ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
= ส.ส. ได้รับการคุ้มครองจากการประกันสุขภาพ
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนปิดการประชุมสภาสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗ ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เรียบร้อยแล้ว โดยให้บริษัท พีซีทีบี จำกัด และบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันให้บริการด้านสุขภาพแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประสงค์จะเข้ารับบริการจาก
โรงพยาบาลตามรายชื่อที่กำหนดไว้ จำนวนทั้งสิ้น ๙๙ แห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ขอให้แสดงบัตรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก่โรงพยาบาล
เนื่องจากการดำเนินการจัดทำบัตรประกัน สุขภาพยังไม่เรียบร้อย ในกรณีที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้เพียงแต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมามอบให้ สำนักการคลังและงบประมาณ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการ เบิกจ่ายเงินคืน ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดที่ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมา ติดต่อได้ที่ สำนักการคลังและงบประมาณ เพื่อดำเนินการ
ส่งให้บริษัทที่รับประกันสุขภาพ เพื่อเบิกจ่าย เงินคืน และในวันที่ ๑๗-๑๘ และวันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๐๐ เป็นต้นไป
จะมีการตรวจร่างกายให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประสงค์จะติดต่อกับบริษัท
ผู้รับประกันให้ติดต่อได้กับ ร.ต.อ.หญิง สายจิตต์ พลอินทร์ โทร. ๐ ๑๓๐๐ ๑๔๒๒
= คณะกรรมาธิการการศึกษา "เสนอแนะ" ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
เสนอรายงานการศึกษาและพิจารณาแนวทางสู่การปฏิบัติ เรื่อง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ว่าด้วยการจัดการศึกษา หมวด ๖ มาตรา ๔๗ กำหนดให้มีระบบ
"การประกันคุณภาพการศึกษา" เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยกรมวิชาการ หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา
เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามบริบทการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ
คณะกรรมาธิการฯ ทำการศึกษาพิจารณาอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเป็นบทสรุปผลการศึกษาเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
และคณะรัฐมนตรีรับทราบ เพื่อมอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติต่อไป โดยข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาอยู่ระหว่าง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๕ สรุปข้อเสนอแนะได้ดังนี้คือ
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรเร่งปรับปรุงระบบ หลักเณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพตามประกาศกระทรวง
ศึกษาธิการให้เป็นไปตามมาตรา ๔๗ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้มีความ เชื่อมโยงทั้งระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอก
และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา
๒. ควรกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของการศึกษาทั้งระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่างสังกัด ให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับท้องถิ่น และให้มีมาตรฐานกลาง
ซึ่งสะท้อนคุณภาพที่แท้จริง และผู้ประเมินภายนอกควรมาจากผู้แทนภาคประชาชน ตัวแทนชุมชน
ผู้ปกครอง
๓. กระทรวงศึกษาธิการ ควรพัฒนาระบบประกันคุณภาพที่ครอบคลุมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควรส่งเสริมหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาดำเนินการวิจัยสถาบันและมีระบบสารสนเทศ
เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา โดยมีการสนับสนุนทั้งด้านผู้เชี่ยวชาญเพื่อ ให้คำแนะนำวิธีการ การตีความ
การทำงานและงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการควรสนับสนุน ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพภายในของตนเอง
และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
๔. การประเมินคุณภาพภายในและภายนอก ไม่ควรเป็นภาระแก่สถานศึกษามากเกินไป
ไม่ควรให้ความสำคัญกับเอกสารมากเกินควร แต่ควรให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
การตรวจเยี่ยมการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการแนะนำในประเด็นสำคัญเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น
รวมทั้งนำผลการประกันคุณภาพภายในมาประกอบด้วย
= สัมมนาเรื่อง "ลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย"
กองทุนรวมเป็นช่องทางในการลงทุนของผู้ลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่นำเงินมา
รวมกันเป็นกองทุนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ เงินฝาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ธุรกิจจัดการกองทุนรวม
ของไทยมีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น และกองทุนรวมตราสารทุนที่มีมูลค่า
ขายสุทธิสูงขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจจัดการกองทุนรวม ยังเป็นหนึ่งในธุรกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากทางการให้เป็น
เครื่องมือเพื่อการออมและการระดมทุนระยะยาวในตลาดทุน ดังนั้น กองทุนรวมจึงต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเน้นปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้ลงทุนมิให้มีความเสี่ยงในการลงทุน เช่น ป้องกันมิให้บริษัทจัดการดำเนินการโดยไม่สุจริต
และต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยให้มีผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัยในการลงทุน คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
จึงได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย" ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา
๑๓.๓๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการลงทุนกองทุนรวมแก่ประชาชนและเพื่อระดมความคิดเห็น รวมทั้งรับทราบปัญหา อุปสรรค
จากผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะการลงทุนกองทุนรวมอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดและปลอดภัย เพื่อสรุป
ข้อมูลเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้รับทราบต่อไป โดยได้เชิญนายรพี สุจริตกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายมาริษ ท่าราบ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ดร.พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการ จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็ม เอฟ ซี จำกัด (มหาชน) นางดัยนา บุญนาค
กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ร่วมเป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
= รับสมัครข้าราชการรัฐสภา
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงนามในประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เรื่อง การรับสมัครข้าราชการรัฐสภาสามัญ ในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
๑. เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ ๓
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ทาง
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มีความรู้
ด้านภาษาญี่ปุ่น หรือเกาหลี หรือสเปน หรือเยอรมัน
หรืออาหรับเป็นอย่างดี
๒. เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ กฎหมายระหว่าง
ประเทศ เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ และ
ภาษาศาสตร์ มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
๓. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารโครงการและนโยบาย การบริหาร
องค์การและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
๔. นักพัฒนาบุคลากร ๔
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ได้รับปริญญาโททางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึกษา นิเทศศาสตร์
หรือการประชาสัมพันธ์
ผู้สนใจขอและยื่นใบสมัครได้ระหว่างวันที่ ๑-๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา
เว้นวันหยุดราชการ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มงานบริหารงานบุคคล สำนักบริหารงานกลาง
อาคารทิปโก้ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๑๖ ถนนพระรามที่ ๖ พญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐
ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ หรือเว็บไซต์ของรัฐสภาที่ www.parliament.go.th
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. ….
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยกับการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ….
และร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบเรื่อง นายเสริมศักดิ์ การุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ แล้ว ประธานได้ขอปรึกษาที่ประชุมถึงเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประธาน
คณะกรรมาธิการร่วมกันในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ว่า ขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อนำไปพิจารณาทบทวนใหม่ โดยการขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมตามข้อบังคับการประชุมก่อน
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับที่ พ.ศ. ….
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายวราเทพ รัตนากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ร่างขึ้น
มาเพื่อปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้
บังคับมาเป็นเวลานานและเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้วเป็นจำนวนเงินต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุง
อัตราโทษเสียใหม่ให้เหมาะกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องอื่น ๆ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ในคราวเดียวกันด้วย หลังจากนั้นได้มีการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา
และเมื่อการพิจารณาร่างเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ๒๔๑ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี และ ไม่ลงคะแนน ๓ เสียง ให้ผ่านร่างพระราช
บัญญัติศุลกากร ฉบับที่ พ.ศ. .… เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
ที่ตั้งไว้ว่าควรปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวมีความเป็นเอกภาพและมีบทบัญญัติที่ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน ให้แก่คณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญัตติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายกันอย่างกว้างขวางใน
เรื่องคำนิยามของคำว่า "ผู้ประเมิน" รวมทั้งเรื่องสิทธิเรียกร้องในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และเรื่องการประเมินมูลค่าหรือมูลค่ารวม
ของเรือและทรัพย์สิน ซึ่งหลังจาก ที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตราเสร็จเรียบร้อยแล้วได้มีมติด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ ๒๗๙ เสียง
ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความ เสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจาณาเรื่องด่วน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงว่า โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรมโดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้มีการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และ เป็นธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อจากนั้น นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้ เป็นการกำหนดให้การงดการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี และเป็นการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และเพื่อเป็นการป้องกันการประวิงเวลาการบังคับคดี และเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เรื่องความหมายของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี รวมทั้งเรื่องการร้องคัดค้านต่อศาลได้ในกรณีที่ว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด และเรื่องการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรรมแก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หมายถึง บุคคล ภายนอกผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๐ สำหรับเรื่องการร้อง คัดค้านการขายทอดตลาดนั้น ในปัจจุบันการขายทอดตลาดได้รับการพัฒนามากขึ้น ทำให้ยากแก่การคบคิดกันฉ้อฉลในการเข้าสู้ราคาจึงเป็นผลให้การร้องคัดค้านโดยอ้างเหตุดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผลเท่าใด ส่วนเรื่องการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกนั้น ได้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติแล้ว และยังทำให้ผู้ที่มาซื้อ ทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดว่าจะได้รับทรัพย์สินที่ซื้อรวดเร็วขึ้นอีกด้วย หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๒๖๗ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และคณะเป็นผู้เสนอ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากปัจจุบันศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญาทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งต้องอาศัย ผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่น ดังนั้น เพื่อให้ศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษสามารถพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้ รวมทั้งมีวิธีพิจารณาพิเศษที่เหมาะสมกับลักษณะของคดีล้มละลาย อันจะเป็นผลให้การดำเนินคดี ล้มละลายมีความถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จากนั้น นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้แถลงว่า แต่จำเลยในคดีล้มละลายซึ่งกระทำผิดคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วยต้องนำจำเลยแยกไปขึ้นศาลอาญาในเขตพื้นที่ที่กระทำความผิด เช่นหากกระทำผิดที่กรุงเทพมหานคร ก็จะต้องนำจำเลยไปขึ้นศาลอาญาหรือศาลอาญาธนบุรี ทำให้จำเลยต้องมีภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขึ้นศาล ดังนั้นถ้าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ ก็จะเป็นการสะดวกแก่จำเลยในคดีล้มละลายที่ทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วย สามารถต่อสู้คดีอาญาที่ศาลล้มละลายได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการก็คือ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจำเลยและคู่ความเป็นอย่างมาก จึงได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการจัดตั้งศาลล้มละลายภูมิภาค และศาลล้มละลายจังหวัด และกรณีการ ยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย และเรื่องความแตกต่างของการยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลายกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไป ซึ่งนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า การจะจัดตั้งศาลล้มละลายเพิ่มหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจำเลยมีความผิดและลงโทษปรับไม่เกินกว่า ๑,๐๐๐ บาท นั้น เนื่องจากเกรงว่าหากยอมให้จำเลยอุทธรณ์ได้จะไม่คุ้มค่ากับการที่จะต้องจ้างทนายความมาดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้ ส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เป็นการอุทธรณ์ไปยังศาลฏีกา ต่างกันกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไปที่กำหนดให้การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ ๒๘๕ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. พิจารณากรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ป.วิ อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ โดยมี นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวของวุฒิสภาในบางมาตราและเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้ลงมติ เห็นชอบ ๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒๘๖ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ๓ เสียง ถือว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และของวุฒิสภา ๑๒ คน
ก่อนปิดการประชุม ประธานได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะเวลา คุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ส่วนรายละเอียดและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ติดต่อได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------