บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต
สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายเสริมศักดิ์ การุญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓, ๔.๔
ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๗ และ ๑๖
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ประธาน สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
เรื่อง ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ได้มีหนังสือขอถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณา
ทบทวนใหม่ ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๓
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตราย
ในการเดินเรือ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไกรสร บารมีอวยชัย ๒. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
๓. นางศศิวิมล ธนศานติ ๔. นางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายสุรชัย พันธุมาศ ๑๒. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ
๑๓. นายพลเทพ ปวนยา ๑๔. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๑๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๖. นายบุญเติม จันทะวัฒน์
๑๗. นายประสพ บุษราคัม ๑๘. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์
๑๙. นายขจิตร ชัยนิคม ๒๐. นายอรรถพล มามะ
๒๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒๒. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๒๓. นายสนั่น ทองปาน ๒๔. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๖. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๗. นายนคร มาฉิม ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นายสุวโรช พะลัง
๓๑. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๓๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี
ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ภายหลังสมาชิกฯ
อภิปรายและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไกรสร บารมีอวยชัย ๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๓. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ๘. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายธนนน วรรณวิมลรักษ์
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. นายเรวัต แสงวิจิตร ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นางลาวัณย์ ตันติกุลพงศ์ ๑๖. นางสาวเพชรี ศิริวัฒโก
๑๗. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๑๘. นายเทิดภูมิ ใจดี
๑๙. นายสุวิทย์ บูรณ์เจริญ ๒๐. นายเจริญ จรรย์โกมล
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ
๒๓. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ ๒๔. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๒๕. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๖. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๒๗. นายวินัย เสนเนียม ๒๘. นายพิชัย นิลทองคำ
๒๙. นายพร้อม พรหมพันธุ์ ๓๐. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๓๑. นายปัญญา จีนาคำ ๓๒. นายชัย ชิดชอบ
๓๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้ง กรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒. นายสามารถ แก้วมีชัย
๓. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๔. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๕. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๖. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๗. นายจำรัส เวียงสงค์ ๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๐. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๑๑. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๑๒. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
**********************************
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
ได้ลงมติขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. นายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณา ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต
สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายเสริมศักดิ์ การุญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากการเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๓, ๔.๔
ระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕, ๑๗ และ ๑๖
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ประธาน สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษา
เรื่อง ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ได้มีหนังสือขอถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณา
ทบทวนใหม่ ซึ่งที่ประชุมยินยอมให้ถอนได้ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๓
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตราย
ในการเดินเรือ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไกรสร บารมีอวยชัย ๒. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
๓. นางศศิวิมล ธนศานติ ๔. นางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายสุรชัย พันธุมาศ ๑๒. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ
๑๓. นายพลเทพ ปวนยา ๑๔. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
๑๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๖. นายบุญเติม จันทะวัฒน์
๑๗. นายประสพ บุษราคัม ๑๘. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์
๑๙. นายขจิตร ชัยนิคม ๒๐. นายอรรถพล มามะ
๒๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒๒. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๒๓. นายสนั่น ทองปาน ๒๔. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ๒๖. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๗. นายนคร มาฉิม ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นายสุวโรช พะลัง
๓๑. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๓๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดี
ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ภายหลังสมาชิกฯ
อภิปรายและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงจนได้เวลา พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๒ ฉบับ พร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายไกรสร บารมีอวยชัย ๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๓. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๖. นายวิชาญ มีนชัยนันท์
๗. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ๘. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายธนนน วรรณวิมลรักษ์
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. นายเรวัต แสงวิจิตร ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นางลาวัณย์ ตันติกุลพงศ์ ๑๖. นางสาวเพชรี ศิริวัฒโก
๑๗. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ ๑๘. นายเทิดภูมิ ใจดี
๑๙. นายสุวิทย์ บูรณ์เจริญ ๒๐. นายเจริญ จรรย์โกมล
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ
๒๓. นายอานนท์ สิงห์สมบุญ ๒๔. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๒๕. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๖. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๒๗. นายวินัย เสนเนียม ๒๘. นายพิชัย นิลทองคำ
๒๙. นายพร้อม พรหมพันธุ์ ๓๐. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๓๑. นายปัญญา จีนาคำ ๓๒. นายชัย ชิดชอบ
๓๓. นายเกษม สรศักดิ์เกษม ๓๔. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
๓๕. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้ง กรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒. นายสามารถ แก้วมีชัย
๓. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๔. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๕. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ ๖. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๗. นายจำรัส เวียงสงค์ ๘. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๐. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๑๑. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๑๒. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ (๓) จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
**********************************