สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์มะพร้าวบริเวณภาคใต้ตอนบน แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พบว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกมะพร้าวมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานและราคาปุ๋ยสูงขึ้น ขณะที่ราคามะพร้าวผลและเนื้อมะพร้าวแห้งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงเพียงเล็กน้อยตามภาวะตลาดเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มกับ การลงทุน ประกอบกับนโยบายการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของรัฐ ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมะพร้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรบางรายปลูกปาล์มน้ำมันแซมในสวนมะพร้าวระหว่างรอการโค่น สำหรับมะพร้าวต้นแก่ที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เกษตรกรจะโค่นขายให้กับพ่อค้าในราคาประมาณต้นละ 300 - 400 บาท ไปใช้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างบ้าน แล้วนำพื้นที่มาปลูกปาล์มน้ำมันแทน ส่งผลให้ในอนาคตราคามะพร้าวผลและเนื้อมะพร้าวแห้งอาจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามราคาที่เพิ่มสูงขึ้นยังไม่สามารถจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมะพร้าวเพิ่มขึ้นไปจากเดิม เนื่องจากเกษตรกรอาจปลูกพืชที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
อย่างไรก็ตามราคาที่เพิ่มสูงขึ้นยังไม่สามารถจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมะพร้าวเพิ่มขึ้นไปจากเดิม เนื่องจากเกษตรกรอาจปลูกพืชที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-