กรุงเทพ--9 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเชียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจัดขึ้นที่อ่าวฮาลอง ประเทศเวียดนาม ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องแผนปฎิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเชียน ซึ่งจุดยืนของประเทศไทยเห็นว่าแนวทางการปฎิบัติการทั้งหลายประเทศไทยรับได้หมด แต่ทั้งนี้ ในอาเซียนยังมีความแตกต่างกันอยู่ การที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือต่างๆ จะต้องเป็นความร่วมมือที่ทุกประเทศมีความพร้อมและมีความสบายใจร่วมกัน ประเทศไทยจึงเห็นว่าการดำเนินการเรื่องต่างๆ ควรเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนเป้าหมายอาจจะกำหนดไว้ในระยะยาวได้ แต่ควรแยกกิจกรรมต่างๆ ในแผนปฎิบัติการนี้เป็น 2 ประการ คือ 1. ควรให้เจ้าหน้าที่อาวุโสไปหารือกันว่ามีเรื่องใดที่สามารถทำได้และทุกฝ่ายเห็นด้วย 2. กิจกรรมหรือเป้าหมายต่างๆ ที่มีความอ่อนไหวหรือที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันก็น่าจะไปตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ทิศทางที่ต้องการว่าจะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร เพราะหากยกเป้าหมายสุดท้ายมาหารือกัน แต่ละประเทศอาจจะยังไม่มีความพร้อม เช่น เรื่องกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียน คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน การปักปันเขตแดน การสร้างกลไก โครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายของแต่ละประเทศให้โปร่งใส และระบบธรรมาภิบาลต่างๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าในเรื่องความร่วมมือด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเชียน ไทยเห็นว่าควรจะเน้นในเรื่องการสาธารณสุข เพราะช่วงที่ผ่านมามีโรคระบาดต่างๆ อาทิ ซาร์ส ไข้หวัดนก และเอดส์ เกิดขึ้น ซึ่งควรจะมีอยู่ในแผนปฎิบัติการว่าอาเชียนจะต้องร่วมมือกันอย่างไรบ้าง ไทยเห็นว่าควรจะเน้นเรื่องการพัฒนาสังคมที่เกี่ยวกับสตรีและเด็ก ความร่วมมือกับการป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ ค้าเด็กและสตรี ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยอาเซียนที่จัดตั้งมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อให้คนแต่ละประเทศรู้จักภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง ส่วนหลักการที่จะให้อาเซียนเป็นสังคมของการเอื้ออาทร ซึ่งมีหลักการอยู่ 5 ประการนั้นไทยเห็นด้วยทั้งหมดตามแผนปฎิบัติการ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเรื่องการประชุมประจำปีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การประชุมมีความกระชับมากขึ้น ใช้เวลาในช่วงไม่เป็นทางการให้นานขึ้น รวมทั้งพิจารณาแนวทางที่จะทำให้การประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจามีเวลามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะมีการประชุมในช่วงการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ส่วนการประชุมร่วมกับประเทศจีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น จะมีการประชุมในช่วงการประชุมสุดยอดของผู้นำอาเซียนปลายปี
สำหรับเรื่องสมาชิกภาพเอเชียยุโรปหรืออาเซ็ม ประเทศไทยยังมีจุดยืนเดิมที่ว่าอาเซ็มเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างเอเชียกับยุโรป แต่มิได้เป็นลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ถือว่าเป็นกรอบความร่วมมือเป็นรายประเทศ การที่สหภาพยุโรปขยายสมาชิกภาพอีกหลายประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป สำหรับในส่วนฝ่ายเอเชียเรายังยืนยันว่า พม่า ลาว กัมพูชาต้องเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็มพร้อมกันส่วนเรื่องเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงอาเซียน (เออาร์เอฟ) นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าประเทศไทยต้องการให้ประธานอาเซียนหารือกับประเทศสมาชิกเออาร์เอฟที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียนว่าควรจะยกเลิกการระงับเรื่องการไม่รับสมัครสมาชิกใหม่หรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็จะมาพิจารณาว่าประเทศใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกนั้นมีประเทศใดบ้าง แล้วพิจารณาเป็นรายประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเชียนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจัดขึ้นที่อ่าวฮาลอง ประเทศเวียดนาม ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องแผนปฎิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเชียน ซึ่งจุดยืนของประเทศไทยเห็นว่าแนวทางการปฎิบัติการทั้งหลายประเทศไทยรับได้หมด แต่ทั้งนี้ ในอาเซียนยังมีความแตกต่างกันอยู่ การที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือต่างๆ จะต้องเป็นความร่วมมือที่ทุกประเทศมีความพร้อมและมีความสบายใจร่วมกัน ประเทศไทยจึงเห็นว่าการดำเนินการเรื่องต่างๆ ควรเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนเป้าหมายอาจจะกำหนดไว้ในระยะยาวได้ แต่ควรแยกกิจกรรมต่างๆ ในแผนปฎิบัติการนี้เป็น 2 ประการ คือ 1. ควรให้เจ้าหน้าที่อาวุโสไปหารือกันว่ามีเรื่องใดที่สามารถทำได้และทุกฝ่ายเห็นด้วย 2. กิจกรรมหรือเป้าหมายต่างๆ ที่มีความอ่อนไหวหรือที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันก็น่าจะไปตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ทิศทางที่ต้องการว่าจะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร เพราะหากยกเป้าหมายสุดท้ายมาหารือกัน แต่ละประเทศอาจจะยังไม่มีความพร้อม เช่น เรื่องกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียน คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน การปักปันเขตแดน การสร้างกลไก โครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายของแต่ละประเทศให้โปร่งใส และระบบธรรมาภิบาลต่างๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าในเรื่องความร่วมมือด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเชียน ไทยเห็นว่าควรจะเน้นในเรื่องการสาธารณสุข เพราะช่วงที่ผ่านมามีโรคระบาดต่างๆ อาทิ ซาร์ส ไข้หวัดนก และเอดส์ เกิดขึ้น ซึ่งควรจะมีอยู่ในแผนปฎิบัติการว่าอาเชียนจะต้องร่วมมือกันอย่างไรบ้าง ไทยเห็นว่าควรจะเน้นเรื่องการพัฒนาสังคมที่เกี่ยวกับสตรีและเด็ก ความร่วมมือกับการป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ ค้าเด็กและสตรี ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยอาเซียนที่จัดตั้งมีความเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อให้คนแต่ละประเทศรู้จักภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง ส่วนหลักการที่จะให้อาเซียนเป็นสังคมของการเอื้ออาทร ซึ่งมีหลักการอยู่ 5 ประการนั้นไทยเห็นด้วยทั้งหมดตามแผนปฎิบัติการ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเรื่องการประชุมประจำปีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การประชุมมีความกระชับมากขึ้น ใช้เวลาในช่วงไม่เป็นทางการให้นานขึ้น รวมทั้งพิจารณาแนวทางที่จะทำให้การประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจามีเวลามากขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะมีการประชุมในช่วงการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ส่วนการประชุมร่วมกับประเทศจีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น จะมีการประชุมในช่วงการประชุมสุดยอดของผู้นำอาเซียนปลายปี
สำหรับเรื่องสมาชิกภาพเอเชียยุโรปหรืออาเซ็ม ประเทศไทยยังมีจุดยืนเดิมที่ว่าอาเซ็มเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างเอเชียกับยุโรป แต่มิได้เป็นลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ถือว่าเป็นกรอบความร่วมมือเป็นรายประเทศ การที่สหภาพยุโรปขยายสมาชิกภาพอีกหลายประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป สำหรับในส่วนฝ่ายเอเชียเรายังยืนยันว่า พม่า ลาว กัมพูชาต้องเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็มพร้อมกันส่วนเรื่องเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงอาเซียน (เออาร์เอฟ) นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าประเทศไทยต้องการให้ประธานอาเซียนหารือกับประเทศสมาชิกเออาร์เอฟที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียนว่าควรจะยกเลิกการระงับเรื่องการไม่รับสมัครสมาชิกใหม่หรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็จะมาพิจารณาว่าประเทศใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกนั้นมีประเทศใดบ้าง แล้วพิจารณาเป็นรายประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-