วันนี้ (8 มีนาคม 2547) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการควบรวมธนาคารทหารไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนหนึ่งว่า กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการในเรื่องการเพิ่มความแข็งแกร่ง และอำนาจการแข่งขันของสถาบันการเงินมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจนกระทั่งกระทรวงได้นำเสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2547 ซึ่งแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ คือ การเสริมสร้างระบบการเงินของประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพที่สามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ
หลังจากนั้น ในวันที่ 20 มกราคม 2547 กระทรวงการคลังได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอนุมัติในหลักการของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 เพื่อเปิดโอกาสให้บรรษัทฯ สามารถทำการควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบรรษัทฯ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินด้วย
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 หลังจากธนาคารทหารไทยสามารถดำเนินการเพิ่มทุนได้สำเร็จ ได้มีธนาคารต่างประเทศบางแห่งได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) กับธนาคารทหารไทย และในนั้นก็มีธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ได้แสดงเจตจำนงอย่างเป็นรูปธรรมที่จะนำธนาคารดีบีเอสไทยทนุ เข้ามาควบรวมกับธนาคารทหารไทย
และหลังจากมีการอนุมัติในหลักการของพระรากฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2502 กระทรวงการคลังก็ได้มอบนโยบายให้นำบรรษัทฯ เข้าไปควบรวมกับธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุด้วย ทั้งนี้เพราะ กระทรวงการคลังได้วิเคราะห์แล้วและเล็งเห็นว่า การควบรวมของ 3 สถาบันการเงินดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Synergy) แก่ทุกฝ่าย กล่าวคือ ธนาคารทหารไทยนั้นมีการเพิ่มทุนที่เพียงพอมีการลด NPL ลงไปสู่ระดับที่น่าพอใจ มีอัตราส่วนการเงินที่เทียบได้กับธนาคารระดับแนวหน้าของประเทศ และมีเครือข่ายของสาขาทั่วประเทศ
สำหรับธนาคาร ดีบีเอสไทยทนุ นั้น แม้เป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีธนาคารDBS ของสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัยสำคัญของธนาคารหลังควบรวม ซึ่งธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ได้ตกลงในหลักการว่าจะเป็นพันธมิตรอย่างแน่วแน่ โดยจะให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมธนาคารหลังการควบรวมให้แข็งแกร่ง อาทิ ด้านธุรกรรมต่างประเทศด้าน Consumer Banking ด้านระบบการควบคุมความเสี่ยง และด้าน IT เป็นต้น
ส่วนบรรษัทฯ นั้น ก็จะเข้ามาเสริมด้านสินเชื่ออุตสาหกรรม ด้าน SME และด้านงานวิเคราะห์วิจัย เป็นต้น ดังนั้น การนำ 3 สถาบันการเงินมาควบรวมกันในครั้งนี้ จึงนับว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดียิ่ง
ธนาคารหลังการควบรวม จะยังคงมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 31.2 และจะมีธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นพันธมิตรถือหุ้นเป็นอันดับสองร้อยละ 16.1 และถ้าคิดสัดส่วนของหุ้นชาวต่างประเทศ ซึ่งจะมีรายอื่น ที่เคยถือหุ้นในบรรษัทฯ ด้วย จะถือหุ้นรวมกันทั้งสิ้นร้อยละ 20.9 และฝ่ายไทยจะถือหุ้นทั้งสิ้นร้อยละ 79.1
ธนาคารที่เกิดจากการควบรวมจะมีสินทรัพย์ทั้งสิ้นประมาณ 677,000 ล้านบาท(ประมาณ US$ 17 พันล้าน) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 5 ของประเทศไทย จะมีลูกค้าประมาณ 4 ล้านราย จะมีสาขาทั่วประเทศ 462 สาขา จะมียอดสินเชื่อให้กู้ประมาณ 533,000 ล้านบาทจะมีอัตราส่วนของ NPL เท่ากับร้อยละ 11 ของยอดสินเชื่อและจะมีอัตราความพอเพียงของเงินทุน (CAR) ร้อยละ 9.2% โดยเป็นเงินทุนสำรองชั้นที่ 1 (Tier 1) ร้อยละ 6.0
ตามข้อมูลที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าธนาคารหลังการควบรวมจะมีความแข็งแกร่งพอที่จะทำการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการเสนอแผนธุรกิจและข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการตามขั้นตอนต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 15/2547 8 มีนาคม 2547--
-นท-
ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนหนึ่งว่า กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการในเรื่องการเพิ่มความแข็งแกร่ง และอำนาจการแข่งขันของสถาบันการเงินมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจนกระทั่งกระทรวงได้นำเสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2547 ซึ่งแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ คือ การเสริมสร้างระบบการเงินของประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพที่สามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ
หลังจากนั้น ในวันที่ 20 มกราคม 2547 กระทรวงการคลังได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอนุมัติในหลักการของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 เพื่อเปิดโอกาสให้บรรษัทฯ สามารถทำการควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบรรษัทฯ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินด้วย
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 หลังจากธนาคารทหารไทยสามารถดำเนินการเพิ่มทุนได้สำเร็จ ได้มีธนาคารต่างประเทศบางแห่งได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) กับธนาคารทหารไทย และในนั้นก็มีธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ได้แสดงเจตจำนงอย่างเป็นรูปธรรมที่จะนำธนาคารดีบีเอสไทยทนุ เข้ามาควบรวมกับธนาคารทหารไทย
และหลังจากมีการอนุมัติในหลักการของพระรากฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2502 กระทรวงการคลังก็ได้มอบนโยบายให้นำบรรษัทฯ เข้าไปควบรวมกับธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุด้วย ทั้งนี้เพราะ กระทรวงการคลังได้วิเคราะห์แล้วและเล็งเห็นว่า การควบรวมของ 3 สถาบันการเงินดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Synergy) แก่ทุกฝ่าย กล่าวคือ ธนาคารทหารไทยนั้นมีการเพิ่มทุนที่เพียงพอมีการลด NPL ลงไปสู่ระดับที่น่าพอใจ มีอัตราส่วนการเงินที่เทียบได้กับธนาคารระดับแนวหน้าของประเทศ และมีเครือข่ายของสาขาทั่วประเทศ
สำหรับธนาคาร ดีบีเอสไทยทนุ นั้น แม้เป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีธนาคารDBS ของสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัยสำคัญของธนาคารหลังควบรวม ซึ่งธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ได้ตกลงในหลักการว่าจะเป็นพันธมิตรอย่างแน่วแน่ โดยจะให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมธนาคารหลังการควบรวมให้แข็งแกร่ง อาทิ ด้านธุรกรรมต่างประเทศด้าน Consumer Banking ด้านระบบการควบคุมความเสี่ยง และด้าน IT เป็นต้น
ส่วนบรรษัทฯ นั้น ก็จะเข้ามาเสริมด้านสินเชื่ออุตสาหกรรม ด้าน SME และด้านงานวิเคราะห์วิจัย เป็นต้น ดังนั้น การนำ 3 สถาบันการเงินมาควบรวมกันในครั้งนี้ จึงนับว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดียิ่ง
ธนาคารหลังการควบรวม จะยังคงมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 31.2 และจะมีธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ ซึ่งจะเป็นพันธมิตรถือหุ้นเป็นอันดับสองร้อยละ 16.1 และถ้าคิดสัดส่วนของหุ้นชาวต่างประเทศ ซึ่งจะมีรายอื่น ที่เคยถือหุ้นในบรรษัทฯ ด้วย จะถือหุ้นรวมกันทั้งสิ้นร้อยละ 20.9 และฝ่ายไทยจะถือหุ้นทั้งสิ้นร้อยละ 79.1
ธนาคารที่เกิดจากการควบรวมจะมีสินทรัพย์ทั้งสิ้นประมาณ 677,000 ล้านบาท(ประมาณ US$ 17 พันล้าน) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 5 ของประเทศไทย จะมีลูกค้าประมาณ 4 ล้านราย จะมีสาขาทั่วประเทศ 462 สาขา จะมียอดสินเชื่อให้กู้ประมาณ 533,000 ล้านบาทจะมีอัตราส่วนของ NPL เท่ากับร้อยละ 11 ของยอดสินเชื่อและจะมีอัตราความพอเพียงของเงินทุน (CAR) ร้อยละ 9.2% โดยเป็นเงินทุนสำรองชั้นที่ 1 (Tier 1) ร้อยละ 6.0
ตามข้อมูลที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าธนาคารหลังการควบรวมจะมีความแข็งแกร่งพอที่จะทำการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการเสนอแผนธุรกิจและข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการตามขั้นตอนต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 15/2547 8 มีนาคม 2547--
-นท-