เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area) เกิดขึ้นจากความเห็นชอบในที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน โดยได้ตกลงให้จัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งมีสาระครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน รวมถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ทั้งนี้ หากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแล้วเสร็จจะเป็นเขตการค้าเสรีที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก (1.7 พันล้านคน) ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่ม และยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนและจีนในเวทีโลกอีกด้วย
สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้
กรอบการดำเนินการ
กำหนดให้ตั้งแต่ต้นปี 2546 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นช่วงของการเจรจาความตกลงในการลดหรือยกเลิกภาษี และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มดำเนินการลดภาษีสินค้าทั่วไปในปี 2548 (ยกเว้น Early Harvest ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ตกลงนำมาลดภาษีก่อนกำหนด) และมีเป้าหมายจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม (6 ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และจีน และภายในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม)
ด้านการค้าสินค้า การเจรจาในขั้นแรกกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนมีข้อผูกพันในการทยอยลดภาษีสินค้ากลุ่ม Early Harvest โดยเริ่มลดตั้งแต่ปี 2547 ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกรายการภายใต้พิกัดศุลกากร 01-08 (สินค้า 374 รายการ) ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ปลาและอาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม สินค้าที่ทำจากสัตว์ ต้นไม้และพืช ผัก และผลไม้ ภายในกำหนดเวลาดังนี้
- ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน จะต้องเริ่มทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า Early Harvest ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป และจะต้องลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในปี 2549 โดยมีกรอบเวลาดังนี้
กลุ่ม สินค้า กรอบการลดภาษี
2547 2548 2549
1. สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 15% (จำนวน 160 รายการ) 10% 5% 0%
2. สินค้าที่มีอัตราภาษี 5%-15% (จำนวน 160 รายการ) 5% 0% 0%
3. สินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า 5% (จำนวน 54 รายการ) 0% 0% 0%
หมายเหตุ : สำหรับสินค้าที่มีโควตาภาษี (ตามข้อผูกพัน WTO) การลดภาษี Early Harvest เจาะจงเฉพาะภาษีสินค้าในโควตาเท่านั้น
- ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ได้ขยายเวลาลดภาษีนำเข้าสินค้า Early Harvest ให้เหลือ 0% ภายในปี 2553 สำหรับกรอบการลดภาษียังอยู่ระหว่างการเจรจา
ด้านการบริการและการลงทุน การเจรจาความตกลงเริ่มมาตั้งแต่ปี 2546 แม้จะไม่มีกำหนดเวลาการเจรจาที่แน่ชัดแต่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยให้มีการพิจารณากำหนดสาขาที่มีความอ่อนไหวของทั้งสองฝ่าย (Sensitive Sectors) และให้มีการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ด้วย
ผลต่อการส่งออกของไทย
จากการที่ไทย-จีนได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งได้เริ่มยกเว้นภาษีนำเข้าผักและผลไม้ทุกรายการในพิกัดศุลกากร 07-08 จำนวน 188 รายการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการค้าผักและผลไม้ระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้นมาก (ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลำไยอบแห้ง ทุเรียนสด มะพร้าว และกล้วย ได้เพิ่มขึ้น) ทั้งนี้ เมื่อข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทำให้การค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วงปี 2547-2549 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนจะต้องลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้า Early Harvest (พิกัดศุลกากร 01-08) ลงตามกรอบที่กำหนด ซึ่งส่งผลให้ไทยและจีนต้องลดภาษีสำหรับสินค้าเกษตรพิกัดศุลกากร 01-06 ด้วย
สำหรับสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษี Early Harvest ของจีนภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนในปี 2547 ได้แก่ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งทั้งตัว (อัตราภาษีลดลงจาก 20% เหลือ 10%) ดอกไม้แห้ง (จาก 23% เหลือ 10%) ชิ้นเนื้อและส่วนอื่นๆ ของไก่แช่แข็ง (จาก 12% เหลือ 10%) ปลาหมึกสดหรือแช่เย็น (จาก 12% เหลือ 5%) ปลาสดแช่เย็น (จาก 13.5% เหลือ 5%) ดอกกล้วยไม้และดอกไม้สดอื่นๆ (จาก 13.6% เหลือ 5%) เป็นต้น
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
เดิม ผู้ส่งออกสินค้าไปจีนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีไทย-จีน ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form C/O จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ใหม่ ผู้ส่งออกสินค้าไปจีนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หรือไทย-จีน ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเปลี่ยนเป็น Form E
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-พห-
สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้
กรอบการดำเนินการ
กำหนดให้ตั้งแต่ต้นปี 2546 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นช่วงของการเจรจาความตกลงในการลดหรือยกเลิกภาษี และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มดำเนินการลดภาษีสินค้าทั่วไปในปี 2548 (ยกเว้น Early Harvest ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ตกลงนำมาลดภาษีก่อนกำหนด) และมีเป้าหมายจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม (6 ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และจีน และภายในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม)
ด้านการค้าสินค้า การเจรจาในขั้นแรกกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนมีข้อผูกพันในการทยอยลดภาษีสินค้ากลุ่ม Early Harvest โดยเริ่มลดตั้งแต่ปี 2547 ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกรายการภายใต้พิกัดศุลกากร 01-08 (สินค้า 374 รายการ) ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ปลาและอาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นม สินค้าที่ทำจากสัตว์ ต้นไม้และพืช ผัก และผลไม้ ภายในกำหนดเวลาดังนี้
- ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน จะต้องเริ่มทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้า Early Harvest ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป และจะต้องลดภาษีให้เหลือ 0% ภายในปี 2549 โดยมีกรอบเวลาดังนี้
กลุ่ม สินค้า กรอบการลดภาษี
2547 2548 2549
1. สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกว่า 15% (จำนวน 160 รายการ) 10% 5% 0%
2. สินค้าที่มีอัตราภาษี 5%-15% (จำนวน 160 รายการ) 5% 0% 0%
3. สินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า 5% (จำนวน 54 รายการ) 0% 0% 0%
หมายเหตุ : สำหรับสินค้าที่มีโควตาภาษี (ตามข้อผูกพัน WTO) การลดภาษี Early Harvest เจาะจงเฉพาะภาษีสินค้าในโควตาเท่านั้น
- ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ได้ขยายเวลาลดภาษีนำเข้าสินค้า Early Harvest ให้เหลือ 0% ภายในปี 2553 สำหรับกรอบการลดภาษียังอยู่ระหว่างการเจรจา
ด้านการบริการและการลงทุน การเจรจาความตกลงเริ่มมาตั้งแต่ปี 2546 แม้จะไม่มีกำหนดเวลาการเจรจาที่แน่ชัดแต่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด โดยให้มีการพิจารณากำหนดสาขาที่มีความอ่อนไหวของทั้งสองฝ่าย (Sensitive Sectors) และให้มีการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ด้วย
ผลต่อการส่งออกของไทย
จากการที่ไทย-จีนได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งได้เริ่มยกเว้นภาษีนำเข้าผักและผลไม้ทุกรายการในพิกัดศุลกากร 07-08 จำนวน 188 รายการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการค้าผักและผลไม้ระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้นมาก (ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลำไยอบแห้ง ทุเรียนสด มะพร้าว และกล้วย ได้เพิ่มขึ้น) ทั้งนี้ เมื่อข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทำให้การค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วงปี 2547-2549 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนจะต้องลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้า Early Harvest (พิกัดศุลกากร 01-08) ลงตามกรอบที่กำหนด ซึ่งส่งผลให้ไทยและจีนต้องลดภาษีสำหรับสินค้าเกษตรพิกัดศุลกากร 01-06 ด้วย
สำหรับสินค้าที่คาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษี Early Harvest ของจีนภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนในปี 2547 ได้แก่ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งทั้งตัว (อัตราภาษีลดลงจาก 20% เหลือ 10%) ดอกไม้แห้ง (จาก 23% เหลือ 10%) ชิ้นเนื้อและส่วนอื่นๆ ของไก่แช่แข็ง (จาก 12% เหลือ 10%) ปลาหมึกสดหรือแช่เย็น (จาก 12% เหลือ 5%) ปลาสดแช่เย็น (จาก 13.5% เหลือ 5%) ดอกกล้วยไม้และดอกไม้สดอื่นๆ (จาก 13.6% เหลือ 5%) เป็นต้น
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
เดิม ผู้ส่งออกสินค้าไปจีนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีไทย-จีน ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form C/O จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ใหม่ ผู้ส่งออกสินค้าไปจีนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หรือไทย-จีน ต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเปลี่ยนเป็น Form E
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-พห-