สศอ. ชี้ภาวะอุตสาหกรรมอาหารทรุด หลังเผชิญวิกฤตไข้หวัดนก ส่งผลให้ 5 ดัชนีอุตสาหรรมเดือนมกราคม 47 ลดลง ได้แก่ ดัชนีผลผลิต ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต กระทบส่งออกลดฮวบ 50% พร้อมประเมินภาวะการผลิตและการจำหน่ายเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงลดลงอีกกว่าร้อยละ 4
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2547 (ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน พบว่า 4 ดัชนีหลักปรับตัวลดลง คือ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ125.48 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 133.22 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 125.82 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.68 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.25 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 61.84 สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 133.43 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.33
อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เนื่องจากสถานการณ์ไข้หวัดนก โดยอาหารไก่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดไก่ซบเซาลงอย่างมาก แม้จะเป็นการเลี้ยงไก่แบบระบบฟาร์มปิดก็ตาม การผลิตเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งลดลงจากธันวาคม 46 เนื่องจากโรคไข้หวัดนกเริ่มระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ส่งผลให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ยกเลิกการสั่งซื้อไก่สดแช่แข็งจากไทยทันที
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกลดลงถึง 50% ของยอดส่งออกในเดือนมกราคม ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ ลดลงประมาณ 20-30 % เนื่องจากทางโรงงานลดราคาสินค้าลงเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ดังนั้น สศอ. คาดการณ์ว่า สถานการณ์นี้จะส่งผลถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งคาดว่ายอดขายจะลดลงประมาณ 80-90 % และราคาต่อหน่วยจะลดลงด้วย นอกจากนั้น การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค การแปรรูปผลไม้และผัก การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง การเลื่อยไม้และการไสไม้ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมเช่นกัน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.48 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.40 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.88 ดัชนีผลผลิต ( มูลค่าผลผลิต ) อยู่ที่ระดับ 133.22 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.75 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.64 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มี การผลิตลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ตามลำดับ
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 125.82 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.71 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 อุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จาก เนื้อสัตว์ และ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กล้าขั้นมูลฐาน ตามลำดับ
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 105.68 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.01 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 โดยอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย การผลิตยานยนต์ และ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 137.25 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.01และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 2.66 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตยานยนต์ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ตามลำดับ
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 61.84 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.65 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.10 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 133.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.26 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และ การผลิตยานยนต์ตามลำดับ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.33 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.92 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.24
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ทางสำนักงานฯได้ดำเนินการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ โดยพิจารณาร่วมกับภาวะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในเวลาปัจจุบันที่กระทบต่ออุตสาหกรรม เช่น ผลจากโรคไข้หวัดนก ทำให้ต้องมีการกำจัดไก่เป็นทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาวะการผลิตลดลงอย่างมาก ภาวะการจำหน่ายในประเทศและส่งออกจะได้รับผลกระทบมากกว่าในเดือนมกราคม จึงประมาณค่าดัชนีอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบจากปัญหาดังกล่าวประมาณ 1.15 % และคาดว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายของอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีทิศทางที่จะลดลงประมาณ ร้อยละ 3.6 - 4.6 ขึ้นอยู่กับผลข้างเคียงที่กระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่นอาหารสัตว์แต่อาจได้รับผลบวกจากการผลิตอาหารที่ไม่ใช่ไก่เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2547 (ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน พบว่า 4 ดัชนีหลักปรับตัวลดลง คือ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ125.48 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 133.22 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 125.82 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.68 และ ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.25 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 61.84 สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 133.43 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.33
อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เนื่องจากสถานการณ์ไข้หวัดนก โดยอาหารไก่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดไก่ซบเซาลงอย่างมาก แม้จะเป็นการเลี้ยงไก่แบบระบบฟาร์มปิดก็ตาม การผลิตเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งลดลงจากธันวาคม 46 เนื่องจากโรคไข้หวัดนกเริ่มระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ส่งผลให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ยกเลิกการสั่งซื้อไก่สดแช่แข็งจากไทยทันที
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกลดลงถึง 50% ของยอดส่งออกในเดือนมกราคม ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ ลดลงประมาณ 20-30 % เนื่องจากทางโรงงานลดราคาสินค้าลงเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ดังนั้น สศอ. คาดการณ์ว่า สถานการณ์นี้จะส่งผลถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งคาดว่ายอดขายจะลดลงประมาณ 80-90 % และราคาต่อหน่วยจะลดลงด้วย นอกจากนั้น การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค การแปรรูปผลไม้และผัก การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง การเลื่อยไม้และการไสไม้ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมเช่นกัน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.48 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.40 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.88 ดัชนีผลผลิต ( มูลค่าผลผลิต ) อยู่ที่ระดับ 133.22 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.75 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.64 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มี การผลิตลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ตามลำดับ
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 125.82 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.71 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 อุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จาก เนื้อสัตว์ และ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กล้าขั้นมูลฐาน ตามลำดับ
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 105.68 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.01 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 โดยอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย การผลิตยานยนต์ และ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 137.25 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.01และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 2.66 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตยานยนต์ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ตามลำดับ
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 61.84 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.65 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.10 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตยานยนต์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ และ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 133.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.26 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ และ การผลิตยานยนต์ตามลำดับ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.33 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.92 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.24
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ทางสำนักงานฯได้ดำเนินการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ โดยพิจารณาร่วมกับภาวะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในเวลาปัจจุบันที่กระทบต่ออุตสาหกรรม เช่น ผลจากโรคไข้หวัดนก ทำให้ต้องมีการกำจัดไก่เป็นทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาวะการผลิตลดลงอย่างมาก ภาวะการจำหน่ายในประเทศและส่งออกจะได้รับผลกระทบมากกว่าในเดือนมกราคม จึงประมาณค่าดัชนีอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบจากปัญหาดังกล่าวประมาณ 1.15 % และคาดว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายของอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีทิศทางที่จะลดลงประมาณ ร้อยละ 3.6 - 4.6 ขึ้นอยู่กับผลข้างเคียงที่กระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่นอาหารสัตว์แต่อาจได้รับผลบวกจากการผลิตอาหารที่ไม่ใช่ไก่เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-