นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือนเมษายน 2548คณะกรรมาธิการ ยุโรป ได้ประกาศพันธกรณีสำคัญภายใต้สมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร (White Paper on Food Safety) ที่ผู้ประกอบการอาหารและอาหารสัตว์ (The Key Obligations of Food and Feed Business Operators) ทั้งในและนอกอียู จะต้องปฏิบัติ ทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้
1. ความปลอดภัย (Safety) จะต้องไม่วางจำหน่ายอาหารและอาหารสัตว์ที่ไม่ปลอดภัย
2. ความรับผิดชอบ (Responsibilities) จะต้องรับผิดชอบได้อย่างรวดเร็วในด้านความปลอดภัยของอาหารและอาหารสัตว์ที่ตนผลิต ขนส่ง จัดเก็บ หรือจัดจำหน่าย
3. การตรวจย้อน (Traceability) จะต้องสามารถระบุผู้รับและผู้ส่งสินค้า (supplier or consignee)
4. ความโปร่งใส (Transparency) จะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันทีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าอาหารหรืออาหารสัตว์ ไม่ปลอดภัย
5. ความเร่งด่วน (Emergency) จะต้องถอดถอน (withdraw) อาหารหรืออาหารสัตว์ออกจากตลาดทันทีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าอาหารนั้นๆ ไม่ปลอดภัย
6. การป้องกัน (Prevention) จะต้องระบุและทบทวนจุดวิกฤติ (critical points) ในขั้นตอนต่างๆ เป็นประจำ และมั่นใจว่าการควบคุมใช้ได้กับจุดเหล่านี้
7. ความร่วมมือ (Co-operation) จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าอาหารไทยไปตลาดอียู ควรติดตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญต่อพันธกรณีความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาสินค้าถูกถอดถอนออกจากตลาด ซึ่งอาจส่งผลให้สูญเสียตลาดได้ นอกจากนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยควรมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกพิเศษหรือแตกต่าง ด้วยการเป็นผู้นำตลาด เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีรูปลักษณ์จูงใจให้น่าซื้อ และท้ายที่สุด ผู้ส่งออกควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์สินค้าของตนผ่านสื่อท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความต่อเนื่องในการประกอบธุรกิจและเสริมสร้างศักยภาพในตลาดอียู
ทั้งนี้ ในปี 2547 ไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารไปสหภาพยุโรปรวม 49,332.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2546คิดเป็นร้อยละ 7.70 โดยสินค้าที่ส่งออกมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (9,676.6 ล้านบาท) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (9,315.5 ล้านบาท) ไก่แปรรูป (9,207.4 ล้านบาท) ข้าว (4,599.3 ล้านบาท) และปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (3,800.6 ล้านบาท) โดยสินค้าที่มีอัตราการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 123.89) ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 94.75) ปลาแห้ง (ร้อยละ 53.59) ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 35.10) เครื่องเทศและสมุนไพร (ร้อยละ 31.17) และอาหารสัตว์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และกากน้ำตาล มีมูลค่าส่งออกในปี 2547 รวม 7,989.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 28.98 หมายเหตุ: สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.dft.moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
1. ความปลอดภัย (Safety) จะต้องไม่วางจำหน่ายอาหารและอาหารสัตว์ที่ไม่ปลอดภัย
2. ความรับผิดชอบ (Responsibilities) จะต้องรับผิดชอบได้อย่างรวดเร็วในด้านความปลอดภัยของอาหารและอาหารสัตว์ที่ตนผลิต ขนส่ง จัดเก็บ หรือจัดจำหน่าย
3. การตรวจย้อน (Traceability) จะต้องสามารถระบุผู้รับและผู้ส่งสินค้า (supplier or consignee)
4. ความโปร่งใส (Transparency) จะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบทันทีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าอาหารหรืออาหารสัตว์ ไม่ปลอดภัย
5. ความเร่งด่วน (Emergency) จะต้องถอดถอน (withdraw) อาหารหรืออาหารสัตว์ออกจากตลาดทันทีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าอาหารนั้นๆ ไม่ปลอดภัย
6. การป้องกัน (Prevention) จะต้องระบุและทบทวนจุดวิกฤติ (critical points) ในขั้นตอนต่างๆ เป็นประจำ และมั่นใจว่าการควบคุมใช้ได้กับจุดเหล่านี้
7. ความร่วมมือ (Co-operation) จะต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าอาหารไทยไปตลาดอียู ควรติดตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญต่อพันธกรณีความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาสินค้าถูกถอดถอนออกจากตลาด ซึ่งอาจส่งผลให้สูญเสียตลาดได้ นอกจากนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยควรมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกพิเศษหรือแตกต่าง ด้วยการเป็นผู้นำตลาด เพิ่มมูลค่าให้สินค้า ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีรูปลักษณ์จูงใจให้น่าซื้อ และท้ายที่สุด ผู้ส่งออกควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์สินค้าของตนผ่านสื่อท้องถิ่น ในรูปแบบต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความต่อเนื่องในการประกอบธุรกิจและเสริมสร้างศักยภาพในตลาดอียู
ทั้งนี้ ในปี 2547 ไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารไปสหภาพยุโรปรวม 49,332.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2546คิดเป็นร้อยละ 7.70 โดยสินค้าที่ส่งออกมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (9,676.6 ล้านบาท) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (9,315.5 ล้านบาท) ไก่แปรรูป (9,207.4 ล้านบาท) ข้าว (4,599.3 ล้านบาท) และปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (3,800.6 ล้านบาท) โดยสินค้าที่มีอัตราการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 123.89) ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 94.75) ปลาแห้ง (ร้อยละ 53.59) ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 35.10) เครื่องเทศและสมุนไพร (ร้อยละ 31.17) และอาหารสัตว์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และกากน้ำตาล มีมูลค่าส่งออกในปี 2547 รวม 7,989.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 28.98 หมายเหตุ: สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.dft.moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-