ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.วางแนวทางเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมสถาบันการเงินให้ดำเนินธุรกิจตามหลัก
ธรรมาภิบาล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานพิธีมอบรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นประจำปี
2546 ว่า ธปท.จะควบคุมสถาบันการเงินไทยให้ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยเพิ่มบทบาทของ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น เพิ่มสัดส่วน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตาม
เพื่อให้สถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็ง โปร่งใสในการดำเนินงานและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ จากการที่
ธปท.ได้ออกกฎระเบียบให้สถาบันการเงินต้องมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น
สถาบันการเงินได้เริ่มซึมซับระบบ เห็นได้จากการเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็
ตาม ในอนาคต ธปท.จะมีการเพิ่มความเข้มงวดและเข้าไปดูแลในรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎ
ระเบียบของธรรมาภิบาลมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดว่าควรจะมี เป็นกำหนดว่าต้องมี (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ที่ได้รับความเดือด
ร้อนจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือด
ร้อนผ่าน ธพ.ไปแล้ว 15,000 ล.บาท ซึ่งเงินกู้ดังกล่าว ธปท.คิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% แต่กำหนดให้ ธพ.ที่
ปล่อยกู้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 2% ต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
ธปท.ได้นำผลกระทบจากไข้หวัดนกเข้าประเมินด้วย โดยหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระยะสั้นถึงช่วง
กลางปี จะมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียง 0.2% สำหรับผลกระทบต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ธปท.จะมีการประเมินและแถลงให้ทราบภายในช่วงสิ้นเดือน
มี.ค.นี้ (โลกวันนี้)
3. ต.ล.ท.อยู่ระหว่างทบทวนเพื่อยกเลิกมาตรการที่มีการดูแลความเสี่ยงในระบบแล้ว กรรมการ
และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ต.ล.ท.อยู่ระหว่างการทบทวน
เพื่อยกเลิกมาตรการบางเรื่องที่เห็นว่ามีมาตรการหลักในการดูแลความเสี่ยงของระบบอยู่แล้ว หลังจากที่หน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ก.คลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสมาคมบริษัท
หลักทรัพย์ ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในการออกมาตรการป้องกันความเสี่ยงของระบบในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์
โดยมาตรการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดังกล่าว เช่น การห้ามซื้อขายด้วยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น (มาร์จิน) การ
ห้ามซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้หุ้นตัวเดียวกัน (เน็ตเซทเทิลเมนท์) สำหรับหุ้นที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ (รีฮาฟโก้)
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 มี.ค.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธอส.เตรียมเปิดบริการสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์
(ธอส.) เปิดเผยว่า ในการเปิดบริการปล่อยสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) ของ ธอส. ขณะนี้อยู่ระหว่าง
การดำเนินการของ ก.คลังในการประกาศเป็นกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่า ธอส.จะสามารถ
เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ภายในวันที่ 1 พ.ค.47 (ข่าวสด)
5. ครม.มีมติเห็นชอบปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ นายวราเทพ วรากร รมช.คลัง เปิดเผยว่า
ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติร่าง พ.ร.ก.เงินเดือนข้าราชการตามที่คณะกรรมการเงินเดือนแห่งชาติ
(กงช.) เสนอ โดยให้ฐานเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภท ทุกระดับชั้น ขึ้นอีก 3% ของเงินเดือน รวม
ทั้งปรับขั้นเงินเดือนเพิ่มอีก 1 ขั้นสำหรับข้าราชการระดับล่างตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 7 เนื่องจากเห็นว่าอัตราเงิน
เดือนต่ำ ในส่วนของข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ซี 8 ถึง 11 จะมีการเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษเป็นหลายกรณีตาม
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของแต่ละองค์กร ทั้งนี้ เงินเดือนข้าราชการอัตราใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1
เม.ย.47 เป็นต้นไป (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อังกฤษขาดดุลการค้าเดือน ม.ค.47 สูงถึง 5.6 พันล้านปอนด์ รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่
9 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค.47 สูงถึง 5.6
พันล้านปอนด์ จากเดือน ธ.ค.46 ที่มีการปรับตัวเลขแล้ว 4.0 พันล้านปอนด์ สาเหตุจากการส่งสินค้าออกไป
สรอ. ลดลง 30% เนื่องจากค่าเงินปอนด์ที่แข็งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี ประกอบกับมีข่าวว่าผลผลิตจากโรง
งานในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อ
ขายสินค้าล่วงหน้าเพิ่มสูงขึ้นตามการคาดการณ์ของตลาด ดังนั้น ต้นทุนการกู้ยืมแม้จะสูงขึ้นแต่ก็คงไม่รวดเร็ว
มากนัก อนึ่ง ธนาคารกลางอังกฤษยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.0% หลังจากขึ้นมา 0.25% เมื่อเดือนก่อน
แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต เพื่อลดความร้อนแรงทางด้านการบริโภค
และราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. NIESR คาดว่าจีดีพีของอังกฤษจะมีอัตราเติบโต 0.8% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 9
มี.ค.47 สถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่า อัตราการ
เติบทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ก.พ.47 จะอยู่ที่ระดับ 0.8% ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
ช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ม.ค.47 ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในระดับสูงกว่าที่คาด
การณ์ไว้ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์
หลายรายคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน เม.ย.47 หลังจากปรับขึ้นมา
แล้วเมื่อเดือน พ.ย.46 และ ก.พ.47 อยู่ที่ระดับ 4.0% ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการในไตรมาสสุด
ท้ายของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 0.9% สูงกว่าระดับ 0.6% ที่เป็นอัตราการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวของ
ประเทศ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนม.ค. 47 ชะงักงันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 47 รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรม
ของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากเดือน ธ.ค.ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ตรง
ข้ามกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 0.1 สาเหตุจากความ
อ่อนแอของภาคการก่อสร้างทั้งระบบซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศเป็นส่วนใหญ่ โดยผลผลิตภาคการก่อสร้าง
และพลังงานลดลงร้อยละ 7.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตเริ่ม
ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.7 (ตัวเลขเบื้องต้น) ทั้งนี้โดยผลผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าทุน
ขยายตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าบริโภคลดลงร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.2 เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบ
ต่อเดือนกลับลดลงร้อยละ 11.80 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน
ม.ค.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.0540 ล้านล้านเยน (9.46 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 135.2 เมื่อเทียบจากปีก่อน (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 862.8 พัน ล.เยน ทั้งนี้ การที่ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน
ม.ค.47 เนื่องจากดุลบัญชีการค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากที่ขาดดุลจำนวน 173.9 พัน ล.เยน เป็น
เกินดุลจำนวน 286.3 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 264.63 และหากเทียบต่อเดือน ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดในเดือน ม.ค.47 ลดลงจำนวน 141 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.80 (รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบ
ต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิด
เผยว่า ดัชนีราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศ (CGPI) ของญี่ปุ่นซึ่งแสดงถึงแนวโน้มของราคาขายส่ง ในเดือน
ก.พ.47 อยู่ที่ระดับ 95.3 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีอยู่ในระดับร้อยละ
0.0 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นับจากเดือน ม.ค.47 ทั้งนี้ ตัวเลข CGPI เมื่อเทียบต่อปีมีตัว
เลขติดลบโดยตลอดตั้งแต่เดือน ก.ค.43 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
6. ผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริงของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อไตรมาส
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริง (Real GDP)
ของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อไตรมาส และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4
ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ 7.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อ
ปีตามลำดับ นอกจากนี้ การใช้จ่ายเงินทุนของภาคเอกชนสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ขณะที่การลงทุนด้านเงินทุน
สาธารณะกลับลดลงร้อยละ 0.7 จากที่ประมาณการว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
7. สินเชื่อจากบัตรเครดิตส่งผลให้ธพ.เกาหลีใต้มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 9
มี.ค. 47 การเพิ่มขึ้นของหนี้จากบัตรเครดิตเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลต่อสัดส่วนหนี้เสียของธพ. ผู้ควบคุมกฎเกณฑ์
สถาบันการเงินเตือนว่าสถานการณ์เช่นนี้จะเลวร้ายมากยิ่งขึ้นหากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงเฉื่อยชาอยู่ ทั้งนี้
ที่ปรึกษาทางการเงิน (The Financial Supervisory Service-FSS) กล่าวว่า สัดส่วนของหนี้เสีย
(NPL) ต่อการกู้ยืมในระบบธพ.ของเกาหลีใต้เมื่อปี 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.62 จากระดับร้อยละ 2.33
เมื่อปี 45 หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 12 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่สัดส่วนดังกล่าวเกือบถึงระดับสูงสุดที่
ร้อยละ 13 เมื่อปี 42 อย่างไรก็ตามยังคงเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าประเทศในกลุ่ม OECD ระดับหนี้บัตรเครดิตที่สูง
ดังกล่าวสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอเนื่องจากธพ.ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ ทางด้านธุรกิจและผู้บริโภคส่วน
ใหญ่ก็ไม่สามารถกู้ยืมได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10/3/47 9/3/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.335 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1416/39.4305 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 710.66/20.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.69 30.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.วางแนวทางเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมสถาบันการเงินให้ดำเนินธุรกิจตามหลัก
ธรรมาภิบาล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานพิธีมอบรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นประจำปี
2546 ว่า ธปท.จะควบคุมสถาบันการเงินไทยให้ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น โดยเพิ่มบทบาทของ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น เพิ่มสัดส่วน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตาม
เพื่อให้สถาบันการเงินไทยมีความเข้มแข็ง โปร่งใสในการดำเนินงานและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ จากการที่
ธปท.ได้ออกกฎระเบียบให้สถาบันการเงินต้องมีระบบธรรมาภิบาลในการบริหารงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น
สถาบันการเงินได้เริ่มซึมซับระบบ เห็นได้จากการเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็
ตาม ในอนาคต ธปท.จะมีการเพิ่มความเข้มงวดและเข้าไปดูแลในรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎ
ระเบียบของธรรมาภิบาลมากขึ้น จากเดิมที่กำหนดว่าควรจะมี เป็นกำหนดว่าต้องมี (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ที่ได้รับความเดือด
ร้อนจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือด
ร้อนผ่าน ธพ.ไปแล้ว 15,000 ล.บาท ซึ่งเงินกู้ดังกล่าว ธปท.คิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% แต่กำหนดให้ ธพ.ที่
ปล่อยกู้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 2% ต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
ธปท.ได้นำผลกระทบจากไข้หวัดนกเข้าประเมินด้วย โดยหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระยะสั้นถึงช่วง
กลางปี จะมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียง 0.2% สำหรับผลกระทบต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ธปท.จะมีการประเมินและแถลงให้ทราบภายในช่วงสิ้นเดือน
มี.ค.นี้ (โลกวันนี้)
3. ต.ล.ท.อยู่ระหว่างทบทวนเพื่อยกเลิกมาตรการที่มีการดูแลความเสี่ยงในระบบแล้ว กรรมการ
และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ต.ล.ท.อยู่ระหว่างการทบทวน
เพื่อยกเลิกมาตรการบางเรื่องที่เห็นว่ามีมาตรการหลักในการดูแลความเสี่ยงของระบบอยู่แล้ว หลังจากที่หน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ก.คลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสมาคมบริษัท
หลักทรัพย์ ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในการออกมาตรการป้องกันความเสี่ยงของระบบในอุตสาหกรรมหลักทรัพย์
โดยมาตรการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดังกล่าว เช่น การห้ามซื้อขายด้วยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น (มาร์จิน) การ
ห้ามซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้หุ้นตัวเดียวกัน (เน็ตเซทเทิลเมนท์) สำหรับหุ้นที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ (รีฮาฟโก้)
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 มี.ค.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธอส.เตรียมเปิดบริการสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์
(ธอส.) เปิดเผยว่า ในการเปิดบริการปล่อยสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ (ลีสซิ่ง) ของ ธอส. ขณะนี้อยู่ระหว่าง
การดำเนินการของ ก.คลังในการประกาศเป็นกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่า ธอส.จะสามารถ
เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ภายในวันที่ 1 พ.ค.47 (ข่าวสด)
5. ครม.มีมติเห็นชอบปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ นายวราเทพ วรากร รมช.คลัง เปิดเผยว่า
ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติร่าง พ.ร.ก.เงินเดือนข้าราชการตามที่คณะกรรมการเงินเดือนแห่งชาติ
(กงช.) เสนอ โดยให้ฐานเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภท ทุกระดับชั้น ขึ้นอีก 3% ของเงินเดือน รวม
ทั้งปรับขั้นเงินเดือนเพิ่มอีก 1 ขั้นสำหรับข้าราชการระดับล่างตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 7 เนื่องจากเห็นว่าอัตราเงิน
เดือนต่ำ ในส่วนของข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ซี 8 ถึง 11 จะมีการเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษเป็นหลายกรณีตาม
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของแต่ละองค์กร ทั้งนี้ เงินเดือนข้าราชการอัตราใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1
เม.ย.47 เป็นต้นไป (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อังกฤษขาดดุลการค้าเดือน ม.ค.47 สูงถึง 5.6 พันล้านปอนด์ รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่
9 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค.47 สูงถึง 5.6
พันล้านปอนด์ จากเดือน ธ.ค.46 ที่มีการปรับตัวเลขแล้ว 4.0 พันล้านปอนด์ สาเหตุจากการส่งสินค้าออกไป
สรอ. ลดลง 30% เนื่องจากค่าเงินปอนด์ที่แข็งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี ประกอบกับมีข่าวว่าผลผลิตจากโรง
งานในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียง 0.2% น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อ
ขายสินค้าล่วงหน้าเพิ่มสูงขึ้นตามการคาดการณ์ของตลาด ดังนั้น ต้นทุนการกู้ยืมแม้จะสูงขึ้นแต่ก็คงไม่รวดเร็ว
มากนัก อนึ่ง ธนาคารกลางอังกฤษยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.0% หลังจากขึ้นมา 0.25% เมื่อเดือนก่อน
แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต เพื่อลดความร้อนแรงทางด้านการบริโภค
และราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. NIESR คาดว่าจีดีพีของอังกฤษจะมีอัตราเติบโต 0.8% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 9
มี.ค.47 สถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่า อัตราการ
เติบทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ก.พ.47 จะอยู่ที่ระดับ 0.8% ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
ช่วง 3 เดือน นับถึงเดือน ม.ค.47 ข้อมูลนี้ช่วยยืนยันว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในระดับสูงกว่าที่คาด
การณ์ไว้ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งนักวิเคราะห์
หลายรายคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน เม.ย.47 หลังจากปรับขึ้นมา
แล้วเมื่อเดือน พ.ย.46 และ ก.พ.47 อยู่ที่ระดับ 4.0% ทั้งนี้ ตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการในไตรมาสสุด
ท้ายของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 0.9% สูงกว่าระดับ 0.6% ที่เป็นอัตราการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวของ
ประเทศ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนม.ค. 47 ชะงักงันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 47 รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรม
ของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.1 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากเดือน ธ.ค.ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ตรง
ข้ามกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ 0.1 สาเหตุจากความ
อ่อนแอของภาคการก่อสร้างทั้งระบบซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศเป็นส่วนใหญ่ โดยผลผลิตภาคการก่อสร้าง
และพลังงานลดลงร้อยละ 7.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตเริ่ม
ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.7 (ตัวเลขเบื้องต้น) ทั้งนี้โดยผลผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าทุน
ขยายตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าบริโภคลดลงร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.2 เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบ
ต่อเดือนกลับลดลงร้อยละ 11.80 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน
ม.ค.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 1.0540 ล้านล้านเยน (9.46 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 135.2 เมื่อเทียบจากปีก่อน (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าผลสำรวจรอยเตอร์ที่
คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 862.8 พัน ล.เยน ทั้งนี้ การที่ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน
ม.ค.47 เนื่องจากดุลบัญชีการค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างมากจากที่ขาดดุลจำนวน 173.9 พัน ล.เยน เป็น
เกินดุลจำนวน 286.3 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 264.63 และหากเทียบต่อเดือน ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดิน
สะพัดในเดือน ม.ค.47 ลดลงจำนวน 141 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.80 (รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบ
ต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิด
เผยว่า ดัชนีราคาสินค้าภาคธุรกิจในประเทศ (CGPI) ของญี่ปุ่นซึ่งแสดงถึงแนวโน้มของราคาขายส่ง ในเดือน
ก.พ.47 อยู่ที่ระดับ 95.3 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีอยู่ในระดับร้อยละ
0.0 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 นับจากเดือน ม.ค.47 ทั้งนี้ ตัวเลข CGPI เมื่อเทียบต่อปีมีตัว
เลขติดลบโดยตลอดตั้งแต่เดือน ก.ค.43 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
6. ผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริงของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อไตรมาส
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 10 มี.ค.47 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศที่แท้จริง (Real GDP)
ของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อไตรมาส และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4
ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ 7.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อ
ปีตามลำดับ นอกจากนี้ การใช้จ่ายเงินทุนของภาคเอกชนสำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ขณะที่การลงทุนด้านเงินทุน
สาธารณะกลับลดลงร้อยละ 0.7 จากที่ประมาณการว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
7. สินเชื่อจากบัตรเครดิตส่งผลให้ธพ.เกาหลีใต้มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 9
มี.ค. 47 การเพิ่มขึ้นของหนี้จากบัตรเครดิตเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลต่อสัดส่วนหนี้เสียของธพ. ผู้ควบคุมกฎเกณฑ์
สถาบันการเงินเตือนว่าสถานการณ์เช่นนี้จะเลวร้ายมากยิ่งขึ้นหากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงเฉื่อยชาอยู่ ทั้งนี้
ที่ปรึกษาทางการเงิน (The Financial Supervisory Service-FSS) กล่าวว่า สัดส่วนของหนี้เสีย
(NPL) ต่อการกู้ยืมในระบบธพ.ของเกาหลีใต้เมื่อปี 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.62 จากระดับร้อยละ 2.33
เมื่อปี 45 หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 12 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่สัดส่วนดังกล่าวเกือบถึงระดับสูงสุดที่
ร้อยละ 13 เมื่อปี 42 อย่างไรก็ตามยังคงเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าประเทศในกลุ่ม OECD ระดับหนี้บัตรเครดิตที่สูง
ดังกล่าวสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอเนื่องจากธพ.ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ ทางด้านธุรกิจและผู้บริโภคส่วน
ใหญ่ก็ไม่สามารถกู้ยืมได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10/3/47 9/3/47
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.335 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1416/39.4305 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 710.66/20.25 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.69 30.15 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-