สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
รัฐบาลพม่าเพิ่มสัมปทานเขตจับปลา
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าเป็นเวลานานกว่าสิบปีที่น่านน้ำพม่าเป็นเสมือนน่านน้ำปิด สำหรับเรือประมงไทยไม่สามารถเข้าไปทำการประมงได้ เนื่องจากเงื่อนไขเดิมที่พม่ากำหนดให้เรือไทยที่จะเข้าไปจับสัตว์น้ำในพม่าต้องเข้าร่วมทุนแบบจอยท์เวนเจอร์(Joint Venture) เท่านั้น โดยเงื่อนไขในจอยท์เวนเจอร์เรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการต้องแปลงสัญชาติเป็นเรือพม่า ทำให้ไม่สามารถนำเรือกลับไทยได้อีก นอกจากนี้ผลกำไรจากการขายสัตว์น้ำไม่สามารถนำกลับประเทศไทย ต้องลงทุนเป็นธุรกิจต่อเนื่องบนฝั่ง เช่น สร้างโรงงานแปรรูป ห้องเย็นและโรงน้ำแข็ง เป็นต้น จึงทำให้เรือประมงไทยไม่สนใจเข้าไปทำการประมงในพม่า ทะเลในน่านน้ำพม่า จึงว่างเว้นการทำประมงไปกว่า 10 ปี ความพยายามของกรมประมงในการเจรจาและปรึกษาหารือกับพม่าอย่างต่อเนื่องตลอดมาบนพื้นฐานของมิตรประเทศที่มีความปราถนาดีต่อกัน ในที่สุดรัฐบาลพม่าตัดสินใจให้เรือประมงไทยเข้าไปจับสัตว์น้ำในน่านน้ำพม่า เพื่อนำทรัพยากรสัตว์น้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ทั้ง 2 ประเทศ โดยให้สิทธิการทำประมง(Fishing Right) แก่ประเทศไทยโดยเรือประมงไทยสามารถเข้าไปจับสัตว์น้ำกลับมาขายในประเทศไทยและสามารถนำรายได้จากการจับสัตว์น้ำกลับประเทศไทยได้
สำหรับเงื่อนไขในการให้สัมปทานนั้น รัฐบาลพม่ากำหนดจำนวนเรือประมงทะเล 500 ลำ แบ่งเป็นเรือประมงอวนลาก 450 ลำ และเรืออวนล้อม 50 ลำ น้ำหนักเรือ 80-150 ตันกรอส บริษัทต้องวางเงินค้ำประกันไว้กับกรมประมงพม่าจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ และค่าสัมปทาน 8,000 | 12,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน พื้นที่จับสัตว์น้ำต้องอยู่นอกเส้นอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล แต่สามารถจับสัตว์น้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของพม่า 80 ตารางไมล์ทะเล จุดตรวจสอบเรืออยู่ที่เกาะสอง ไม่เก็บภาษีส่งออก โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เรือที่จะเข้าไปจับสัตว์น้ำต้องผ่านการรับรองจากกรมประมงและแจ้งเรือเข้า-ออกที่ศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย-พม่า(ศปทล.ทพ) เรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการทุกลำต้องเคารพกฎกติกาอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างประเทศและความยั่งยืนในการเข้าไปจับสัตว์น้ำในน่านน้ำพม่าได้ตลอดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 - 19 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,602.68 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 481.17 ตัน สัตว์น้ำจืด 581.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.90 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.96 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.92 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.17 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.21 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.45 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.55 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 271.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 276.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 323.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.03 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.18 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 86.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 27 ก.พ. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 23-29 กุมภาพันธุ์ 2547--จบ--
-พห-
การผลิต
รัฐบาลพม่าเพิ่มสัมปทานเขตจับปลา
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าเป็นเวลานานกว่าสิบปีที่น่านน้ำพม่าเป็นเสมือนน่านน้ำปิด สำหรับเรือประมงไทยไม่สามารถเข้าไปทำการประมงได้ เนื่องจากเงื่อนไขเดิมที่พม่ากำหนดให้เรือไทยที่จะเข้าไปจับสัตว์น้ำในพม่าต้องเข้าร่วมทุนแบบจอยท์เวนเจอร์(Joint Venture) เท่านั้น โดยเงื่อนไขในจอยท์เวนเจอร์เรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการต้องแปลงสัญชาติเป็นเรือพม่า ทำให้ไม่สามารถนำเรือกลับไทยได้อีก นอกจากนี้ผลกำไรจากการขายสัตว์น้ำไม่สามารถนำกลับประเทศไทย ต้องลงทุนเป็นธุรกิจต่อเนื่องบนฝั่ง เช่น สร้างโรงงานแปรรูป ห้องเย็นและโรงน้ำแข็ง เป็นต้น จึงทำให้เรือประมงไทยไม่สนใจเข้าไปทำการประมงในพม่า ทะเลในน่านน้ำพม่า จึงว่างเว้นการทำประมงไปกว่า 10 ปี ความพยายามของกรมประมงในการเจรจาและปรึกษาหารือกับพม่าอย่างต่อเนื่องตลอดมาบนพื้นฐานของมิตรประเทศที่มีความปราถนาดีต่อกัน ในที่สุดรัฐบาลพม่าตัดสินใจให้เรือประมงไทยเข้าไปจับสัตว์น้ำในน่านน้ำพม่า เพื่อนำทรัพยากรสัตว์น้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ทั้ง 2 ประเทศ โดยให้สิทธิการทำประมง(Fishing Right) แก่ประเทศไทยโดยเรือประมงไทยสามารถเข้าไปจับสัตว์น้ำกลับมาขายในประเทศไทยและสามารถนำรายได้จากการจับสัตว์น้ำกลับประเทศไทยได้
สำหรับเงื่อนไขในการให้สัมปทานนั้น รัฐบาลพม่ากำหนดจำนวนเรือประมงทะเล 500 ลำ แบ่งเป็นเรือประมงอวนลาก 450 ลำ และเรืออวนล้อม 50 ลำ น้ำหนักเรือ 80-150 ตันกรอส บริษัทต้องวางเงินค้ำประกันไว้กับกรมประมงพม่าจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ และค่าสัมปทาน 8,000 | 12,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน พื้นที่จับสัตว์น้ำต้องอยู่นอกเส้นอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล แต่สามารถจับสัตว์น้ำในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของพม่า 80 ตารางไมล์ทะเล จุดตรวจสอบเรืออยู่ที่เกาะสอง ไม่เก็บภาษีส่งออก โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เรือที่จะเข้าไปจับสัตว์น้ำต้องผ่านการรับรองจากกรมประมงและแจ้งเรือเข้า-ออกที่ศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย-พม่า(ศปทล.ทพ) เรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการทุกลำต้องเคารพกฎกติกาอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างประเทศและความยั่งยืนในการเข้าไปจับสัตว์น้ำในน่านน้ำพม่าได้ตลอดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 - 19 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,602.68 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 481.17 ตัน สัตว์น้ำจืด 581.51 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.90 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.96 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.92 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 28.17 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.21 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.38 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.45 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.55 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 271.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 276.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 323.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.03 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.18 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 86.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.64 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 - 27 ก.พ. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 23-29 กุมภาพันธุ์ 2547--จบ--
-พห-