กรุงเทพ--11 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 นาย Pierre-Andre Willzzer รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ได้เข้าเยี่ยมคารวะ และหารือข้อราชการกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องความคืบหน้าการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Action Plan) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ ระยะเวลา 10 ปี ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผลมาจากการหารือระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับประธานาธิบดีฌาค ชีรัค แห่งฝรั่งเศส เมื่อครั้งที่ นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 เพื่อให้สามารถลงนามร่วมกันได้ ในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะไปเยือนฝรั่งเศสและพบกับนาย Dominique de Villepin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 แผนปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสดังกล่าว ฝรั่งเศสเคยทำและประสบความสำเร็จมาแล้วกับญี่ปุ่น ซึ่งมีการร่วมมือกันทางด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวทำให้มูลค่าทางการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ในการนี้ ประธานาธิบดีชีรัคจึงได้เสนอแผนปฏิบัติการร่วมนี้กับไทยและนายกรัฐมนตรีก็เห็นชอบด้วย
แผนนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากที่ประเทศไทยเคยทำกับประเทศอื่น ๆ เนื่องจากไม่ใช่เป็นแผนปฏิบัติการทวิภาคี แต่รวมถึงการที่ฝรั่งเศสจะเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทยในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน โดยฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (Economic Cooperation Strategy หรือ Ayeyawady-Chao Praya-Mekong Economic Cooperation Strtegy | ACMECS) ซึ่งนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ริเริ่ม ทั้งนี้ มีโครงการที่เป็นรูปธรรมและประธานาธิบดีชีรัค ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว อาทิ โครงการสร้างเส้นทางรถไฟจากหนองคายถึงท่านาแล้ง ซึ่งอยู่ใกล้กับเวียงจันทน์ โดยไทยและฝรั่งเศสได้ตกลงร่วมมือกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการร่วมมือกับประเทศที่สาม โครงการนี้ จะทำให้นักท่องเที่ยวและสินค้าไทยเข้าไปยังเวียงจันทน์ได้สะดวกขึ้น และนักท่องเที่ยวและสินค้าลาวก็จะเข้าประเทศไทยได้สะดวกขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าจะสามารถขนส่งมาทางรถไฟถึงท่าเรือของไทยได้ ทั้งนี้ การร่วมกันสร้างทางรถไฟเส้นทางเชื่อมระหว่าง หนองคายกับท่านาแล้ง เป็นส่วนที่ 1 (Phase 1) โดยไทยกับฝรั่งเศสออกเงินร่วมกันภายในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอาจจะออกฝ่ายละครึ่ง และส่วนที่ 2 (Phase 2) เส้นทางระหว่างท่านาแล้งกับเวียงจันทน์ ฝรั่งเศสจะร่วมสร้างกับฝ่ายลาว ซึ่งในส่วนของฝรั่งเศสจะมอบหมายให้ สำนักงานด้านการพัฒนา (Agence Francaise Development) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน กับไทย
2. นอกจากนี้ ยังมีโครงการไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ซึ่งการไฟฟ้าฝรั่งเศสได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับประเทศไทย
3. ฝ่ายฝรั่งเศสได้แสดงความสนใจโครงการพัฒนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค และการพัฒนาสนามบินปากเซให้สามารถรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 การร่วมมือโครงการสามเหลี่ยมมรกต และสถาบันแม่น้ำโขง ซึ่งมีโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับโครงสร้างกฎหมายภาษี กฎหมายปกครองและกฎหมายการลงทุน และการปรับปรุงการบริหารให้กับบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งให้ฝ่ายฝรั่งเศสทราบถึงสถานการณ์ในพม่าที่มีพัฒนาการไปในทางบวก และบทบาทของประเทศไทยที่ได้มีส่วนในการสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยได้จัดการประชุมระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติในพม่า หรือที่รู้จักในนามว่า “Bangkok Process” และแจ้งว่า ไทยคงจะจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยไทยจะประสานกับฝ่ายพม่าว่าจะเป็นเมือใด ในเรื่องนี้ นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่ารับว่าจะมาร่วมประชุมด้วย ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสแจ้งว่า หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสไม่มีภารกิจอื่นก็ยินดีจะมาร่วมประชุมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 นาย Pierre-Andre Willzzer รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส ได้เข้าเยี่ยมคารวะ และหารือข้อราชการกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องความคืบหน้าการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Action Plan) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ ระยะเวลา 10 ปี ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผลมาจากการหารือระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับประธานาธิบดีฌาค ชีรัค แห่งฝรั่งเศส เมื่อครั้งที่ นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 เพื่อให้สามารถลงนามร่วมกันได้ ในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะไปเยือนฝรั่งเศสและพบกับนาย Dominique de Villepin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 แผนปฏิบัติการร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสดังกล่าว ฝรั่งเศสเคยทำและประสบความสำเร็จมาแล้วกับญี่ปุ่น ซึ่งมีการร่วมมือกันทางด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวทำให้มูลค่าทางการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ในการนี้ ประธานาธิบดีชีรัคจึงได้เสนอแผนปฏิบัติการร่วมนี้กับไทยและนายกรัฐมนตรีก็เห็นชอบด้วย
แผนนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากที่ประเทศไทยเคยทำกับประเทศอื่น ๆ เนื่องจากไม่ใช่เป็นแผนปฏิบัติการทวิภาคี แต่รวมถึงการที่ฝรั่งเศสจะเป็นหุ้นส่วนกับประเทศไทยในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน โดยฝรั่งเศสได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (Economic Cooperation Strategy หรือ Ayeyawady-Chao Praya-Mekong Economic Cooperation Strtegy | ACMECS) ซึ่งนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ริเริ่ม ทั้งนี้ มีโครงการที่เป็นรูปธรรมและประธานาธิบดีชีรัค ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว อาทิ โครงการสร้างเส้นทางรถไฟจากหนองคายถึงท่านาแล้ง ซึ่งอยู่ใกล้กับเวียงจันทน์ โดยไทยและฝรั่งเศสได้ตกลงร่วมมือกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการร่วมมือกับประเทศที่สาม โครงการนี้ จะทำให้นักท่องเที่ยวและสินค้าไทยเข้าไปยังเวียงจันทน์ได้สะดวกขึ้น และนักท่องเที่ยวและสินค้าลาวก็จะเข้าประเทศไทยได้สะดวกขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าจะสามารถขนส่งมาทางรถไฟถึงท่าเรือของไทยได้ ทั้งนี้ การร่วมกันสร้างทางรถไฟเส้นทางเชื่อมระหว่าง หนองคายกับท่านาแล้ง เป็นส่วนที่ 1 (Phase 1) โดยไทยกับฝรั่งเศสออกเงินร่วมกันภายในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอาจจะออกฝ่ายละครึ่ง และส่วนที่ 2 (Phase 2) เส้นทางระหว่างท่านาแล้งกับเวียงจันทน์ ฝรั่งเศสจะร่วมสร้างกับฝ่ายลาว ซึ่งในส่วนของฝรั่งเศสจะมอบหมายให้ สำนักงานด้านการพัฒนา (Agence Francaise Development) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน กับไทย
2. นอกจากนี้ ยังมีโครงการไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ซึ่งการไฟฟ้าฝรั่งเศสได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับประเทศไทย
3. ฝ่ายฝรั่งเศสได้แสดงความสนใจโครงการพัฒนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค และการพัฒนาสนามบินปากเซให้สามารถรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 การร่วมมือโครงการสามเหลี่ยมมรกต และสถาบันแม่น้ำโขง ซึ่งมีโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับโครงสร้างกฎหมายภาษี กฎหมายปกครองและกฎหมายการลงทุน และการปรับปรุงการบริหารให้กับบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งให้ฝ่ายฝรั่งเศสทราบถึงสถานการณ์ในพม่าที่มีพัฒนาการไปในทางบวก และบทบาทของประเทศไทยที่ได้มีส่วนในการสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยได้จัดการประชุมระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติในพม่า หรือที่รู้จักในนามว่า “Bangkok Process” และแจ้งว่า ไทยคงจะจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยไทยจะประสานกับฝ่ายพม่าว่าจะเป็นเมือใด ในเรื่องนี้ นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่ารับว่าจะมาร่วมประชุมด้วย ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสแจ้งว่า หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสไม่มีภารกิจอื่นก็ยินดีจะมาร่วมประชุมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-