เมื่อเอ่ยถึง ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นึกถึงเครื่องเบญจรงค์ลวดลายประณีตอ่อนช้อย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สานต่อกันมาระยะเวลานาน ด้วยผลงานบ่งบอกให้เห็นถึงความมานะอดทนของผู้ผลิต บรรจงแต่งแต้มสีสันดูสอดคล้องเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ อดใจไม่ไหวต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน ยิ่งได้เห็นวิธีทำแล้วไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่มีใครกล้าต่อรองราคาเลยแม้แต่บาทเดียว
การศึกษาน้อย
ไม่ถอยคอยสู้งาน
คุณศักดา เพชรดารากุล ประธานกลุ่มเยาวชนฉัตรศักดาเบญจรงค์ เล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้มแสดงความเป็นมิตรอย่างแท้จริงว่า เดิมทีไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อน แต่หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนวัดจุฬามณี ก็ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ จึงต้องดิ้นรนหางานทำ โดยเลือกสถานที่ประกอบอาชีพในจังหวัดบ้านเกิด เพราะจะได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว
เครื่องเบญจรงค์ ดูจะเป็นอาชีพหนึ่งมีมาช้านานแล้วในตำบลบางช้าง ส่งผลให้คุณศักดาเกิดความสนอกสนใจ ต้องการสร้างสรรค์ผลงานได้เหมือนอย่างคนอื่น
โรงงานผู้ผลิตแห่งหนึ่งรับตัวคุณศักดา เป็นพนักงานประจำ เนื่องจากเห็นว่ามีความมุมานะ และมีใจรักในอาชีพนี้อย่างแท้จริง รายได้วันละร้อยกว่าบาท จึงเป็นรายได้ที่ผู้ชายวัย 15 ปี ได้รับ และยังชีพเรื่อยมาตั้งแต่ บัดนั้น
ถึงแม้ต้องการเที่ยวเตร่เหมือนวัยรุ่นคนอื่น ๆ บ้างบางครั้ง แต่ความคิดนี้ต้องยุติลงเนื่องจากปากท้องที่หิวโหยยังรออยู่ทุกมื้อทุกวัน และดูจะเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เขาต้องฝ่าฟัน และเรียนรู้วิธีการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทำให้ได้และทำให้ดีเฉกเช่นคนอื่น ๆ ในโรงงาน
ผ่านพ้นไป 1 ปี คุณศักดา เริ่มเรียนรู้ลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น และแน่นอนว่าเขาเริ่มได้รับความชำนาญแล้ว จากแต่ก่อนต้องใช้ระยะเวลาหลายวันกว่าผลงานแล้วเสร็จ บัดนี้เริ่มเร็วขึ้น ประณีตและสวยงามมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
สิบสามปีกับการเป็นพนักงานในโรงงานใหญ่ ความก้าวหน้า และความสำเร็จในชีวิต เป็นสิ่งที่คุณศักดา เริ่มคิดถึง และมีความต้องการอยากจะได้มาไว้ครอบครอง ซึ่งความคิดนี้เป็นความคิดที่ไม่ผิดเลย แม้หนทางยังคงมืดมนและไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี แต่เชื่อหรือไม่ว่าความคิดเท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขาฮึดสู้ พร้อมเผชิญปัญหาอุปสรรคและฝ่าฟันเพื่อความสำเร็จในอนาคต แต่จะใกล้หรือไกลนั้นไม่อาจรู้ได้
"ผมเป็นลูกจ้างอยู่ในโรงงานมาทั้งหมด 13 ปี รายได้ก็เพียงพอในการเลี้ยงตัวเองไปวัน ๆ แต่จะให้เหลือเก็บนั้นยาก อีกทั้งผมต้องการมีธุรกิจของตัวเอง จึงตัดสินใจลาออก เพราะถ้าอยู่อย่างนั้นต่อไป โอกาสจะก้าวหน้าไม่มีแน่" เหตุผลของการตัดสินใจลาออกที่คุณศักดา เล่าให้ฟัง
ตัดสินใจฉับพลัน
เพื่อฝันที่เป็นจริง
มองอีกมุมหนึ่ง การตัดสินใจครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเร็วเกินไป เพราะอะไรนะหรือ ก็เพราะคุณศักดาไม่ได้มีการเตรียมตัวหรือวางแผนการตลาดไว้ล่วงหน้าเลยว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด อยู่ ๆ ก็ตัดสินใจนำมอเตอร์ไซค์คันโปรดที่มีเพียงคันเดียวไปจำนำไว้กับไฟแนนซ์ ได้เงินมาลงทุน 6,000 บาท
นำเงินทั้งหมดซื้อหาอุปกรณ์และวัตถุดิบจำเป็นก่อน จากนั้นลงมือผลิตกับเพื่อนคือ คุณธนฉัตร โพธิ์อ่อง " ก็ลุยกันสองคน จนกระทั่งคิดว่าไม่ไหวเพราะผลงานทำได้น้อยชิ้น เนื่องจากแรงงานน้อยเกินไป จึงเริ่มรับสมาชิกเพิ่มเข้ามาในกลุ่ม ตอนนี้มีอยู่ทั้งหมด 15 คน ลงหุ้นกันคนละ 100 บาท" คุณศักดา กล่าวเสริม
สมาชิกส่วนใหญ่เข้ามาร่วมหุ้นจัดอยู่ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น โดยใช้เวลาว่างจากการเรียนมาประกอบอาชีพ ต่างกับวัยรุ่นอีกหลายคนที่หลงผิด มัวแต่หมกมุ่นอยู่กับยาเสพติดและการเที่ยวเตร่ สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและคนอื่น ๆ
แต่ยังมีหลายคนที่ไม่มีงานประจำ จึงยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก สำหรับความรู้ที่สมาชิกได้รับนั้น คุณศักดาจะถ่ายทอดให้ เหมือนกับที่ตนเองได้รับเมื่อครั้งเข้าไปทำงานในโรงงาน
วิธีสอนเป็นไปตามขั้นตอน ทำให้เรียนรู้ไม่ยาก อีกทั้งคุณศักดาให้ความเป็นกันเองกับสมาชิกทุกคน เรียกว่าอยู่กันแบบพี่น้อง มีปัญหาอะไรก็เล่าสู่กันฟัง การทำงานง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็มีหลายรายที่มาเรียนรู้ได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ถอยหลังกลับบ้าน เนื่องจากไม่มีใจรักในการทำงานด้านนี้
หลังจากผลิตผลงานได้ระยะหนึ่งก็ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 25,000 บาท ส่งผลให้การดำเนินงานคล่องตัวขึ้น
เมื่อชิ้นงานมากขึ้น ถึงคราวต้องวิ่งหาตลาด คุณศักดาเริ่มต้นจากไปขายสินค้าด้วยตนเอง ตามตลาดนัดและสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม ในที่สุดเห็นว่าถ้าต้องผลิตและหาตลาดด้วยตัวเองการดำเนินงานราบรื่นได้ยาก เนื่องจากไม่ค่อยรู้จักทำเล
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเข้าปรึกษาหน่วยงานราชการ อย่างกรมการพัฒนาชุมชน และกระทรวงพาณิชย์ หลังจากเจ้าหน้าที่มาดูสินค้า และพูดคุยกับคุณศักดา ทำให้ทราบถึงความตั้งใจจริง และเล็งเห็นว่าสินค้าแต่ละชิ้นเป็นผลงานที่ละเอียดอ่อน สวยงาม จึงเริ่มหาตลาดให้ โดยเริ่มจากการไปออกงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมื่อมีการจัดแสดงสินค้าประเภทนี้จะได้ไปโชว์ตัวทุกงาน
"หลังจากออกงานจัดแสดงสินค้า ปรากฏว่าสินค้าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างชาติ ก็มีโทรศัพท์เข้ามาสั่งซื้อสินค้า ทำให้สมาชิกมีงานทำกันมากขึ้น แต่ผมก็ยังหวังให้มีคนรู้จักมากกว่านี้ เพราะผมคิดว่าถ้าลูกค้าสั่งจองสินค้าเข้ามามาก คนในชุมชนก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย" คุณศักดา กล่าว
สามัคคีร่วมงาน
ร่วมสาน ร่วมสร้าง
สำหรับสมาชิกคนใดทำงานเต็มวันจะมีรายได้คนละประมาณ 4,000 บาท ต่อเดือน เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันก็ยังถือว่าน้อย พวกเขาจึงมีความประสงค์ต้องการให้สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาจะได้อยู่ดีกินดีกว่าที่เคยเป็น
กล่าวถึงอุปสรรคปัญหา คุณศักดาว่ากับการทำงานไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะสมาชิกทุกคนปรองดองกันดี และมีความตั้งใจจริงในการทำงาน แต่สิ่งที่เขาต้องการก็คือ เตาอบเครื่องเบญจรงค์ ที่มีราคาสูงนับแสนบาท ซึ่งทางกลุ่มยังไม่มีเงินทุนมากพอจะซื้อ
"ตั้งแต่ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ต้องจ้างโรงงานอื่นอบสินค้าให้ ซึ่งราคาจะสูงกว่าอบเองถึงครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงใกล้เทศกาลสินค้าจะได้ช้า เนื่องจากต้องต่อคิว เพราะมีรายอื่นมารอด้วย" คุณศักดาเผยให้ฟัง
เครื่องเบญจรงค์ ของกลุ่มมีลวดลายแตกต่างไปจากผู้ผลิตรายอื่น โดยเฉพาะลายโบราณ และประเพณี ถือได้ว่าโดดเด่น ลูกค้าให้ความสนใจสั่งซื้อจำนวนมาก
สำหรับสินค้ามีให้เลือกหลากหลายประเภท อาทิ ถ้วย จาน ชาม ชุดชา กาแฟ โถ แจกัน กรอบรูป เป็นต้น โดยตั้งราคาไว้ตั้งแต่ 50-10,000 บาท แต่ละชิ้นงานจะให้กำไรประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าไม่สูงเลย ทั้งนี้คุณศักดาให้เหตุผลว่าต้องการให้สินค้าขายง่ายขายคล่อง คนที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากนักก็สามารถหาซื้อได้
สินค้าของกลุ่ม ได้รับการรับรองว่า เป็นสินค้าระดับ 4 ดาว สิ่งนี้ถือเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ทำให้สินค้าขายคล่องขึ้น และถึงแม้ว่าจะมีผู้ผลิตเครื่องเบญจรงค์หลายราย แต่คุณศักดาว่าแต่ละรายก็มุ่งประกอบอาชีพที่ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ยิ่งมีผู้ผลิตในจังหวัดสมุทรสงครามมากเท่าใด ยิ่งถือเป็นช่องทางที่ดีในการโปรโมตสินค้าให้ประชาชนรู้จักง่ายขึ้น
เรื่องการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ถือเป็นช่องทางสำคัญ ไม่ควรมองข้าม ทุกครั้งที่ออกงานแสดงสินค้า ทางกลุ่มจะจัดเตรียมแผ่นพับ และนามบัตร เพื่อแจกให้ลูกค้า โดยเฉพาะเรื่องการบริการขณะขายสินค้าถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งนี้คุณศักดา ะทำหน้าที่นี้ด้วยตนเองเผื่อลูกค้าสงสัยสิ่งใดก็สามารถอธิบายได้อย่างคล่องแคล่ว
ทำได้ไม่ยุ่งยาก
สร้างด้วยความรัก
เอ่ยถามถึงวิธีทำ คุณศักดาว่าขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีความละเอียดอ่อน โดยเริ่มแรกหาซื้อ แจกัน ถ้วย ชาม โถ ที่เป็นเซรามิกมาก่อน โดยเลือกให้ได้คุณภาพดี ซึ่งวัตถุดิบดังกล่าวมามีผู้ผลิตจำนวนมากในจังหวัดสมุทรสงคราม
จากนั้นนำมาทำความสะอาด แล้วเขียนลายตามต้องการ โดยส่วนใหญ่จินตนาการขึ้นเอง จากนั้นลงสี โดยอิงความเป็นธรรมชาติ ขั้นตอนสุดท้ายนำไปอบ เพื่อจำหน่ายต่อไป
คุณศักดาว่าผลงานแต่ละชิ้นทำด้วยมือ จึงอาจผิดเพี้ยนในเรื่องขององค์ประกอบของวิวทิวทัศน์ หรือในขั้นตอนการลงสี แต่สินค้ายังคงคุณภาพดีไม่มีตำหนิ
สำหรับวัสดุอุปกรณ์สำคัญต้องใช้มี พู่กัน ถ้วยผสมสี แป้นหมุน และสี โดยจะแบ่งแยกเป็นสีทองสำหรับเขียนลาย และสีอื่น ๆ ใช้ลงสี คุณศักดาจะสั่งซื้อจากบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยวิธีสั่งทางไปรษณีย์ สำหรับราคาสีจะสูง เมื่อซื้อมาแล้วต้องรู้สูตรในการผสมให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะเสียหายได้
"แม้ว่าผมจะทำงานอยู่ในโรงงานมานาน 13 ปี แต่ก็ไม่เคยรับรู้ว่าสูตรการผสมสีของโรงงานเป็นอย่างไร เนื่องจากเขาเก็บเป็นความลับ ผมต้องมาทดลองทำด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่สนใจด้านนี้ คลุกคลีอยู่ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก" คุณศักดาพูดถึงสีเซรามิก
คุณศักดา และสมาชิก ยังคงคาดหวังไว้ว่า ถ้าสินค้าได้รับการตอบรับดี จะมุ่งขยายกิจการต่อไป โดยขยายพื้นที่การทำงานให้กว้างขวางขึ้น มีห้องเก็บสินค้าเป็นสัดส่วน และยังคาดหวังว่าต่อไปจะมุ่งขายส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วย
และนี่ถือเป็นความฝันที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อให้สำเร็จต่อไป ถึงแม้หนทางจะยาวไกล ถ้ามีความตั้งใจจริง บวกกับได้รับโอกาสที่ดีจากหน่วยงาน และลูกค้า ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานทอดผ่านให้ได้เดินทางมุ่งสู่ความฝันที่เป็นความจริง ความสำเร็จต้องมาถึงแน่นอน
สำหรับผู้สนใจต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือสมัครเป็นสมาชิก ติดต่อได้ที่ กลุ่มเยาวชน ฉัตรศักดา เบญจรงค์ 129 หมู่ 9 ซอยวัดลังกา ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 เบอร์โทรศัพท์ (09) 746-2433
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
การศึกษาน้อย
ไม่ถอยคอยสู้งาน
คุณศักดา เพชรดารากุล ประธานกลุ่มเยาวชนฉัตรศักดาเบญจรงค์ เล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้มแสดงความเป็นมิตรอย่างแท้จริงว่า เดิมทีไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อน แต่หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนวัดจุฬามณี ก็ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ จึงต้องดิ้นรนหางานทำ โดยเลือกสถานที่ประกอบอาชีพในจังหวัดบ้านเกิด เพราะจะได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว
เครื่องเบญจรงค์ ดูจะเป็นอาชีพหนึ่งมีมาช้านานแล้วในตำบลบางช้าง ส่งผลให้คุณศักดาเกิดความสนอกสนใจ ต้องการสร้างสรรค์ผลงานได้เหมือนอย่างคนอื่น
โรงงานผู้ผลิตแห่งหนึ่งรับตัวคุณศักดา เป็นพนักงานประจำ เนื่องจากเห็นว่ามีความมุมานะ และมีใจรักในอาชีพนี้อย่างแท้จริง รายได้วันละร้อยกว่าบาท จึงเป็นรายได้ที่ผู้ชายวัย 15 ปี ได้รับ และยังชีพเรื่อยมาตั้งแต่ บัดนั้น
ถึงแม้ต้องการเที่ยวเตร่เหมือนวัยรุ่นคนอื่น ๆ บ้างบางครั้ง แต่ความคิดนี้ต้องยุติลงเนื่องจากปากท้องที่หิวโหยยังรออยู่ทุกมื้อทุกวัน และดูจะเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เขาต้องฝ่าฟัน และเรียนรู้วิธีการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทำให้ได้และทำให้ดีเฉกเช่นคนอื่น ๆ ในโรงงาน
ผ่านพ้นไป 1 ปี คุณศักดา เริ่มเรียนรู้ลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น และแน่นอนว่าเขาเริ่มได้รับความชำนาญแล้ว จากแต่ก่อนต้องใช้ระยะเวลาหลายวันกว่าผลงานแล้วเสร็จ บัดนี้เริ่มเร็วขึ้น ประณีตและสวยงามมากยิ่งขึ้นตามลำดับ
สิบสามปีกับการเป็นพนักงานในโรงงานใหญ่ ความก้าวหน้า และความสำเร็จในชีวิต เป็นสิ่งที่คุณศักดา เริ่มคิดถึง และมีความต้องการอยากจะได้มาไว้ครอบครอง ซึ่งความคิดนี้เป็นความคิดที่ไม่ผิดเลย แม้หนทางยังคงมืดมนและไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี แต่เชื่อหรือไม่ว่าความคิดเท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขาฮึดสู้ พร้อมเผชิญปัญหาอุปสรรคและฝ่าฟันเพื่อความสำเร็จในอนาคต แต่จะใกล้หรือไกลนั้นไม่อาจรู้ได้
"ผมเป็นลูกจ้างอยู่ในโรงงานมาทั้งหมด 13 ปี รายได้ก็เพียงพอในการเลี้ยงตัวเองไปวัน ๆ แต่จะให้เหลือเก็บนั้นยาก อีกทั้งผมต้องการมีธุรกิจของตัวเอง จึงตัดสินใจลาออก เพราะถ้าอยู่อย่างนั้นต่อไป โอกาสจะก้าวหน้าไม่มีแน่" เหตุผลของการตัดสินใจลาออกที่คุณศักดา เล่าให้ฟัง
ตัดสินใจฉับพลัน
เพื่อฝันที่เป็นจริง
มองอีกมุมหนึ่ง การตัดสินใจครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเร็วเกินไป เพราะอะไรนะหรือ ก็เพราะคุณศักดาไม่ได้มีการเตรียมตัวหรือวางแผนการตลาดไว้ล่วงหน้าเลยว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด อยู่ ๆ ก็ตัดสินใจนำมอเตอร์ไซค์คันโปรดที่มีเพียงคันเดียวไปจำนำไว้กับไฟแนนซ์ ได้เงินมาลงทุน 6,000 บาท
นำเงินทั้งหมดซื้อหาอุปกรณ์และวัตถุดิบจำเป็นก่อน จากนั้นลงมือผลิตกับเพื่อนคือ คุณธนฉัตร โพธิ์อ่อง " ก็ลุยกันสองคน จนกระทั่งคิดว่าไม่ไหวเพราะผลงานทำได้น้อยชิ้น เนื่องจากแรงงานน้อยเกินไป จึงเริ่มรับสมาชิกเพิ่มเข้ามาในกลุ่ม ตอนนี้มีอยู่ทั้งหมด 15 คน ลงหุ้นกันคนละ 100 บาท" คุณศักดา กล่าวเสริม
สมาชิกส่วนใหญ่เข้ามาร่วมหุ้นจัดอยู่ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น โดยใช้เวลาว่างจากการเรียนมาประกอบอาชีพ ต่างกับวัยรุ่นอีกหลายคนที่หลงผิด มัวแต่หมกมุ่นอยู่กับยาเสพติดและการเที่ยวเตร่ สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและคนอื่น ๆ
แต่ยังมีหลายคนที่ไม่มีงานประจำ จึงยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก สำหรับความรู้ที่สมาชิกได้รับนั้น คุณศักดาจะถ่ายทอดให้ เหมือนกับที่ตนเองได้รับเมื่อครั้งเข้าไปทำงานในโรงงาน
วิธีสอนเป็นไปตามขั้นตอน ทำให้เรียนรู้ไม่ยาก อีกทั้งคุณศักดาให้ความเป็นกันเองกับสมาชิกทุกคน เรียกว่าอยู่กันแบบพี่น้อง มีปัญหาอะไรก็เล่าสู่กันฟัง การทำงานง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็มีหลายรายที่มาเรียนรู้ได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ถอยหลังกลับบ้าน เนื่องจากไม่มีใจรักในการทำงานด้านนี้
หลังจากผลิตผลงานได้ระยะหนึ่งก็ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 25,000 บาท ส่งผลให้การดำเนินงานคล่องตัวขึ้น
เมื่อชิ้นงานมากขึ้น ถึงคราวต้องวิ่งหาตลาด คุณศักดาเริ่มต้นจากไปขายสินค้าด้วยตนเอง ตามตลาดนัดและสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม ในที่สุดเห็นว่าถ้าต้องผลิตและหาตลาดด้วยตัวเองการดำเนินงานราบรื่นได้ยาก เนื่องจากไม่ค่อยรู้จักทำเล
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเข้าปรึกษาหน่วยงานราชการ อย่างกรมการพัฒนาชุมชน และกระทรวงพาณิชย์ หลังจากเจ้าหน้าที่มาดูสินค้า และพูดคุยกับคุณศักดา ทำให้ทราบถึงความตั้งใจจริง และเล็งเห็นว่าสินค้าแต่ละชิ้นเป็นผลงานที่ละเอียดอ่อน สวยงาม จึงเริ่มหาตลาดให้ โดยเริ่มจากการไปออกงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมื่อมีการจัดแสดงสินค้าประเภทนี้จะได้ไปโชว์ตัวทุกงาน
"หลังจากออกงานจัดแสดงสินค้า ปรากฏว่าสินค้าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างชาติ ก็มีโทรศัพท์เข้ามาสั่งซื้อสินค้า ทำให้สมาชิกมีงานทำกันมากขึ้น แต่ผมก็ยังหวังให้มีคนรู้จักมากกว่านี้ เพราะผมคิดว่าถ้าลูกค้าสั่งจองสินค้าเข้ามามาก คนในชุมชนก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย" คุณศักดา กล่าว
สามัคคีร่วมงาน
ร่วมสาน ร่วมสร้าง
สำหรับสมาชิกคนใดทำงานเต็มวันจะมีรายได้คนละประมาณ 4,000 บาท ต่อเดือน เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันก็ยังถือว่าน้อย พวกเขาจึงมีความประสงค์ต้องการให้สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาจะได้อยู่ดีกินดีกว่าที่เคยเป็น
กล่าวถึงอุปสรรคปัญหา คุณศักดาว่ากับการทำงานไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะสมาชิกทุกคนปรองดองกันดี และมีความตั้งใจจริงในการทำงาน แต่สิ่งที่เขาต้องการก็คือ เตาอบเครื่องเบญจรงค์ ที่มีราคาสูงนับแสนบาท ซึ่งทางกลุ่มยังไม่มีเงินทุนมากพอจะซื้อ
"ตั้งแต่ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ต้องจ้างโรงงานอื่นอบสินค้าให้ ซึ่งราคาจะสูงกว่าอบเองถึงครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงใกล้เทศกาลสินค้าจะได้ช้า เนื่องจากต้องต่อคิว เพราะมีรายอื่นมารอด้วย" คุณศักดาเผยให้ฟัง
เครื่องเบญจรงค์ ของกลุ่มมีลวดลายแตกต่างไปจากผู้ผลิตรายอื่น โดยเฉพาะลายโบราณ และประเพณี ถือได้ว่าโดดเด่น ลูกค้าให้ความสนใจสั่งซื้อจำนวนมาก
สำหรับสินค้ามีให้เลือกหลากหลายประเภท อาทิ ถ้วย จาน ชาม ชุดชา กาแฟ โถ แจกัน กรอบรูป เป็นต้น โดยตั้งราคาไว้ตั้งแต่ 50-10,000 บาท แต่ละชิ้นงานจะให้กำไรประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าไม่สูงเลย ทั้งนี้คุณศักดาให้เหตุผลว่าต้องการให้สินค้าขายง่ายขายคล่อง คนที่มีกำลังทรัพย์ไม่มากนักก็สามารถหาซื้อได้
สินค้าของกลุ่ม ได้รับการรับรองว่า เป็นสินค้าระดับ 4 ดาว สิ่งนี้ถือเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ทำให้สินค้าขายคล่องขึ้น และถึงแม้ว่าจะมีผู้ผลิตเครื่องเบญจรงค์หลายราย แต่คุณศักดาว่าแต่ละรายก็มุ่งประกอบอาชีพที่ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ยิ่งมีผู้ผลิตในจังหวัดสมุทรสงครามมากเท่าใด ยิ่งถือเป็นช่องทางที่ดีในการโปรโมตสินค้าให้ประชาชนรู้จักง่ายขึ้น
เรื่องการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ถือเป็นช่องทางสำคัญ ไม่ควรมองข้าม ทุกครั้งที่ออกงานแสดงสินค้า ทางกลุ่มจะจัดเตรียมแผ่นพับ และนามบัตร เพื่อแจกให้ลูกค้า โดยเฉพาะเรื่องการบริการขณะขายสินค้าถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งนี้คุณศักดา ะทำหน้าที่นี้ด้วยตนเองเผื่อลูกค้าสงสัยสิ่งใดก็สามารถอธิบายได้อย่างคล่องแคล่ว
ทำได้ไม่ยุ่งยาก
สร้างด้วยความรัก
เอ่ยถามถึงวิธีทำ คุณศักดาว่าขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีความละเอียดอ่อน โดยเริ่มแรกหาซื้อ แจกัน ถ้วย ชาม โถ ที่เป็นเซรามิกมาก่อน โดยเลือกให้ได้คุณภาพดี ซึ่งวัตถุดิบดังกล่าวมามีผู้ผลิตจำนวนมากในจังหวัดสมุทรสงคราม
จากนั้นนำมาทำความสะอาด แล้วเขียนลายตามต้องการ โดยส่วนใหญ่จินตนาการขึ้นเอง จากนั้นลงสี โดยอิงความเป็นธรรมชาติ ขั้นตอนสุดท้ายนำไปอบ เพื่อจำหน่ายต่อไป
คุณศักดาว่าผลงานแต่ละชิ้นทำด้วยมือ จึงอาจผิดเพี้ยนในเรื่องขององค์ประกอบของวิวทิวทัศน์ หรือในขั้นตอนการลงสี แต่สินค้ายังคงคุณภาพดีไม่มีตำหนิ
สำหรับวัสดุอุปกรณ์สำคัญต้องใช้มี พู่กัน ถ้วยผสมสี แป้นหมุน และสี โดยจะแบ่งแยกเป็นสีทองสำหรับเขียนลาย และสีอื่น ๆ ใช้ลงสี คุณศักดาจะสั่งซื้อจากบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยวิธีสั่งทางไปรษณีย์ สำหรับราคาสีจะสูง เมื่อซื้อมาแล้วต้องรู้สูตรในการผสมให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะเสียหายได้
"แม้ว่าผมจะทำงานอยู่ในโรงงานมานาน 13 ปี แต่ก็ไม่เคยรับรู้ว่าสูตรการผสมสีของโรงงานเป็นอย่างไร เนื่องจากเขาเก็บเป็นความลับ ผมต้องมาทดลองทำด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่สนใจด้านนี้ คลุกคลีอยู่ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องยาก" คุณศักดาพูดถึงสีเซรามิก
คุณศักดา และสมาชิก ยังคงคาดหวังไว้ว่า ถ้าสินค้าได้รับการตอบรับดี จะมุ่งขยายกิจการต่อไป โดยขยายพื้นที่การทำงานให้กว้างขวางขึ้น มีห้องเก็บสินค้าเป็นสัดส่วน และยังคาดหวังว่าต่อไปจะมุ่งขายส่งสินค้าไปยังต่างประเทศด้วย
และนี่ถือเป็นความฝันที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อให้สำเร็จต่อไป ถึงแม้หนทางจะยาวไกล ถ้ามีความตั้งใจจริง บวกกับได้รับโอกาสที่ดีจากหน่วยงาน และลูกค้า ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานทอดผ่านให้ได้เดินทางมุ่งสู่ความฝันที่เป็นความจริง ความสำเร็จต้องมาถึงแน่นอน
สำหรับผู้สนใจต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือสมัครเป็นสมาชิก ติดต่อได้ที่ กลุ่มเยาวชน ฉัตรศักดา เบญจรงค์ 129 หมู่ 9 ซอยวัดลังกา ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 เบอร์โทรศัพท์ (09) 746-2433
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-