วันนี้(9 มี.ค.47) เวลา 15.30น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารพรรค และ การประชุมส.ส.พรรคว่า ในที่ประชุมวันนี้ได้มีการพูดคุยถึงเรื่อง การชุมนุมประท้วงคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. การปรับคณะรัฐมนตรี และ การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดนครปฐม
ในเรื่องการแปรรูปกฟผ.ที่ประชุมได้ประเมินท่าทีของนายกฯ ที่ช่วงแรกนายกฯมีท่าทีที่แข็งกร้าวว่าจะเดินหน้าการแปรรูป แต่ต่อมากลับลดท่าทีลงว่า ประการที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นการซื้อเวลา จนกว่ากระแสการคัดค้านจะลดลง และหลังจากนั้น รัฐบาลก็อาจจะรวบรัดออกกฎหมายการแปรรูป ประการที่ 2 เรื่องการกระจายหุ้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่เชื่อที่นายกฯกล่าวว่าจะให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าไปจัดสรรหุ้นให้เป็นธรรม ประการที่ 3 ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีหลักประกันว่า การแปรรูปจะไม่กระทบต่อประชาชน เช่น เรื่องการขึ้นค่าไฟฟ้า ประการที่ 4 หากจะมีการแปรรูป รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับให้เรียบร้อยก่อน ไม่ใช่มาออกกฎหมายหลังการแปรรูป และประการที่ 5 ขณะนี้ยังไม่เห็นว่า รัฐบาลจะทำให้การแปรรูปเป็นการพัฒนารัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกลับเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์มากกว่าเห็นแก่ประโชน์ของประเทศหรือประชาชน
สำหรับเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การปรับครม.ครั้งนี้ เป็นการปรับเพื่อกระจายตำแหน่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มหรื่อไม่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ประการดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 เป็นการปรับเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม ประการที่ 2 การแต่งตั้งรัฐมนตรี เพื่อสร้างฐานการเลือกตั้งครั้งหน้า ประการที่ 3 เป็นการสลับตำแหน่งของรัฐมนตรีที่เริ่มจะบอบช้ำ ไปอยู่กระทรวงอื่น และประการที่ 4 เป็นการโยกย้ายเพื่อหลบเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามการปรับครม.ที่เกิดขึ้นครั้งนี้น่าจะเรียกว่าเป็นครม.เวียนเทียน และเชื่อว่าการปรับครม.ทักษิณ 8 จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเพราะจะมีอีกแน่นอนในอนาคต
เรื่องที่ 3 คือการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดนครปฐม นายองอาจกล่าวว่า ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้รับรายงานจากคนในพื้นที่ว่า เริ่มมีการใช้อำนาจรัฐเข้าไปคุกคาม บีบข้าราชการในพื้นที่ให้ช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยในรูปแบบต่างๆ เช่น การขอให้หน่วยราชการจัดประชุมหรือกิจกรรม และเชิญรมต.ที่เกี่ยวข้องให้ไปร่วมงาน สร้างความอึดอัดใจให้กับข้าราชการที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเป็นอย่างมาก หรือจากการที่นายกฯและครม.ลงไปหาเสียงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็มีข้าราชการระดับสูง เช่นปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการบางกระทรวง ร่วมเดินทางไปกับคณะหาเสียงด้วย เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 09/03/47--จบ--
-สส-
ในเรื่องการแปรรูปกฟผ.ที่ประชุมได้ประเมินท่าทีของนายกฯ ที่ช่วงแรกนายกฯมีท่าทีที่แข็งกร้าวว่าจะเดินหน้าการแปรรูป แต่ต่อมากลับลดท่าทีลงว่า ประการที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นการซื้อเวลา จนกว่ากระแสการคัดค้านจะลดลง และหลังจากนั้น รัฐบาลก็อาจจะรวบรัดออกกฎหมายการแปรรูป ประการที่ 2 เรื่องการกระจายหุ้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่เชื่อที่นายกฯกล่าวว่าจะให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าไปจัดสรรหุ้นให้เป็นธรรม ประการที่ 3 ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีหลักประกันว่า การแปรรูปจะไม่กระทบต่อประชาชน เช่น เรื่องการขึ้นค่าไฟฟ้า ประการที่ 4 หากจะมีการแปรรูป รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับให้เรียบร้อยก่อน ไม่ใช่มาออกกฎหมายหลังการแปรรูป และประการที่ 5 ขณะนี้ยังไม่เห็นว่า รัฐบาลจะทำให้การแปรรูปเป็นการพัฒนารัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกลับเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์มากกว่าเห็นแก่ประโชน์ของประเทศหรือประชาชน
สำหรับเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การปรับครม.ครั้งนี้ เป็นการปรับเพื่อกระจายตำแหน่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มหรื่อไม่ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ประการดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 เป็นการปรับเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม ประการที่ 2 การแต่งตั้งรัฐมนตรี เพื่อสร้างฐานการเลือกตั้งครั้งหน้า ประการที่ 3 เป็นการสลับตำแหน่งของรัฐมนตรีที่เริ่มจะบอบช้ำ ไปอยู่กระทรวงอื่น และประการที่ 4 เป็นการโยกย้ายเพื่อหลบเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามการปรับครม.ที่เกิดขึ้นครั้งนี้น่าจะเรียกว่าเป็นครม.เวียนเทียน และเชื่อว่าการปรับครม.ทักษิณ 8 จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายเพราะจะมีอีกแน่นอนในอนาคต
เรื่องที่ 3 คือการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดนครปฐม นายองอาจกล่าวว่า ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้รับรายงานจากคนในพื้นที่ว่า เริ่มมีการใช้อำนาจรัฐเข้าไปคุกคาม บีบข้าราชการในพื้นที่ให้ช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยในรูปแบบต่างๆ เช่น การขอให้หน่วยราชการจัดประชุมหรือกิจกรรม และเชิญรมต.ที่เกี่ยวข้องให้ไปร่วมงาน สร้างความอึดอัดใจให้กับข้าราชการที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเป็นอย่างมาก หรือจากการที่นายกฯและครม.ลงไปหาเสียงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็มีข้าราชการระดับสูง เช่นปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการบางกระทรวง ร่วมเดินทางไปกับคณะหาเสียงด้วย เป็นต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 09/03/47--จบ--
-สส-