ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ เลขานุการคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปปัตย์ ให้สัมภาษณ์ ‘ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์’ ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหลังจากที่มีการวิเคราะห์กันว่า สินค้าอุปโภคบริโภคจะดีดตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
รัฐบาลควรมีมาตราการควบคุมภาวะเงินเฟ้ออย่างไร เพราะมีการคาดการณ์กันว่าหลังจากการปรับเงินเดือนข้าราการแล้ว ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงขึ้น
เรื่องนี้มีสัญญาณมาแล้วว่า ดัชนีเงินเฟ้อโดยรวมสูงขึ้นแต่ว่าสูงขึ้นไม่มาก แต่ว่าสิ่งที่สูงขึ้นมากคือดัชนีอุปโภคบริโภค จริงๆเข้าใจอยู่ว่าเงินเดือนข้าราชการไม่ได้ถูกปรับมานานเพราะฉะนั้นหากรัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากเกนเป้าก้เห้นด้วยที่ควรปรรับเงินเดือนข้าราชการ แต่ข้อกังวลคือว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นก็จะกระทบต่อประชาชนโดยรวม รวมทั้งการที่เงินเดือนข้ารากชารสูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ผมว่ามันเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คือรัฐบาลมุ่งที่จะให้ประชาชนใช้จ่าย แน่นอนที่สุดว่าเงินเฟ้อทางด้านการอุปโภคบริโภคมันต้องเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นทางที่ถูกคือไม่ควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างเกินตัว
คิดว่ากรณีการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือไม่
มีผลกระทบหลายด้าน ตลาดหุ้นก็ต้องกระทบแน่เพราะว่าถ้ากฟผ.เลื่อนการแปรรูปออกไป ความคึกคักในตลาดหุ้นที่ทุกคนคาดหวังว่าจะคึกคักขึ้น ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ว่าจริงๆก็ไม่ใช่ความผิดของม็อบที่มาคัดค้านการแปรรูป เรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นความผิดของรัฐบาลที่ไม่ได้สร้างกลไกการแปรรูปให้พร้อม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีที่มีการผูกขาดเรื่องสายส่ง ซึ่งจริงๆสมควรที่จะแยกสายส่งออกไปเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นของรัฐบาล แล้วก็แปรรูปเฉพาะตัวโรงงานผลิตไฟฟ้าโดยมีองค์กรกำกับดูแลเข้ามาดูแลในเรื่องอัตราค่าไฟ แต่ว่ารัฐบาลไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้เลย ก็เลยทำให้เกิดความกังวลแล้วก็นำไปสู่การรวมตัวเป็นม็อบเกิดขึ้น ผมคิดว่าการที่นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน ชี้แจงมาค่อนข้างจะหลงประเด็นและ เพราะว่ากรณีที่เป็นห่วงคือว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้นำอำนาจของรัฐไปเวนคืนที่ดินมาทำเป็นสายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า และก่อนหน้านี้คนที่ถูกเวณคืนที่ดิน ก็ยอมรับได้เพราะว่าเป็นการเสียสละเพื่อชาติ แต่ประเด็นที่คัดค้านกันอยู่คือ เมื่อทำการแปรรูปไปแล้วที่ดินส่วนนั้นที่ประชาชนเสียสละมาก็จะไปตกอยู่กับเอกชน อันนี้เป็นประเด็นความเป็นเจ้าของ เพราะว่าประชาชนก็ไม่อยากจะให้สิ่งที่เสียสละไปตกเป็นของนายทุน แต่นายแพทย์พรหมินทร์กลับชี้แจงว่า อย่างไรก็ตามการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังควบคุมที่ดินเหล่านี้อยู่เพราะะว่ามีหุ้นอยู่ 75% ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครควบคุมอะไร แต่อยู่ที่ว่าที่ดินนี้ความเป็นเจ้าของได้ตกไปอยู่ที่เอกชนถึง 25%
มองได้หรือไม่ว่าขณะนี้ภาวะตลาดหุ้นขณะนี้เริ่มซบเซา รัฐบาลจึงต้องเร่งผลักดันกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกระตุ้นตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้โต 8% ตามที่รัฐบาลได้วางเป้าเอาไว้
ขณะนี้รัฐบาลมุ่งอย่างเดียวคือ มุ่งเฉพาะตลาดหุ้นโดยไม่สนใจอะไรเลย ซึ่งจริงๆแล้วการแปรรูปจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จจะต้องขึ้นอยู่กับกลไกที่รองรับ แต่รัฐบาลพยายามจะนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีกลไกมารองรับการแปรรูป แน่นอนก็ต้องมีผู้คัดค้านและในที่สุดรัฐบาลก็จะทำไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นอันนี้คือข้อพึงสังวรณ์ของรัฐบาล แล้วที่นายกฯพูดว่าตายเป็นตาย แล้วก็มาเลื่อนการแปรรูปเพราะยอมรับว่าระบบต่างๆยังไม่พร้อม นี่เห็นได้ชัดว่าคำพูดที่นายกฯพูดมาตั้งแต่แรกมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์มากกว่าเหตุผล ความเลินเล่อและความไม่พร้อมพยายามที่จะผลักดันโดยคิดว่าตัวเองมีอำนาจมากก็ทำให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา เศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีขั้นตอนการดำเนินงานต่อเนื่องก็จะสะดุดลง ….. จบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10/03/47--จบ--
-สส-
รัฐบาลควรมีมาตราการควบคุมภาวะเงินเฟ้ออย่างไร เพราะมีการคาดการณ์กันว่าหลังจากการปรับเงินเดือนข้าราการแล้ว ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงขึ้น
เรื่องนี้มีสัญญาณมาแล้วว่า ดัชนีเงินเฟ้อโดยรวมสูงขึ้นแต่ว่าสูงขึ้นไม่มาก แต่ว่าสิ่งที่สูงขึ้นมากคือดัชนีอุปโภคบริโภค จริงๆเข้าใจอยู่ว่าเงินเดือนข้าราชการไม่ได้ถูกปรับมานานเพราะฉะนั้นหากรัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากเกนเป้าก้เห้นด้วยที่ควรปรรับเงินเดือนข้าราชการ แต่ข้อกังวลคือว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นก็จะกระทบต่อประชาชนโดยรวม รวมทั้งการที่เงินเดือนข้ารากชารสูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ผมว่ามันเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คือรัฐบาลมุ่งที่จะให้ประชาชนใช้จ่าย แน่นอนที่สุดว่าเงินเฟ้อทางด้านการอุปโภคบริโภคมันต้องเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นทางที่ถูกคือไม่ควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างเกินตัว
คิดว่ากรณีการคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือไม่
มีผลกระทบหลายด้าน ตลาดหุ้นก็ต้องกระทบแน่เพราะว่าถ้ากฟผ.เลื่อนการแปรรูปออกไป ความคึกคักในตลาดหุ้นที่ทุกคนคาดหวังว่าจะคึกคักขึ้น ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ว่าจริงๆก็ไม่ใช่ความผิดของม็อบที่มาคัดค้านการแปรรูป เรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นความผิดของรัฐบาลที่ไม่ได้สร้างกลไกการแปรรูปให้พร้อม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีที่มีการผูกขาดเรื่องสายส่ง ซึ่งจริงๆสมควรที่จะแยกสายส่งออกไปเป็นองค์กรหนึ่งที่เป็นของรัฐบาล แล้วก็แปรรูปเฉพาะตัวโรงงานผลิตไฟฟ้าโดยมีองค์กรกำกับดูแลเข้ามาดูแลในเรื่องอัตราค่าไฟ แต่ว่ารัฐบาลไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้เลย ก็เลยทำให้เกิดความกังวลแล้วก็นำไปสู่การรวมตัวเป็นม็อบเกิดขึ้น ผมคิดว่าการที่นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน ชี้แจงมาค่อนข้างจะหลงประเด็นและ เพราะว่ากรณีที่เป็นห่วงคือว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้นำอำนาจของรัฐไปเวนคืนที่ดินมาทำเป็นสายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า และก่อนหน้านี้คนที่ถูกเวณคืนที่ดิน ก็ยอมรับได้เพราะว่าเป็นการเสียสละเพื่อชาติ แต่ประเด็นที่คัดค้านกันอยู่คือ เมื่อทำการแปรรูปไปแล้วที่ดินส่วนนั้นที่ประชาชนเสียสละมาก็จะไปตกอยู่กับเอกชน อันนี้เป็นประเด็นความเป็นเจ้าของ เพราะว่าประชาชนก็ไม่อยากจะให้สิ่งที่เสียสละไปตกเป็นของนายทุน แต่นายแพทย์พรหมินทร์กลับชี้แจงว่า อย่างไรก็ตามการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังควบคุมที่ดินเหล่านี้อยู่เพราะะว่ามีหุ้นอยู่ 75% ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครควบคุมอะไร แต่อยู่ที่ว่าที่ดินนี้ความเป็นเจ้าของได้ตกไปอยู่ที่เอกชนถึง 25%
มองได้หรือไม่ว่าขณะนี้ภาวะตลาดหุ้นขณะนี้เริ่มซบเซา รัฐบาลจึงต้องเร่งผลักดันกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกระตุ้นตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้โต 8% ตามที่รัฐบาลได้วางเป้าเอาไว้
ขณะนี้รัฐบาลมุ่งอย่างเดียวคือ มุ่งเฉพาะตลาดหุ้นโดยไม่สนใจอะไรเลย ซึ่งจริงๆแล้วการแปรรูปจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จจะต้องขึ้นอยู่กับกลไกที่รองรับ แต่รัฐบาลพยายามจะนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีกลไกมารองรับการแปรรูป แน่นอนก็ต้องมีผู้คัดค้านและในที่สุดรัฐบาลก็จะทำไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นอันนี้คือข้อพึงสังวรณ์ของรัฐบาล แล้วที่นายกฯพูดว่าตายเป็นตาย แล้วก็มาเลื่อนการแปรรูปเพราะยอมรับว่าระบบต่างๆยังไม่พร้อม นี่เห็นได้ชัดว่าคำพูดที่นายกฯพูดมาตั้งแต่แรกมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์มากกว่าเหตุผล ความเลินเล่อและความไม่พร้อมพยายามที่จะผลักดันโดยคิดว่าตัวเองมีอำนาจมากก็ทำให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา เศรษฐกิจที่คาดว่าจะมีขั้นตอนการดำเนินงานต่อเนื่องก็จะสะดุดลง ….. จบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10/03/47--จบ--
-สส-