วันนี้ ( 10 มี.ค.47) เวลา 09.10 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ช่วง ‘ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ ในรายการ ข่าวยามเช้า คลื่นวิทยุ 101.0 เมกกะเฮิรต์ ถึงกรณีการปรับคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นล่าสุดว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีข้อน่าสังเกตหลายประการ อย่างเช่น การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์มีภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งตนคิดว่าแนวคิดของนายกฯที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ทุกเรื่องกำลังน่าเป็นห่วง และเป็นเรื่องที่อันตราย
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนในตำแหน่งอื่น ไม่ใช่เรื่องการบริหารแต่เป็นเรื่องการเมือง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีว่าการบ่อยที่สุด และแต่เดิมตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยคือตำแหน่งที่มีความต่อเนื่อง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความต่อเนื่องดังกล่าวก็จะขาดหายไป ซึ่งตนก็ไม่แน่ใจว่าเวลาที่เหลือในขณะนี้เรื่องการปฏิรูปการศึกษาจะตั้งหลักได้หรือไม่ เพราะขณะนี้หลายคนเริ่มทำใจแล้วว่ารัฐบาลล้มเหลวเรื่องการปฏิรูปการศึกษาโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามคิดว่ากระทรวงที่น่าสนใจคือกระทรวงสาธารณสุข เพราะเป็นกระทรวงเดียวนอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศที่ยังไม่เคยเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการเลย แม้ว่าปัญหาในการดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถามว่าการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงของมหาดไทยและกลาโหม เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากมองว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็เป็นความชอบธรรมที่จะมีการปรับเปลี่ยน แต่ปัญหาที่ตนได้หยิบยกขึ้นมาพูดแต่ต้นคือ เหตุใดรองนายกฯฝ่ายความมั่นคงไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกับนายกฯ เรื่องการปรับเปลี่ยน นอกจากนี้รัฐบาลต้องประเมินให้ชัดเจนว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากตัวผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ หรือเป็นเรื่องของนโยบายที่ผิดพลาด เพราะถ้าเป็นเรื่องตัวบุคคลการปรับเปลี่ยนก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่หากเป็นความผิดพลาดของนโยบาย ก็ต้องมีความชัดเจนว่า การปรับเปลี่ยนบุคคลหมายถึงกาปรับเปลี่ยนนโยบายด้วยหรือไม่
ต่อข้อถามที่ว่าการนำนายโภคิน พลกุล ไปดำรงตำแหน่งรมว.มหาดไทย จะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนยังไม่ขอลงลึกไปถึงเรื่องคุณสมบัติตัวบุคคล แต่สิ่งที่ตนได้ย้ำมาตลอดเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้คือเป็นความผิดพลาดเรื่องนโยบาย และการประเมินสถานการณ์ที่ผิดและยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาการประเมินสถานการณ์ที่ผิดก็ดีนโยบายที่ผิดก็ดี ตนคิดว่ามาจากตัวนายกฯ ไม่ได้เป็นปัญหาของรมต. แต่อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่รู้ว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสที่นายกฯจะยอมปรับเปลี่ยนท่าทีและนโยบายของตัวเองด้วยหรือไม่
‘เรื่องการปรับครม.ที่ทำมา 7-8 ครั้ง ที่เราเห็นชัดเจนคือว่ารมต.หลายคนไม่ได้มีบทบาทอะไร เพราะระบบที่นายกฯเอามาใช้ในการบริหารงาน ในคณะรัฐมนตรีเป็นระบบที่รวบอำนาจจริงๆ และรมต.หลายคนก็ไม่ได้มีบทบาทและท่าทีที่ชัดเจน และต้องรอท่าทีของนายกฯคนเดียว แม้กระทั่งเรื่องการแปรรูป ก็เห็นได้ชัดว่าที่สุดก็ต้องไปจบที่ตัวนายกฯ แล้วถ้าพูดถึงการบริหารงานที่มีปัญหา ความจริงก็มีคนตั้งข้อสังเกตเยอะว่า กรณีไข้หวัดนก ทำไมรมต.ที่เกี่ยวข้องไม่ถูกปรับเปลี่ยนเลย ผมสงสัยว่าท่านนายกฯประเมินว่าเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพดีแล้ว หรือเป็นเพราะว่าถ้าไปปรับออก คนที่ถูกปรับออกอาจจะเปิดโปงก็ได้ว่าจริงๆแล้วนโยบายที่ผิดพลาดมันมาจากใคร ผมก็ไม่ทราบ คิดได้หลายแง่’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่ามีการมองว่าการปรับครม.เพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนยังไม่คิดได้คิดถึงเรื่องนั้น เพราะมองว่าเรื่องการปรับเปลี่ยนเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่หากเป็นการปรับเพื่อหนีการอภิปราย ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่สง่างาม แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าประเด็นการอภิปรายในเแง่ความล้มเหลวหรือความไม่ชอบมาพากล หากเกิดขึ้นในองค์กรเกี่ยวพันกับคนในองค์กร เกิดความเสียหายหรืองานที่เกิดขึ้นเป็นงานของกระทรวง ฝ่ายค้านก็ฝ่ายค้านก็มีสิทธิที่จะอภิปรายได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10/03/47--จบ--
-สส-
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนในตำแหน่งอื่น ไม่ใช่เรื่องการบริหารแต่เป็นเรื่องการเมือง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่า กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีว่าการบ่อยที่สุด และแต่เดิมตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยคือตำแหน่งที่มีความต่อเนื่อง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความต่อเนื่องดังกล่าวก็จะขาดหายไป ซึ่งตนก็ไม่แน่ใจว่าเวลาที่เหลือในขณะนี้เรื่องการปฏิรูปการศึกษาจะตั้งหลักได้หรือไม่ เพราะขณะนี้หลายคนเริ่มทำใจแล้วว่ารัฐบาลล้มเหลวเรื่องการปฏิรูปการศึกษาโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามคิดว่ากระทรวงที่น่าสนใจคือกระทรวงสาธารณสุข เพราะเป็นกระทรวงเดียวนอกเหนือจากกระทรวงการต่างประเทศที่ยังไม่เคยเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการเลย แม้ว่าปัญหาในการดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถามว่าการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงของมหาดไทยและกลาโหม เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากมองว่าที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็เป็นความชอบธรรมที่จะมีการปรับเปลี่ยน แต่ปัญหาที่ตนได้หยิบยกขึ้นมาพูดแต่ต้นคือ เหตุใดรองนายกฯฝ่ายความมั่นคงไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกับนายกฯ เรื่องการปรับเปลี่ยน นอกจากนี้รัฐบาลต้องประเมินให้ชัดเจนว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากตัวผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ หรือเป็นเรื่องของนโยบายที่ผิดพลาด เพราะถ้าเป็นเรื่องตัวบุคคลการปรับเปลี่ยนก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่หากเป็นความผิดพลาดของนโยบาย ก็ต้องมีความชัดเจนว่า การปรับเปลี่ยนบุคคลหมายถึงกาปรับเปลี่ยนนโยบายด้วยหรือไม่
ต่อข้อถามที่ว่าการนำนายโภคิน พลกุล ไปดำรงตำแหน่งรมว.มหาดไทย จะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนยังไม่ขอลงลึกไปถึงเรื่องคุณสมบัติตัวบุคคล แต่สิ่งที่ตนได้ย้ำมาตลอดเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้คือเป็นความผิดพลาดเรื่องนโยบาย และการประเมินสถานการณ์ที่ผิดและยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาการประเมินสถานการณ์ที่ผิดก็ดีนโยบายที่ผิดก็ดี ตนคิดว่ามาจากตัวนายกฯ ไม่ได้เป็นปัญหาของรมต. แต่อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่รู้ว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสที่นายกฯจะยอมปรับเปลี่ยนท่าทีและนโยบายของตัวเองด้วยหรือไม่
‘เรื่องการปรับครม.ที่ทำมา 7-8 ครั้ง ที่เราเห็นชัดเจนคือว่ารมต.หลายคนไม่ได้มีบทบาทอะไร เพราะระบบที่นายกฯเอามาใช้ในการบริหารงาน ในคณะรัฐมนตรีเป็นระบบที่รวบอำนาจจริงๆ และรมต.หลายคนก็ไม่ได้มีบทบาทและท่าทีที่ชัดเจน และต้องรอท่าทีของนายกฯคนเดียว แม้กระทั่งเรื่องการแปรรูป ก็เห็นได้ชัดว่าที่สุดก็ต้องไปจบที่ตัวนายกฯ แล้วถ้าพูดถึงการบริหารงานที่มีปัญหา ความจริงก็มีคนตั้งข้อสังเกตเยอะว่า กรณีไข้หวัดนก ทำไมรมต.ที่เกี่ยวข้องไม่ถูกปรับเปลี่ยนเลย ผมสงสัยว่าท่านนายกฯประเมินว่าเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพดีแล้ว หรือเป็นเพราะว่าถ้าไปปรับออก คนที่ถูกปรับออกอาจจะเปิดโปงก็ได้ว่าจริงๆแล้วนโยบายที่ผิดพลาดมันมาจากใคร ผมก็ไม่ทราบ คิดได้หลายแง่’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
เมื่อถามว่ามีการมองว่าการปรับครม.เพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนยังไม่คิดได้คิดถึงเรื่องนั้น เพราะมองว่าเรื่องการปรับเปลี่ยนเป็นสิทธิที่จะทำได้ แต่หากเป็นการปรับเพื่อหนีการอภิปราย ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่สง่างาม แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าประเด็นการอภิปรายในเแง่ความล้มเหลวหรือความไม่ชอบมาพากล หากเกิดขึ้นในองค์กรเกี่ยวพันกับคนในองค์กร เกิดความเสียหายหรืองานที่เกิดขึ้นเป็นงานของกระทรวง ฝ่ายค้านก็ฝ่ายค้านก็มีสิทธิที่จะอภิปรายได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10/03/47--จบ--
-สส-