สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนยังหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกอยู่ ส่วนราคาลูกสุกรยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกเพราะความต้องการเลี้ยงมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.01 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.07 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.58 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 46) สูงขึ้นจากตัวละ 1,300 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะราคาเนื้อสุกรปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมาบริโภคเนื้อไก่
ด้านการส่งออก ญี่ปุ่นได้ตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ต้มสุกของไทยแล้ว 25 โรงงาน ในเบื้องต้นได้อนุมัติให้นำเข้าไก่ต้มสุกจากไทย 4 โรงงาน ได้แก่โรงงานของบริษัท สุรพลซีฟู้ด, ซันวัลเลย์, อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร, และอายิโนะโมะโต๊ะ โฟร์เซ็นฟู้ด ที่เหลือคาดว่า ถ้าผลแล็บของญี่ปุ่นผ่านก็จะทยอยอนุมัติออกมาเรื่อย ๆ เพราะญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ ไก่ต้มสุกของไทยได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ นับว่าเป็นข่าวดีของไทยเนื่องจากสัดส่วนการ ส่งออกไก่ต้มสุกของไทยไปตลาดญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 39.45 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 19.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 19.45 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.62 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 18.89 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.58 ส่วน ราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดมีมากขึ้น เพราะมีไข่เชื้อและไข่ไก่ที่เก็บสต็อกในห้องเย็นออกมาจำหน่ายความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 142 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 144 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 137 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 22.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 155 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 176 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 128 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 191 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 52.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 58.24 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 58.33 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.11 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.73 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 59 ประจำวันที่ 1-7 มีนาคม 2547--จบ--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนยังหวาดกลัวโรคไข้หวัดนกอยู่ ส่วนราคาลูกสุกรยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกเพราะความต้องการเลี้ยงมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 48.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 44.01 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.07 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.58 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 46) สูงขึ้นจากตัวละ 1,300 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.69
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะราคาเนื้อสุกรปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมาบริโภคเนื้อไก่
ด้านการส่งออก ญี่ปุ่นได้ตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ต้มสุกของไทยแล้ว 25 โรงงาน ในเบื้องต้นได้อนุมัติให้นำเข้าไก่ต้มสุกจากไทย 4 โรงงาน ได้แก่โรงงานของบริษัท สุรพลซีฟู้ด, ซันวัลเลย์, อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร, และอายิโนะโมะโต๊ะ โฟร์เซ็นฟู้ด ที่เหลือคาดว่า ถ้าผลแล็บของญี่ปุ่นผ่านก็จะทยอยอนุมัติออกมาเรื่อย ๆ เพราะญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ ไก่ต้มสุกของไทยได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ นับว่าเป็นข่าวดีของไทยเนื่องจากสัดส่วนการ ส่งออกไก่ต้มสุกของไทยไปตลาดญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 39.45 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 19.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 19.45 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.62 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 18.89 บาท และภาคเหนือ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.58 ส่วน ราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ในท้องตลาดมีมากขึ้น เพราะมีไข่เชื้อและไข่ไก่ที่เก็บสต็อกในห้องเย็นออกมาจำหน่ายความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 142 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 164 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 144 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 137 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 22.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 155 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 176 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 128 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 191 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 193 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 52.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95 โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 58.24 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 58.33 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.11 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.73 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 59 ประจำวันที่ 1-7 มีนาคม 2547--จบ--
-พห-