บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบรวม ๒ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายสุชน
ชาลีเครือ เป็นประธานวุฒิสภา
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๓) นายโภคิน พลกุล รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๔) พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๕) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๖) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๗) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๘) พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๙) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๑๐) พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๓) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๔) พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(๕) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๖) นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๗) นายโภคิน พลกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(๘) นายกร ทัพพะรังสี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๙) นายสุธรรม แสงประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๑๐) นางสิริกร มณีรินทร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้ง
ให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
เรื่อง ให้นายมงคล สิมะโรจน์ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชี
รายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๘๐ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
นายเสริมศักดิ์ การุญ ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตาม
มาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้กล่าวนำ
นายมงคล สิมะโรจน์ ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายพรเสก
กาญจนจารี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔ จำนวน ๓ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๗
(๒) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๗
(๓) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๗
๕. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง
นางสาวพรทิพย์ จาละ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
๖. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐, ๑๘
ระเบียบวาระที่ ๕.๔๐ และ ๕.๔๑
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลง
หลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองปฏิบัติหน้าที่แทน และเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณาเพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. นายสุนัย จุลพงศธร
๓. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ๔. รองศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๘. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
๙. นายคงกฤช หงษ์วิไล ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. นายเกรียงไกร ไชยมงคล ๑๒. นายวิทยา ทรงคำ
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๑๕. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ๑๖. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย
๑๗. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๑๘. นายนิสิต สินธุไพร
๑๙. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. นายประกิจ พลเดช ๒๒. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๒๓. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๒๔. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๒๕. นายเจริญ คันธวงศ์ ๒๖. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๒๗. นายสนั่น สุธากุล ๒๘. นายอภิชาต การิกาญจน์
๒๙. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๓๐. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๑. นายสนอง ทาหอม ๓๒. นายชัย ชิดชอบ
๓๓. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ๓๔. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๓๕. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๐) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๖ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอำนวย
คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๖)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรสิทธิ์
นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบ
วาระที่ ๕.๔๘)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายชัย ชิดชอบ และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๐)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประชาธิปไตย
คำสิงห์นอก และนายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๓)
(๖) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน และเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๗ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๑)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา และพันตำรวจโท ไวพจน์
อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๗)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๙)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุ
ระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ส่ง
คณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๗ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๔ ฉบับ)
*************************************
ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบรวม ๒ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายสุชน
ชาลีเครือ เป็นประธานวุฒิสภา
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๓) นายโภคิน พลกุล รองนายกรัฐมนตรี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๔) พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๕) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๖) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๗) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๘) พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๙) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๑๐) พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๓) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๔) พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(๕) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(๖) นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๗) นายโภคิน พลกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(๘) นายกร ทัพพะรังสี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๙) นายสุธรรม แสงประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(๑๐) นางสิริกร มณีรินทร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้ง
ให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๗
เรื่อง ให้นายมงคล สิมะโรจน์ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชี
รายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๘๐ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
นายเสริมศักดิ์ การุญ ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตาม
มาตรา ๑๑๘ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้กล่าวนำ
นายมงคล สิมะโรจน์ ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) คือ นายพรเสก
กาญจนจารี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(บัตรและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(แก้ไขค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี)
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔ จำนวน ๓ ฉบับ ตามลำดับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๗
(๒) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๗
(๓) ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นับแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๗
๕. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง
นางสาวพรทิพย์ จาละ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
๖. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐, ๑๘
ระเบียบวาระที่ ๕.๔๐ และ ๕.๔๑
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๘)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลง
หลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองปฏิบัติหน้าที่แทน และเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณาเพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. นายสุนัย จุลพงศธร
๓. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ๔. รองศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๗. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ๘. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
๙. นายคงกฤช หงษ์วิไล ๑๐. นายกมล บันไดเพชร
๑๑. นายเกรียงไกร ไชยมงคล ๑๒. นายวิทยา ทรงคำ
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๑๕. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ๑๖. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย
๑๗. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๑๘. นายนิสิต สินธุไพร
๑๙. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๒๐. นายนัจมุดดีน อูมา
๒๑. นายประกิจ พลเดช ๒๒. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๒๓. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๒๔. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๒๕. นายเจริญ คันธวงศ์ ๒๖. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๒๗. นายสนั่น สุธากุล ๒๘. นายอภิชาต การิกาญจน์
๒๙. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๓๐. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
๓๑. นายสนอง ทาหอม ๓๒. นายชัย ชิดชอบ
๓๓. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ๓๔. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๓๕. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๐) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๖ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอำนวย
คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๖)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรสิทธิ์
นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบ
วาระที่ ๕.๔๘)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายชัย ชิดชอบ และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๐)
(๕) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายประชาธิปไตย
คำสิงห์นอก และนายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๓)
(๖) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน และเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๗ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๑)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ
ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา และพันตำรวจโท ไวพจน์
อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๗)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่ ๕.๔๙)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิสิต สินธุไพร เป็นผู้เสนอ (แต่ยังมิได้บรรจุ
ระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ
มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ส่ง
คณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๗ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๔ ฉบับ)
*************************************