คำอภิปราย ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ในการประชุมสภาเพื่อพิจารณาพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บสย.)
ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปราย พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บสย.)ว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้อนุญาติให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยควบรวบกับสถาบันการเงินอื่นได้ ซึ่งข่าวการควบรวบของสถาบันการเงินก็มีมาอย่างต่อเนื่อง หากจำไม่ผิดเรื่องนี้ก็ได้ดำเนินมาตั้งแต่ 3-4 เดือนที่แล้วและเมื่อ 2 วันที่แล้วก็ได้มีข้อตกลงออกมาว่าในที่สุดสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งที่จะมีการควบรวมกัน ก็คือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามที่ได้เสนอพระราชกำหนดฉบับนี้เข้ามา อีก 2 สถาบันการเงินก็คือ ธนาคารทหารไทย และ ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ
ดร.สรรเสริญกล่าวว่า โดยทั่วไปในการควบรวมสถาบันการเงินวิธีการควบรวมก็จะมีการแลกหุ้นซึ่งกันและกันซึ่งก็จะทำให้การควบรวมนั้นเป็นไปได้ ในเรื่องของวิธีการแลกหุ้นผมคิดว่าก็ไม่แปลกอะไรเพราะเมื่อจะควบแล้วก็ต้องแลกหุ้นกันแต่ผมคิดว่าสาเหตุที่ทำให้หลายท่านในที่นี้มีข้อกังขาก็คือในเรื่องของเมื่อมีการแลกหุ้นกันแล้ว สัดส่วนของการแลกหุ้นควรจะเป็นอย่างไร ในเรื่องสัดส่วนการแลกหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและธนาคารทหารไทยนั้น จริงๆ ก็มีวิธีคิดได้หลายวิธีคือ
วิธีที่ 1. สามารถจะคิดได้จากสินทรัพย์สุทธิของธนาคารซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลเองก็คงใช้วิธีนี้มาคิดเป็นสัดส่วนของการแลกหุ้นระหว่าง 2 ธนาคาร ซึ่งผมถือว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนให้พวกเราปราศจากความสงสัย
วิธีที่ 2. คือการดูจากราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง ณ. วันที่ 3 มีนาคม คือวันที่หุ้นของ 2 ธนาคารนี้ยังซื้อ-ขายกันอยู่ก่อนที่จะถูกสั่งห้ามซื้อ-ขาย
เนื่องจากการที่มีข่าวการควบรวมนี้ หุ้นของธนาคารทหารไทยมีมูลค่า 4.68 บาท ส่วนหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีมูลค่า 5.70 บาท เพราะฉะนั้นถ้าเรามาคำนวนรวมกับสัดส่วนการแลกหุ้นที่ได้เป็นข้อตกลงออกมาเมื่อ 2 วันแล้วก็คือ 1 หุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสามารถแลกได้1.124 หุ้นของธนาคารทหารไทย ก็ปรากฏว่าเทียบได้กับหุ้นของธนาคารทหารไทย 4.68 บาทแล้วนำไปแลกกับหุ้นของธนาคารบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5.06 บาท หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทรัพย์สินของธนาคารทหารไทย 4.68 บาท สามารถมาแลกกับทรัพย์สินของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ถึง 5.06 บาท ในเรื่องนี้หมายความว่าบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะขาดทุน 38 สตางค์ต่อหุ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือว่าธนาคารทหารไทยกำไร 38 สตางค์ต่อหุ้น เพราะฉะนั้นเมื่อคิดออกมาแล้วหุ้นทั้งหมดที่จะมีการแลกกันระหว่าง 2 ธนาคารนี้คร่าวๆก็คือ 1,600 ล้านหุ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะขาดทุนถึง 619 ล้านบาท ส่วนธนาคารทหารไทยเองก็จะกำไร 619 ล้านบาท
อันนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ผมสงสัยในเรื่องของอัตราส่วนในการแลกหุ้นและวิธีคิดคำนวนของรัฐบาลเพราะว่าการขาดทุนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถึง 619 ล้านบาท นั้น เป็นเงินของประชาชนเสีย 30% ด้วยกัน เนื่องจากผู้ถือหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนั้น คือกระทรวงการคลังซึ่งก็เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและก็เป็นทรัพย์สินของประชาชนถือหุ้น 14% ธนาคารออมสินถือหุ้น 10% ธนาคารกรุงไทยก็ถือหุ้น 4.9% ทั้งหมดรวมกันเกือบ 30% คิดออกมาเป็นเงินภาษีของประชาชนที่ต้องเสียสละไปในการควบรวมครั้งนี้ถึง 184 ล้านบาท นี่เป็นส่วนที่ประชาชนได้ขาดทุนในการควบรวมและหากถามว่าธนาคารแห่งไหนกำไร คำตอบก็คือธนาคารทหารไทย มีผู้ถือหุ้นหลายรายได้กำไรในการแลกหุ้นครั้งนี้ ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่ใกล้ชิดกับท่านนายกฯ แต่ผมจะไม่เปิดเผยนาม ณ.ที่นี้ได้กำไรถึง 11.2 ล้านบาท ผมคิดว่ารัฐบาลคงต้องชี้แจงในสัดส่วนของการแลกหุ้นด้วยเพื่อให้หายข้อสงสัยของพวกเรา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15/03/47--จบ--
-สส-
ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปราย พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บสย.)ว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้อนุญาติให้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยควบรวบกับสถาบันการเงินอื่นได้ ซึ่งข่าวการควบรวบของสถาบันการเงินก็มีมาอย่างต่อเนื่อง หากจำไม่ผิดเรื่องนี้ก็ได้ดำเนินมาตั้งแต่ 3-4 เดือนที่แล้วและเมื่อ 2 วันที่แล้วก็ได้มีข้อตกลงออกมาว่าในที่สุดสถาบันการเงินทั้ง 3 แห่งที่จะมีการควบรวมกัน ก็คือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตามที่ได้เสนอพระราชกำหนดฉบับนี้เข้ามา อีก 2 สถาบันการเงินก็คือ ธนาคารทหารไทย และ ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ
ดร.สรรเสริญกล่าวว่า โดยทั่วไปในการควบรวมสถาบันการเงินวิธีการควบรวมก็จะมีการแลกหุ้นซึ่งกันและกันซึ่งก็จะทำให้การควบรวมนั้นเป็นไปได้ ในเรื่องของวิธีการแลกหุ้นผมคิดว่าก็ไม่แปลกอะไรเพราะเมื่อจะควบแล้วก็ต้องแลกหุ้นกันแต่ผมคิดว่าสาเหตุที่ทำให้หลายท่านในที่นี้มีข้อกังขาก็คือในเรื่องของเมื่อมีการแลกหุ้นกันแล้ว สัดส่วนของการแลกหุ้นควรจะเป็นอย่างไร ในเรื่องสัดส่วนการแลกหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและธนาคารทหารไทยนั้น จริงๆ ก็มีวิธีคิดได้หลายวิธีคือ
วิธีที่ 1. สามารถจะคิดได้จากสินทรัพย์สุทธิของธนาคารซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลเองก็คงใช้วิธีนี้มาคิดเป็นสัดส่วนของการแลกหุ้นระหว่าง 2 ธนาคาร ซึ่งผมถือว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนให้พวกเราปราศจากความสงสัย
วิธีที่ 2. คือการดูจากราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง ณ. วันที่ 3 มีนาคม คือวันที่หุ้นของ 2 ธนาคารนี้ยังซื้อ-ขายกันอยู่ก่อนที่จะถูกสั่งห้ามซื้อ-ขาย
เนื่องจากการที่มีข่าวการควบรวมนี้ หุ้นของธนาคารทหารไทยมีมูลค่า 4.68 บาท ส่วนหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีมูลค่า 5.70 บาท เพราะฉะนั้นถ้าเรามาคำนวนรวมกับสัดส่วนการแลกหุ้นที่ได้เป็นข้อตกลงออกมาเมื่อ 2 วันแล้วก็คือ 1 หุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสามารถแลกได้1.124 หุ้นของธนาคารทหารไทย ก็ปรากฏว่าเทียบได้กับหุ้นของธนาคารทหารไทย 4.68 บาทแล้วนำไปแลกกับหุ้นของธนาคารบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5.06 บาท หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทรัพย์สินของธนาคารทหารไทย 4.68 บาท สามารถมาแลกกับทรัพย์สินของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ถึง 5.06 บาท ในเรื่องนี้หมายความว่าบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะขาดทุน 38 สตางค์ต่อหุ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือว่าธนาคารทหารไทยกำไร 38 สตางค์ต่อหุ้น เพราะฉะนั้นเมื่อคิดออกมาแล้วหุ้นทั้งหมดที่จะมีการแลกกันระหว่าง 2 ธนาคารนี้คร่าวๆก็คือ 1,600 ล้านหุ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะขาดทุนถึง 619 ล้านบาท ส่วนธนาคารทหารไทยเองก็จะกำไร 619 ล้านบาท
อันนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ผมสงสัยในเรื่องของอัตราส่วนในการแลกหุ้นและวิธีคิดคำนวนของรัฐบาลเพราะว่าการขาดทุนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถึง 619 ล้านบาท นั้น เป็นเงินของประชาชนเสีย 30% ด้วยกัน เนื่องจากผู้ถือหุ้นของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนั้น คือกระทรวงการคลังซึ่งก็เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและก็เป็นทรัพย์สินของประชาชนถือหุ้น 14% ธนาคารออมสินถือหุ้น 10% ธนาคารกรุงไทยก็ถือหุ้น 4.9% ทั้งหมดรวมกันเกือบ 30% คิดออกมาเป็นเงินภาษีของประชาชนที่ต้องเสียสละไปในการควบรวมครั้งนี้ถึง 184 ล้านบาท นี่เป็นส่วนที่ประชาชนได้ขาดทุนในการควบรวมและหากถามว่าธนาคารแห่งไหนกำไร คำตอบก็คือธนาคารทหารไทย มีผู้ถือหุ้นหลายรายได้กำไรในการแลกหุ้นครั้งนี้ ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่ใกล้ชิดกับท่านนายกฯ แต่ผมจะไม่เปิดเผยนาม ณ.ที่นี้ได้กำไรถึง 11.2 ล้านบาท ผมคิดว่ารัฐบาลคงต้องชี้แจงในสัดส่วนของการแลกหุ้นด้วยเพื่อให้หายข้อสงสัยของพวกเรา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15/03/47--จบ--
-สส-