สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าพลอยที่สำคัญของไทย ในปี 2546 สหรัฐฯ นำเข้าพลอยจากไทยเป็นมูลค่าสูงถึง 164.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของมูลค่าพลอยที่สหรัฐฯ นำเข้าทั้งหมด ซึ่งพลอยที่นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ พลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว อาทิ มรกต ทับทิม และแซฟไฟร์ (มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของมูลค่าพลอยทั้งหมดที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย) รองลงมา คือ พลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้ว อาทิ หยก บุษราคัม เพทาย และโกเมน (สัดส่วนร้อยละ 19) และพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนที่ยังไม่ได้ตกแต่ง อาทิ มรกต ทับทิม และเพทาย ที่ยังไม่ได้ตกแต่ง (สัดส่วนร้อยละ 1)
ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับตลาดพลอยไทยในสหรัฐฯ มีดังนี้
ระเบียบการนำเข้าพลอยของสหรัฐฯ
- มาตรการด้านภาษีศุลกากร ปัจจุบันสหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว ขณะที่พลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วและพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนที่ยังไม่ได้ตกแต่งคิดภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-10.5 สำหรับอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าตัวอย่างเพื่อนำมาจัดแสดงในสหรัฐฯ สามารถนำเข้าได้ชั่วคราวโดยไม่ต้องเสียภาษีแต่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Temporary Importation Under Bond: TIB) หรือมีหนังสือที่ใช้แทนใบผ่านศุลกากรเป็นหลักประกัน (Admission Temporarie - Temporary Admission: ATA Carnet)
- มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ปัจจุบันสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าพลอยอาบรังสี เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจาก Nuclear Regulatory Commission เนื่องจากพลอยที่อาบรังสีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมีผู้ส่งออกพลอยไทยเพียงไม่กี่รายที่ใช้เทคนิคการอาบรังสีเพื่อปรุงแต่งสีพลอย มาตรการดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกพลอยของไทยมากนัก
สถานการณ์ตลาดพลอยไทยในสหรัฐฯ
- พลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้วในสหรัฐฯ สูงสุดมาเป็นเวลานานและสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 36.5 ในปี 2546 โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ โคลัมเบียและศรีลังกา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้วได้สูงสุดเป็นเวลานาน คือ ฝีมือในการเจียระไนพลอยของไทยที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ประกอบกับไทยมีเทคนิคในการเผาพลอยให้มีสีสันสวยงาม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสหรัฐฯ ยังไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพูซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคเผาพลอยแบบใหม่ของไทย ทำให้สหรัฐฯ ลดการนำเข้าแซฟไฟร์จากไทยลงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- พลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้ว สหรัฐฯ นำเข้าพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วจากไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วในสหรัฐฯ ร้อยละ 14.7 ขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38 ทั้งนี้ การที่อินเดียหันมาพัฒนาเทคนิคการเจียระไนพลอยด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พร้อมทั้งขยายศูนย์กระจายสินค้าในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่งผลให้ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อินเดียสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้ออ่อนได้มากขึ้นจนกลายเป็นแหล่งนำเข้าพลอยเนื้ออ่อนสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ
แม้ว่าปัจจุบันพลอยไทยในตลาดสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายประการ อาทิ การแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญ การที่สหรัฐฯ ไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพู และอัตราภาษีนำเข้าพลอยบางรายการที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่การที่สหรัฐฯ นำเข้าพลอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นตลาดนำเข้าพลอยที่สำคัญอันดับ 1 ของโลก ประกอบกับการที่รัฐบาลไทยสนับสนุนอุตสาหกรรมพลอยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบพลอย การสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น และการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพลอยของไทยไปจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ รวมถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีส่วนช่วยให้ไทยยังคงเป็นแหล่งนำเข้าพลอยที่สำคัญของสหรัฐฯ และสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-พห-
ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับตลาดพลอยไทยในสหรัฐฯ มีดังนี้
ระเบียบการนำเข้าพลอยของสหรัฐฯ
- มาตรการด้านภาษีศุลกากร ปัจจุบันสหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว ขณะที่พลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วและพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนที่ยังไม่ได้ตกแต่งคิดภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-10.5 สำหรับอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าตัวอย่างเพื่อนำมาจัดแสดงในสหรัฐฯ สามารถนำเข้าได้ชั่วคราวโดยไม่ต้องเสียภาษีแต่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Temporary Importation Under Bond: TIB) หรือมีหนังสือที่ใช้แทนใบผ่านศุลกากรเป็นหลักประกัน (Admission Temporarie - Temporary Admission: ATA Carnet)
- มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ปัจจุบันสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าพลอยอาบรังสี เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจาก Nuclear Regulatory Commission เนื่องจากพลอยที่อาบรังสีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมีผู้ส่งออกพลอยไทยเพียงไม่กี่รายที่ใช้เทคนิคการอาบรังสีเพื่อปรุงแต่งสีพลอย มาตรการดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกพลอยของไทยมากนัก
สถานการณ์ตลาดพลอยไทยในสหรัฐฯ
- พลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้ว ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้วในสหรัฐฯ สูงสุดมาเป็นเวลานานและสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 36.5 ในปี 2546 โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ โคลัมเบียและศรีลังกา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้อแข็งที่ตกแต่งแล้วได้สูงสุดเป็นเวลานาน คือ ฝีมือในการเจียระไนพลอยของไทยที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ประกอบกับไทยมีเทคนิคในการเผาพลอยให้มีสีสันสวยงาม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสหรัฐฯ ยังไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพูซึ่งเกิดจากการใช้เทคนิคเผาพลอยแบบใหม่ของไทย ทำให้สหรัฐฯ ลดการนำเข้าแซฟไฟร์จากไทยลงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- พลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้ว สหรัฐฯ นำเข้าพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วจากไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย ในปี 2546 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้ออ่อนที่ตกแต่งแล้วในสหรัฐฯ ร้อยละ 14.7 ขณะที่อินเดียมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38 ทั้งนี้ การที่อินเดียหันมาพัฒนาเทคนิคการเจียระไนพลอยด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พร้อมทั้งขยายศูนย์กระจายสินค้าในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่งผลให้ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อินเดียสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดพลอยเนื้ออ่อนได้มากขึ้นจนกลายเป็นแหล่งนำเข้าพลอยเนื้ออ่อนสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ
แม้ว่าปัจจุบันพลอยไทยในตลาดสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายประการ อาทิ การแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญ การที่สหรัฐฯ ไม่ยอมรับแซฟไฟร์สีส้มอมชมพู และอัตราภาษีนำเข้าพลอยบางรายการที่ยังอยู่ในระดับสูง แต่การที่สหรัฐฯ นำเข้าพลอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นตลาดนำเข้าพลอยที่สำคัญอันดับ 1 ของโลก ประกอบกับการที่รัฐบาลไทยสนับสนุนอุตสาหกรรมพลอยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบพลอย การสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภายใต้โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น และการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพลอยของไทยไปจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ รวมถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ซึ่งจะมีขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีส่วนช่วยให้ไทยยังคงเป็นแหล่งนำเข้าพลอยที่สำคัญของสหรัฐฯ และสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-พห-