แท็ก
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประชาสัมพันธ์
เอสเอ็มอี
มอก.
สมอ.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ได้เสนอให้มีนโยบายผลักดันหรือรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เป็นผู้ดำเนินการ และให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนหรือจัดสรรงบประมาณเพื่อกระจายความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีการพัฒนาระบบการผลิตเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันส่วนใหญ่มักมีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่ยื่นขอรับรองมาตรฐานอุตสากรรมจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ทำให้เห็นว่าการยื่นขอการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมโดยไม่มีการบังคับ เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ค่อยให้ความสนใจในการยื่นขอมาตรฐานอุตสาหกรรมเท่าที่ควร
จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับทางรัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2547 นี้ เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ซึ่งทำให้หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มอกช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรฐานสำหรับการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะการมีมาตรฐานของสินค้าด้านการเกษตรและอาหารแปรรูปซึ่งมีผู้ประกอบการอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมายตัว “Q” เพื่อใช้รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าด้านการเกษตรและอาหารแปรรูปของไทยว่าสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเลือกใช้สินค้าและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการบริโภคอาหาร
ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดินเองก็ได้มีการดำเนินการในการดูแลและตรวจสอบคุณภาพดินในแปลงของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งกำหนดมาตรฐานปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ โดยในระยะแรกทางกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดขอบเขตให้มีการดำเนินการรับรองมาตรฐานตามระเบียบของกรมพัฒนาที่ดิน ว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พ.ศ 2547 เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ว่ามีความปลอดภัยในการใช้และไม่มีผลกระทบต่อขบวนการผลิตด้านการเกษตรของเกษตรกร ในเบื้องต้นทางกรมพัฒนาที่ดินจะเปิดศูนย์การรับรองมาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อดำเนินการให้การรับรองสินค้า 11 ชนิด และเป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานและรวบรวมข้อมูลการรับรองมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรต่อไปในอนาคต ซึ่งสินค้า 11 ชนิดที่จะดำเนินการรับรองมาตรฐาน ได้แก่ สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมัก, สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับผลิตเชื้อจุลทรีย์ควบคุมเชื้อสำหรับโรคพืช, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยอินทรีย์,ยิปชั่ม, ปูนมาร์ล, หินปูนบด, โตโลไมท์, ปูนขาว และสารสกัดอินทรีย์ โดยมีระยะเวลาการรับรองมาตรฐาน 2 ปี และมีการติดตามเพื่อรักษาคุณภาพการให้เครื่องหมายรับรองทุก 6 เดือนต่อครั้ง
ทางด้านกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้บริการรับรองห้องปฎิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุข แบ่งออกเป็น ห้องปฏิบัติการทั่วไป และห้องปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง สมุนไพร วัตถุมีพิษในครัวเรือน เครื่องมือแพทย์ อาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และรองรับกับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าประเภทอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้หน่วยงานของภาคเอกชน เช่น สถาบัน ISO ต่างๆ ได้ตื่นตัวที่จะเข้ารุกตลาดให้ผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีของไทยเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลในการผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมระบบมาตรฐานคุณภาพ เช่น ISO 9000, ISO 9000:2000, ISO 14000, QS9000, Benchmarking และ QHSAS 18001 เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันตลาดส่งออกมักมีการนำเอามาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศในเรื่องของระบบทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยส่วนใหญ่ที่ยังเป็นธุรกิจระบบทุนนิยมถูกกีดกันในการทำการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นการมีมาตรฐานคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลจะเป็นใบเบิกทางให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยที่มีแผนก้าวสู่ระบบการจัดการคุณภาพมาตรฐานสากลในอนาคต ควรเตรียมความพร้อมทางด้านข้อกำหนดระบบคุณภาพขั้นพื้นฐาน เรียกว่า QSME (Quality System For Small and Medium Enterprise) ซึ่งกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยในการยกระดับระบบคุณภาพขั้นพื้นฐานให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อเสริมความแข็งแกร่งบนจุดอ่อนด้วยการนำข้อกำหนด ISO 9000 ที่มีความจำเป็นสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีมาประยุกต์ใช้ โดยมุ่งเน้นที่จะลดค่าใช้จ่ายและเวลา เช่น การสอบเทียบ ลดความซับซ้อนของระบบเอกสาร เป็นต้น ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพสากลได้ภายในเวลาเพียง 6 เดือน และดำเนินการได้โดยไม่ยาก
จากการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละอุตสาหกรรมมีการรับรองมาตรฐานในการผลิตหากผู้ประกอบรายใดสนใจที่จะขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือระบบมาตรฐานการบริหารจัดการ สามารถขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, กรมพัฒนาที่ดิน, กรมการแพทย์, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ หรือสถาบันที่ให้บริการรับรองมาตรฐานสากล เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
จากนโยบายดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับทางรัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2547 นี้ เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ซึ่งทำให้หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มอกช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรฐานสำหรับการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะการมีมาตรฐานของสินค้าด้านการเกษตรและอาหารแปรรูปซึ่งมีผู้ประกอบการอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมายตัว “Q” เพื่อใช้รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าด้านการเกษตรและอาหารแปรรูปของไทยว่าสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเลือกใช้สินค้าและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการบริโภคอาหาร
ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดินเองก็ได้มีการดำเนินการในการดูแลและตรวจสอบคุณภาพดินในแปลงของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งกำหนดมาตรฐานปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ โดยในระยะแรกทางกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดขอบเขตให้มีการดำเนินการรับรองมาตรฐานตามระเบียบของกรมพัฒนาที่ดิน ว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พ.ศ 2547 เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ว่ามีความปลอดภัยในการใช้และไม่มีผลกระทบต่อขบวนการผลิตด้านการเกษตรของเกษตรกร ในเบื้องต้นทางกรมพัฒนาที่ดินจะเปิดศูนย์การรับรองมาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อดำเนินการให้การรับรองสินค้า 11 ชนิด และเป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานและรวบรวมข้อมูลการรับรองมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรต่อไปในอนาคต ซึ่งสินค้า 11 ชนิดที่จะดำเนินการรับรองมาตรฐาน ได้แก่ สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมัก, สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, สารเร่งประเภทจุลทรีย์สำหรับผลิตเชื้อจุลทรีย์ควบคุมเชื้อสำหรับโรคพืช, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยอินทรีย์,ยิปชั่ม, ปูนมาร์ล, หินปูนบด, โตโลไมท์, ปูนขาว และสารสกัดอินทรีย์ โดยมีระยะเวลาการรับรองมาตรฐาน 2 ปี และมีการติดตามเพื่อรักษาคุณภาพการให้เครื่องหมายรับรองทุก 6 เดือนต่อครั้ง
ทางด้านกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้บริการรับรองห้องปฎิบัติการทดสอบด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุข แบ่งออกเป็น ห้องปฏิบัติการทั่วไป และห้องปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง สมุนไพร วัตถุมีพิษในครัวเรือน เครื่องมือแพทย์ อาหารคน อาหารสัตว์ เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และรองรับกับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าประเภทอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้หน่วยงานของภาคเอกชน เช่น สถาบัน ISO ต่างๆ ได้ตื่นตัวที่จะเข้ารุกตลาดให้ผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีของไทยเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลในการผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมระบบมาตรฐานคุณภาพ เช่น ISO 9000, ISO 9000:2000, ISO 14000, QS9000, Benchmarking และ QHSAS 18001 เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันตลาดส่งออกมักมีการนำเอามาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศในเรื่องของระบบทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยส่วนใหญ่ที่ยังเป็นธุรกิจระบบทุนนิยมถูกกีดกันในการทำการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นการมีมาตรฐานคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลจะเป็นใบเบิกทางให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยที่มีแผนก้าวสู่ระบบการจัดการคุณภาพมาตรฐานสากลในอนาคต ควรเตรียมความพร้อมทางด้านข้อกำหนดระบบคุณภาพขั้นพื้นฐาน เรียกว่า QSME (Quality System For Small and Medium Enterprise) ซึ่งกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยในการยกระดับระบบคุณภาพขั้นพื้นฐานให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อเสริมความแข็งแกร่งบนจุดอ่อนด้วยการนำข้อกำหนด ISO 9000 ที่มีความจำเป็นสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีมาประยุกต์ใช้ โดยมุ่งเน้นที่จะลดค่าใช้จ่ายและเวลา เช่น การสอบเทียบ ลดความซับซ้อนของระบบเอกสาร เป็นต้น ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพสากลได้ภายในเวลาเพียง 6 เดือน และดำเนินการได้โดยไม่ยาก
จากการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละอุตสาหกรรมมีการรับรองมาตรฐานในการผลิตหากผู้ประกอบรายใดสนใจที่จะขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือระบบมาตรฐานการบริหารจัดการ สามารถขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, กรมพัฒนาที่ดิน, กรมการแพทย์, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ หรือสถาบันที่ให้บริการรับรองมาตรฐานสากล เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-