คำพังเพยที่ว่า "ขายดิบขายดี เป็นเทน้ำเทท่า" ในยุค 2004 นี้ ไม่จำเป็นต้องเร่หรือร้องขายสินค้าเหมือนแม่ค้าในตลาดสด หรือเป็นคำพูดเชิญชวนที่ฟังแล้วสุภาพและไพเราะเหมือนพนักงานต้อนรับในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ท่านเคยได้ยินคำว่า "ธุรกิจออนไลน์" หรือ "อีคอมเมิร์ซ" กันบ้างหรือไม่ สองคำนี้ที่จะทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งถึงคำพังเพยอีกประโยคหนึ่งที่ว่า "เวลาเป็นเงินเป็นทอง" เป็นอย่างไร
"อีคอมเมิรซ์" หรือ "ธุรกิจออนไลน์" ก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่เจ้าของสินค้าจะมีหรือไม่มีพนักงานขาย และมีหรือไม่มีพื้นที่หน้าร้านก็ได้ แค่ทำการจัดร้านขายสินค้าหรือบริการให้น่าสนใจโดยอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า "เว็บไซต์" เพียงเท่านี้ลูกค้าไม่จำกัดจำนวนก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อเลือกชมสินค้าหรือบริการได้โดยไม่จำกัดสัญชาติ และสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยที่ผู้ขายกับลูกค้าไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากันเลย
รูปแบบของการทำธุรกิจออนไลน์นี้ ความสัมพันธ์ของผู้ขายกับลูกค้าอาจจะเป็นแบบผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกัน (Business to Business : B2B) หรือ ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หรือ ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) ก็ได้ แล้วแต่ประเภทสินค้าหรือสถานะเริ่มต้นของผู้ขาย ลูกค้า 3 รูปแบบนี้มีความเหมือนกันตรงที่ผู้ขายมีบทบาทในการตั้งราคาสินค้า แต่มีลูกค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่ท้าทายผู้ขายมากก็คือ การที่ผู้บริโภคที่มีสถานะเป็นผู้ขาย (Consumer to Business : C2B) ลูกค้ารูปแบบนี้มีความแตกต่างจากลูกค้ารูปแบบอื่นๆ เพราะลูกค้าจะเข้ามามีบทบาทในการตั้งราคาสินค้า ซึ่งคล้ายๆ กับการประมูลสินค้านั่นเอง อย่างไรก็ตามอำนาจการตัดสินใจที่จะขายหรือไม่ขายสินค้าก็เป็นของผู้ขายเท่านั้น ดังนั้นผู้ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องเลือกรูปแบบการค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าจากธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกชอบที่จะสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าให้ถึงที่หมายตามที่ระบุไว้ โดยชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิต, บัญชีเงินฝากธนาคาร และจ่ายธนาณัติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการก่อน โดยจะพิจารณาคุณสมบัติและราคาของสินค้าหรือบริการจากอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นก็จะเดินทางไปดูสินค้าด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้มองเห็น สัมผัสสินค้า และถ้าเกิดความพึงพอใจก็สามารถสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าที่หน้าร้านเลย (ใช้ได้เฉพาะธุรกิจออนไลน์ที่มีหน้าร้านเท่านั้น) ซึ่งลูกค้าอาจสั่งซื้อสินค้าหรือบริการที่นอกเหนือจากความสนใจทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย หากเริ่มสนใจประกอบธุรกิจออนไลน์แล้ว ข้อแนะนำเป็นขั้นตอนมีดังนี้ก่อนอื่นต้องค้นหาตัวเองให้พบเสียก่อนว่ามีความถนัดที่จะทำธุรกิจอะไร จากนั้นต้องพิจารณา
ต่อไปว่าคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นเหมาะที่จะใช้ออนไลน์ในการทำตลาดหรือไม่ โดยคุณสมบัติที่จำเป็นมากๆ ก็คือ ความสะดวก และราคาถูก นั่นหมายความว่าลูกค้าจะต้องสะดวกและประหยัดเวลาจากการซื้อสินค้าผ่านการออนไลน์มากกว่า และเมื่อคิดคำนวณราคาของสินค้าหรือบริการแล้วจะต้องมีราคาถูกกว่าหรือคุ้มค่าคุ้มเวลามากกว่าการไปเลือกซื้อด้วยตนเอง ทั้งนี้การนำเสนอก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจและสนใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์ หากการนำเสนอสินค้าหรือบริการมีความแตกต่าง และโดดเด่นน่าสนใจกว่าผู้ขายรายอื่นที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างนี้จะช่วยทำให้ลูกค้าจดจำตราสินค้าของเราได้ดีอีกด้วย
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าสินค้าหรือบริการนั้นเหมาะสมที่จะทำการตลาดแบบออนไลน์ จากนั้นมาดูกันต่อว่า หากเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย วิธีการเสนอขายสินค้าหรือบริการก็จะทำได้โดยการโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้าไว้กับเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมในการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เช่น www.thai2hand.com, www.siamemarket.com, www.mixmarket.com, www.shopitem.com, www.taladtoday.com, www.basthai.com และ www.thaionlinemarket.com เป็นต้น แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง ต้องออกแบบรูปแบบของเว็บไซต์ให้น่าสนใจด้วยตนเองหรือใช้บริการจากบริษัทเอกชนที่รับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทั่วไป หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งลักษณะการให้บริการจะเป็นแบบครบวงจร หากเลือกที่จะออกแบบและสร้างสรรค์เว็บไซต์ด้วยตนเอง แต่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย สามารถสมัครเรียนได้กับสถาบันของภาครัฐหรือเอกชนได้ ตัวอย่าง องค์กรที่ให้บริการหลักสูตรสอนการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ เช่น โรงเรียนอินเทอร์เน็ตและการออกแบบ(NetDesign) อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบัน Learn Professional, บริษัท สตาร์ทอัพ ประเทศไทย จำกัด เป็นต้น สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาสามารถใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ให้เช่าพื้นที่แบบครบวงจร ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สเปซ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด, บริษัท แกรนด์ แพลนเน็ต เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, บริษัท มาริอานาส กราฟิค จำกัด เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็จะได้เว็บไซต์ที่โดดเด่นน่าสนใจและมีพื้นที่ให้เช่าโฆษณาเว็บไซต์เป็นของตนเองให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อเลือกชมสินค้าหรือบริการแล้ว (หากต้องการติดต่อบริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ซี เอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด โทร. 0-2391-7024-5)
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ขายที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายที่มีเงินลงทุนมากหรือน้อยก็ตาม เป็นความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปจากภาครัฐ กล่าวคือ กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเว็บไซต์บางกระสอดอทคอม (www.bangkrasor.com) เพื่อหวังเป็นช่องทางการขายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยมีรูปแบบการนำสินค้าหลากหลายผลิตภัณฑ์มาจัดเป็นหมวดหมู่ ซึ่งใครสนใจที่จะซื้อสินค้าก็สามารถติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรง โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการและสร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว
ที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ๆ มีความคิดริเริ่มหรือจินตนาการถึงการเป็นเถ้าแก่ยุคใหม่กันได้บ้าง โดยลองเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ เป็นการชิมลางลองผิดลองถูกไปก่อนได้ ซึ่งในอนาคตจะได้รู้ว่าธุรกิจออนไลน์เอสเอ็มอี อาจรวยได้ ไม่ยากอย่างที่คิด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
"อีคอมเมิรซ์" หรือ "ธุรกิจออนไลน์" ก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่เจ้าของสินค้าจะมีหรือไม่มีพนักงานขาย และมีหรือไม่มีพื้นที่หน้าร้านก็ได้ แค่ทำการจัดร้านขายสินค้าหรือบริการให้น่าสนใจโดยอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า "เว็บไซต์" เพียงเท่านี้ลูกค้าไม่จำกัดจำนวนก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อเลือกชมสินค้าหรือบริการได้โดยไม่จำกัดสัญชาติ และสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยที่ผู้ขายกับลูกค้าไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากันเลย
รูปแบบของการทำธุรกิจออนไลน์นี้ ความสัมพันธ์ของผู้ขายกับลูกค้าอาจจะเป็นแบบผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกัน (Business to Business : B2B) หรือ ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หรือ ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) ก็ได้ แล้วแต่ประเภทสินค้าหรือสถานะเริ่มต้นของผู้ขาย ลูกค้า 3 รูปแบบนี้มีความเหมือนกันตรงที่ผู้ขายมีบทบาทในการตั้งราคาสินค้า แต่มีลูกค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่ท้าทายผู้ขายมากก็คือ การที่ผู้บริโภคที่มีสถานะเป็นผู้ขาย (Consumer to Business : C2B) ลูกค้ารูปแบบนี้มีความแตกต่างจากลูกค้ารูปแบบอื่นๆ เพราะลูกค้าจะเข้ามามีบทบาทในการตั้งราคาสินค้า ซึ่งคล้ายๆ กับการประมูลสินค้านั่นเอง อย่างไรก็ตามอำนาจการตัดสินใจที่จะขายหรือไม่ขายสินค้าก็เป็นของผู้ขายเท่านั้น ดังนั้นผู้ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องเลือกรูปแบบการค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าจากธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกชอบที่จะสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและให้ผู้ขายจัดส่งสินค้าให้ถึงที่หมายตามที่ระบุไว้ โดยชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิต, บัญชีเงินฝากธนาคาร และจ่ายธนาณัติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการก่อน โดยจะพิจารณาคุณสมบัติและราคาของสินค้าหรือบริการจากอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นก็จะเดินทางไปดูสินค้าด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้มองเห็น สัมผัสสินค้า และถ้าเกิดความพึงพอใจก็สามารถสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าที่หน้าร้านเลย (ใช้ได้เฉพาะธุรกิจออนไลน์ที่มีหน้าร้านเท่านั้น) ซึ่งลูกค้าอาจสั่งซื้อสินค้าหรือบริการที่นอกเหนือจากความสนใจทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย หากเริ่มสนใจประกอบธุรกิจออนไลน์แล้ว ข้อแนะนำเป็นขั้นตอนมีดังนี้ก่อนอื่นต้องค้นหาตัวเองให้พบเสียก่อนว่ามีความถนัดที่จะทำธุรกิจอะไร จากนั้นต้องพิจารณา
ต่อไปว่าคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นเหมาะที่จะใช้ออนไลน์ในการทำตลาดหรือไม่ โดยคุณสมบัติที่จำเป็นมากๆ ก็คือ ความสะดวก และราคาถูก นั่นหมายความว่าลูกค้าจะต้องสะดวกและประหยัดเวลาจากการซื้อสินค้าผ่านการออนไลน์มากกว่า และเมื่อคิดคำนวณราคาของสินค้าหรือบริการแล้วจะต้องมีราคาถูกกว่าหรือคุ้มค่าคุ้มเวลามากกว่าการไปเลือกซื้อด้วยตนเอง ทั้งนี้การนำเสนอก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจและสนใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์ หากการนำเสนอสินค้าหรือบริการมีความแตกต่าง และโดดเด่นน่าสนใจกว่าผู้ขายรายอื่นที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างนี้จะช่วยทำให้ลูกค้าจดจำตราสินค้าของเราได้ดีอีกด้วย
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าสินค้าหรือบริการนั้นเหมาะสมที่จะทำการตลาดแบบออนไลน์ จากนั้นมาดูกันต่อว่า หากเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย วิธีการเสนอขายสินค้าหรือบริการก็จะทำได้โดยการโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้าไว้กับเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมในการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เช่น www.thai2hand.com, www.siamemarket.com, www.mixmarket.com, www.shopitem.com, www.taladtoday.com, www.basthai.com และ www.thaionlinemarket.com เป็นต้น แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเอง ต้องออกแบบรูปแบบของเว็บไซต์ให้น่าสนใจด้วยตนเองหรือใช้บริการจากบริษัทเอกชนที่รับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ทั่วไป หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งลักษณะการให้บริการจะเป็นแบบครบวงจร หากเลือกที่จะออกแบบและสร้างสรรค์เว็บไซต์ด้วยตนเอง แต่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย สามารถสมัครเรียนได้กับสถาบันของภาครัฐหรือเอกชนได้ ตัวอย่าง องค์กรที่ให้บริการหลักสูตรสอนการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ เช่น โรงเรียนอินเทอร์เน็ตและการออกแบบ(NetDesign) อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบัน Learn Professional, บริษัท สตาร์ทอัพ ประเทศไทย จำกัด เป็นต้น สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาสามารถใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ให้เช่าพื้นที่แบบครบวงจร ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สเปซ อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด, บริษัท แกรนด์ แพลนเน็ต เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, บริษัท มาริอานาส กราฟิค จำกัด เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็จะได้เว็บไซต์ที่โดดเด่นน่าสนใจและมีพื้นที่ให้เช่าโฆษณาเว็บไซต์เป็นของตนเองให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อเลือกชมสินค้าหรือบริการแล้ว (หากต้องการติดต่อบริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ซี เอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด โทร. 0-2391-7024-5)
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ขายที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายที่มีเงินลงทุนมากหรือน้อยก็ตาม เป็นความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปจากภาครัฐ กล่าวคือ กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเว็บไซต์บางกระสอดอทคอม (www.bangkrasor.com) เพื่อหวังเป็นช่องทางการขายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยมีรูปแบบการนำสินค้าหลากหลายผลิตภัณฑ์มาจัดเป็นหมวดหมู่ ซึ่งใครสนใจที่จะซื้อสินค้าก็สามารถติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรง โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการและสร้างเว็บไซต์ของตนเองได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว
ที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ๆ มีความคิดริเริ่มหรือจินตนาการถึงการเป็นเถ้าแก่ยุคใหม่กันได้บ้าง โดยลองเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ เป็นการชิมลางลองผิดลองถูกไปก่อนได้ ซึ่งในอนาคตจะได้รู้ว่าธุรกิจออนไลน์เอสเอ็มอี อาจรวยได้ ไม่ยากอย่างที่คิด
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-