ภาครัฐได้มีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค หรือดีทรอยต์ออฟเอเชีย โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนงานที่จะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีการเติบโต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย โดยในแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมได้มีการตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยสำหรับปี 2549 ไทยจะมีการผลิตรถยนต์ให้ได้ 1 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 4 แสนคัน ซึ่งจะมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 60% (ที่มา: กระทรวงอุตสาหกรรม)
เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในปี 2546 มีมากถึง 750,512 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 28.3 จากยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดเป้าการผลิตรถยนต์สำหรับปี 2553 ออกมาใหม่ ซึ่งจะทำการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยให้ได้ 1.8 ล้านคัน โดยจะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนคัน และมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้เกิดโครงการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดหรือโครงการอีโคคาร์ขึ้น โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กเพื่อทดแทนการส่งออกรถปิกอัพ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการส่งออกลดลง และวางเป้าหมายให้รถยนต์ขนาดเล็กเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนตัวใหม่ในการส่งออกของไทยในอนาคต โดยได้กำหนดแนวทางการผลิตไว้ คือ 1) เป็นรถราคาประหยัด โดยราคาอยู่ระหว่างประมาณ 2.8-3.5 แสนบาท 2) ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 20 กม./ลิตร 3) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะไม่มีการกำหนดรายละเอียดของสเปครถแต่อย่างได และสิ่งสำคัญจะต้องเป็นรถที่สามารถทำตลาดได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โครงการอีโคคาร์จะเกิดขึ้นได้ภาครัฐต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เช่น จีเอ็ม ฟอรด์ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ และเดมเลอร์ส์-ไครส์เลอร์ เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานต่างๆ ได้ภายในระยะเวลา 18 เดือนข้างหน้านับจากปี 2547
ดังนั้นการมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค ย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยซึ่งได้เติบโตเคียงคู่กับอุตสาหกรรมรถยนต์มาโดยตลอด ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยทั้งหมดประมาณ 1,667 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 90,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดเอสเอ็มอีประมาณ 1,641 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 98.44 ของผู้ประกอบการทั้งหมด โดยมีโรงงานทั้งหมดประมาณ 2,237 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก 2,160 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 96.56
ปัจจุบันการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย ครอบคลุมรายการชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่ ตัวเครื่อยนต์ ระบบช่วงล่าง ระบบเบรกและคลัทช์ ระบบพวงมาลัย ระบบขับเคลื่อนและถ่ายทอดกำลัง ตัวถังรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เสริมและตกแต่ง ยางรถยนต์ อุปกรณ์พลาสติกและกระจกรถยนต์ ฯลฯ โดยมีกลุ่มผู้ผลิต 2 กลุ่มคือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทแบบ Original Equipment Manufacturers หรือ OEM ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานรถยนต์โดยตรง และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทที่เรียกว่า Replacement Equipment Manufacturers หรือ REM ซึ่งผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทนชิ้นส่วนที่เสียหรือสึกหรอ เพื่อป้อนร้านจำหน่ายอะไหล่ ศูนย์บริการและอู่ซ่อมรถยนต์
มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยตั้งแต่ปี 2542-2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2542-2545 มีมูลค่ารวม 24,054.9 ล้านบาท 32,208.6 ล้านบาท, 38,202.8 ล้านบาท, 44,525.4 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวม 56,124.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 จากปี 2545
ส่วนในปี 2547 การส่งออกอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์คาดว่ายังคงมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สำหรับรถกระบะสามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความหลากหลายและมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตหัวฉีดแรงดันสูงแบบคอมมอนเรล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาก การผลิต Airbag Inflator ซึ่งเป็นอุปกรณ์จุดระเบิดให้เกิดลมเพื่อให้ถุงลมนิรภัยพองออกมาและการผลิตท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์คอมมอนเรล เป็นที่คาดว่าการพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงดังกล่าว จะช่วยให้ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดโลก โดยทางกรมส่งเสริมการส่งออกได้วางเป้าหมายการส่งออกปี 2547 ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปี 2546
ตลาดหลักในการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดถึง 15,060.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30.77 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด รองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออก 9,413.9 ล้านบาท, 6,375.7 ล้านบาท, 2,646.2 ล้านบาท, 2,417.0 ล้านบาท และ 2,214.1 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดหรือเปิดตลาดใหม่ ได้แก่ประเทศไต้หวัน อินเดีย จีน บราซิล และสิงคโปร์ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงขึ้นในปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 125.58 ร้อยละ 398.56 ร้อยละ 195.48 ร้อยละ 329.69 และร้อยละ 91.89 ตามลำดับ
จากการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และการเปิดเสรีทางการค้า จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นคนไทยต้องมีการปรับตัว ให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในต่างประเทศได้ โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและความต้องการของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันบริษัทผลิตรถยนต์ได้ตั้งมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนไว้ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องมีการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ทั้งในด้านบุคลากร, คุณภาพสินค้า, เทคโนโลยี และมาตรฐานการผลิต เพื่อยกระดับตัวเองให้เป็นที่ยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการพัฒนาของผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานทางการผลิตให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการลดต้นทุนให้ต่ำลงซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้รลามชคทัดเทียมกับคู่แข่งชาติอื่นๆ ได้ในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในปี 2546 มีมากถึง 750,512 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 28.3 จากยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดเป้าการผลิตรถยนต์สำหรับปี 2553 ออกมาใหม่ ซึ่งจะทำการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยให้ได้ 1.8 ล้านคัน โดยจะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนคัน และมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้เกิดโครงการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดหรือโครงการอีโคคาร์ขึ้น โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กเพื่อทดแทนการส่งออกรถปิกอัพ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการส่งออกลดลง และวางเป้าหมายให้รถยนต์ขนาดเล็กเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนตัวใหม่ในการส่งออกของไทยในอนาคต โดยได้กำหนดแนวทางการผลิตไว้ คือ 1) เป็นรถราคาประหยัด โดยราคาอยู่ระหว่างประมาณ 2.8-3.5 แสนบาท 2) ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 20 กม./ลิตร 3) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะไม่มีการกำหนดรายละเอียดของสเปครถแต่อย่างได และสิ่งสำคัญจะต้องเป็นรถที่สามารถทำตลาดได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โครงการอีโคคาร์จะเกิดขึ้นได้ภาครัฐต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เช่น จีเอ็ม ฟอรด์ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ และเดมเลอร์ส์-ไครส์เลอร์ เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินงานต่างๆ ได้ภายในระยะเวลา 18 เดือนข้างหน้านับจากปี 2547
ดังนั้นการมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค ย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยซึ่งได้เติบโตเคียงคู่กับอุตสาหกรรมรถยนต์มาโดยตลอด ปัจจุบันมีผู้ผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยทั้งหมดประมาณ 1,667 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 90,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดเอสเอ็มอีประมาณ 1,641 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 98.44 ของผู้ประกอบการทั้งหมด โดยมีโรงงานทั้งหมดประมาณ 2,237 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก 2,160 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 96.56
ปัจจุบันการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย ครอบคลุมรายการชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่ ตัวเครื่อยนต์ ระบบช่วงล่าง ระบบเบรกและคลัทช์ ระบบพวงมาลัย ระบบขับเคลื่อนและถ่ายทอดกำลัง ตัวถังรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เสริมและตกแต่ง ยางรถยนต์ อุปกรณ์พลาสติกและกระจกรถยนต์ ฯลฯ โดยมีกลุ่มผู้ผลิต 2 กลุ่มคือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทแบบ Original Equipment Manufacturers หรือ OEM ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานรถยนต์โดยตรง และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทที่เรียกว่า Replacement Equipment Manufacturers หรือ REM ซึ่งผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทนชิ้นส่วนที่เสียหรือสึกหรอ เพื่อป้อนร้านจำหน่ายอะไหล่ ศูนย์บริการและอู่ซ่อมรถยนต์
มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยตั้งแต่ปี 2542-2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2542-2545 มีมูลค่ารวม 24,054.9 ล้านบาท 32,208.6 ล้านบาท, 38,202.8 ล้านบาท, 44,525.4 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวม 56,124.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 จากปี 2545
ส่วนในปี 2547 การส่งออกอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์คาดว่ายังคงมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สำหรับรถกระบะสามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความหลากหลายและมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตหัวฉีดแรงดันสูงแบบคอมมอนเรล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาก การผลิต Airbag Inflator ซึ่งเป็นอุปกรณ์จุดระเบิดให้เกิดลมเพื่อให้ถุงลมนิรภัยพองออกมาและการผลิตท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์คอมมอนเรล เป็นที่คาดว่าการพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงดังกล่าว จะช่วยให้ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดโลก โดยทางกรมส่งเสริมการส่งออกได้วางเป้าหมายการส่งออกปี 2547 ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปี 2546
ตลาดหลักในการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดถึง 15,060.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30.77 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด รองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเชีย อินโดนีเชีย และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออก 9,413.9 ล้านบาท, 6,375.7 ล้านบาท, 2,646.2 ล้านบาท, 2,417.0 ล้านบาท และ 2,214.1 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับตลาดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดหรือเปิดตลาดใหม่ ได้แก่ประเทศไต้หวัน อินเดีย จีน บราซิล และสิงคโปร์ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกสูงขึ้นในปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 125.58 ร้อยละ 398.56 ร้อยละ 195.48 ร้อยละ 329.69 และร้อยละ 91.89 ตามลำดับ
จากการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และการเปิดเสรีทางการค้า จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นคนไทยต้องมีการปรับตัว ให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในต่างประเทศได้ โดยมีการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและความต้องการของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันบริษัทผลิตรถยนต์ได้ตั้งมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนไว้ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องมีการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ทั้งในด้านบุคลากร, คุณภาพสินค้า, เทคโนโลยี และมาตรฐานการผลิต เพื่อยกระดับตัวเองให้เป็นที่ยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการพัฒนาของผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานทางการผลิตให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการลดต้นทุนให้ต่ำลงซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้รลามชคทัดเทียมกับคู่แข่งชาติอื่นๆ ได้ในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-