สศอ. จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมวิจัยพัฒนา นวัตกรรมเครื่องจักรกลต้นแบบ นำร่องผลิตรถแทรกเตอร์เอนกประสงค์-รถไถนาเดินตาม-เครื่องติดสติ๊กเกอร์ หวังเกษตร-ชุมชน-โรงงานได้ใช้เครื่องจักรกลไทยทำ เหมาะแก่การใช้งาน ลดพึ่งพานำเข้า
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. พยายามผลักดัน “โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรกลและดำเนินโครงการนำร่องผลิตเครื่องจักรกลต้นแบบ” เพื่อศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาตามหลักวิชาการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต และเหมาะสมกับการใช้งาน อันจะส่งผลให้เกิดเครื่องจักรกลต้นแบบสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งในระยะยาวจะช่วยลดภาระการนำเข้าเครื่องจักรราคาแพง และการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ โดยได้รับความร่วมมือจาก กลุ่มเครื่องกล และ เครื่องจักรกลการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
“เครื่องจักรกลมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภท ทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศเป็นเม็ดเงินที่สูง โดยในปี 2546 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม 328,246 ล้านบาท เครื่องมือกล 335,680 ล้านบาท เครื่องจักรกลการเกษตร 2,977 ล้านบาท และรถแทรกเตอร์ 4,457 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งเป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากในประเทศไทย ผู้ประกอบการยังขาดการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาเครื่องจักรกลใช้เอง ในอนาคตประเทศไทยจะอยู่ในฐานะผู้ตามด้านเทคโนโลยีเรื่อยไป ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรใช้เอง เพื่อเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย รวมทั้งจะช่วยลดภาระการนำเข้าของประเทศในสินค้านี้ด้วย”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลมีต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไม่สามารถลงทุนทำการวิจัยพัฒนาเครื่องจักรใหม่ๆขึ้นมาใช้งานเองได้ ดังนั้นโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรกลและดำเนินโครงการนำร่องผลิตเครื่องจักรกลต้นแบบ จะเป็นแนวทางที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศในระยะยาว และจะทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจน ของเครื่องจักรแต่ละประเภท สำหรับการคัดเลือกชนิดเครื่องจักรที่จะลงทุนพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบต่อไป
“นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการ จะมีการพัฒนาเครื่องจักรกลต้นแบบในบางรายการไปพร้อมๆกัน สำหรับเครื่องจักรกลต้นแบบเป้าหมายในการพัฒนาครั้งนี้ได้แก่ รถแทรกเตอร์ต้นแบบ ซึ่งใช้งานได้เอนกประสงค์ ขับเคลื่อนและเลี้ยวได้ 4 ล้อ ขนาดกำลังไม่น้อยกว่า 20 แรงม้า พร้อมอุปกรณ์เสริม รถไถนาเดินตามจะพัฒนาต่อเนื่องในด้านต้นแบบระบบกำลังส่งคุณภาพสูง และอีกเป้าหมายคือ เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารหรือสินค้าชุมชน เครื่องติดฉลากผลิตภัณฑ์ (เครื่องติดสติ๊กเกอร์) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดเครื่องจักรกลที่ สศอ. กำลังเร่งดำเนินการศึกษาวิจัย โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศให้มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสามารถพึ่งพาตัวเอง ลดการนำเข้าและขยายส่งออกจำหน่ายในตลาดต่างประเทศต่อไป” นางชุตาภรณ์ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. พยายามผลักดัน “โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรกลและดำเนินโครงการนำร่องผลิตเครื่องจักรกลต้นแบบ” เพื่อศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาตามหลักวิชาการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต และเหมาะสมกับการใช้งาน อันจะส่งผลให้เกิดเครื่องจักรกลต้นแบบสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งในระยะยาวจะช่วยลดภาระการนำเข้าเครื่องจักรราคาแพง และการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ โดยได้รับความร่วมมือจาก กลุ่มเครื่องกล และ เครื่องจักรกลการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
“เครื่องจักรกลมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภท ทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศเป็นเม็ดเงินที่สูง โดยในปี 2546 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมตัวเลขการนำเข้าเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม 328,246 ล้านบาท เครื่องมือกล 335,680 ล้านบาท เครื่องจักรกลการเกษตร 2,977 ล้านบาท และรถแทรกเตอร์ 4,457 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งเป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากในประเทศไทย ผู้ประกอบการยังขาดการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาเครื่องจักรกลใช้เอง ในอนาคตประเทศไทยจะอยู่ในฐานะผู้ตามด้านเทคโนโลยีเรื่อยไป ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรใช้เอง เพื่อเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย รวมทั้งจะช่วยลดภาระการนำเข้าของประเทศในสินค้านี้ด้วย”
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลมีต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไม่สามารถลงทุนทำการวิจัยพัฒนาเครื่องจักรใหม่ๆขึ้นมาใช้งานเองได้ ดังนั้นโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรกลและดำเนินโครงการนำร่องผลิตเครื่องจักรกลต้นแบบ จะเป็นแนวทางที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศในระยะยาว และจะทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจน ของเครื่องจักรแต่ละประเภท สำหรับการคัดเลือกชนิดเครื่องจักรที่จะลงทุนพัฒนาเป็นเครื่องต้นแบบต่อไป
“นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการ จะมีการพัฒนาเครื่องจักรกลต้นแบบในบางรายการไปพร้อมๆกัน สำหรับเครื่องจักรกลต้นแบบเป้าหมายในการพัฒนาครั้งนี้ได้แก่ รถแทรกเตอร์ต้นแบบ ซึ่งใช้งานได้เอนกประสงค์ ขับเคลื่อนและเลี้ยวได้ 4 ล้อ ขนาดกำลังไม่น้อยกว่า 20 แรงม้า พร้อมอุปกรณ์เสริม รถไถนาเดินตามจะพัฒนาต่อเนื่องในด้านต้นแบบระบบกำลังส่งคุณภาพสูง และอีกเป้าหมายคือ เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารหรือสินค้าชุมชน เครื่องติดฉลากผลิตภัณฑ์ (เครื่องติดสติ๊กเกอร์) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดเครื่องจักรกลที่ สศอ. กำลังเร่งดำเนินการศึกษาวิจัย โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของประเทศให้มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสามารถพึ่งพาตัวเอง ลดการนำเข้าและขยายส่งออกจำหน่ายในตลาดต่างประเทศต่อไป” นางชุตาภรณ์ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-