นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (16 มีนาคม 2547) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ที่จังหวัดปัตตานีคณะรัฐมนตรีได้รับทราบมาตรการการให้ความช่วยเหลือภาคใต้ชายแดน 3 จังหวัด (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ของกระทรวงการคลัง ในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในภาคใต้ โดยมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ
นายศิโรตม์ฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่ากระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และกรมบัญชีกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ดังนี้
1. หน่วยงานราชการภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง มีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่
1.1ด้านประชาชนและผู้ประกอบการ โดยการบริจาคเงินสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในพื้นที่เหตุการณ์จุดไฟเผาโรงเรียน การเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ การขยายระยะเวลาการชำระภาษี การช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษี หากไม่สามารถยื่นแบบชำระภาษี การจัดส่งงบเดือน หรือเอกสารในการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเบื้องต้นได้ทันตามกำหนดเวลา ก็จะพิจารณาความเหมาะสมให้เป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น
1.2 ด้านสวัสดิการ โดยการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติการในพื้นที่พิเศษ (สปพ.) สำหรับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานของส่วนราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้สิทธิแก่ข้าราชการในการนับเวลาราชการทวีคูณแก่ข้าราชการในพื้นที่ดังกล่าว เป็นต้น
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่
2.1 ด้านประชาชนและผู้ประกอบการ โดยการเร่งรัดการขยายสาขาธนาคาร เพื่อเพิ่มจุดบริการของธนาคารให้มากขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ การสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการยางพารา การช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโดยการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ CLUSTER ตามยุทธศาสตร์ชาติซึ่งรัฐบาลกำหนด การผ่อนผันการชำระหนี้ เป็นต้น
2.2 ด้านการจ้างงานและสวัสดิการพนักงาน โดยการรับบุคลากรในพื้นที่เป็นพนักงาน การให้เงินช่วยเหลือตอบแทนกรณีพิเศษเป็นรายเดือน และจัดให้มีการประกันภัยแบบกลุ่มให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดที่มีความเสี่ยงภัย เป็นต้น
ทั้งนี้ มาตรการและโครงการช่วยเหลือภาคใต้ชายแดนดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องและช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการฟื้นฟู พัฒนา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในด้านการช่วยเหลือแก่ชุมชน และประชาชนทั่วไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการส่งออก การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และในด้านอื่นๆ เช่น การเพิ่มการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการเร่งรัดและติดตามการดำเนินการตามมาตรการและโครงการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้นอย่างใกล้ชิดต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 17/2547 16 มีนาคม 2547--
-นท-
นายศิโรตม์ฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่ากระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และกรมบัญชีกลาง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ) และธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ดังนี้
1. หน่วยงานราชการภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง มีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่
1.1ด้านประชาชนและผู้ประกอบการ โดยการบริจาคเงินสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในพื้นที่เหตุการณ์จุดไฟเผาโรงเรียน การเร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ การขยายระยะเวลาการชำระภาษี การช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษี หากไม่สามารถยื่นแบบชำระภาษี การจัดส่งงบเดือน หรือเอกสารในการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเบื้องต้นได้ทันตามกำหนดเวลา ก็จะพิจารณาความเหมาะสมให้เป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น
1.2 ด้านสวัสดิการ โดยการให้ความช่วยเหลือในด้านเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติการในพื้นที่พิเศษ (สปพ.) สำหรับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานของส่วนราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้สิทธิแก่ข้าราชการในการนับเวลาราชการทวีคูณแก่ข้าราชการในพื้นที่ดังกล่าว เป็นต้น
2. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่
2.1 ด้านประชาชนและผู้ประกอบการ โดยการเร่งรัดการขยายสาขาธนาคาร เพื่อเพิ่มจุดบริการของธนาคารให้มากขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ การสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการยางพารา การช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโดยการสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ CLUSTER ตามยุทธศาสตร์ชาติซึ่งรัฐบาลกำหนด การผ่อนผันการชำระหนี้ เป็นต้น
2.2 ด้านการจ้างงานและสวัสดิการพนักงาน โดยการรับบุคลากรในพื้นที่เป็นพนักงาน การให้เงินช่วยเหลือตอบแทนกรณีพิเศษเป็นรายเดือน และจัดให้มีการประกันภัยแบบกลุ่มให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดที่มีความเสี่ยงภัย เป็นต้น
ทั้งนี้ มาตรการและโครงการช่วยเหลือภาคใต้ชายแดนดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องและช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการฟื้นฟู พัฒนา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ในด้านการช่วยเหลือแก่ชุมชน และประชาชนทั่วไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการส่งออก การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และในด้านอื่นๆ เช่น การเพิ่มการจ้างงานจากแรงงานในพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการเร่งรัดและติดตามการดำเนินการตามมาตรการและโครงการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้นอย่างใกล้ชิดต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 17/2547 16 มีนาคม 2547--
-นท-