นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (16 มีนาคม 2547) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พ.ศ. …. เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการจำนวน 56 แห่ง จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งขณะนี้ (ไตรมาส 4/2546) ได้ดำเนินภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายเกือบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยมียอดหนี้ที่รับโอนมาจำนวน 197,246 ล้านบาท ผลการบริหารจัดการสรุปได้ ดังนี้ (1) หนี้ที่ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วจำนวน 104,113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.78 (2) หนี้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและบังคับคดีจำนวน 65,032 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.97 และ (3) หนี้ Re-entry และลูกหนี้ที่ระงับการติดตามชั่วคราวจำนวน 28,101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.25
ดังนั้น เพื่อให้ บบส. ใช้ประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการและการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมาเข้ามามีบทบาทในการช่วยและเร่งกระบวนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์รอการขาย (NPA) และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ยังเหลืออยู่ในระบบอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขพระราชกำหนด บบส. เพื่อขยายขอบเขตและบทบาทของ บบส. ในการเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหา NPA และ NPL ในระบบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เพิ่มบทบาทให้ บบส. เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยการขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ของ บบส. เพื่อให้สามารถรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารจัดการหรือดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และสถาบันการเงินรวมตลอดจนหลักประกันและทรัพย์สินที่ตกเป็นของสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการชำระหนี้ได้ตามวิธีที่กำหนดไว้ รวมทั้ง เพื่อให้สามารถสวมสิทธิเข้าเป็นคู่ความคดีที่อยู่ในศาล และสวมสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงิน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 18/2547 16 มีนาคม 2547--
-นท-
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พ.ศ. …. เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการจำนวน 56 แห่ง จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งขณะนี้ (ไตรมาส 4/2546) ได้ดำเนินภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายเกือบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยมียอดหนี้ที่รับโอนมาจำนวน 197,246 ล้านบาท ผลการบริหารจัดการสรุปได้ ดังนี้ (1) หนี้ที่ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วจำนวน 104,113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.78 (2) หนี้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและบังคับคดีจำนวน 65,032 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.97 และ (3) หนี้ Re-entry และลูกหนี้ที่ระงับการติดตามชั่วคราวจำนวน 28,101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.25
ดังนั้น เพื่อให้ บบส. ใช้ประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการและการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมาเข้ามามีบทบาทในการช่วยและเร่งกระบวนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์รอการขาย (NPA) และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ยังเหลืออยู่ในระบบอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงการคลังจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขพระราชกำหนด บบส. เพื่อขยายขอบเขตและบทบาทของ บบส. ในการเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหา NPA และ NPL ในระบบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เพิ่มบทบาทให้ บบส. เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยการขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ของ บบส. เพื่อให้สามารถรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารจัดการหรือดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และสถาบันการเงินรวมตลอดจนหลักประกันและทรัพย์สินที่ตกเป็นของสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการชำระหนี้ได้ตามวิธีที่กำหนดไว้ รวมทั้ง เพื่อให้สามารถสวมสิทธิเข้าเป็นคู่ความคดีที่อยู่ในศาล และสวมสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงิน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 18/2547 16 มีนาคม 2547--
-นท-