เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๙
(สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยกับการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. ….
นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบเรื่อง นายเสริมศักดิ์ การุญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ แล้ว ประธานได้ขอปรึกษาที่ประชุมถึงเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันในการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ว่า ขอถอนร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อนำไปพิจารณาทบทวนใหม่ โดยการขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมตามข้อบังคับการประชุมก่อน ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติ
โรงแรม ฉบับที่ พ.ศ. ….
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ร่างขึ้นมาเพื่อปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิด
ทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้ว
เป็นจำนวนเงินต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราโทษเสียใหม่ให้เหมาะกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ในเรื่องอื่นๆ
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในคราวเดียวกันด้วย หลังจากนั้นได้มีการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และเมื่อการพิจารณาร่างเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ๒๔๑ เสียง
ไม่เห็นชอบ ไม่มี และ ไม่ลงคะแนน ๓ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ พ.ศ. … เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป นอกจากนี้
ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่ตั้งไว้ว่าควรปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวมีความเป็นเอกภาพและมีบทบัญญัติที่ทันสมัย
สอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน ให้แก่คณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องคำนิยามของคำว่า "ผู้ประเมิน"
รวมทั้งเรื่องสิทธิเรียกร้องในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และเรื่องการประเมินมูลค่าหรือมูลค่ารวมของเรือและทรัพย์สิน ซึ่งหลังจากที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา
เสร็จเรียบร้อยแล้วได้มีมติด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ ๒๗๙ ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความ
เสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. …. เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. ….นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงว่า โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรมโดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้มีการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อจากนั้น นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้ เป็นการกำหนดให้การงดการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี และเป็นการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวน ต่ำเกินสมควร และเพื่อเป็นการป้องกันการประวิงเวลาการบังคับคดี และเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เรื่องความหมายของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี รวมทั้งเรื่องการร้องคัดค้านต่อศาลได้ในกรณีที่ว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด และเรื่องการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรรมแก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หมายถึง บุคคล ภายนอกผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๐ สำหรับเรื่องการร้อง คัดค้านการขายทอดตลาดนั้น ในปัจจุบันการขายทอดตลาดได้รับการพัฒนามากขึ้น ทำให้ยากแก่การคบคิดกันฉ้อฉลในการเข้าสู้ราคาจึงเป็นผลให้การร้องคัดค้านโดยอ้างเหตุดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผลเท่าใด ส่วนเรื่องการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกนั้น ได้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติแล้ว และยังทำให้ผู้ที่มาซื้อ ทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดว่าจะได้รับทรัพย์สินที่ซื้อรวดเร็วขึ้นอีกด้วย หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๒๖๗ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และคณะเป็นผู้เสนอ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากปัจจุบันศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญาทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งต้องอาศัย ผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่น ดังนั้น เพื่อให้ศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษสามารถพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้ รวมทั้งมีวิธีพิจารณาพิเศษที่เหมาะสมกับลักษณะของคดีล้มละลาย อันจะเป็นผลให้การดำเนินคดี ล้มละลายมีความถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จากนั้น นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้แถลงว่า แต่เดิมจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งกระทำผิดคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วยต้องนำจำเลยแยกไปขึ้นศาลอาญาในเขตพื้นที่ที่กระทำความผิด เช่นหากกระทำผิดที่กรุงเทพมหานคร ก็จะต้องนำจำเลยไปขึ้นศาลอาญาหรือศาลอาญาธนบุรี ทำให้จำเลยต้องมีภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขึ้นศาล ดังนั้นถ้าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ ก็จะเป็นการสะดวกแก่จำเลยในคดีล้มละลายที่ทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วย สามารถต่อสู้คดีอาญาที่ศาลล้มละลายได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการก็คือ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจำเลยและคู่ความเป็นอย่างมาก จึงได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องการจัดตั้งศาลล้มละลายภูมิภาค และศาลล้มละลายจังหวัด และกรณีการ ยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย และเรื่องความแตกต่างของการยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย กับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไป ซึ่ง นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า การจะจัดตั้งศาลล้มละลายเพิ่มหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจำเลยมีความผิดและลงโทษปรับไม่เกินกว่า ๑,๐๐๐ บาท นั้น เนื่องจากเกรงว่าหากยอมให้จำเลยอุทธรณ์ได้จะไม่คุ้มค่ากับการที่จะต้องจ้างทนายความมาดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้ ส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เป็นการอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ต่างกันกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไปที่กำหนดให้การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ ๒๘๕ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. พิจารณากรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ โดยมี นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวของวุฒิสภาในบางมาตราและเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้ลงมติ เห็นชอบ ๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒๘๖ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ๓ เสียง ถือว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และของวุฒิสภา ๑๒ คน
ก่อนปิดการประชุม ประธานได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะเวลา คุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ส่วนรายละเอียดและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ติดต่อได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
---------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
(สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งเรื่องให้ที่ประชุมรับทราบดังนี้
๑. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๔
๒. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยกับการเงินไว้พิจารณา
ให้คำรับรอง จำนวน ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. ….
นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบเรื่อง นายเสริมศักดิ์ การุญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ได้ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ แล้ว ประธานได้ขอปรึกษาที่ประชุมถึงเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประธานคณะกรรมาธิการร่วมกันในการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ว่า ขอถอนร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อนำไปพิจารณาทบทวนใหม่ โดยการขอถอนร่าง
พระราชบัญญัติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมตามข้อบังคับการประชุมก่อน ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีมติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติ
โรงแรม ฉบับที่ พ.ศ. ….
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดย นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ร่างขึ้นมาเพื่อปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิด
ทุกฐานตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สูงขึ้น เนื่องจากอัตราโทษปรับที่กำหนดไว้ในกฎหมายได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินในปัจจุบันแล้ว
เป็นจำนวนเงินต่ำ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราโทษเสียใหม่ให้เหมาะกับค่าของเงินตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้งสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ในเรื่องอื่นๆ
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในคราวเดียวกันด้วย หลังจากนั้นได้มีการพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และเมื่อการพิจารณาร่างเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ๒๔๑ เสียง
ไม่เห็นชอบ ไม่มี และ ไม่ลงคะแนน ๓ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ พ.ศ. … เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป นอกจากนี้
ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่ตั้งไว้ว่าควรปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวมีความเป็นเอกภาพและมีบทบัญญัติที่ทันสมัย
สอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบัน ให้แก่คณะรัฐมนตรีด้วย
๒. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องคำนิยามของคำว่า "ผู้ประเมิน"
รวมทั้งเรื่องสิทธิเรียกร้องในการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป และเรื่องการประเมินมูลค่าหรือมูลค่ารวมของเรือและทรัพย์สิน ซึ่งหลังจากที่ประชุมได้พิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา
เสร็จเรียบร้อยแล้วได้มีมติด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ ๒๗๙ ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ๑ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง ให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความ
เสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ พ.ศ. …. เพื่อส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การงดการบังคับคดีและการขายทอดตลาด) ซึ่งคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. ….นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ กับคณะเป็นผู้เสนอ ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงว่า โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบางส่วนยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรมโดยคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและให้มีการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมและ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อจากนั้น นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้ เป็นการกำหนดให้การงดการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี และเป็นการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวน ต่ำเกินสมควร และเพื่อเป็นการป้องกันการประวิงเวลาการบังคับคดี และเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เรื่องความหมายของบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี รวมทั้งเรื่องการร้องคัดค้านต่อศาลได้ในกรณีที่ว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด และเรื่องการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรรมแก่บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาด ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หมายถึง บุคคล ภายนอกผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๐ สำหรับเรื่องการร้อง คัดค้านการขายทอดตลาดนั้น ในปัจจุบันการขายทอดตลาดได้รับการพัฒนามากขึ้น ทำให้ยากแก่การคบคิดกันฉ้อฉลในการเข้าสู้ราคาจึงเป็นผลให้การร้องคัดค้านโดยอ้างเหตุดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผลเท่าใด ส่วนเรื่องการให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกนั้น ได้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติแล้ว และยังทำให้ผู้ที่มาซื้อ ทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดว่าจะได้รับทรัพย์สินที่ซื้อรวดเร็วขึ้นอีกด้วย หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๒๖๗ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง ให้รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และคณะเป็นผู้เสนอ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากปัจจุบันศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญาทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งต้องอาศัย ผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอื่น ดังนั้น เพื่อให้ศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษสามารถพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้ รวมทั้งมีวิธีพิจารณาพิเศษที่เหมาะสมกับลักษณะของคดีล้มละลาย อันจะเป็นผลให้การดำเนินคดี ล้มละลายมีความถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จากนั้น นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้แถลงว่า แต่เดิมจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งกระทำผิดคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วยต้องนำจำเลยแยกไปขึ้นศาลอาญาในเขตพื้นที่ที่กระทำความผิด เช่นหากกระทำผิดที่กรุงเทพมหานคร ก็จะต้องนำจำเลยไปขึ้นศาลอาญาหรือศาลอาญาธนบุรี ทำให้จำเลยต้องมีภาระและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขึ้นศาล ดังนั้นถ้าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มี ผลบังคับใช้ ก็จะเป็นการสะดวกแก่จำเลยในคดีล้มละลายที่ทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องด้วย สามารถต่อสู้คดีอาญาที่ศาลล้มละลายได้ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการก็คือ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจำเลยและคู่ความเป็นอย่างมาก จึงได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณา จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องการจัดตั้งศาลล้มละลายภูมิภาค และศาลล้มละลายจังหวัด และกรณีการ ยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย และเรื่องความแตกต่างของการยื่นอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย กับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไป ซึ่ง นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ได้ตอบชี้แจงว่า การจะจัดตั้งศาลล้มละลายเพิ่มหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการยกเว้นไม่ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีจำเลยมีความผิดและลงโทษปรับไม่เกินกว่า ๑,๐๐๐ บาท นั้น เนื่องจากเกรงว่าหากยอมให้จำเลยอุทธรณ์ได้จะไม่คุ้มค่ากับการที่จะต้องจ้างทนายความมาดำเนินการยื่นอุทธรณ์ให้ ส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เป็นการอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ต่างกันกับการยื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาทั่วไปที่กำหนดให้การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นไปยังศาลอุทธรณ์ หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบ ๒๘๕ เสียง ไม่เห็นชอบ ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
๓. พิจารณากรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ โดยมี นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวของวุฒิสภาในบางมาตราและเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้ลงมติ เห็นชอบ ๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒๘๖ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ๓ เสียง ถือว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ๑๒ คน และของวุฒิสภา ๑๒ คน
ก่อนปิดการประชุม ประธานได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการให้มีการประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว โดยมีระยะเวลา คุ้มครองตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗ ส่วนรายละเอียดและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ติดต่อได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
---------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร