ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมพิจารณามาตรการดูแลธุรกิจสินเชื่อบุคคลไปพร้อมกับมาตรการควบคุมบัตรเครดิต
ผู้
ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการควบคุม
การทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ไปพร้อมกับมาตรการควบคุมบัตรเครดิต เพื่อป้องกันการโยกย้ายสินเชื่อไปเป็น
สินเชื่อบุคคลหรือไม่ เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลรายละเอียดมาตรการควบคุมบัตรเครดิตที่ได้รับจาก
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ขณะเดียวกัน ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้ส่งหนังสือขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การ
ทำธุรกิจบัตรเครดิต หลังจากที่ ธปท.จะออกมาตรการใหม่เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบการขยายบัตรเครดิตด้วย
วิธีขายตรงเพราะรบกวนประชาชน โดยผู้ประกอบการต้องการให้เลื่อนเวลาการบังคับใช้ออกไปก่อน เนื่อง
จากจะส่งผลกระทบต่อการขยายฐานบัตร โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ
เพราะไม่มีสาขาทั่วประเทศเช่นสถาบันการเงินไทย (ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. มอร์แกน สแตนเลย์ ทบทวนประมาณการจีดีพีของไทยในปี 47 อาจขยายตัวลดลงจากเดิม
มากที่
สุดร้อยละ 2 นักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกน สแตนเลย์ (แดเนียล เหลียน) เผยแพร่บทวิเคราะห์เศรษฐกิจใน
หัวเรื่อง “ประเทศไทย : หลังไข้หวัดนก ตรวจชีพจรเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อ 20 ม.ค.47 ได้ปรับเพิ่มประมาณ
การผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไทยจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8 ด้วยปัจจัยหนุนจากแรงขับเคลื่อนระ
ดับมหภาค 2 ปัจจัย คือ นโยบายขยายตัวด้านการคลัง และความเฟื่องฟูด้านการลงทุน ที่น่าจะเสริมพลวัตแข็ง
แกร่งที่มีอยู่เดิม คือ การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น กลุ่มประเทศในเอเชีย
ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกกว่า 10 ประเทศรวมทั้งไทย จึงได้วิเคราะห์ความเสียหาย
ทางเศรษฐกิจที่เกิดกับไทยใหม่บนสมมติฐาน 3 ระดับว่า จะทำให้การเติบโตของจีดีพีลดลงระหว่างร้อยละ
0.3-0.55 โดยสมมติฐานแรก หรือดีที่สุด คือ จีดีพีจะอยู่ที่ร้อยละ 7.45 สมมติฐานที่ 2 คือ เมื่อเศรษฐกิจ
ขยายตัวลดลงร้อยละ 1.17 จีดีพีจะมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.83 และสุดท้ายเป็นสมมติฐานเลวร้ายที่สุด คือ จีดี
พีจะลดลงร้อยละ 2 เหลือเพียงร้อยละ 6 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณารูปแบบและหน้าที่ของธนาคารชุมชนกลาง รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง ก.คลังได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณารูปแบบ
และหน้าที่ของธนาคารชุมชนกลาง ซึ่งจะประกาศรูปแบบที่ชัดเจนได้ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อส่งเสริมบริการทางการ
เงินระดับรากหญ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาองค์กรการเงิน
ชุมชน โดยธนาคารดังกล่าวมีหน้าที่ส่งเสริมศักยภาพองค์กรการเงินชุมชนในด้านต่าง ๆ (เดลินิวส์)
4. ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด.บบส. ผู้อำนวย
การสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการ
ของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ตามที่
ก.คลังเสนอและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ได้เพิ่มบทบาทให้
บบส.สามารถเข้าร่วมแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยขยายขอบเขตวัตถุประสงค์
ของ บบส.เพื่อให้สามารถรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารจัดการหรือดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และสถาบันการเงิน รวมตลอดจนหลักประกันและ
ทรัพย์สินที่ตกเป็นของสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการชำระหนี้ได้ตามวิธีที่กำหนดไว้ รวมทั้งเพื่อให้สามารถ
สวมสิทธิเข้าเป็นคู่ความคดีที่อยู่ในศาล และสวมสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้
การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการ
สร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงิน (ข่าวสด, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. บ.ข้อมูลเครดิตไทยขายข้อมูลเครดิตเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นรายการ กรรมการผู้จัดการ บ.ข้อมูล
เครดิตไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อกลางเดือน มิ.ย.46 ว่า
ขณะนี้มีสมาชิกขอเข้าใช้บริการตรวจสอบข้อมูลเดือนละประมาณ 300,000-400,000 รายการ เฉลี่ยประมาณ
20,000 รายการต่อวัน และเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมามียอดขายข้อมูลเครดิตครบ 2 ล้านฉบับ ปัจจุบันบริษัทมี
สมาชิกอยู่ประมาณ 50 ราย ส่วนกรณีที่ ธปท.เตรียมออกมาตรการใหม่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตต้อง
ตรวจสอบข้อมูลเครดิตลูกค้าทุกราย ซึ่งผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เห็นว่าอาจทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่ม
ขึ้นนั้น เห็นว่าราคาที่บริษัทให้บริการกับสมาชิกกรณีพบข้อมูลราคา 12 บาทต่อรายการ และกรณีไม่พบข้อมูล 6
บาทต่อรายการ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าอยู่ในระดับต่ำ คงไม่มีการปรับลดราคาในกรณีดังกล่าวแน่
นอน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันต่ำสุดในรอบ 10 เดือน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 16
มี.ค. 47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันซึ่งสำรวจโดยสำนักข่าว ABC และนิตยสาร Money
โดยการสัมภาษณ์ชาวอเมริกันจำนวน 1,000 คน ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. 47 ลดลงอยู่ในระดับ
|22 จากระดับ |18 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งดำเนินการโดย
สำนักอื่นว่าชาวอเมริกันรู้สึกผิดหวังกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีการว่างงานในอัตราสูง ซึ่งอาจส่งผล
กระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคทำให้ต้องลดการใช้จ่ายลง (รอยเตอร์)
2. ยอดสร้างบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนก.พ. ลดลงร้อยละ 4.0 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่
17 มี.ค. 47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดการสร้างบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนก.พ. 47 ลดลงอยู่ที่
ระดับ 1.855 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากจำนวน 1.932 ล้านหลังในเดือนม.ค. (ตัวเลขหลัง
ปรับ) หรือลดลงร้อยละ 4.0 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ต่ำกว่าที่นัก
วิเคราะห์จากวอลสตรีทคาดไว้ว่าจะมีจำนวน 1.930 ล้านหลัง สร้างความผิดหวังอย่างมากให้แก่นักเก็งกำไร
เช่นเดียวกับการขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ซึ่งเป็นเครื่องชี้ความเชื่อมั่นในเดือนก.พ. ลดลงร้อยละ 1.5 อยู่ที่
ระดับ 1.903 ล้านหลัง ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของวอลสตรีท อย่างไรก็ตามตลาดบ้านก็ยังคงมีความแข็ง
แกร่งจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีในเดือนก.พ. อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ
5.64 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 46 สภาพอากาศที่เลวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายบ้านใหม่ลดลงในเดือนนี้
อย่างไรก็ตามยอดขายบ้านที่สร้างเสร็จแล้วในเดือนก.พ. กลับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส ขาดดุลงบประมาณสูงกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดที่ระดับ 3.0%
รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 16 มี.ค.47 Eurostat เปิดเผยว่า อังกฤษขาด
ดุลงบประมาณสูงถึง 3.2% ของจีดีพีในปี 2546 เช่นเดียวกับเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ขาดดุลงบประมาณสูงเกิน
3.0% ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับที่สหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ รมว. ก.คลังของ
สหภาพยุโรปได้กล่าวเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาว่า อังกฤษซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ไม่ใช้เงิน
สกุลยูโร ได้กำหนดจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสูงเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาการเติบโตแบบมี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการมีวินัยทางการเงินในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือน เม.ย. ในขณะ
ที่เนเธอร์แลนด์หนึ่งในประเทศสมาชิกที่ได้ชื่อว่ามีวินัยทางการเงินขาดดุลงบประมาณ 3.0% ของจีดีพีในปี 2546
เทียบกับระดับ 1.9% ของจีดีพีในปี 2545 ซึ่งไม่เพียงอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบการ
ขาดดุลงบประมาณจำนวนมากอันเป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำในปี 46 แต่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจาก 11 ใน
15 ประเทศก็ขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมากเช่นกัน ทำให้ยอดรวมการขาดดุลของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
สูงถึงระดับ 2.6% ของจีดีพีในปี 2546 เพิ่มจากระดับ 2.0% ในปี 2545 ส่วนกลุ่มประเทศสมาชิกที่ใช้เงิน
สกุลยูโรการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2.7% ในปี 2546 จากระดับ 2.3% ในปี 2545 (รอย
เตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ก.พ.47 ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอน
เมื่อ
16 มี.ค. 47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.3 จากปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และยังต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ
ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 อันเป็นผลจากการที่ผู้ค้าปลีกยังคงลดราคาเสื้อผ้าและรองเท้าตั้งแต่ช่วงปีใหม่เป็น
ต้นมา ตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลงดังกล่าวไม่มีผลต่อการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษแต่อย่างไร
เนื่องจาก ธ.กลางอังกฤษจะมองผลกระทบในระยะยาวมากกว่า 2 ปีขึ้นไปและดูที่ปริมาณความต้องการ
มากกว่าดูที่ราคาเพียงอย่างเดียว โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอ้ตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน
พ.ค. นี้ เพื่อลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังจากขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ร้อยละ 0.25 เมื่อ
เดือนที่แล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (รอยเตอร์)
5. ความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากตัวเลขแรงงาน
ของ สรอ.ชะลอลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 16 มี.ค.47 Merrill Lynch เปิดเผยผลการสำรวจ
ความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกประจำเดือน มี.ค.47 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังในแง่ดีเกี่ยวกับการเติบ
โตของภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากการตัวเลขแรงงานของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 ชะลอลง
โดยมีผู้จัดการกองทุนเพียงร้อยละ 48 ที่คาดหมายว่าเศรษฐกิจโลกจะแข็งแกร่งขึ้นภายในระยะเวลา 12 เดือน
ลดลงจากร้อยละ 65 และ 74 ในเดือน ก.พ. และ ม.ค.47 ตามลำดับ หลังจากที่ ก.แรงงาน สรอ.
รายงานตัวเลขแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน ก.พ.47 ว่าเพิ่มขึ้นเพียง 21,000 คน ต่ำกว่าที่คาด
หมายว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 120,000 คน อย่างไรก็ตาม แม้ความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ
โลกจะลดลง แต่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยทั้งระยะยาวและระยะสั้นจะปรับตัว
เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 1 ปี และมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าราคา พธบ.โลกจะปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เทียบต่อปี
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 17 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีน
ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เทียบต่อปี โดยการลงทุนของบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของและ
บริษัทที่รัฐถือหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
โดยรวมในปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเพื่อการ
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ว่าอาจเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจจีนประสบภาวะร้อน
แรงเกินไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
17/3/47 16/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.504 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.3103/39.5901 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1250 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
669.80/21.83 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
30.95 31.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมพิจารณามาตรการดูแลธุรกิจสินเชื่อบุคคลไปพร้อมกับมาตรการควบคุมบัตรเครดิต
ผู้
ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการควบคุม
การทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ไปพร้อมกับมาตรการควบคุมบัตรเครดิต เพื่อป้องกันการโยกย้ายสินเชื่อไปเป็น
สินเชื่อบุคคลหรือไม่ เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลรายละเอียดมาตรการควบคุมบัตรเครดิตที่ได้รับจาก
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ขณะเดียวกัน ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตได้ส่งหนังสือขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การ
ทำธุรกิจบัตรเครดิต หลังจากที่ ธปท.จะออกมาตรการใหม่เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบการขยายบัตรเครดิตด้วย
วิธีขายตรงเพราะรบกวนประชาชน โดยผู้ประกอบการต้องการให้เลื่อนเวลาการบังคับใช้ออกไปก่อน เนื่อง
จากจะส่งผลกระทบต่อการขยายฐานบัตร โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ
เพราะไม่มีสาขาทั่วประเทศเช่นสถาบันการเงินไทย (ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. มอร์แกน สแตนเลย์ ทบทวนประมาณการจีดีพีของไทยในปี 47 อาจขยายตัวลดลงจากเดิม
มากที่
สุดร้อยละ 2 นักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกน สแตนเลย์ (แดเนียล เหลียน) เผยแพร่บทวิเคราะห์เศรษฐกิจใน
หัวเรื่อง “ประเทศไทย : หลังไข้หวัดนก ตรวจชีพจรเศรษฐกิจ” ว่า เมื่อ 20 ม.ค.47 ได้ปรับเพิ่มประมาณ
การผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของไทยจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 8 ด้วยปัจจัยหนุนจากแรงขับเคลื่อนระ
ดับมหภาค 2 ปัจจัย คือ นโยบายขยายตัวด้านการคลัง และความเฟื่องฟูด้านการลงทุน ที่น่าจะเสริมพลวัตแข็ง
แกร่งที่มีอยู่เดิม คือ การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น กลุ่มประเทศในเอเชีย
ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกกว่า 10 ประเทศรวมทั้งไทย จึงได้วิเคราะห์ความเสียหาย
ทางเศรษฐกิจที่เกิดกับไทยใหม่บนสมมติฐาน 3 ระดับว่า จะทำให้การเติบโตของจีดีพีลดลงระหว่างร้อยละ
0.3-0.55 โดยสมมติฐานแรก หรือดีที่สุด คือ จีดีพีจะอยู่ที่ร้อยละ 7.45 สมมติฐานที่ 2 คือ เมื่อเศรษฐกิจ
ขยายตัวลดลงร้อยละ 1.17 จีดีพีจะมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.83 และสุดท้ายเป็นสมมติฐานเลวร้ายที่สุด คือ จีดี
พีจะลดลงร้อยละ 2 เหลือเพียงร้อยละ 6 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณารูปแบบและหน้าที่ของธนาคารชุมชนกลาง รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง ก.คลังได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณารูปแบบ
และหน้าที่ของธนาคารชุมชนกลาง ซึ่งจะประกาศรูปแบบที่ชัดเจนได้ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อส่งเสริมบริการทางการ
เงินระดับรากหญ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาองค์กรการเงิน
ชุมชน โดยธนาคารดังกล่าวมีหน้าที่ส่งเสริมศักยภาพองค์กรการเงินชุมชนในด้านต่าง ๆ (เดลินิวส์)
4. ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด.บบส. ผู้อำนวย
การสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการ
ของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ตามที่
ก.คลังเสนอและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ได้เพิ่มบทบาทให้
บบส.สามารถเข้าร่วมแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงิน โดยขยายขอบเขตวัตถุประสงค์
ของ บบส.เพื่อให้สามารถรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารจัดการหรือดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และสถาบันการเงิน รวมตลอดจนหลักประกันและ
ทรัพย์สินที่ตกเป็นของสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการชำระหนี้ได้ตามวิธีที่กำหนดไว้ รวมทั้งเพื่อให้สามารถ
สวมสิทธิเข้าเป็นคู่ความคดีที่อยู่ในศาล และสวมสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้
การแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการ
สร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงิน (ข่าวสด, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
5. บ.ข้อมูลเครดิตไทยขายข้อมูลเครดิตเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นรายการ กรรมการผู้จัดการ บ.ข้อมูล
เครดิตไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อกลางเดือน มิ.ย.46 ว่า
ขณะนี้มีสมาชิกขอเข้าใช้บริการตรวจสอบข้อมูลเดือนละประมาณ 300,000-400,000 รายการ เฉลี่ยประมาณ
20,000 รายการต่อวัน และเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมามียอดขายข้อมูลเครดิตครบ 2 ล้านฉบับ ปัจจุบันบริษัทมี
สมาชิกอยู่ประมาณ 50 ราย ส่วนกรณีที่ ธปท.เตรียมออกมาตรการใหม่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตต้อง
ตรวจสอบข้อมูลเครดิตลูกค้าทุกราย ซึ่งผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เห็นว่าอาจทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่ม
ขึ้นนั้น เห็นว่าราคาที่บริษัทให้บริการกับสมาชิกกรณีพบข้อมูลราคา 12 บาทต่อรายการ และกรณีไม่พบข้อมูล 6
บาทต่อรายการ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าอยู่ในระดับต่ำ คงไม่มีการปรับลดราคาในกรณีดังกล่าวแน่
นอน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันต่ำสุดในรอบ 10 เดือน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 16
มี.ค. 47 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอเมริกันซึ่งสำรวจโดยสำนักข่าว ABC และนิตยสาร Money
โดยการสัมภาษณ์ชาวอเมริกันจำนวน 1,000 คน ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. 47 ลดลงอยู่ในระดับ
|22 จากระดับ |18 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งดำเนินการโดย
สำนักอื่นว่าชาวอเมริกันรู้สึกผิดหวังกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีการว่างงานในอัตราสูง ซึ่งอาจส่งผล
กระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคทำให้ต้องลดการใช้จ่ายลง (รอยเตอร์)
2. ยอดสร้างบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนก.พ. ลดลงร้อยละ 4.0 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่
17 มี.ค. 47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดการสร้างบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนก.พ. 47 ลดลงอยู่ที่
ระดับ 1.855 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) จากจำนวน 1.932 ล้านหลังในเดือนม.ค. (ตัวเลขหลัง
ปรับ) หรือลดลงร้อยละ 4.0 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ต่ำกว่าที่นัก
วิเคราะห์จากวอลสตรีทคาดไว้ว่าจะมีจำนวน 1.930 ล้านหลัง สร้างความผิดหวังอย่างมากให้แก่นักเก็งกำไร
เช่นเดียวกับการขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ซึ่งเป็นเครื่องชี้ความเชื่อมั่นในเดือนก.พ. ลดลงร้อยละ 1.5 อยู่ที่
ระดับ 1.903 ล้านหลัง ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของวอลสตรีท อย่างไรก็ตามตลาดบ้านก็ยังคงมีความแข็ง
แกร่งจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีในเดือนก.พ. อยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ
5.64 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 46 สภาพอากาศที่เลวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายบ้านใหม่ลดลงในเดือนนี้
อย่างไรก็ตามยอดขายบ้านที่สร้างเสร็จแล้วในเดือนก.พ. กลับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส ขาดดุลงบประมาณสูงกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดที่ระดับ 3.0%
รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 16 มี.ค.47 Eurostat เปิดเผยว่า อังกฤษขาด
ดุลงบประมาณสูงถึง 3.2% ของจีดีพีในปี 2546 เช่นเดียวกับเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ขาดดุลงบประมาณสูงเกิน
3.0% ของจีดีพี ซึ่งเป็นระดับที่สหภาพยุโรปกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ รมว. ก.คลังของ
สหภาพยุโรปได้กล่าวเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาว่า อังกฤษซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ไม่ใช้เงิน
สกุลยูโร ได้กำหนดจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสูงเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาการเติบโตแบบมี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการมีวินัยทางการเงินในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือน เม.ย. ในขณะ
ที่เนเธอร์แลนด์หนึ่งในประเทศสมาชิกที่ได้ชื่อว่ามีวินัยทางการเงินขาดดุลงบประมาณ 3.0% ของจีดีพีในปี 2546
เทียบกับระดับ 1.9% ของจีดีพีในปี 2545 ซึ่งไม่เพียงอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบการ
ขาดดุลงบประมาณจำนวนมากอันเป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำในปี 46 แต่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจาก 11 ใน
15 ประเทศก็ขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมากเช่นกัน ทำให้ยอดรวมการขาดดุลของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
สูงถึงระดับ 2.6% ของจีดีพีในปี 2546 เพิ่มจากระดับ 2.0% ในปี 2545 ส่วนกลุ่มประเทศสมาชิกที่ใช้เงิน
สกุลยูโรการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2.7% ในปี 2546 จากระดับ 2.3% ในปี 2545 (รอย
เตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ก.พ.47 ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอน
เมื่อ
16 มี.ค. 47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
1.3 จากปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และยังต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ
ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 อันเป็นผลจากการที่ผู้ค้าปลีกยังคงลดราคาเสื้อผ้าและรองเท้าตั้งแต่ช่วงปีใหม่เป็น
ต้นมา ตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลงดังกล่าวไม่มีผลต่อการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษแต่อย่างไร
เนื่องจาก ธ.กลางอังกฤษจะมองผลกระทบในระยะยาวมากกว่า 2 ปีขึ้นไปและดูที่ปริมาณความต้องการ
มากกว่าดูที่ราคาเพียงอย่างเดียว โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอ้ตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน
พ.ค. นี้ เพื่อลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังจากขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ร้อยละ 0.25 เมื่อ
เดือนที่แล้ว ทำให้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 (รอยเตอร์)
5. ความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากตัวเลขแรงงาน
ของ สรอ.ชะลอลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 16 มี.ค.47 Merrill Lynch เปิดเผยผลการสำรวจ
ความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกประจำเดือน มี.ค.47 ซึ่งพบว่า ความคาดหวังในแง่ดีเกี่ยวกับการเติบ
โตของภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากการตัวเลขแรงงานของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 ชะลอลง
โดยมีผู้จัดการกองทุนเพียงร้อยละ 48 ที่คาดหมายว่าเศรษฐกิจโลกจะแข็งแกร่งขึ้นภายในระยะเวลา 12 เดือน
ลดลงจากร้อยละ 65 และ 74 ในเดือน ก.พ. และ ม.ค.47 ตามลำดับ หลังจากที่ ก.แรงงาน สรอ.
รายงานตัวเลขแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน ก.พ.47 ว่าเพิ่มขึ้นเพียง 21,000 คน ต่ำกว่าที่คาด
หมายว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 120,000 คน อย่างไรก็ตาม แม้ความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ
โลกจะลดลง แต่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยทั้งระยะยาวและระยะสั้นจะปรับตัว
เพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 1 ปี และมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าราคา พธบ.โลกจะปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เทียบต่อปี
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 17 มี.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีน
ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 เทียบต่อปี โดยการลงทุนของบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของและ
บริษัทที่รัฐถือหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
โดยรวมในปี 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเพื่อการ
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ว่าอาจเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจจีนประสบภาวะร้อน
แรงเกินไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
17/3/47 16/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.504 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.3103/39.5901 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1250 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
669.80/21.83 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,400/7,500 7,400/7,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
30.95 31.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-