FTA เป็นเพียงเครื่องมือ ต่อให้เป็นประเทศยักษ์ใหญ่แค่ไหนก็แล้วแต่ ต้องมีการเจรจา และฝ่ายเราก็ต้องพร้อมด้วย การเตรียมความพร้อมนั้นท่านนายกรัฐมนตรีให้ตั้งแล้ว Chief negotiator เป็นทีม มี Steering committee ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการเข้ามาผสม และเป็นจังหวะดีที่ผมจะใช้สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ของกระทรวงการคลังเป็นหลักในการเชื่อมโยง เอานักวิชาการที่ต้องการทำงานเพื่อชาติเข้ามา Join ดูว่าแต่ละ Sector ตัวไหนควรจะเป็นอย่างไหน ทิศทางควรจะเป็นอย่างไร จะเป็นการรวมพลังเชิงวิชาการที่เราจะเปิดกว้าง
ผมย้ำอีกครั้งว่าเรายังไม่ได้เริ่ม FTA เรายังอยู่ในช่วงของการเจรจา ระหว่างไทยกับจีนนั้นเป็นเพียงการใช้ Early harvest ในสินค้า 2 หมวดใหญ่ เป็นการลด Tariff ลงมาในหมวดของผักและผลไม้ แต่อย่าเพิ่งไปหวั่นไหวว่าเราจะเสียเปรียบ ตัวเลขการส่งออกของผลไม้ไทยไปจีนนั้นเพิ่มทุกวันในระยะสั้น แน่นอนประเทศเขาเป็นประเทศใหญ่ แต่ละมณฑลกฎระเบียบแตกต่างกัน ถ้าเราเดินให้หนัก จี้ไปทุกมณฑล นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมต้องการเดินทางไปจีน ถ้าเราไปทุกมณฑล ทำความรู้จักกับเลขาธิการพรรค ทำความรู้จักกับผู้ว่าเขา ผู้มีอำนาจ Clear ไปทีละเปลาะๆ เขามีประชากรกว่า 1,000 ล้านคน ความเสียเปรียบมันจะมีได้อย่างไร สินค้าซึ่งเราเสียเปรียบต้องหาทางเปลี่ยนผ่าน ต้องช่วยเหลือเกษตรกรให้เขาสามารถเปลี่ยนสินค้าได้ นี่คือ FTA
ต่อจากนี้ไป สศค. หน้าที่ของท่านคือคิดในเชิงรุกร่วมกับสถาบันวิจัยฯ อุตสาหกรรมไหนสินค้าตัวไหน จะเตรียมการอย่างไร อย่าคิดแต่ในเชิงรับ มองไปข้างหน้าและมาช่วยกัน ผมต้องการจะพัฒนาทั้ง สศค. และสถาบันวิจัยฯ ให้มีความก้าวหน้าเชิงวิชาการให้มากที่สุดโดยเชื่อมโยงกับต่างประเทศ นี่คือหลักการของการ Transform ของ FTA Go beyond tariff ต้องก้าวไปสู่เรื่องยุทธศาสตร์ คิดไกลออกไปการ Transform ในเรื่องอื่น เช่น เรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs อันนี้ต้องขอความกรุณาเลย จากวันนี้ไปเรายังมีอุตสาหกรรมซึ่งเราจะต้องมีการปรับภาษี ปรับเพื่อให้มีความสามารถเชิงแข่งขัน ผมได้ขอให้ท่านสมพลฯ เป็นตัวยืนที่ช่วยประสานงานสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ประสานให้เร็วทำให้ดี ความสามารถเชิงแข่งขันของบริษัทเอกชนไทยเป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรที่จะทำให้เขาแข่งขันได้ดี ทั้งในเชิงของกระตุ้นให้เขาใช้วิทยาการ ใช้เทคโนโลยี ทำ Research ออกค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาดโลก หนุนให้บริษัทไทยออกสู่ตลาดโลกให้ได้ ใช้เครื่องมือทางภาษีช่วยกันคิดออกมา จูงใจเขา SMEs เป็นฐานใหญ่ของประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรีให้มา 1,500 - 2,000 ล้านบาท เป็น Venture capital ขณะนี้เป็นองคาพยพทั้งหลายที่ช่วย SMEs นั้นค่อนข้างพร้อม โชคดีที่มีการแบ่งหมวดของจังหวัดเป็น Cluster Cluster ทางเหนือเริ่มลดแล้ว
เรื่องของ SMEs เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล และนโยบายนี้ก็จะเป็นนโยบายที่รัฐบาลจะผลักดันอย่างต่อเนื่องไม่มีการยุติอย่างแน่นอน องคาพยพของการช่วยเหลือ SMEs มีพร้อม ขาดอย่างเดียวคือการขับเคลื่อนพร้อมๆ กันไปสู่เป้าหมาย ผมได้ให้คำจำกัดความของคำว่าSMEs คือคำว่า Smart Enterprise ไม่ใช่เพียงว่าเล็กหรือกลาง แต่เป็น Smart Enterprise ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันได้ ตรงนี้อยากให้เรื่องของโครงสร้างภาษีช่วยไปคิดวิธีทำให้เขาแข็งแรงขึ้นมาหน่อย ให้เขาสู่ตลาดโลกได้ จริงๆ แล้วผมเคยฝากท่านศุภรัตน์ฯ ตั้งแต่แรก 2 ปีที่แล้วว่าให้ดูกระบวนการปรับโครงสร้างของภาษีทั้งหมด ดูตามจังหวะจะโคนเพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ดีที่สุด ผมฝากท่านศุภรัตน์ฯ ท่านจะงานหนักนิดหนึ่ง ช่วยคิดกรอบทั้งหมดตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีเคยบัญชาไว้ ให้เกิดความสามารถแข่งขันของธุรกิจไทยทั้งประเทศ อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ท่านได้รับการมอบหมาย ใช้ความพอดี ผมเคยกราบเรียนครั้งหนึ่งว่ามีคำศัพท์อยู่ 4 คำ ที่ผมคิดว่าสำคัญในชีวิตผม ผู้ใหญ่เคยสอนไว้ เขาบอกว่า "เร็ว ช้า หนัก เบา" ของบางอย่างต้องเร็ว ของบางอย่างต้องช้า ของบางอย่างต้องหนัก บางอย่างต้องเบา การประสานเร็ว ช้า หนัก เบา สำคัญมากๆ ฉะนั้นก็ขอให้ท่านสานต่ออันนี้ ดูทั้งหมด ระบบภาษีทั้งระบบ ทั้ง Corporate และ Personal Income Tax ดูให้ผม
เรื่องการ Transform อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือเรื่องรัฐวิสาหกิจ ผมกราบเรียนตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่บริสุทธิ์ ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลตั้งแต่ตอนที่เสนอเป็นนโยบาย เรามีความมุ่งมั่นที่จะให้รัฐวิสาหกิจเป็นพลังสำคัญของประเทศ เพราะรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐาน ถ้าเราทำให้รัฐวิสาหกิจมีพลังมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการช่วยทำให้ส่วนอื่นๆ ของประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ว่าที่ผ่านมามันเหมือนกับมีแรงฉุด ซึ่งไม่น่าจะมี แรงฉุดที่หนึ่งก็คือในอดีตการบริหารการจัดการส่วนใหญ่ไม่ได้ไปในทิศทางซึ่งควรจะเป็น กรรมการส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ใช่ผู้ที่สอดรับเรื่องของหน้าที่ การเมืองเข้าไปอยู่ในนั้นค่อนข้างมาก ผมพูดถึงว่าผ่านมาหลายสิบปีแล้วนะครับ ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในขณะเดียวกันหนี้สินเป็นตัวฉุดรั้งค่อนข้างมาก หนี้มูลค่านับเป็นล้านๆ บาท เวลาที่รัฐวิสาหกิจต้องการทำอะไรให้ดี ใครเขาจะให้กู้ รัฐบาลก็ต้องค้ำประกัน รัฐบาลค้ำประกันหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ต่างประเทศมองเมืองไทยเสมือนหนึ่งประเทศที่มีปัญหา ตรงนี้เป็นบ่วงซึ่งรัดตัว
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างกรณีของ EGAT ผมยังจำได้ว่าท่านนายกรัฐมนตรีไปที่ EGAT ฟังการนำเสนอของคณะทั้งหมด ท่านนายกรัฐมนตรีมองไปที่เขานำเสนอบอกว่าถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป EGAT จะเล็กลงเรื่อยๆ เพราะทุกอย่างจะกลายเป็น IPP ซึ่งเอกชนไป Joint กับใครไม่รู้ทำตลอด และก็เป็นโครงการเล็กๆ เต็มไปหมด EGAT ไม่สามารถขยายต่อไปได้ ภาระหนี้มีมาก ฉะนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีก็เลยต้องการที่จะทำให้ EGAT มีพลังอีกครั้งหนึ่ง โดยการรวมศูนย์ให้มาอยู่ที่ EGAT ให้การขยายงานเกิดจาก EGAT นี่คือเจตนาของท่านนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะทำโครงการใดนั้นมันต้องการเงินทุน การเปลี่ยนเป็นบริษัท การจดทะเบียนในตลาดหุ้น คือการที่จะทำให้ EGAT สามารถระดมทุนจากคนในประเทศและคนจากต่างประเทศได้ โดยสูญเสียส่วนแบ่งหุ้นเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการเอาฐานทุนเข้ามาค้ำฐานหนี้ หนี้รัฐบาลก็ลดลงไป EGAT ก็สามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปได้ จะทำให้ EGAT สามารถพัฒนาไปได้อย่างไม่มีสิ้นสุด เจตนาเช่นนี้ผิดหรือ?
ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่หลักการ หลักการแปรรูปนั้น 1. ต้องปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค อันนี้แน่นอนที่สุดต้องยึดเอาไว้ 2. ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ รัฐบาลต้องถือหุ้นใหญ่แน่นอน ดูแลพนักงานรัฐวิสาหกิจ อันนี้แน่นอน ทั้งนี้ เรามองเห็นว่าจริงๆ แล้วเขามีส่วนสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นมา เราต้องดูแลเขา จริงๆ การเรียกร้องหลายๆ อย่างนั้นอาจจะไม่สมควรด้วยซ้ำ แต่เราถือว่าเขาสร้างของเขามา เขารักของเขา ต้องให้เขา ฉะนั้นประเด็นสำคัญก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะร่วมกันช่วยท่านนายกรัฐมนตรีให้สามารถนำเอาหลักการเหล่านั้นเป็นในทางปฏิบัติที่เกิดประสิทธิผลที่สุดโดยไม่ให้ใครไปเบียดบังผลประโยชน์ เพราะหลักการนั้นถูกต้องเพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้มีการเบี่ยงเบนออกไป ตรงนี้ที่ต้องมาช่วย ทำอย่างไรถึงจะช่วยกำกับดูแลประชาชนไม่ให้เดือดร้อน ทำอย่างไรการกระจายหุ้นจึงจะเป็นธรรม ทำอย่างไรที่จะดูแลพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ทั่วถึง ช่วยกันคิดช่วยกันอ่าน ตรงนี้ที่สหภาพฯ น่าเข้ามา Join หารือร่วมกันในสิ่งเหล่านี้ เพราะหลักการที่ผมกล่าวตั้งแต่ต้น มันไม่ได้ผิดเลยตรงนี้ต่อจากนี้ไปสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ท่านจะต้องทำงานในเชิงที่เข้าใจและลงลึก เข้าไปทำความเข้าใจกับทุกๆ รัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่เพียงบอกแต่เพียงตัวเลขอย่างนั้นๆ และบอกนัดหมายวันมาประชุม แค่นั้นไม่พอ ท่านต้องร่วมกันฝึกอบรมเขา ชี้แจงเขา ช่วยเหลือเขาให้เกิดความเข้าใจเกิดความต่อเนื่อง ใครจะบอกอย่างไรเขาจะได้รู้ว่าหลักการที่แท้จริงเป็นอย่างนี้หรือ ไม่มีใครที่ต้องการจะขายรัฐวิสาหกิจ ในอดีตมีแน่นอน ตอนที่เราเป็นหนี้ IMF และเขาพยายามบีบให้เราขาย ผ่านมาแล้วมีการขายหรือไม่ ไม่มีการขายแม้แต่แห่งเดียว ใครจะไปขายรัฐวิสาหกิจในเมื่อผมบอกแล้วว่ามันเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของประเทศ แต่มันต้องเป็น High - performance Organization มันต้องแข็งแรงแข็งแกร่ง ส่วนอื่นจึงจะได้อานิสงส์ ฉะนั้น สำนักรัฐวิสาหกิจจะต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ เอาคนนอกมาช่วย แต่ละองค์กรต้องเข้าไปทำความรู้จักกับเขาเลย ต้องเป็น Mass ในเชิงที่ว่า Educate เขาด้วย หน้าที่ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจัดประชุมและก็ทำตัวเลข ท่านต้องอย่าลืมว่าเศรษฐศาสตร์เป็นสิ่งที่ว่าด้วยมนุษย์ ต้องชี้แจง ต้องพูดคุย และเขาจะมีความเข้าใจ คนไทยถ้าพูดคุยแล้วเราจะเข้าใจกัน น่าเสียดายที่ต้องเกิดเหตุการณ์ซึ่งไม่ควรจะเกิด เพราะว่าประเทศเรากำลังไปได้ดี แต่ผมก็ยังมั่นใจว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยในอนาคตข้างหน้าไม่นาน เพราะท่านนายกรัฐมนตรีก็ลงมาดูด้วยตนเองในหลายๆ จุด อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างในเรื่อง Transmission
เรื่องที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือการทำให้ระบบการเงินการคลังของประเทศมีความมั่นคงแข็งแกร่ง ผมเคยกราบเรียนแล้วว่าประเทศมี 3 ขาหลัก ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดเงินมีการพูดกันมากเรื่องการควบรวมธนาคาร ต่อไปนี้ขอความกรุณาอย่าพูดมาก เราต้องการที่จะจัดการให้สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง ความแข็งแกร่งในที่นี้หมายความว่าแข็งแกร่งที่ยังสามารถแข่งขันกับระดับต่างประเทศได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดต้องทำทีละขั้นตอน ทำแล้วต้องมั่นใจว่ามีแต่ได้ มีแต่ดี อย่าให้เกิดความหวั่นไหว แล้วก็ต้องดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่าย มั่นใจแล้วถึงจะทำ แน่ใจแล้วถึงจะให้ข่าว ถ้าต่อจากนี้ไปมีการให้ข่าวให้สิ่งซึ่งอย่างนี้อีกโดยที่ผมยังไม่ได้รับทราบข้อสรุป หรือมีผลสรุปอย่างเป็นทางการแล้ว ผมจะเอาโทษ เพราะว่าเป็นการทำให้เศรษฐกิจของเมืองไทยหวั่นไหวโดยใช่เหตุ เราจะทำในสิ่งที่ทำให้ดีที่สุด ไม่มีการกระเทือนเศรษฐกิจแน่นอน และการควบรวมจะพยายามทำให้เหมือนแบบเป็นธรรมชาติมากที่สุด ยึดยุทธศาสตร์เป็นหลักตลาดทุนผมกราบเรียนแล้วว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามแผนแม่บทของการพัฒนาตลาดทุน ตลาดหุ้น Index เท่าไรไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าเราทำดี ผมบอกแล้วว่ามีประเทศไหนบ้างที่ GDP โตถึงร้อยละ 8 บ้าง ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถ้าเราทำได้ดีเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางการอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เงินทุนมันเข้ามาเอง ไม่ต้องไปหวั่นเลย ในระยะสั้นมันต้องแปรปรวนแน่นอน การเก็งกำไรเป็นเรื่องธรรมดา แต่ให้รักษา Fundamental ให้แข็งแกร่งเอาไว้ พยายามดำรงความเสมอต้นเสมอปลายให้ตลาดหุ้นเป็นที่มั่นใจของต่างประเทศ ท่านจำเอาไว้เลยนะครับคำว่า Reliability ความไว้วางใจได้ Creditability ความน่าเชื่อถือ เป็นยันต์ที่ดีที่สุดที่จะคุ้มครองในทุกหน่วยงานทุกสถาบัน และทุกๆ คน ถ้าเมื่อใดหมด Creditability หมด Reliability เมื่อนั้นไม่มีความหมายต่อไป ตลาดทุนต้องสร้างมาให้ถึงจุดนั้น ให้คนที่มาลงทุนเกิดความมั่นใจ Demand side, Supply side ข้อมูลข่าวสาร ผมจะประชุม กลต. เข้าใจว่าเป็นวันพุธ ทุกอย่างหารือล่วงหน้ากับ กลต. มาแล้วทั้งสิ้น ผมจะเชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการตลาดทุนทั้งหมดหลายๆ รอบ เพื่อรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว เพื่อที่จะพยายามทำให้ตลาดทุนของเราแข็งแรงเป็นที่น่าเชื่อถือ ผมเชื่อว่าผมรู้จักตลาดหุ้นมา 10 กว่าปี คนในวงการรู้จักแทบทั้งหมด เราจะทำงานด้วยกัน ท่านไม่ต้องห่วง เจตนาไม่ใช่ว่าจะทำให้ดัชนีสูงขึ้น เราจะทำให้ทุกอย่างเป็นที่น่าเชื่อถือ ดีไม่ดีท่านปลัดกระทรวงการคลังจะต้องเดิน Roadshow Governance อีกหลายๆ รอบในต่างประเทศ
ตลาดตราสารหนี้วันนี้ต้องฝากไว้ เรากำลังก้าวเกินจุดของ Local Bond แล้ว เราไปสู่ Asian Bond แล้ว ตลาดตราสารหนี้สำคัญอย่างยิ่ง ฉะนั้นต้องใช้สถาบันวิจัยฯ เข้ามาช่วย ใช้นักวิชาการเข้ามาช่วยเพื่อเตรียมการทั้งหมด จะมีการประชุมในไม่ช้า ผมเข้าใจไม่ผิด ในอีกประมาณ 2 - 3 เดือน ดูแลให้ดี เพราะเราได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลักดัน Asian Bond Asian Bond มีประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียว ตอนที่ผมเดินทางไปญี่ปุ่นเรื่องไข้หวัดนก เป็นที่แน่นอนแล้วว่าบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในเมืองไทยจะเริ่มออก Local Bond เป็น Local Currency ถ้ามีการออก Local Currency Bond โดยบริษัทต่างประเทศในประเทศไทยบ่อย ๆ อันนี้ก็คือสิ่งซึ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นว่าเขาเชื่อมั่นในประเทศไทย เราจะต้องชิงธงตรงนี้อย่าให้หลุดลอดไป
สามขา ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ต้องมีการ Balance ให้ดีที่สุด ให้มีดุลยภาพ คุณภาพ และต้องก้าวเกินระดับ Local ไปสู่ตลาดต่างประเทศ อันนี้คือเจตนา เรื่องนี้ผมฝากสุดท้าย เรื่องการคลังเพื่อสังคมตรงนี้จำเป็นต้องมี ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งหลายครั้งแล้ว เรื่องการศึกษา อีกหลายเรื่องทีเดียว แนวคิดก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีมองอยู่ว่าถ้าเราสามารถให้เอกชนช่วยเราได้ รัฐบาลก็ไม่ต้องไปแบกภาระ จะทำอย่างไรให้เอกชนช่วยเราได้ตรงนี้ ท่านจำได้ไหมว่าเราเคยบอกว่าจะส่งไม้ให้เอกชน ที่เราต้องเก็บภาษีให้ได้มากๆ พวกเราไปแบกรับหน้าที่ไว้มาก แต่ถ้าเมื่อไรที่เอกชนทำได้เองเราก็ไม่ต้องแบกรับขนาดนั้น ฉะนั้นก็ต้องกระตุ้นให้เขาคิดในสิ่งเหล่านี้ ทำอย่างไรให้เขาเข้ามาเกื้อกูลการศึกษา ทำอย่างไรให้เขามาเกื้อกูลการวิจัย ทำอย่างไรให้เขามาเข้ามาเกื้อกูลการพัฒนา Cluster ในอุตสาหกรรม ต่างประเทศที่เขาพัฒนาเอกชนล้วนๆ เลย เราต้องคิดสิ่งเหล่านี้ออกมา เมื่อคิดออกมาได้แม้ว่าเราจะสูญเสียรายได้บางส่วนแต่สิ่งที่จะกลับมาคือว่าเราลดภาระที่ต้องไปให้กับเขา เรามีโอกาสเอาเงินไปใช้อย่างอื่นได้ ผมฝากเรื่องการคลังเพื่อสังคมเอาไว้ ณ ที่นี้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ผมจะนำเสนอ
ทั้งหมดนี้จะไปสอดรับกับยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ที่กระทรวงอื่นๆ สภาพัฒน์ฯ ผมไปวางแท่งไว้เป็นแท่งๆ ทั้งในเรื่องของความสามารถเชิงแข่งขันในหลายๆ เรื่อง BOI Gear ไปสู่ทิศทางในการพัฒนาความสามารถทั้งสิ้น กระทรวงเกษตรฯ ไม่ใช่อยู่แต่ในประเทศแล้ว เขามีหน้าที่ที่จะต้องทำเรื่อง Food Safety ครัวไทยสู่โลก หลายอย่างต้องรุกไปข้างหน้า กระทรวงพาณิชย์จะไม่ใช่ก้าวเพียงแค่ว่าให้มีการส่งออก จะให้มีการนำทัพนักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศด้วยซ้ำไป สิ่งเหล่านี้ต้องมีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน EXIM Bank สำคัญมากๆ ผมย้ำอีกครั้งหนึ่ง ผมรอมา 3 ปีแล้ว EXIM Bank ต้อง Very active ในอดีตผมกลับต้องใช้ SME BANK ในการพัฒนาต่างประเทศ ต้องเป็นมือเป็นไม้ขับเคลื่อนในสิ่งเหล่านี้ด้วยทั้งหมดนี้ผมอยากจะฝากไว้สั้นๆ ไว้ในใจของท่าน เวลาท่านคิดแผนอะไร คิดในกรอบอันนี้ ผมเรียนเลยว่าอันนี้ผมไปปูไว้ในทุกส่วนทุกกรมเลยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ตอบรับแค่นั้นเองทุกอย่างก็จะเดิน หลักการการทำงานผมขอร้องขอให้เน้นเชิงรุกอย่าตั้งรับ คิดไว้ล่วงหน้า ขอให้ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต หัวผมไม่ส่ายแน่นอน อย่าให้มีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น ขอให้เน้นความโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริต อันนี้จะเป็นสิ่งคุ้มครองทุกคน ทำให้ดีๆ ทำงานต้องให้มีคุณธรรม เราเป็นข้าราชการเรามีหน้าที่รับใช้ประชาชน เราต้องให้บริการ เราไม่ใช่เจ้านาย ทำงานด้วยความสุข ผมคงไม่ได้ขออะไรมากมาย แต่อยากจะฝากเอาไว้ แล้วพยายามช่วยกัน รวมพลังกันขับเคลื่อน ปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกตั้ง ท่านทำอะไรไปจะต้องได้รับการวิจารณ์มากเป็นปกติ ขอให้มีความหนักแน่นเข้มแข็ง รู้ว่าถ้าเราทำอะไรถูกต้องแล้วไม่เป็นไร ใครวิจารณ์อย่างไรเรารับฟัง เอาสิ่งที่ดีมาใช้ สิ่งที่ไม่ดีเราไม่ต้องทำ แต่ต้องมีความหนักแน่น มีความนิ่ง เพราะเป็นปีสุดท้ายของการที่จะมีการเลือกตั้ง เราทำให้ดีที่สุด ไม่ได้ทำให้รัฐบาลนะครับ เราเป็นเสาหลักเศรษฐกิจของประทศ ท่านท่องจำตรงนี้เอาไว้เลย และเชื่อไว้อีก 4 ปี ถ้าเดินทางตามเส้นทางเหล่านี้ ท่านจะภูมิใจอีกครั้งหนึ่ง ครั้งแรกท่านสามารถภูมิใจได้ว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของการกอบกู้เศรษฐกิจ ในครั้งหนึ่งนั้นท่านเป็นผู้ที่มีส่วนในการ Transform ประเทศให้ทันสมัย กระจายความมั่งคั่งให้ประเทศไทยสามารถมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจอยู่ได้ต่อไป ผมฝากไว้เพียงแค่นี้ครับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง--
ผมย้ำอีกครั้งว่าเรายังไม่ได้เริ่ม FTA เรายังอยู่ในช่วงของการเจรจา ระหว่างไทยกับจีนนั้นเป็นเพียงการใช้ Early harvest ในสินค้า 2 หมวดใหญ่ เป็นการลด Tariff ลงมาในหมวดของผักและผลไม้ แต่อย่าเพิ่งไปหวั่นไหวว่าเราจะเสียเปรียบ ตัวเลขการส่งออกของผลไม้ไทยไปจีนนั้นเพิ่มทุกวันในระยะสั้น แน่นอนประเทศเขาเป็นประเทศใหญ่ แต่ละมณฑลกฎระเบียบแตกต่างกัน ถ้าเราเดินให้หนัก จี้ไปทุกมณฑล นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมต้องการเดินทางไปจีน ถ้าเราไปทุกมณฑล ทำความรู้จักกับเลขาธิการพรรค ทำความรู้จักกับผู้ว่าเขา ผู้มีอำนาจ Clear ไปทีละเปลาะๆ เขามีประชากรกว่า 1,000 ล้านคน ความเสียเปรียบมันจะมีได้อย่างไร สินค้าซึ่งเราเสียเปรียบต้องหาทางเปลี่ยนผ่าน ต้องช่วยเหลือเกษตรกรให้เขาสามารถเปลี่ยนสินค้าได้ นี่คือ FTA
ต่อจากนี้ไป สศค. หน้าที่ของท่านคือคิดในเชิงรุกร่วมกับสถาบันวิจัยฯ อุตสาหกรรมไหนสินค้าตัวไหน จะเตรียมการอย่างไร อย่าคิดแต่ในเชิงรับ มองไปข้างหน้าและมาช่วยกัน ผมต้องการจะพัฒนาทั้ง สศค. และสถาบันวิจัยฯ ให้มีความก้าวหน้าเชิงวิชาการให้มากที่สุดโดยเชื่อมโยงกับต่างประเทศ นี่คือหลักการของการ Transform ของ FTA Go beyond tariff ต้องก้าวไปสู่เรื่องยุทธศาสตร์ คิดไกลออกไปการ Transform ในเรื่องอื่น เช่น เรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs อันนี้ต้องขอความกรุณาเลย จากวันนี้ไปเรายังมีอุตสาหกรรมซึ่งเราจะต้องมีการปรับภาษี ปรับเพื่อให้มีความสามารถเชิงแข่งขัน ผมได้ขอให้ท่านสมพลฯ เป็นตัวยืนที่ช่วยประสานงานสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ประสานให้เร็วทำให้ดี ความสามารถเชิงแข่งขันของบริษัทเอกชนไทยเป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรที่จะทำให้เขาแข่งขันได้ดี ทั้งในเชิงของกระตุ้นให้เขาใช้วิทยาการ ใช้เทคโนโลยี ทำ Research ออกค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาดโลก หนุนให้บริษัทไทยออกสู่ตลาดโลกให้ได้ ใช้เครื่องมือทางภาษีช่วยกันคิดออกมา จูงใจเขา SMEs เป็นฐานใหญ่ของประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรีให้มา 1,500 - 2,000 ล้านบาท เป็น Venture capital ขณะนี้เป็นองคาพยพทั้งหลายที่ช่วย SMEs นั้นค่อนข้างพร้อม โชคดีที่มีการแบ่งหมวดของจังหวัดเป็น Cluster Cluster ทางเหนือเริ่มลดแล้ว
เรื่องของ SMEs เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล และนโยบายนี้ก็จะเป็นนโยบายที่รัฐบาลจะผลักดันอย่างต่อเนื่องไม่มีการยุติอย่างแน่นอน องคาพยพของการช่วยเหลือ SMEs มีพร้อม ขาดอย่างเดียวคือการขับเคลื่อนพร้อมๆ กันไปสู่เป้าหมาย ผมได้ให้คำจำกัดความของคำว่าSMEs คือคำว่า Smart Enterprise ไม่ใช่เพียงว่าเล็กหรือกลาง แต่เป็น Smart Enterprise ซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันได้ ตรงนี้อยากให้เรื่องของโครงสร้างภาษีช่วยไปคิดวิธีทำให้เขาแข็งแรงขึ้นมาหน่อย ให้เขาสู่ตลาดโลกได้ จริงๆ แล้วผมเคยฝากท่านศุภรัตน์ฯ ตั้งแต่แรก 2 ปีที่แล้วว่าให้ดูกระบวนการปรับโครงสร้างของภาษีทั้งหมด ดูตามจังหวะจะโคนเพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ดีที่สุด ผมฝากท่านศุภรัตน์ฯ ท่านจะงานหนักนิดหนึ่ง ช่วยคิดกรอบทั้งหมดตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีเคยบัญชาไว้ ให้เกิดความสามารถแข่งขันของธุรกิจไทยทั้งประเทศ อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ท่านได้รับการมอบหมาย ใช้ความพอดี ผมเคยกราบเรียนครั้งหนึ่งว่ามีคำศัพท์อยู่ 4 คำ ที่ผมคิดว่าสำคัญในชีวิตผม ผู้ใหญ่เคยสอนไว้ เขาบอกว่า "เร็ว ช้า หนัก เบา" ของบางอย่างต้องเร็ว ของบางอย่างต้องช้า ของบางอย่างต้องหนัก บางอย่างต้องเบา การประสานเร็ว ช้า หนัก เบา สำคัญมากๆ ฉะนั้นก็ขอให้ท่านสานต่ออันนี้ ดูทั้งหมด ระบบภาษีทั้งระบบ ทั้ง Corporate และ Personal Income Tax ดูให้ผม
เรื่องการ Transform อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือเรื่องรัฐวิสาหกิจ ผมกราบเรียนตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่บริสุทธิ์ ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลตั้งแต่ตอนที่เสนอเป็นนโยบาย เรามีความมุ่งมั่นที่จะให้รัฐวิสาหกิจเป็นพลังสำคัญของประเทศ เพราะรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐาน ถ้าเราทำให้รัฐวิสาหกิจมีพลังมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการช่วยทำให้ส่วนอื่นๆ ของประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน แต่ว่าที่ผ่านมามันเหมือนกับมีแรงฉุด ซึ่งไม่น่าจะมี แรงฉุดที่หนึ่งก็คือในอดีตการบริหารการจัดการส่วนใหญ่ไม่ได้ไปในทิศทางซึ่งควรจะเป็น กรรมการส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ใช่ผู้ที่สอดรับเรื่องของหน้าที่ การเมืองเข้าไปอยู่ในนั้นค่อนข้างมาก ผมพูดถึงว่าผ่านมาหลายสิบปีแล้วนะครับ ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในขณะเดียวกันหนี้สินเป็นตัวฉุดรั้งค่อนข้างมาก หนี้มูลค่านับเป็นล้านๆ บาท เวลาที่รัฐวิสาหกิจต้องการทำอะไรให้ดี ใครเขาจะให้กู้ รัฐบาลก็ต้องค้ำประกัน รัฐบาลค้ำประกันหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ต่างประเทศมองเมืองไทยเสมือนหนึ่งประเทศที่มีปัญหา ตรงนี้เป็นบ่วงซึ่งรัดตัว
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างกรณีของ EGAT ผมยังจำได้ว่าท่านนายกรัฐมนตรีไปที่ EGAT ฟังการนำเสนอของคณะทั้งหมด ท่านนายกรัฐมนตรีมองไปที่เขานำเสนอบอกว่าถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป EGAT จะเล็กลงเรื่อยๆ เพราะทุกอย่างจะกลายเป็น IPP ซึ่งเอกชนไป Joint กับใครไม่รู้ทำตลอด และก็เป็นโครงการเล็กๆ เต็มไปหมด EGAT ไม่สามารถขยายต่อไปได้ ภาระหนี้มีมาก ฉะนั้น ท่านนายกรัฐมนตรีก็เลยต้องการที่จะทำให้ EGAT มีพลังอีกครั้งหนึ่ง โดยการรวมศูนย์ให้มาอยู่ที่ EGAT ให้การขยายงานเกิดจาก EGAT นี่คือเจตนาของท่านนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะทำโครงการใดนั้นมันต้องการเงินทุน การเปลี่ยนเป็นบริษัท การจดทะเบียนในตลาดหุ้น คือการที่จะทำให้ EGAT สามารถระดมทุนจากคนในประเทศและคนจากต่างประเทศได้ โดยสูญเสียส่วนแบ่งหุ้นเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการเอาฐานทุนเข้ามาค้ำฐานหนี้ หนี้รัฐบาลก็ลดลงไป EGAT ก็สามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปได้ จะทำให้ EGAT สามารถพัฒนาไปได้อย่างไม่มีสิ้นสุด เจตนาเช่นนี้ผิดหรือ?
ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่หลักการ หลักการแปรรูปนั้น 1. ต้องปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค อันนี้แน่นอนที่สุดต้องยึดเอาไว้ 2. ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ รัฐบาลต้องถือหุ้นใหญ่แน่นอน ดูแลพนักงานรัฐวิสาหกิจ อันนี้แน่นอน ทั้งนี้ เรามองเห็นว่าจริงๆ แล้วเขามีส่วนสร้างรัฐวิสาหกิจขึ้นมา เราต้องดูแลเขา จริงๆ การเรียกร้องหลายๆ อย่างนั้นอาจจะไม่สมควรด้วยซ้ำ แต่เราถือว่าเขาสร้างของเขามา เขารักของเขา ต้องให้เขา ฉะนั้นประเด็นสำคัญก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะร่วมกันช่วยท่านนายกรัฐมนตรีให้สามารถนำเอาหลักการเหล่านั้นเป็นในทางปฏิบัติที่เกิดประสิทธิผลที่สุดโดยไม่ให้ใครไปเบียดบังผลประโยชน์ เพราะหลักการนั้นถูกต้องเพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้มีการเบี่ยงเบนออกไป ตรงนี้ที่ต้องมาช่วย ทำอย่างไรถึงจะช่วยกำกับดูแลประชาชนไม่ให้เดือดร้อน ทำอย่างไรการกระจายหุ้นจึงจะเป็นธรรม ทำอย่างไรที่จะดูแลพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ทั่วถึง ช่วยกันคิดช่วยกันอ่าน ตรงนี้ที่สหภาพฯ น่าเข้ามา Join หารือร่วมกันในสิ่งเหล่านี้ เพราะหลักการที่ผมกล่าวตั้งแต่ต้น มันไม่ได้ผิดเลยตรงนี้ต่อจากนี้ไปสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ท่านจะต้องทำงานในเชิงที่เข้าใจและลงลึก เข้าไปทำความเข้าใจกับทุกๆ รัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่เพียงบอกแต่เพียงตัวเลขอย่างนั้นๆ และบอกนัดหมายวันมาประชุม แค่นั้นไม่พอ ท่านต้องร่วมกันฝึกอบรมเขา ชี้แจงเขา ช่วยเหลือเขาให้เกิดความเข้าใจเกิดความต่อเนื่อง ใครจะบอกอย่างไรเขาจะได้รู้ว่าหลักการที่แท้จริงเป็นอย่างนี้หรือ ไม่มีใครที่ต้องการจะขายรัฐวิสาหกิจ ในอดีตมีแน่นอน ตอนที่เราเป็นหนี้ IMF และเขาพยายามบีบให้เราขาย ผ่านมาแล้วมีการขายหรือไม่ ไม่มีการขายแม้แต่แห่งเดียว ใครจะไปขายรัฐวิสาหกิจในเมื่อผมบอกแล้วว่ามันเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของประเทศ แต่มันต้องเป็น High - performance Organization มันต้องแข็งแรงแข็งแกร่ง ส่วนอื่นจึงจะได้อานิสงส์ ฉะนั้น สำนักรัฐวิสาหกิจจะต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ เอาคนนอกมาช่วย แต่ละองค์กรต้องเข้าไปทำความรู้จักกับเขาเลย ต้องเป็น Mass ในเชิงที่ว่า Educate เขาด้วย หน้าที่ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจัดประชุมและก็ทำตัวเลข ท่านต้องอย่าลืมว่าเศรษฐศาสตร์เป็นสิ่งที่ว่าด้วยมนุษย์ ต้องชี้แจง ต้องพูดคุย และเขาจะมีความเข้าใจ คนไทยถ้าพูดคุยแล้วเราจะเข้าใจกัน น่าเสียดายที่ต้องเกิดเหตุการณ์ซึ่งไม่ควรจะเกิด เพราะว่าประเทศเรากำลังไปได้ดี แต่ผมก็ยังมั่นใจว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยในอนาคตข้างหน้าไม่นาน เพราะท่านนายกรัฐมนตรีก็ลงมาดูด้วยตนเองในหลายๆ จุด อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างในเรื่อง Transmission
เรื่องที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือการทำให้ระบบการเงินการคลังของประเทศมีความมั่นคงแข็งแกร่ง ผมเคยกราบเรียนแล้วว่าประเทศมี 3 ขาหลัก ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดเงินมีการพูดกันมากเรื่องการควบรวมธนาคาร ต่อไปนี้ขอความกรุณาอย่าพูดมาก เราต้องการที่จะจัดการให้สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง ความแข็งแกร่งในที่นี้หมายความว่าแข็งแกร่งที่ยังสามารถแข่งขันกับระดับต่างประเทศได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดต้องทำทีละขั้นตอน ทำแล้วต้องมั่นใจว่ามีแต่ได้ มีแต่ดี อย่าให้เกิดความหวั่นไหว แล้วก็ต้องดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่าย มั่นใจแล้วถึงจะทำ แน่ใจแล้วถึงจะให้ข่าว ถ้าต่อจากนี้ไปมีการให้ข่าวให้สิ่งซึ่งอย่างนี้อีกโดยที่ผมยังไม่ได้รับทราบข้อสรุป หรือมีผลสรุปอย่างเป็นทางการแล้ว ผมจะเอาโทษ เพราะว่าเป็นการทำให้เศรษฐกิจของเมืองไทยหวั่นไหวโดยใช่เหตุ เราจะทำในสิ่งที่ทำให้ดีที่สุด ไม่มีการกระเทือนเศรษฐกิจแน่นอน และการควบรวมจะพยายามทำให้เหมือนแบบเป็นธรรมชาติมากที่สุด ยึดยุทธศาสตร์เป็นหลักตลาดทุนผมกราบเรียนแล้วว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามแผนแม่บทของการพัฒนาตลาดทุน ตลาดหุ้น Index เท่าไรไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าเราทำดี ผมบอกแล้วว่ามีประเทศไหนบ้างที่ GDP โตถึงร้อยละ 8 บ้าง ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ถ้าเราทำได้ดีเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางการอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เงินทุนมันเข้ามาเอง ไม่ต้องไปหวั่นเลย ในระยะสั้นมันต้องแปรปรวนแน่นอน การเก็งกำไรเป็นเรื่องธรรมดา แต่ให้รักษา Fundamental ให้แข็งแกร่งเอาไว้ พยายามดำรงความเสมอต้นเสมอปลายให้ตลาดหุ้นเป็นที่มั่นใจของต่างประเทศ ท่านจำเอาไว้เลยนะครับคำว่า Reliability ความไว้วางใจได้ Creditability ความน่าเชื่อถือ เป็นยันต์ที่ดีที่สุดที่จะคุ้มครองในทุกหน่วยงานทุกสถาบัน และทุกๆ คน ถ้าเมื่อใดหมด Creditability หมด Reliability เมื่อนั้นไม่มีความหมายต่อไป ตลาดทุนต้องสร้างมาให้ถึงจุดนั้น ให้คนที่มาลงทุนเกิดความมั่นใจ Demand side, Supply side ข้อมูลข่าวสาร ผมจะประชุม กลต. เข้าใจว่าเป็นวันพุธ ทุกอย่างหารือล่วงหน้ากับ กลต. มาแล้วทั้งสิ้น ผมจะเชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการตลาดทุนทั้งหมดหลายๆ รอบ เพื่อรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว เพื่อที่จะพยายามทำให้ตลาดทุนของเราแข็งแรงเป็นที่น่าเชื่อถือ ผมเชื่อว่าผมรู้จักตลาดหุ้นมา 10 กว่าปี คนในวงการรู้จักแทบทั้งหมด เราจะทำงานด้วยกัน ท่านไม่ต้องห่วง เจตนาไม่ใช่ว่าจะทำให้ดัชนีสูงขึ้น เราจะทำให้ทุกอย่างเป็นที่น่าเชื่อถือ ดีไม่ดีท่านปลัดกระทรวงการคลังจะต้องเดิน Roadshow Governance อีกหลายๆ รอบในต่างประเทศ
ตลาดตราสารหนี้วันนี้ต้องฝากไว้ เรากำลังก้าวเกินจุดของ Local Bond แล้ว เราไปสู่ Asian Bond แล้ว ตลาดตราสารหนี้สำคัญอย่างยิ่ง ฉะนั้นต้องใช้สถาบันวิจัยฯ เข้ามาช่วย ใช้นักวิชาการเข้ามาช่วยเพื่อเตรียมการทั้งหมด จะมีการประชุมในไม่ช้า ผมเข้าใจไม่ผิด ในอีกประมาณ 2 - 3 เดือน ดูแลให้ดี เพราะเราได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลักดัน Asian Bond Asian Bond มีประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียว ตอนที่ผมเดินทางไปญี่ปุ่นเรื่องไข้หวัดนก เป็นที่แน่นอนแล้วว่าบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในเมืองไทยจะเริ่มออก Local Bond เป็น Local Currency ถ้ามีการออก Local Currency Bond โดยบริษัทต่างประเทศในประเทศไทยบ่อย ๆ อันนี้ก็คือสิ่งซึ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นว่าเขาเชื่อมั่นในประเทศไทย เราจะต้องชิงธงตรงนี้อย่าให้หลุดลอดไป
สามขา ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ต้องมีการ Balance ให้ดีที่สุด ให้มีดุลยภาพ คุณภาพ และต้องก้าวเกินระดับ Local ไปสู่ตลาดต่างประเทศ อันนี้คือเจตนา เรื่องนี้ผมฝากสุดท้าย เรื่องการคลังเพื่อสังคมตรงนี้จำเป็นต้องมี ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งหลายครั้งแล้ว เรื่องการศึกษา อีกหลายเรื่องทีเดียว แนวคิดก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีมองอยู่ว่าถ้าเราสามารถให้เอกชนช่วยเราได้ รัฐบาลก็ไม่ต้องไปแบกภาระ จะทำอย่างไรให้เอกชนช่วยเราได้ตรงนี้ ท่านจำได้ไหมว่าเราเคยบอกว่าจะส่งไม้ให้เอกชน ที่เราต้องเก็บภาษีให้ได้มากๆ พวกเราไปแบกรับหน้าที่ไว้มาก แต่ถ้าเมื่อไรที่เอกชนทำได้เองเราก็ไม่ต้องแบกรับขนาดนั้น ฉะนั้นก็ต้องกระตุ้นให้เขาคิดในสิ่งเหล่านี้ ทำอย่างไรให้เขาเข้ามาเกื้อกูลการศึกษา ทำอย่างไรให้เขามาเกื้อกูลการวิจัย ทำอย่างไรให้เขามาเข้ามาเกื้อกูลการพัฒนา Cluster ในอุตสาหกรรม ต่างประเทศที่เขาพัฒนาเอกชนล้วนๆ เลย เราต้องคิดสิ่งเหล่านี้ออกมา เมื่อคิดออกมาได้แม้ว่าเราจะสูญเสียรายได้บางส่วนแต่สิ่งที่จะกลับมาคือว่าเราลดภาระที่ต้องไปให้กับเขา เรามีโอกาสเอาเงินไปใช้อย่างอื่นได้ ผมฝากเรื่องการคลังเพื่อสังคมเอาไว้ ณ ที่นี้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ผมจะนำเสนอ
ทั้งหมดนี้จะไปสอดรับกับยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ที่กระทรวงอื่นๆ สภาพัฒน์ฯ ผมไปวางแท่งไว้เป็นแท่งๆ ทั้งในเรื่องของความสามารถเชิงแข่งขันในหลายๆ เรื่อง BOI Gear ไปสู่ทิศทางในการพัฒนาความสามารถทั้งสิ้น กระทรวงเกษตรฯ ไม่ใช่อยู่แต่ในประเทศแล้ว เขามีหน้าที่ที่จะต้องทำเรื่อง Food Safety ครัวไทยสู่โลก หลายอย่างต้องรุกไปข้างหน้า กระทรวงพาณิชย์จะไม่ใช่ก้าวเพียงแค่ว่าให้มีการส่งออก จะให้มีการนำทัพนักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศด้วยซ้ำไป สิ่งเหล่านี้ต้องมีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน EXIM Bank สำคัญมากๆ ผมย้ำอีกครั้งหนึ่ง ผมรอมา 3 ปีแล้ว EXIM Bank ต้อง Very active ในอดีตผมกลับต้องใช้ SME BANK ในการพัฒนาต่างประเทศ ต้องเป็นมือเป็นไม้ขับเคลื่อนในสิ่งเหล่านี้ด้วยทั้งหมดนี้ผมอยากจะฝากไว้สั้นๆ ไว้ในใจของท่าน เวลาท่านคิดแผนอะไร คิดในกรอบอันนี้ ผมเรียนเลยว่าอันนี้ผมไปปูไว้ในทุกส่วนทุกกรมเลยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ตอบรับแค่นั้นเองทุกอย่างก็จะเดิน หลักการการทำงานผมขอร้องขอให้เน้นเชิงรุกอย่าตั้งรับ คิดไว้ล่วงหน้า ขอให้ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต หัวผมไม่ส่ายแน่นอน อย่าให้มีเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น ขอให้เน้นความโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริต อันนี้จะเป็นสิ่งคุ้มครองทุกคน ทำให้ดีๆ ทำงานต้องให้มีคุณธรรม เราเป็นข้าราชการเรามีหน้าที่รับใช้ประชาชน เราต้องให้บริการ เราไม่ใช่เจ้านาย ทำงานด้วยความสุข ผมคงไม่ได้ขออะไรมากมาย แต่อยากจะฝากเอาไว้ แล้วพยายามช่วยกัน รวมพลังกันขับเคลื่อน ปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกตั้ง ท่านทำอะไรไปจะต้องได้รับการวิจารณ์มากเป็นปกติ ขอให้มีความหนักแน่นเข้มแข็ง รู้ว่าถ้าเราทำอะไรถูกต้องแล้วไม่เป็นไร ใครวิจารณ์อย่างไรเรารับฟัง เอาสิ่งที่ดีมาใช้ สิ่งที่ไม่ดีเราไม่ต้องทำ แต่ต้องมีความหนักแน่น มีความนิ่ง เพราะเป็นปีสุดท้ายของการที่จะมีการเลือกตั้ง เราทำให้ดีที่สุด ไม่ได้ทำให้รัฐบาลนะครับ เราเป็นเสาหลักเศรษฐกิจของประทศ ท่านท่องจำตรงนี้เอาไว้เลย และเชื่อไว้อีก 4 ปี ถ้าเดินทางตามเส้นทางเหล่านี้ ท่านจะภูมิใจอีกครั้งหนึ่ง ครั้งแรกท่านสามารถภูมิใจได้ว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของการกอบกู้เศรษฐกิจ ในครั้งหนึ่งนั้นท่านเป็นผู้ที่มีส่วนในการ Transform ประเทศให้ทันสมัย กระจายความมั่งคั่งให้ประเทศไทยสามารถมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจอยู่ได้ต่อไป ผมฝากไว้เพียงแค่นี้ครับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง--