วันนี้(17 มี.ค.47) ที่อาคารอเนกประสงค์2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ ‘นโยบายรัฐ…ยุคทักษิโณมิกส์กับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน จากกรณีค่าโง่ไอทีวีถึงการย่ำยีคนทำสื่อ’ ที่จัดโดยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย โดยมีนักวิชาการและตัวแทนสื่อเข้าร่วมเสวนา อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ เมธีกุล อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ผู้แทนจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนางลัดดาวัลย์ อินทจักร นักศึกษาปริญญาเอก สาขาสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมอยากจะใช้เวลาในเบื้องต้นพูดถึงเรื่องไอทีวีก่อน แต่กรณีนี้เป็นตัวอย่างและเป็นตัวที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนเป็นอย่างไร ผมไล่นิดนึงว่าเรื่องไอทีวี ที่มาของไอทีวีมาจากไหน ผมคิดว่าต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2535 ปีนั้นเป็นปีที่ผมเข้ามาสู่การเมืองเป็นปีแรก ก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปัญหาการต่อสู้ในเรื่องของประชาธิปไตยโดยรวมแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงของเหตุการณ์คือ ปัญหาของสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะหากเราจำได้ในช่วงวิกฤตของเหตุการณ์ พบความจริงว่าสื่อของรัฐคือ โดยทั่วไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียง ได้เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่ตรงกับเหตุการณ์ความเป็นจริง เสนอข่าวด้านเดียวโดยตลอด ซึ่งตรงข้ามกับกรณีของหนังสือพิมพ์ ซึ่งขณะนั้นก็ยังมีความจริงบ้างพอสมควร ในการเสนอข่าว จนทำให้พวกเราที่เป็นประชาชนโดยทั่วไป อยู่ในภาวะที่รับข่าวสารที่ไม่ตรงกับความจริง ส่วนนี้เป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก และก็ทำให้มีแนวคิดว่าปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหลักก็คือ นำไปสู่สื่อของรัฐว่ายังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของรัฐบาลค่อนข้างมาก
ที่ผมย้อนกลับไปเพราะว่าผมกำลังคิดถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า ตอนแรกผมคิดว่าเป็นผมคนเดียว แต่วันก่อนคุยกับอาจารย์ นักวิชาการ และคนไทยอีกหลายอาชีพ เริ่มจะมีคำพูดเหมือนกัน เพราะเขามีความรู้สึกว่าขณะนี้สถานีโทรทัศน์ต่างๆก็ไม่ได้ให้ข่าวที่ครบถ้วน โดยเฉพาะในระยะหลัง ช่องว่างระหว่างข่าวสารที่เสนอโดยโทรทัศน์วิทยุต่างๆ กับข่าวที่ปรากฏให้หน้าหนังสือพิมพ์วันรุ่งขึ้นก็ต่างกัน ผมในฐานะที่เป็นนักการเมือง ต้องติดตามข่าวสารทุกวัน เริ่มรู้สึกมากขึ้นว่าเวลาช่วงค่ำดูข่าว โทรทัศน์หรือฟังวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ ความรับรู้ข่าวสาร อารมณ์หรือการถ่ายทอดอารมณ์ เริ่มมีช่องว่างมีช่องว่างปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆ ผมหยิบขึ้นมาเพราะเวลาผ่านไป 12 ปี แตต่ดูว่าเรากำลังย้อนกลับไปสู่ยยุคที่คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตาไม่น้อย
ไอทีวีเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในความพยายามที่จะแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างงยิ่งเมื่อรัฐบาลท่านนายกฯอนันต์เข้ามา มีแนวคิดว่าวิธีการแก้ต้องให้สื่อโทรทัศน์ ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากที่สุด ใช้ในการรับรู้ข่าวสารข้อมูล ให้หลุดพ้นออกมาจากการครอบงำจากรัฐบาล นั่นคือที่มาของแนวคิดที่จะเปิดสถานโทรทัศน์ในรูปแบบของเอกชน ผมจำได้ว่าถึงขนาดพูดกันด้วยว่าจะทำ 2 สถานี แต่เมื่อดูความเป็นจริงในแง่ของการแข่งขันในแง่ของเศรษฐกิจแล้วก็ต้องทำสถานีเดียวก่อน ต่อมารัฐบาลของนายวกฯชวน ช่วงปี 2535-2538 ก็มาทำเรื่องนี้จนเสร็จ ก็คือการอนุมัติและมีการเซนต์สัญญา เพื่อที่จะตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยแนวความคิดก็คือ ผู้เป็นเจ้าของจะอยู่ในภาคเอกชน และสถานีนี้ก็จะต้องอยู่ภายใต้กติกาข้อกำจัดที่ต้องเป็นสถานีที่มุ่งเน้นสาระข่าวสาร แนวความคิดทั้งหมดตั้งแต่รัฐบาลท่านนายกฯอานันต์ จนถึงรัฐบาลนายกฯชวน ผมคิดว่ามีกรอบความคิดที่ชัดคือหนีจากปัญหาเดิมของการครอบงำ และเล็งเห็นไปข้างหน้าด้วยว่าจะต้องมีการกำจัดกรอบของรายการการใช้เวลาของสถานีด้วย เพราะกระแสที่เกิดชัดว่า มันไม่ใช่ปัญหาอำนาจรัฐอย่างเดียว แต่ต้องดูแลว่าการทำงานของสื่อเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล หรือการเอาเป้าหมายเชิงพาณิชย์เป็นตัวตั้ง
เพราะฉะนั้นจริงๆแล้ว เหตุผลของการตั้งสถานีไอทีวีคือ จะเป็นแบบอย่างของสื่อ ที่หลุดพ้นจากทั้งอำนาจรัฐและอิทธิพลของธุรกิจที่จะมาทำให้การนำเสนอข้อมูล ถูกเบี่ยงเบนไป นี่คือจุดที่เป็นจุดกำเนิดที่มาที่ไปที่มีเหตุผลต่างๆ การดำเนินงานของไอทีวีก็เป็นไปตามแนวทางนี้ จนกระทั่งมาถึงจุดหักเหหรือจุกเปลี่ยน จะเป็นไปในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กับการดำเนินการตามขั้นตอนของสัญญาของไอทีวี จะเป็นความโชคไม่ดี 2 ส่วนนี้มาบรรจบกันจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น ประเด็นของมันคือว่า โดยแนวทางของสัญญา สถานีจะต้องมีโครงสร้างหุ้นที่หลากหลาย แต่ว่าถึงจุดหนึ่งต้องมองว่ามีการทำมากกว่านั้นคือการเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปัญหามันเกิดขึ้นในเชิงความขัดแย้ง คือวาเป้าหมายของการนำเข้าตลาดหุ้นเพื่อการกระจายหุ้น แต่มองในแง่คนที่ทำงานมาแต่ต้น จะเห็นว่าอย่างไรเสียการเข้าตลาดหุ้นน่าจะทำให้การกระจายหุ้นมีความเป็นธรรมมากขึ้น
ความโชคไม่ดีคือว่า ขั้นตอนตรงนี้มาบรรจบกับเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่ง 1.ทำให้ตัวสถานีเองก็มีปัญหาทางด้านการเงิน เพราะหลายอย่างงเมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจแผนงานก็ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ 2.อำนาจการซื้อหรือกำลังการทำธุรกิจของนักธุรกิจส่วนใหญ่ มีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่ยังมีความสามารถและยังมีพลังทางธุรกิจ หลังจากมีวิกฤต เพราะนักธุรกิจส่วนมาก โดยเฉพาะขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหาย ฉะนั้นความโชคไม่ดีตรงนี้ก็เลยทำให้สถานีเองประสบผลกระทบทางด้านการเงิน และประสบทางเทคนิคของการนำตัวสถานีเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ สุดท้ายก็ทำให้เรื่องเมื่อมีการดำเนินการไปแล้ว กลายเป็นว่าโครงสร้างการถือหุ้นไม่เป็นธรรม ตกไปอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียว ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมย์ในเบื้องต้นของการก่อตั้งสถานี โชคร้ายซ้ำสองคือว่า บังเอิญกลุ่มทุนที่ว่านี้ มีความสำพันธ์ใกล้ชิดกับ คือลำพังไปอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียวก็ไม่ตรงกับเจตนารมย์ แต่บังเอิญกลุ่มทุนนี้กลับย้อนกลับมาสู่อำนาจรัฐ มันจะทำให้อันตรายตรงนี้เกิดขึ้น แล้วตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา อาการของสถานีก็ปรากฏออกมาในรูปแบบของความขัดแย้ง ทั้งในเรื่องของทีมข่าว จนกระทั่งความขัดแย้งเกี่ยวกับการปลดพนักงาน แล้วก็ยืดเยื้อต่อเนื่องมาในเรื่องสิทธิต่างๆ มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็มาชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือว่า เมื่อคนที่เป็นเจ้าของเข้ามามีส่วนในการกุมอำนาจด้วย คือจะพูดได้เลยว่าเป็นจุดจบทางความคิดเรื่องสถานีโทรทัศน์
ส่วนประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มเติมในขณะนี้ก็เป็นอาการของปัญหาเรื่องผลประโยชน์ที่ตอกย้ำให้เห็นว่าเมื่อกลุ่มทุนกับกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมือง เข้ามากุมสื่อการข่าว ประเด็นปัญหาผมไม่ลงรายละเอียด แต่เมื่อสักครู่มีการพาดพิงมาว่ากรณีช่อง 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ผมก็เล่าอย่างตรงไปตรงมาเพราะผมก็เป็นรัฐมนตรีร่วมอยู่ในรัฐบาลนั้น คือช่อง 7 สัญญามันไม่ได้เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผมก็พูดตรงๆว่าพวกเราหลายคนก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไร แล้วก็โดยที่ยังอยู่ในโครงสร้างเดิม คือหน่วยงานเขาก็สามารถที่จะไปเป็นคู่สัญญาแล้วก็เปลี่ยนแปลงแก้ไข เลิกแล้วก็ต่อสัญญาได้ก็เป็นอำนาจ เหตุก็จึงเกิดขึ้น แล้วก็จริงอย่างที่คุณบุญเลิศบอกก็คือ ทำได้ก็เพียงแค่รับทราบและหาทางป้องกัน แลละจึงมีนโยบายออกมาว่า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/03/47--จบ--
-สส-
ผมอยากจะใช้เวลาในเบื้องต้นพูดถึงเรื่องไอทีวีก่อน แต่กรณีนี้เป็นตัวอย่างและเป็นตัวที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนเป็นอย่างไร ผมไล่นิดนึงว่าเรื่องไอทีวี ที่มาของไอทีวีมาจากไหน ผมคิดว่าต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2535 ปีนั้นเป็นปีที่ผมเข้ามาสู่การเมืองเป็นปีแรก ก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปัญหาการต่อสู้ในเรื่องของประชาธิปไตยโดยรวมแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงของเหตุการณ์คือ ปัญหาของสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะหากเราจำได้ในช่วงวิกฤตของเหตุการณ์ พบความจริงว่าสื่อของรัฐคือ โดยทั่วไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียง ได้เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่ตรงกับเหตุการณ์ความเป็นจริง เสนอข่าวด้านเดียวโดยตลอด ซึ่งตรงข้ามกับกรณีของหนังสือพิมพ์ ซึ่งขณะนั้นก็ยังมีความจริงบ้างพอสมควร ในการเสนอข่าว จนทำให้พวกเราที่เป็นประชาชนโดยทั่วไป อยู่ในภาวะที่รับข่าวสารที่ไม่ตรงกับความจริง ส่วนนี้เป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก และก็ทำให้มีแนวคิดว่าปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหลักก็คือ นำไปสู่สื่อของรัฐว่ายังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของรัฐบาลค่อนข้างมาก
ที่ผมย้อนกลับไปเพราะว่าผมกำลังคิดถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า ตอนแรกผมคิดว่าเป็นผมคนเดียว แต่วันก่อนคุยกับอาจารย์ นักวิชาการ และคนไทยอีกหลายอาชีพ เริ่มจะมีคำพูดเหมือนกัน เพราะเขามีความรู้สึกว่าขณะนี้สถานีโทรทัศน์ต่างๆก็ไม่ได้ให้ข่าวที่ครบถ้วน โดยเฉพาะในระยะหลัง ช่องว่างระหว่างข่าวสารที่เสนอโดยโทรทัศน์วิทยุต่างๆ กับข่าวที่ปรากฏให้หน้าหนังสือพิมพ์วันรุ่งขึ้นก็ต่างกัน ผมในฐานะที่เป็นนักการเมือง ต้องติดตามข่าวสารทุกวัน เริ่มรู้สึกมากขึ้นว่าเวลาช่วงค่ำดูข่าว โทรทัศน์หรือฟังวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ ความรับรู้ข่าวสาร อารมณ์หรือการถ่ายทอดอารมณ์ เริ่มมีช่องว่างมีช่องว่างปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆ ผมหยิบขึ้นมาเพราะเวลาผ่านไป 12 ปี แตต่ดูว่าเรากำลังย้อนกลับไปสู่ยยุคที่คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตาไม่น้อย
ไอทีวีเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในความพยายามที่จะแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างงยิ่งเมื่อรัฐบาลท่านนายกฯอนันต์เข้ามา มีแนวคิดว่าวิธีการแก้ต้องให้สื่อโทรทัศน์ ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนมากที่สุด ใช้ในการรับรู้ข่าวสารข้อมูล ให้หลุดพ้นออกมาจากการครอบงำจากรัฐบาล นั่นคือที่มาของแนวคิดที่จะเปิดสถานโทรทัศน์ในรูปแบบของเอกชน ผมจำได้ว่าถึงขนาดพูดกันด้วยว่าจะทำ 2 สถานี แต่เมื่อดูความเป็นจริงในแง่ของการแข่งขันในแง่ของเศรษฐกิจแล้วก็ต้องทำสถานีเดียวก่อน ต่อมารัฐบาลของนายวกฯชวน ช่วงปี 2535-2538 ก็มาทำเรื่องนี้จนเสร็จ ก็คือการอนุมัติและมีการเซนต์สัญญา เพื่อที่จะตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยแนวความคิดก็คือ ผู้เป็นเจ้าของจะอยู่ในภาคเอกชน และสถานีนี้ก็จะต้องอยู่ภายใต้กติกาข้อกำจัดที่ต้องเป็นสถานีที่มุ่งเน้นสาระข่าวสาร แนวความคิดทั้งหมดตั้งแต่รัฐบาลท่านนายกฯอานันต์ จนถึงรัฐบาลนายกฯชวน ผมคิดว่ามีกรอบความคิดที่ชัดคือหนีจากปัญหาเดิมของการครอบงำ และเล็งเห็นไปข้างหน้าด้วยว่าจะต้องมีการกำจัดกรอบของรายการการใช้เวลาของสถานีด้วย เพราะกระแสที่เกิดชัดว่า มันไม่ใช่ปัญหาอำนาจรัฐอย่างเดียว แต่ต้องดูแลว่าการทำงานของสื่อเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล หรือการเอาเป้าหมายเชิงพาณิชย์เป็นตัวตั้ง
เพราะฉะนั้นจริงๆแล้ว เหตุผลของการตั้งสถานีไอทีวีคือ จะเป็นแบบอย่างของสื่อ ที่หลุดพ้นจากทั้งอำนาจรัฐและอิทธิพลของธุรกิจที่จะมาทำให้การนำเสนอข้อมูล ถูกเบี่ยงเบนไป นี่คือจุดที่เป็นจุดกำเนิดที่มาที่ไปที่มีเหตุผลต่างๆ การดำเนินงานของไอทีวีก็เป็นไปตามแนวทางนี้ จนกระทั่งมาถึงจุดหักเหหรือจุกเปลี่ยน จะเป็นไปในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กับการดำเนินการตามขั้นตอนของสัญญาของไอทีวี จะเป็นความโชคไม่ดี 2 ส่วนนี้มาบรรจบกันจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น ประเด็นของมันคือว่า โดยแนวทางของสัญญา สถานีจะต้องมีโครงสร้างหุ้นที่หลากหลาย แต่ว่าถึงจุดหนึ่งต้องมองว่ามีการทำมากกว่านั้นคือการเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปัญหามันเกิดขึ้นในเชิงความขัดแย้ง คือวาเป้าหมายของการนำเข้าตลาดหุ้นเพื่อการกระจายหุ้น แต่มองในแง่คนที่ทำงานมาแต่ต้น จะเห็นว่าอย่างไรเสียการเข้าตลาดหุ้นน่าจะทำให้การกระจายหุ้นมีความเป็นธรรมมากขึ้น
ความโชคไม่ดีคือว่า ขั้นตอนตรงนี้มาบรรจบกับเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่ง 1.ทำให้ตัวสถานีเองก็มีปัญหาทางด้านการเงิน เพราะหลายอย่างงเมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจแผนงานก็ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ 2.อำนาจการซื้อหรือกำลังการทำธุรกิจของนักธุรกิจส่วนใหญ่ มีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่ยังมีความสามารถและยังมีพลังทางธุรกิจ หลังจากมีวิกฤต เพราะนักธุรกิจส่วนมาก โดยเฉพาะขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหาย ฉะนั้นความโชคไม่ดีตรงนี้ก็เลยทำให้สถานีเองประสบผลกระทบทางด้านการเงิน และประสบทางเทคนิคของการนำตัวสถานีเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ สุดท้ายก็ทำให้เรื่องเมื่อมีการดำเนินการไปแล้ว กลายเป็นว่าโครงสร้างการถือหุ้นไม่เป็นธรรม ตกไปอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียว ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมย์ในเบื้องต้นของการก่อตั้งสถานี โชคร้ายซ้ำสองคือว่า บังเอิญกลุ่มทุนที่ว่านี้ มีความสำพันธ์ใกล้ชิดกับ คือลำพังไปอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียวก็ไม่ตรงกับเจตนารมย์ แต่บังเอิญกลุ่มทุนนี้กลับย้อนกลับมาสู่อำนาจรัฐ มันจะทำให้อันตรายตรงนี้เกิดขึ้น แล้วตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา อาการของสถานีก็ปรากฏออกมาในรูปแบบของความขัดแย้ง ทั้งในเรื่องของทีมข่าว จนกระทั่งความขัดแย้งเกี่ยวกับการปลดพนักงาน แล้วก็ยืดเยื้อต่อเนื่องมาในเรื่องสิทธิต่างๆ มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็มาชัดเจนมากยิ่งขึ้นคือว่า เมื่อคนที่เป็นเจ้าของเข้ามามีส่วนในการกุมอำนาจด้วย คือจะพูดได้เลยว่าเป็นจุดจบทางความคิดเรื่องสถานีโทรทัศน์
ส่วนประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มเติมในขณะนี้ก็เป็นอาการของปัญหาเรื่องผลประโยชน์ที่ตอกย้ำให้เห็นว่าเมื่อกลุ่มทุนกับกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมือง เข้ามากุมสื่อการข่าว ประเด็นปัญหาผมไม่ลงรายละเอียด แต่เมื่อสักครู่มีการพาดพิงมาว่ากรณีช่อง 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ผมก็เล่าอย่างตรงไปตรงมาเพราะผมก็เป็นรัฐมนตรีร่วมอยู่ในรัฐบาลนั้น คือช่อง 7 สัญญามันไม่ได้เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผมก็พูดตรงๆว่าพวกเราหลายคนก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไร แล้วก็โดยที่ยังอยู่ในโครงสร้างเดิม คือหน่วยงานเขาก็สามารถที่จะไปเป็นคู่สัญญาแล้วก็เปลี่ยนแปลงแก้ไข เลิกแล้วก็ต่อสัญญาได้ก็เป็นอำนาจ เหตุก็จึงเกิดขึ้น แล้วก็จริงอย่างที่คุณบุญเลิศบอกก็คือ ทำได้ก็เพียงแค่รับทราบและหาทางป้องกัน แลละจึงมีนโยบายออกมาว่า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17/03/47--จบ--
-สส-