ตามที่กระทรวงการคลังได้เคยออกแถลงข่าวเตือนภัย กรณีการหลอกลวงและฉ้อโกงเงินค่าซื้อขายบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือไปแล้วครั้งหนึ่ง โดยวิธีการคือ มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้ชักชวนประชาชนทั่วไปว่า สามารถซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือในระบบต่างๆ ได้ในราคาถูกกว่าท้องตลาด เช่น บัตรราคา 300 บาท ซื้อได้ในราคา 250 - 270 บาท แต่ต้องจ่ายเงินสดล่วงหน้า และจะได้รับบัตรเติมเงินภายในระยะเวลา1 - 5 วัน เมื่อนำไปขายต่อจะทำให้ได้รับกำไรอย่างมาก ประมาณใบละ 30 - 50 บาท หรือนำเงินมาลงทุนผ่านตัวแทนหรือหัวหน้าสายจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราร้อยละ 8 ต่อสัปดาห์ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อจำนวนมาก และได้สั่งซื้อบัตรเติมเงินเป็นจำนวนหลายสิบล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ไม่มีบริษัทใดให้ส่วนลดการซื้อขายบัตรเติมเงินฯ กับผู้แทนจำหน่ายรายใดได้ในราคาข้างต้น ดังนั้น การที่บุคคลและกลุ่มบุคคลได้ชักชวนประชาชนทั่วไปให้นำเงินมาลงทุนซื้อบัตรเติมเงินในลักษณะที่กล่าว จึงไม่เป็นความจริงแต่ประการใด และโดยข้อเท็จจริงแล้วกลุ่มบุคคล ดังกล่าวไม่ได้ประกอบธุรกิจใดที่เป็นการค้าปกติ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชน และการที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูงได้ เนื่องจากได้นำเงินที่ระดมมาจ่ายหมุนเวียนเป็นระบบแชร์ลูกโซ่ต่อกันไปเรื่อยๆ และเมื่อระดมเงินได้จำนวนมากพอก็จะเชิดเงินหลบหนีไป
แม้ว่ากระทรวงการคลังจะได้เคยออกแถลงข่าวเตือนภัยประชาชนมาแล้ว แต่ปรากฏว่า ยังเกิดกรณีการหลอกลวงและฉ้อโกงเงินค่าซื้อขายบัตรเติมเงินอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จึงใคร่ขอเรียนย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลเหล่านี้โดยแท้จริงมีเจตนาหลอกลวงและฉ้อโกงประชาชน ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือในระยะแรกโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูงตามกำหนดเพื่อให้ตายใจ และนำเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่กล่าว เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ และกระทรวงการคลังได้ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสถานีตำรวจภูธรทุกจังหวัด เพื่อติดตามบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายแล้ว และใคร่ขอเตือนว่าขอให้ประชาชนอย่าได้หลงเชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ในลักษณะดังกล่าว และหากประชาชนผู้ใดได้รับความเสียหาย หรือถูกหลอกลวง หรือมีข้อมูล เบาะแส ขอให้ร้องเรียน แจ้งความ หรือร้องทุกข์ ได้ที่
- กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3282-6 หรือสายด่วนการเงินนอกระบบ 1359
- กองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โทร. 1195, 0-2939-3700-19 และกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) โทร. 0-2233-0381, 0-2237-1199
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 19/2547 18 มีนาคม 2547--
-นท-
แม้ว่ากระทรวงการคลังจะได้เคยออกแถลงข่าวเตือนภัยประชาชนมาแล้ว แต่ปรากฏว่า ยังเกิดกรณีการหลอกลวงและฉ้อโกงเงินค่าซื้อขายบัตรเติมเงินอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด จึงใคร่ขอเรียนย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลเหล่านี้โดยแท้จริงมีเจตนาหลอกลวงและฉ้อโกงประชาชน ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือในระยะแรกโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูงตามกำหนดเพื่อให้ตายใจ และนำเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่กล่าว เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชน มีโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ และกระทรวงการคลังได้ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสถานีตำรวจภูธรทุกจังหวัด เพื่อติดตามบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายแล้ว และใคร่ขอเตือนว่าขอให้ประชาชนอย่าได้หลงเชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ในลักษณะดังกล่าว และหากประชาชนผู้ใดได้รับความเสียหาย หรือถูกหลอกลวง หรือมีข้อมูล เบาะแส ขอให้ร้องเรียน แจ้งความ หรือร้องทุกข์ ได้ที่
- กลุ่มงานป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระราม 6 โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3282-6 หรือสายด่วนการเงินนอกระบบ 1359
- กองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โทร. 1195, 0-2939-3700-19 และกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) โทร. 0-2233-0381, 0-2237-1199
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 19/2547 18 มีนาคม 2547--
-นท-