เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบ องค์ประชุมแล้วประธานได้กล่าวเปิดการประชุม จากนั้นประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
๒. รับทราบผลการดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาศึกษาระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณา เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อน
ตำแหน่งของข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งคณะกรรมาธิการการศึกษาพิจารณา เสร็จแล้ว โดยศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้ชี้แจง ต่อที่ประชุมว่า การปฏิรูประบบการศึกษาทำให้เกิดผลกระทบกับครูจำนวนมากในการที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลือนตำแหน่ง คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วเห็นว่าควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เดิม ของคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ดังนี้คือ
๑. ให้มีการเร่งรัดพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามแนวที่สำนักงานปฏิรูปการศึกษาได้
เสนอไว้ โดยประเมินจากผลงานการปฏิบัติงานตามหน้าที่มากกว่าการประเมินโดยใช้เอกสารเป็น
จำนวนมาก
๒. ผลงานทางวิชาการนั้นต้องเชื่อมโยงกับเรื่องคุณภาพของการเรียนการสอน เพื่อ
จะได้เกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างแท้จริง
๓. การทำผลงานทางวิชาการนั้นต้องไม่เป็นภาระแก่ครูมากจนเกินไปจนทำให้
กระทบต่อการทำหน้าที่สอนของครู
การพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ท้ายรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของข้าราชการครูในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประธานในที่ประชุมจึงได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านอภิปรายอย่างกว้างขวาง หลังจากนั้นประธานได้ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าว ให้แก่คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมก็ได้ลงมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องต่าง ๆ ที่คณะกรรมาธิการการศึกษาพิจารณาเสร็จแล้วมาพิจารณารวมกัน ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔
๒. รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องปัญหาอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง การกระจายอำนาจงบประมาณด้านการศึกษา
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
๔. รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง สภาพปัญหาการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา
เมื่อศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการได้เสนอรายงานทั้ง ๔ เรื่อง ทีละเรื่อง ตามลำดับต่อที่ประชุมแล้ว ได้มีการพิจารณาข้อสังเกตเกี่ยวกับรายงานผลการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีกรรมาธิการเป็น ผู้ตอบชี้แจง จนเวลาพอสมควรแล้วประธานจึงได้ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบกับข้อสังเกตต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้มีลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการทั้ง ๔ เรื่อง โดยลงมติทีละเรื่องตามลำดับ เพื่อให้ส่งข้อสังเกตต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
พักการประชุม เวลา ๑๓.๒๕ นาฬิกา
จากนั้นได้มีการประชุมต่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลและกรุงเทพมหานครมีมาตรการในการกำหนดนโยบาย การวางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับการให้บริการการสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการใช้ระบบขนส่งมวลชน ที่ทำการพัฒนาเพื่อลดความแออัดของบริเวณเมืองชั้นใน และขยายพื้นที่รองรับกิจกรรมด้านเศรษฐกิจต่อเนื่องจาก สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เช่น เขตวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรถรางและพัฒนาศูนย์คมนาคม ๓ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พหลโยธิน มักกะสัน และตากสิน ส่วนพื้นที่ระหว่างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและวงแหวนรอบนอก โดยผังเมืองรวมได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ดินที่อยู่อาศัยหนาแน่น ปานกลาง และน้อย รวมทั้งมีการพัฒนาศูนย์พาณิชยกรรม และศูนย์ชุมชนเมือง รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ชนบท เกษตรกรรม และได้กำหนดเขตอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยให้ย้ายออกไปนอกพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑลด้วย ส่วนแนวทางในการ แก้ไขปัญหานั้นรัฐบาล กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการ และกรมผังเมือง ได้คำนึงถึงปัญหาและอุปสรรค คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกรมผังเมืองมีการกำหนดพื้นที่ (FAR) อัตราส่วนพื้นที่อาคาร : พื้นที่แปลงที่ดิน และ (OSR.) อัตราส่วนพื้นที่ว่างเป็นพื้นที่อาคารรวม ซึ่งทำให้นักลงทุนต้องถูกจำกัดการใช้ที่ดินมากขึ้น ส่วนในพื้นที่นอกถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมนั้นจะทำให้เป็นพื้นที่ที่ถูกจำกัดการพัฒนา ไม่สามารถจัดสรรที่ดิน รวมทั้งไม่สามารถ ขายที่ดินให้กับนักลงทุนได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของการวางผังเมือง โดยมุ่งเน้นการควบคุมและป้องกันสิทธิของประชาชนไม่ให้กระทบสิทธิของผู้อื่น จึงได้สร้างมาตรการสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติตามผังเมืองโดยรวม
๒. กระทู้ถามสดของ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐคุกคามในการเลือกตั้งท้องถิ่น ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบว่า รัฐบาลจะไม่ยอมให้มีการใช้อำนาจรัฐคุกคามหรือกระทำการให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายได้เปรียบหรือได้รับประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยต้องการจะให้การเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมและทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการเตรียมมาตรการรองรับการเลือกตั้งในทุกระดับ เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมีขึ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และได้มีการกำชับให้ข้าราชการตำรวจทุกคนทั่วประเทศปฏิบัติตามแผนรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งและสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งให้วางตัวเป็นกลางด้วย
สำหรับกรณีที่ครูถูกคุกคามนั้น ถ้ามีหลักฐานชัดเจน ผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ สามารถแจ้งความกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือสถานีตำรวจได้
๓. กระทู้ถามสดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง เป็นผู้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลมีหน้าที่ในการค้ำประกันเพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีเงินในการลงทุน กฎหมายหนี้สาธารณะนั้นมีหลักการว่ารัฐบาลจะค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปนั้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักของคำจำกัดความหนี้สาธารณะ จากนั้นนายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ว่า ในหนังสือบริคณสนธิ ได้ร่างกฎหมายไว้ว่าจะให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน ๒๕% นั้น ซึ่งมีขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญคือ กระบวนการแปรรูปไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปเป็นบริษัทจำกัด มหาชน และจะต้องกระจายหุ้นส่วนหนึ่งไปอยู่ในตลาด คือ เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีโอกาส เข้าไปลงทุนได้ โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ และ ในตลาดหลักทรัพย์ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้เพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของประเทศ จึงได้มีการยืนยันว่าจะต้องไม่เกิน ๒๕%
ในส่วนของหนี้สาธารณะจะลดลงหรือไม่นั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตอบกระทู้ว่า เมื่อมีการกระจายหุ้นหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเป็นหนี้ของ รัฐวิสาหกิจต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องการที่จะลงทุน และรัฐบาลต้องทำหน้าที่ ค้ำประกัน จากนั้นมาจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลสาขา ดำเนินการปรับโครงสร้างภายในของรัฐวิสาหกิจและแปรสภาพ โดยการจดทะเบียนและการกระจายหุ้นต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของ นายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
ลพบุรี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การโจรกรรมพระพุทธรูป ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุต่าง ๆ นั้นเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร และเป็นไปตามกฎหมายการ ดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ส่วนในเรื่องของการลงทะเบียนนั้น ได้มีการ ลงทะเบียนในส่วนที่เป็นสมบัติของวัดทั้งหมด ซึ่งได้จดทะเบียนมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ และได้มีการ ถ่ายภาพไว้ รวมทั้งมีการแนบท้ายลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ด้วย สำหรับหน้าที่ของวัดในการแจ้งความ การขึ้นทะเบียนต่าง ๆ กรมศิลปากรจะส่งหลักฐานการขึ้นทะเบียนผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและให้พนักงานตำรวจในพื้นที่ดูแล โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่ขึ้นทะเบียนและถ้ามีการโจรกรรมพระพุทธรูปเกิดขึ้น ทางกรมศิลปากรจะส่งหลักฐานไปให้กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้ดูแล ถ้ามีการส่งลำเลียงผ่านไปยังต่างประเทศหรือต่างจังหวัด
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ในเรื่องสงครามทุจริตคอรัปชั่นนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่รัฐบาลได้มีการดำเนินการในการดูแล แก้ไข ปัญหานี้
ร่วมกับองค์กร ซึ่งดูแลในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นโดยตรงคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งส่วนใหญ่การทุจริตคอรัปชั่นนั้นจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุด ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดูแลการทุจริตของข้าราชการทั่วประเทศ (ปท.) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบการกล่าวหา ถ้าพบว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง และมีหลักฐานชัดเจน จะส่งเรื่องดังกล่าวให้กระบวนการยุติธรรม และ ปปช. ดำเนินการต่อไป ในส่วนของข้าราชการที่จะปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้มีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นในวงราชการนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้คือ การประหยัด ซื่อสัตย์ โปร่งใส ลดขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ
------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ราคามันสำปะหลังตกต่ำ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ในช่วง ที่ผ่านมาราคามันสำปะหลังตกต่ำมาก แต่รัฐบาลได้มีมาตรการในการแทรกแซงราคา โดยการรับจำนำ มันสำปะหลังที่โรงแป้ง และได้มีการเพิ่มลานมันขึ้น เพื่อบริการให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ทำให้ระดับราคาที่เคยตกต่ำกลับขึ้นมาอยู่ในภาวะที่ปกติ และได้ให้องค์กรเอกชนร่วมกับตัวแทนเกษตรกรมาอยู่ร่วมกันในขณะที่มีการรับจำนำสินค้าเกษตรกรด้วย
สำหรับในเรื่องของราคาที่รัฐบาลแทรกแซงนั้นเป็นราคารับจำนำหัวมันสำปะหลังสด ที่เชื้อแป้ง ๒๕% ณ ลานมัน กิโลกรัมละ ๑ บาท ถ้าเป็นราคา ณ โรงแป้งรับจำนำในราคากิโลกรัมละ ๑.๕๐ บาท ราคาจึงต่างกัน เนื่องจากค่าขนส่งและมาตรฐานหัวมันที่ไปสู่ลานมัน
๒. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๗ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบกระทู้ว่า ขบวนการรับจำนำข้าวมีการทุจริตจริง ซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างของการรับจำนำข้าว โดยมีวิธีการ รับจำนำ คือ ชาวนานำข้าวไปที่โรงสี โรงสีแปลงสภาพเสร็จเรียบร้อยส่งไปเก็บไว้ที่โกดัง ซึ่งเจ้าหน้าที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) หรือองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้เช่าโกดังและรับผิดชอบในการ ตรวจสอบข้าว ร่วมกับผู้สำรวจ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่มีการทุจริตเกิดขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนการรับจำนำข้าวใหม่ โดยให้เจ้าของโกดังเป็นผู้รับผิดชอบสินค้าในคลังสินค้าของตนเอง โดยผู้สำรวจและหัวหน้าคลังสินค้าเป็นผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบของในคลังสินค้า และในการรับประกันข้าวต้องมีบริษัทรับประกันข้าวให้กับรัฐบาลด้วย
๓. กระทู้ถามสดของนายโกเมศ ขวัญเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๖ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า กระทรวงมหาดไทย กำลังพิจารณาแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ โดยพิจารณาตามลักษณะและขนาดของสถานบริการ ซึ่งขณะนี้กฎกระทรวงใหม่ยังไม่ได้ประกาศใช้ จึงต้องใช้กฎหมายเก่าไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการประกาศกฎกระทรวงใหม่ ซึ่งกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่และจะประกาศใช้โดยเร็ว
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง อุบัติเหตุร้ายแรงจากการเผาฟางในนาข้าว ถาม นายกรัฐมนตรี
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เครื่องบินอัลฟาเจ็ต ของกองทัพอากาศตกที่จังหวัดอุดรธานี ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งทั้งสองกระทู้ผู้ตั้งกระทู้ถามขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้มีการจัด ให้มีการวิเคราะห์ในแต่ละพื้นที่อย่างละเอียดว่า พื้นที่ใดมีจุดอ่อน ทางเจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการป้องกัน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดไฟฟ้าให้สว่าง หรือการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูแล รวมทั้งได้มีการพิจารณาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งจุดสกัดหรือจุดตรวจต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำโครงการตำรวจมวลชนสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ ซึ่งมาตรการในการป้องกันดังกล่าวนี้ต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการเชิงรุก และมาตรการ เชิงข่าว
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
๒. รับทราบผลการดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาศึกษาระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณา เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อน
ตำแหน่งของข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งคณะกรรมาธิการการศึกษาพิจารณา เสร็จแล้ว โดยศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้ชี้แจง ต่อที่ประชุมว่า การปฏิรูประบบการศึกษาทำให้เกิดผลกระทบกับครูจำนวนมากในการที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลือนตำแหน่ง คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วเห็นว่าควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เดิม ของคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ดังนี้คือ
๑. ให้มีการเร่งรัดพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามแนวที่สำนักงานปฏิรูปการศึกษาได้
เสนอไว้ โดยประเมินจากผลงานการปฏิบัติงานตามหน้าที่มากกว่าการประเมินโดยใช้เอกสารเป็น
จำนวนมาก
๒. ผลงานทางวิชาการนั้นต้องเชื่อมโยงกับเรื่องคุณภาพของการเรียนการสอน เพื่อ
จะได้เกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างแท้จริง
๓. การทำผลงานทางวิชาการนั้นต้องไม่เป็นภาระแก่ครูมากจนเกินไปจนทำให้
กระทบต่อการทำหน้าที่สอนของครู
การพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ท้ายรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของข้าราชการครูในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประธานในที่ประชุมจึงได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านอภิปรายอย่างกว้างขวาง หลังจากนั้นประธานได้ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าว ให้แก่คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมก็ได้ลงมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องต่าง ๆ ที่คณะกรรมาธิการการศึกษาพิจารณาเสร็จแล้วมาพิจารณารวมกัน ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔
๒. รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องปัญหาอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง การกระจายอำนาจงบประมาณด้านการศึกษา
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
๔. รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง สภาพปัญหาการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา
เมื่อศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการได้เสนอรายงานทั้ง ๔ เรื่อง ทีละเรื่อง ตามลำดับต่อที่ประชุมแล้ว ได้มีการพิจารณาข้อสังเกตเกี่ยวกับรายงานผลการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีกรรมาธิการเป็น ผู้ตอบชี้แจง จนเวลาพอสมควรแล้วประธานจึงได้ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบกับข้อสังเกตต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้มีลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการทั้ง ๔ เรื่อง โดยลงมติทีละเรื่องตามลำดับ เพื่อให้ส่งข้อสังเกตต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
พักการประชุม เวลา ๑๓.๒๕ นาฬิกา
จากนั้นได้มีการประชุมต่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลและกรุงเทพมหานครมีมาตรการในการกำหนดนโยบาย การวางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับการให้บริการการสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการใช้ระบบขนส่งมวลชน ที่ทำการพัฒนาเพื่อลดความแออัดของบริเวณเมืองชั้นใน และขยายพื้นที่รองรับกิจกรรมด้านเศรษฐกิจต่อเนื่องจาก สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เช่น เขตวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการขนส่งมวลชนระบบรถรางและพัฒนาศูนย์คมนาคม ๓ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พหลโยธิน มักกะสัน และตากสิน ส่วนพื้นที่ระหว่างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกและวงแหวนรอบนอก โดยผังเมืองรวมได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ดินที่อยู่อาศัยหนาแน่น ปานกลาง และน้อย รวมทั้งมีการพัฒนาศูนย์พาณิชยกรรม และศูนย์ชุมชนเมือง รวมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ชนบท เกษตรกรรม และได้กำหนดเขตอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยให้ย้ายออกไปนอกพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑลด้วย ส่วนแนวทางในการ แก้ไขปัญหานั้นรัฐบาล กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการ และกรมผังเมือง ได้คำนึงถึงปัญหาและอุปสรรค คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกรมผังเมืองมีการกำหนดพื้นที่ (FAR) อัตราส่วนพื้นที่อาคาร : พื้นที่แปลงที่ดิน และ (OSR.) อัตราส่วนพื้นที่ว่างเป็นพื้นที่อาคารรวม ซึ่งทำให้นักลงทุนต้องถูกจำกัดการใช้ที่ดินมากขึ้น ส่วนในพื้นที่นอกถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมนั้นจะทำให้เป็นพื้นที่ที่ถูกจำกัดการพัฒนา ไม่สามารถจัดสรรที่ดิน รวมทั้งไม่สามารถ ขายที่ดินให้กับนักลงทุนได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของการวางผังเมือง โดยมุ่งเน้นการควบคุมและป้องกันสิทธิของประชาชนไม่ให้กระทบสิทธิของผู้อื่น จึงได้สร้างมาตรการสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติตามผังเมืองโดยรวม
๒. กระทู้ถามสดของ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐคุกคามในการเลือกตั้งท้องถิ่น ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบว่า รัฐบาลจะไม่ยอมให้มีการใช้อำนาจรัฐคุกคามหรือกระทำการให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหายได้เปรียบหรือได้รับประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยต้องการจะให้การเลือกตั้งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมและทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการเตรียมมาตรการรองรับการเลือกตั้งในทุกระดับ เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมีขึ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และได้มีการกำชับให้ข้าราชการตำรวจทุกคนทั่วประเทศปฏิบัติตามแผนรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้งและสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งให้วางตัวเป็นกลางด้วย
สำหรับกรณีที่ครูถูกคุกคามนั้น ถ้ามีหลักฐานชัดเจน ผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ สามารถแจ้งความกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือสถานีตำรวจได้
๓. กระทู้ถามสดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง เป็นผู้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลมีหน้าที่ในการค้ำประกันเพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีเงินในการลงทุน กฎหมายหนี้สาธารณะนั้นมีหลักการว่ารัฐบาลจะค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปนั้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักของคำจำกัดความหนี้สาธารณะ จากนั้นนายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ว่า ในหนังสือบริคณสนธิ ได้ร่างกฎหมายไว้ว่าจะให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน ๒๕% นั้น ซึ่งมีขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญคือ กระบวนการแปรรูปไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปเป็นบริษัทจำกัด มหาชน และจะต้องกระจายหุ้นส่วนหนึ่งไปอยู่ในตลาด คือ เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีโอกาส เข้าไปลงทุนได้ โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ และ ในตลาดหลักทรัพย์ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้เพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของประเทศ จึงได้มีการยืนยันว่าจะต้องไม่เกิน ๒๕%
ในส่วนของหนี้สาธารณะจะลดลงหรือไม่นั้น นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตอบกระทู้ว่า เมื่อมีการกระจายหุ้นหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเป็นหนี้ของ รัฐวิสาหกิจต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องการที่จะลงทุน และรัฐบาลต้องทำหน้าที่ ค้ำประกัน จากนั้นมาจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลสาขา ดำเนินการปรับโครงสร้างภายในของรัฐวิสาหกิจและแปรสภาพ โดยการจดทะเบียนและการกระจายหุ้นต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรมในประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของ นายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
ลพบุรี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การโจรกรรมพระพุทธรูป ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุต่าง ๆ นั้นเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร และเป็นไปตามกฎหมายการ ดูแลโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมา ส่วนในเรื่องของการลงทะเบียนนั้น ได้มีการ ลงทะเบียนในส่วนที่เป็นสมบัติของวัดทั้งหมด ซึ่งได้จดทะเบียนมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ และได้มีการ ถ่ายภาพไว้ รวมทั้งมีการแนบท้ายลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ด้วย สำหรับหน้าที่ของวัดในการแจ้งความ การขึ้นทะเบียนต่าง ๆ กรมศิลปากรจะส่งหลักฐานการขึ้นทะเบียนผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและให้พนักงานตำรวจในพื้นที่ดูแล โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่ขึ้นทะเบียนและถ้ามีการโจรกรรมพระพุทธรูปเกิดขึ้น ทางกรมศิลปากรจะส่งหลักฐานไปให้กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้ดูแล ถ้ามีการส่งลำเลียงผ่านไปยังต่างประเทศหรือต่างจังหวัด
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ในเรื่องสงครามทุจริตคอรัปชั่นนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่รัฐบาลได้มีการดำเนินการในการดูแล แก้ไข ปัญหานี้
ร่วมกับองค์กร ซึ่งดูแลในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นโดยตรงคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งส่วนใหญ่การทุจริตคอรัปชั่นนั้นจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุด ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดูแลการทุจริตของข้าราชการทั่วประเทศ (ปท.) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบการกล่าวหา ถ้าพบว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง และมีหลักฐานชัดเจน จะส่งเรื่องดังกล่าวให้กระบวนการยุติธรรม และ ปปช. ดำเนินการต่อไป ในส่วนของข้าราชการที่จะปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้มีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นในวงราชการนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้คือ การประหยัด ซื่อสัตย์ โปร่งใส ลดขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ
------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ราคามันสำปะหลังตกต่ำ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่ง นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ในช่วง ที่ผ่านมาราคามันสำปะหลังตกต่ำมาก แต่รัฐบาลได้มีมาตรการในการแทรกแซงราคา โดยการรับจำนำ มันสำปะหลังที่โรงแป้ง และได้มีการเพิ่มลานมันขึ้น เพื่อบริการให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ทำให้ระดับราคาที่เคยตกต่ำกลับขึ้นมาอยู่ในภาวะที่ปกติ และได้ให้องค์กรเอกชนร่วมกับตัวแทนเกษตรกรมาอยู่ร่วมกันในขณะที่มีการรับจำนำสินค้าเกษตรกรด้วย
สำหรับในเรื่องของราคาที่รัฐบาลแทรกแซงนั้นเป็นราคารับจำนำหัวมันสำปะหลังสด ที่เชื้อแป้ง ๒๕% ณ ลานมัน กิโลกรัมละ ๑ บาท ถ้าเป็นราคา ณ โรงแป้งรับจำนำในราคากิโลกรัมละ ๑.๕๐ บาท ราคาจึงต่างกัน เนื่องจากค่าขนส่งและมาตรฐานหัวมันที่ไปสู่ลานมัน
๒. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปี ๒๕๔๔-๒๕๔๗ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบกระทู้ว่า ขบวนการรับจำนำข้าวมีการทุจริตจริง ซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างของการรับจำนำข้าว โดยมีวิธีการ รับจำนำ คือ ชาวนานำข้าวไปที่โรงสี โรงสีแปลงสภาพเสร็จเรียบร้อยส่งไปเก็บไว้ที่โกดัง ซึ่งเจ้าหน้าที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) หรือองค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้เช่าโกดังและรับผิดชอบในการ ตรวจสอบข้าว ร่วมกับผู้สำรวจ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่มีการทุจริตเกิดขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนการรับจำนำข้าวใหม่ โดยให้เจ้าของโกดังเป็นผู้รับผิดชอบสินค้าในคลังสินค้าของตนเอง โดยผู้สำรวจและหัวหน้าคลังสินค้าเป็นผู้ตรวจสอบและรับผิดชอบของในคลังสินค้า และในการรับประกันข้าวต้องมีบริษัทรับประกันข้าวให้กับรัฐบาลด้วย
๓. กระทู้ถามสดของนายโกเมศ ขวัญเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๖ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า กระทรวงมหาดไทย กำลังพิจารณาแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ โดยพิจารณาตามลักษณะและขนาดของสถานบริการ ซึ่งขณะนี้กฎกระทรวงใหม่ยังไม่ได้ประกาศใช้ จึงต้องใช้กฎหมายเก่าไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการประกาศกฎกระทรวงใหม่ ซึ่งกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่และจะประกาศใช้โดยเร็ว
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง อุบัติเหตุร้ายแรงจากการเผาฟางในนาข้าว ถาม นายกรัฐมนตรี
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เครื่องบินอัลฟาเจ็ต ของกองทัพอากาศตกที่จังหวัดอุดรธานี ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งทั้งสองกระทู้ผู้ตั้งกระทู้ถามขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้มีการจัด ให้มีการวิเคราะห์ในแต่ละพื้นที่อย่างละเอียดว่า พื้นที่ใดมีจุดอ่อน ทางเจ้าหน้าที่จะเข้าไปดำเนินการป้องกัน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดไฟฟ้าให้สว่าง หรือการจัดเจ้าหน้าที่คอยดูแล รวมทั้งได้มีการพิจารณาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งจุดสกัดหรือจุดตรวจต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำโครงการตำรวจมวลชนสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุร้ายต่าง ๆ ซึ่งมาตรการในการป้องกันดังกล่าวนี้ต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการเชิงรุก และมาตรการ เชิงข่าว
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร