ผู้นำไทย-สวิส พอใจผลความร่วมมือทั้งระดับประเทศและภูมิภาค สวิสพร้อมใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง
ต่อยอดไปยังประเทศที่สาม เตรียมเจรจาจัดทำเอฟทีเอกับไทย ขยายความร่วมมือในกรอบขององค์การการค้า
โลก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบ วานนี้ (18 มี.ค.)ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ
นายโจเซฟ ไดส์ส ประธานาธิบดีสมาพันธ์รัฐสวิส ร่วมกันแถลงข่าวผลการหารือเพื่อยืนยันให้เห็นถึงความ
สัมพันธ์ของสวิตเซอร์แลนด์ที่มีต่อไทย พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงความยินดีที่ประธานาธิบดีสมาพันธรัฐสวิสได้นำคณะ
นักธุรกิจร่วมเดินทางมาด้วย ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่จะมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความ
มั่งคั่งของ 2 ประเทศ
ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ ประสบความสำเร็จและสามารถขยายผลครอบคลุมได้ทุกประเด็น ทั้ง
ในระดับทวิภาคีและระหว่างประเทศ การตอบรับการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะ
เป็นผลให้รัฐบาลเข้าไปดำเนินการต่างๆ ต่อไปได้อย่างเหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมกิจกรรม
ธุรกิจระหว่างกัน แต่ทั้งสองฝ่ายก็เห็นว่ายังมีช่องทางและศักยภาพที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะ
ความจำเป็นในการออกมาตรการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้บรรยายให้คณะของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับทราบถึงการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เชื่อว่า
จะช่วยให้นักธุรกิจชาวสวิตฯ มั่นใจต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้ทั้ง 2 ฝ่ายกำลังศึกษา
ความเป็นไปได้ ในการเตรียมกรอบความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีแห่งอาเซียนและเขตการค้าเสรีแห่ง
ยุโรปอีกด้วย
นอกเหนือจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจแล้ว ผู้นำทั้งสอง ยังได้หารือในเรื่อง การท่องเที่ยว การ
ศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของสวิตฯ ในโครงการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำ
โขง ในด้านการสร้างขีดกำลังความสามารถ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การฝึกอบรม และความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรม สำหรับประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายต่างหารือในประเด็นที่เป็นความสนใจ
ร่วมกัน อาทิ สถานการณ์ในอิรัก การต่อต้านการก่อการร้าย และการพัฒนาทางการเมืองในพม่า
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวอีกว่า อยากให้เอกชนสวิสใช้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจต่อยอดการค้า
ไปยังประเทศอื่นๆ การค้าเพื่อขยายไปในภูมิภาคนี้
ด้านนาย โจเซฟ ไดส์ส กล่าวถึงเหตุผลที่เดินทางมาประเทศไทยว่า ต้องการให้มีความร่วมมือกับ
ประเทศไทยทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระดับรัฐบาล ซึ่งจะส่ง
ผลให้ประเทศทั้ง 2 ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจต่อไป ปัจจุบันนี้ ภาคเอกชนของสวิสที่เข้ามาลงทุน
และดำเนินการกิจการในประเทศไทยจำนวนมาก และยังต้องการให้เกิดความร่วมมือในภูมิภาคนี้ ทั้งด้านการค้า
การลงทุนและการเมือง เพราะทั้งสองประเทศยังไม่เคยมีปัญหาขัดแย้งกัน ประธานาธิบดีสมาพันธรัฐสวิส
กล่าวอีกว่า ทั้ง 2 ประเทศ ยังเห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมมือกันในการจัดตั้งเขตการค้าเสีรี หลังจากไทยประสบ
ความสำเร็จในการดำเนินการมาแล้วกับหลายประเทศ ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศ จึงพร้อมที่จะเริ่มต้นเจรจาจัด
ทำเอฟทีเอ ขยายความร่วมมือในกรอบขององค์กาการค้าโลก และยังเห็นด้วยกับความก้าวหน้าของพม่า-410
พ.3
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวร
นิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-สส-