สหรัฐ-อียูหนุนเสรีเกษตร 'ศุภชัย'คาดได้ข้อยุติปีนี้ ญี่ปุ่นพร้อมยืดหยุ่นการค้า-ลงทุน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 22, 2004 10:31 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          'ศุภชัย'มั่นใจการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรตามรอบโดฮา ได้ข้อสรุปในปีนี้ หลังสหรัฐ-สหภาพ
ยุโรปมีท่าทีอ่อนลง ขณะที่ญี่ปุ่นเริ่มแสดงตัวขอเปิดนำร่องเปิดการค้า-การลงทุนก่อน ขณะที่'ทักษิณ' อวดวิสัยทัศน์
ใช้เอซีดีพัฒนาศักยภาพเอเชียขึ้นเทียบชั้นสหรัฐ-อียู
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) กล่าวว่า การเจรจาเปิด
เสรีสินค้าเกษตรในรอบโดฮาน่าจะบรรลุผลได้ในปีนี้ หลังจากสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) แสดงทาทีที่อ่อนลง
มา
'ผมเชื่อว่า เราจะสามารถขจัดอุปสรรคการค้าภาคการเกษตรได้ในกลางปีนี้ ซึ่งหมายความว่า
การเจรจาเพื่อเปิดเสรีภาคการเกษตร ก็น่าจะสรุปลงได้ในปีนี้' ดร.ศุภชัย กล่าว ดร.ศุภชัย กล่าวว่า ใน
ภาพรวมของประเทศพัฒนาแล้ว ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีต่อสินค้าเกษตร หลังจากที่ในการประชุมที่ผ่านมา สหรัฐ อียู
และญี่ปุ่น มีท่าทีที่แข็งกร้าวไม่ยอมเปิดเสรีสินค้าเกษตร แต่ในการเจรจาครั้งต่อไป ซึ่งจะมีการคุยในระดับผู้
เชี่ยวชาญ จะมีการเจรจาในกรอบสินค้าเกษตรให้เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งสหรัฐและอียู เริ่มมีท่าทีที่อ่อนลงแล้ว
ส่วนกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่มีท่าทีชัดเจนในด้านเปิดเสรีสินค้าเกษตร แต่ก็แสดงจุดยืนที่ผ่อนคลายใน
ด้านอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการค้า ทั้งนี้ดับบลิวทีโอ จะเริ่มการเจรจาเพื่อเปิดเสรีภาคการเกษตร
หรือที่เรียกกันว่า การเจรจารอบโดฮา ที่นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 22-26 มี.ค.หลังจากการเจรจาเรื่องดัง
กล่าว ชะงักงันตั้งแต่เมือเดือนก.ย.ปีที่แล้ว ในการประชุมระดับรัฐมนตรีดับบลิวทีโอ ที่เมืองแคนคูน ประเทศ
เม็กซิโก ซึ่งจบลงโดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ ความล้มเหลวของการเจรจาที่แคนคูน เป็นผลมา
จากจุดยืนที่แตกต่างของประเทศกำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในประเด็นสินค้าเกษตร และประเด็น
สิงคโปร์ อิชชู ซึ่งเป็นเรื่องของมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การแข่งขัน ความโปร่งใสในนโยบายจัดซื้อ
จัดจ้าง และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า หลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอ
มีส่วนสำคัญมากที่ผลักดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ดังนั้นการเจรจาการค้ารอบใหม่กรอบโดฮา จีนจะมีบทบาท
สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเจรจาการค้ากับประเทศในเอเชีย ซึ่งจะทำให้ประเทศในเอเชียได้รับผล
ประโยชน์ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศในเอเชียได้รับประโยชน์จาก
การแก้ไขกฎระเบียบของดับบลิวทีโอเกี่ยวกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด
'ทักษิณ'ชี้เอเชียผงาดเทียบสหรัฐ-อียู
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา 'LSE ASIA FORUM 2004' เมื่อวานนี้
(18 มี.ค.) ว่า หลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2541 เศรษฐกิจในเอเชียได้ขับเคลื่อนและเติบโตอย่างมาก ซึ่ง
อาศัยแรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเศรษฐกิจไทยด้วย โดยเมื่อไตรมาสสุดท้ายของปี
2546 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจของจีนและไทย มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 9.9% และ 7.8% ตามลำดับ
ทำให้เกิดคำถามว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงดังกล่าว จะวนกลับไปสู่วัฏจักรเก่าๆ หรือไม่ และ
เอเชียจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตให้อย่างยั่งยืน โดยหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเหมือนในอดีตที่ผ่านมาได้
หรือไม่
'ความยั่งยืนหมายถึงสัมพันธภาพระหว่างความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และความสามารถทาง
การแข่งขัน ซึ่งเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับความพยายามในความร่วมมือ ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่จำ
เป็นสำหรับเอเชียโดยรวมด้วย'นายกรัฐมนตรี กล่าว แนะใช้เอซีดีดึงศักยภาพเอเชีย
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงข้อริเริ่มในการจัดตั้งความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ว่า ประเทศไทย ได้
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอซีดี ครั้งแรกเมื่อเดือนมิ.ย.ปี 2545 โดยมี 18 ชาติสมาชิกเริ่มแรก ก่อนจะเพิ่ม
เป็น 22 ประเทศ ครอบคลุมทุกอนุภูมิภาคในเอเชีย
ทั้งนี้เอซีดี มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่หลากหลายของเอเชียมารวม
กัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการแข่งขัน สร้างภูมิภาคเอเชียที่เข้มแข็ง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์
สำหรับประชาชนเอเชียแต่ยังหมายถึงโลกโดยรวมอีกด้วย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เอเชีย ยังมีศักยภาพอีก
มากที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ ทั้งในแง่ของทรัพยากรและสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยระบุว่า ประชากรโลกกว่าครึ่ง
หนึ่งอาศัยอยู่ในเอเชีย รวมทั้งมีเงินสำรองระหว่างประเทศ กว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวน
กว่าครึ่งหนึ่งของเงินสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด แต่ภูมิภาคเอเชีย กลับมีตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก ซึ่งเอซีดี จะสามารถส่งเสริมให้
เอเชียใช้ประโยชน์จากศักยภาพตรงนี้ได้ ชี้เอเชียเสาหลักศก.โลกเทียบสหรัฐ-อียู พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า
การบรรลุความสำเร็จในการดึงประโยชน์จากศักยภาพของเอเชีย จะทำให้ภูมิภาคนี้เติบโตอย่างเต็มที่ และ
กลายเป็นพันธมิตร 3 ฝ่าย ในระบบเศรษฐกิจโลก อันประกอบด้วย เอเชีย สหรัฐ และสหภาพยุโรป (อียู)
อย่างไรก็ตามความยั่งยืนของการเติบโตดังกล่าว จำเป็นต้องสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความ
สำคัญของความเป็นท้องถิ่นเฉพาะ หรือ ประสิทธิภาพและผลผลิตและการบริการเฉพาะ 'การเติบโตทาง
เศรษฐกิจ ไม่ได้หมายถึงการผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ หากหมายถึงความยั่งยืน ที่
สามารถเชื่อมโยงการผลิตสินค้าท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความร่ำ
รวย เพื่อคนจนและประชาชนในระดับรากหญ้า ด้วยแนวทางที่หลากหลาย'นายกรัฐมนตรี กล่าว อย่างไรก็ตาม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชี้ว่า การเติบโตที่ปราศจากการก่อให้เกิดการสร้างวงจรเศรษฐกิจใหม่ๆ อาจส่งผลกระทบโดย
ตรงต่อปัญหาสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวร
นิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ