ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้ากล้วยรายใหญ่ของโลก ปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้ากล้วยจากทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะเดียวกันกล้วยเป็นผลไม้เมืองร้อนที่ญี่ปุ่นนำเข้ามากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของผลไม้ที่ญี่ปุ่นนำเข้าทั้งหมด จากศักยภาพของตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งนำเข้ากล้วยรายใหญ่และขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันนิยมบริโภคกล้วยมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการเร่งขยายตลาดกล้วยในญี่ปุ่น
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกกล้วยไปญี่ปุ่นมีดังนี้
ความต้องการบริโภคกล้วยในญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีราคาถูก จึงไม่เพียงรับประทานกล้วยเป็นผลไม้เท่านั้นแต่ยังนิยมรับประทานกล้วยเป็นอาหารเช้าอีกด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Japan Banana Importer Association (JBIA) พบว่าปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคกล้วยเฉลี่ย 7.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
คู่แข่งสำคัญ กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ฟิลิปปินส์มีส่วนแบ่งตลาดกล้วยในญี่ปุ่นสูงสุดถึงร้อยละ 77 ตามด้วยเอกวาดอร์ (ร้อยละ 13) ไต้หวัน (ร้อยละ 8) จีน (ร้อยละ 0.5) และเม็กซิโก (ร้อยละ 0.5) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 6 (ร้อยละ 0.3) ทั้งนี้ คู่แข่งสำคัญอย่างฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ได้เปรียบไทยจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เพราะมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้เปรียบไทยในแง่ของต้นทุนค่าขนส่งไปญี่ปุ่น เนื่องจากมีระยะทางใกล้กว่าไทยรวมทั้งมีผลผลิตส่งออกได้ตลอดทั้งปี ประกอบกับกล้วยที่ปลูกได้มีผลขนาดใหญ่ เปลือกหนา และมีความหวานน้อย ทำให้เกิดริ้วรอยและเน่าเสียยากกว่ากล้วยจากไทย
ช่วงเวลานำเข้า ญี่ปุ่นนิยมนำเข้ากล้วยก่อนหน้าเทศกาลต่างๆ ของชาวจีนเล็กน้อย เนื่องจากชาวจีนที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมีความต้องการกล้วยค่อนข้างมากในช่วงเทศกาล แต่การนำเข้ากล้วยมักลดลงในช่วงเดือนมิถุนายน — สิงหาคมเนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนและฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีทางเลือกในการบริโภคผลไม้ชนิดอื่นมากขึ้น
ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่
ประเภทสินค้า ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะกล้วยดิบ
ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้ากล้วยจากไทย 2 อัตรา ตามช่วงเวลาของการนำเข้า คือ อัตราร้อยละ 10 สำหรับการนำเข้าในช่วงวันที่ 1 เมษายน — 30 กันยายนของทุกปี และอัตราร้อยละ 20 สำหรับการนำเข้าในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม — 31 มีนาคม
มาตรฐานด้านสุขอนามัย กล้วยไทยที่ส่งออกต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตรของไทยยื่นต่อหน่วยงาน Food Sanitation Division กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น และหากตรวจพบศัตรูพืช ณ ด่านนำเข้า จะต้องนำสินค้าไปรมยาฆ่าศัตรูพืชก่อนจึงจะอนุญาตให้นำเข้าได้ โดยผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่งในการรมยา นอกจากนี้ กล้วยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นต้องไม่มีสารฆ่าแมลงและสารแต่งเติมเกินกว่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลกกำหนด ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้นำเข้ากล้วยบางรายของญี่ปุ่นเริ่มกำหนดไม่ให้มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกกล้วยเพื่อส่งออกมายังญี่ปุ่นแล้ว
ฉลากสินค้า กล้วยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นต้องระบุชื่อและประเภทสินค้า ขนาดของสินค้า ข้อมูลของผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้นำเข้า แหล่งกำเนิดสินค้า รวมทั้งเกรดหรือระดับคุณภาพของสินค้า
การที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่บริโภคกล้วยรายใหญ่ของโลกจึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในการรองรับกล้วยส่งออกจากไทย โดยอาศัยจุดเด่นของกล้วยไทยที่มีรสชาติหอมหวานและขนาดผลไม่ใหญ่จนเกินไป รวมทั้งมีผลเรียวโค้งน่ารับประทาน ตลอดจนเมื่อสุกมีสีเหลืองสวยโดยไม่ต้องบ่มแก๊ส นอกจากนี้ เพื่อให้กล้วยไทยแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญในตลาดญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกไทยควรเร่งปรับตัวด้วยการเสนอกล้วยพันธุ์ใหม่นอกจากกล้วยหอมเพื่อสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า รวมทั้งปรับปรุงเทคนิคการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุเพื่อส่งออกเพื่อรักษาคุณภาพของกล้วย ตลอดจนร่วมมือกับภาครัฐเพื่อเร่งประชาสัมพันธ์กล้วยไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในญี่ปุ่น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-สส-
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกกล้วยไปญี่ปุ่นมีดังนี้
ความต้องการบริโภคกล้วยในญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีราคาถูก จึงไม่เพียงรับประทานกล้วยเป็นผลไม้เท่านั้นแต่ยังนิยมรับประทานกล้วยเป็นอาหารเช้าอีกด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Japan Banana Importer Association (JBIA) พบว่าปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคกล้วยเฉลี่ย 7.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
คู่แข่งสำคัญ กล้วยจากฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2546 ฟิลิปปินส์มีส่วนแบ่งตลาดกล้วยในญี่ปุ่นสูงสุดถึงร้อยละ 77 ตามด้วยเอกวาดอร์ (ร้อยละ 13) ไต้หวัน (ร้อยละ 8) จีน (ร้อยละ 0.5) และเม็กซิโก (ร้อยละ 0.5) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 6 (ร้อยละ 0.3) ทั้งนี้ คู่แข่งสำคัญอย่างฟิลิปปินส์และเอกวาดอร์ได้เปรียบไทยจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เพราะมีพื้นที่เพาะปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้เปรียบไทยในแง่ของต้นทุนค่าขนส่งไปญี่ปุ่น เนื่องจากมีระยะทางใกล้กว่าไทยรวมทั้งมีผลผลิตส่งออกได้ตลอดทั้งปี ประกอบกับกล้วยที่ปลูกได้มีผลขนาดใหญ่ เปลือกหนา และมีความหวานน้อย ทำให้เกิดริ้วรอยและเน่าเสียยากกว่ากล้วยจากไทย
ช่วงเวลานำเข้า ญี่ปุ่นนิยมนำเข้ากล้วยก่อนหน้าเทศกาลต่างๆ ของชาวจีนเล็กน้อย เนื่องจากชาวจีนที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมีความต้องการกล้วยค่อนข้างมากในช่วงเทศกาล แต่การนำเข้ากล้วยมักลดลงในช่วงเดือนมิถุนายน — สิงหาคมเนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนและฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีทางเลือกในการบริโภคผลไม้ชนิดอื่นมากขึ้น
ระเบียบการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่
ประเภทสินค้า ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะกล้วยดิบ
ภาษีนำเข้า ญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้ากล้วยจากไทย 2 อัตรา ตามช่วงเวลาของการนำเข้า คือ อัตราร้อยละ 10 สำหรับการนำเข้าในช่วงวันที่ 1 เมษายน — 30 กันยายนของทุกปี และอัตราร้อยละ 20 สำหรับการนำเข้าในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม — 31 มีนาคม
มาตรฐานด้านสุขอนามัย กล้วยไทยที่ส่งออกต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตรของไทยยื่นต่อหน่วยงาน Food Sanitation Division กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น และหากตรวจพบศัตรูพืช ณ ด่านนำเข้า จะต้องนำสินค้าไปรมยาฆ่าศัตรูพืชก่อนจึงจะอนุญาตให้นำเข้าได้ โดยผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่งในการรมยา นอกจากนี้ กล้วยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นต้องไม่มีสารฆ่าแมลงและสารแต่งเติมเกินกว่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลกกำหนด ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้นำเข้ากล้วยบางรายของญี่ปุ่นเริ่มกำหนดไม่ให้มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกกล้วยเพื่อส่งออกมายังญี่ปุ่นแล้ว
ฉลากสินค้า กล้วยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นต้องระบุชื่อและประเภทสินค้า ขนาดของสินค้า ข้อมูลของผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้นำเข้า แหล่งกำเนิดสินค้า รวมทั้งเกรดหรือระดับคุณภาพของสินค้า
การที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่บริโภคกล้วยรายใหญ่ของโลกจึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในการรองรับกล้วยส่งออกจากไทย โดยอาศัยจุดเด่นของกล้วยไทยที่มีรสชาติหอมหวานและขนาดผลไม่ใหญ่จนเกินไป รวมทั้งมีผลเรียวโค้งน่ารับประทาน ตลอดจนเมื่อสุกมีสีเหลืองสวยโดยไม่ต้องบ่มแก๊ส นอกจากนี้ เพื่อให้กล้วยไทยแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญในตลาดญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกไทยควรเร่งปรับตัวด้วยการเสนอกล้วยพันธุ์ใหม่นอกจากกล้วยหอมเพื่อสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า รวมทั้งปรับปรุงเทคนิคการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุเพื่อส่งออกเพื่อรักษาคุณภาพของกล้วย ตลอดจนร่วมมือกับภาครัฐเพื่อเร่งประชาสัมพันธ์กล้วยไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในญี่ปุ่น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-สส-