นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเบื้องต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ได้จำนวน 86,444 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,892 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (เทียบกับปีที่แล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 78,290 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1)
ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการและสูงกว่าปีที่แล้วในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.1 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และ 24.9 ตามลำดับ แต่การจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากรต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 13.4 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.0) และหน่วยงานอื่นนำส่งคลังต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ร้อยละ 50.2 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 63.1)
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้หน่วยงานอื่นจัดเก็บได้ลดลงสรุปได้ ดังนี้
- มีการนำส่งรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมก่อนกำหนดในเดือนมกราคม 2547 จำนวน 3,711 ล้านบาท (ตามประมาณการคาดว่าจะนำส่งเหมือนปีที่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์)
- กรมธนารักษ์จัดเก็บได้ 232 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 681 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.6 และต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 48.6
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จากการจัดสรรกำไรสุทธิ ปี 2546 ก่อนกำหนดจำนวน 2,000 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2546 และเดือนมกราคม 2547 จากที่ประมาณการไว้ว่าจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2547
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 463,641 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 92,190 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 68,318 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 419,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 86,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 60,218 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.8
การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 18.4
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 246,223 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 49,768 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ โดยมีภาษีที่สำคัญได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 33.9 23.3 และ 16.8 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.9 19.6 และ 18.4 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 115,384 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ และภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 29.4 28.3 และ 21.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 22.5 และ 6.1 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 43,308 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.7) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 4,090 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 และต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรและการปรับลดอัตราอากร ขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 58,726 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,627 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.8 ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 46,518 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ 25,075 ล้านบาท) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 26,954 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 137.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 106.5)
- กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,387 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,010 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 46.9)
- รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 10,821 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,683 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.4 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 11,857 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.3 เนื่องจากปีที่แล้ว บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ จำนวน 10,998 ล้านบาท ขณะที่ ปีนี้ยังไม่ได้นำส่งรายได้
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สำคัญๆ ได้แก่
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 3,560 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,026 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,000 ล้านบาท
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 905 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงกว่าประมาณการไว้อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ภาวะเศรษฐกิจได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ถึงร้อยละ 7.8 (ทั้งปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 6.7) และคาดว่าปี 2547 จะขยายตัวร้อยละ 8.1 จึงส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการร้อยละ 26.8 และ 21.3 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 25.9 และหากภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 จะจัดเก็บได้เกินเป้าหมายในอัตราที่สูง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 21/2547 22 มีนาคม 2547--
-นห-
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ได้จำนวน 86,444 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,892 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (เทียบกับปีที่แล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 78,290 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1)
ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการและสูงกว่าปีที่แล้วในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.1 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และ 24.9 ตามลำดับ แต่การจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากรต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 13.4 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.0) และหน่วยงานอื่นนำส่งคลังต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ร้อยละ 50.2 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 63.1)
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้หน่วยงานอื่นจัดเก็บได้ลดลงสรุปได้ ดังนี้
- มีการนำส่งรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมก่อนกำหนดในเดือนมกราคม 2547 จำนวน 3,711 ล้านบาท (ตามประมาณการคาดว่าจะนำส่งเหมือนปีที่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์)
- กรมธนารักษ์จัดเก็บได้ 232 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 681 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.6 และต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 48.6
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้นำส่งรายได้จากการจัดสรรกำไรสุทธิ ปี 2546 ก่อนกำหนดจำนวน 2,000 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2546 และเดือนมกราคม 2547 จากที่ประมาณการไว้ว่าจะนำส่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2547
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 463,641 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 92,190 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 68,318 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 419,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 86,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 60,218 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.8
การจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้นนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่งดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 18.4
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 246,223 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 49,768 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ โดยมีภาษีที่สำคัญได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 33.9 23.3 และ 16.8 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.9 19.6 และ 18.4 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 115,384 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ และภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 29.4 28.3 และ 21.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 22.5 และ 6.1 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 43,308 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.7) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 4,090 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 และต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรและการปรับลดอัตราอากร ขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 58,726 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,627 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.8 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.8 ประกอบด้วย
- ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 46,518 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ 25,075 ล้านบาท) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 26,954 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 137.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 106.5)
- กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,387 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,010 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 46.9)
- รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 10,821 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,683 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.4 แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 11,857 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.3 เนื่องจากปีที่แล้ว บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ จำนวน 10,998 ล้านบาท ขณะที่ ปีนี้ยังไม่ได้นำส่งรายได้
รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สำคัญๆ ได้แก่
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 3,560 ล้านบาท
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,026 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,000 ล้านบาท
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 905 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงกว่าประมาณการไว้อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ภาวะเศรษฐกิจได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ถึงร้อยละ 7.8 (ทั้งปี 2546 ขยายตัวร้อยละ 6.7) และคาดว่าปี 2547 จะขยายตัวร้อยละ 8.1 จึงส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการร้อยละ 26.8 และ 21.3 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ที่สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 25.9 และหากภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2547 จะจัดเก็บได้เกินเป้าหมายในอัตราที่สูง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 21/2547 22 มีนาคม 2547--
-นห-