บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗
เรื่อง ให้คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ ๓๔ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นายพรเสก
กาญจนจารี ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้กล่าวนำ คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช
ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องด่วนลำดับที่ ๒๐ คือ ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก
๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี)
และผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสตรี ตาม
มาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ต้องประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน
กรรมาธิการทั้งหมด โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายเสริมศักดิ์ การุญ ๒. นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว
๓. นายธวัชชัย ธรรมรักษ์ ๔. นายปกรณ์ นิลประพันธ์
๕. นายสมคิด ใจยิ้ม ๖. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๗. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๙. นางผณินทรา ภัคเกษม ๑๐. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๑. นายบุญเติม จันทะวัฒน์ ๑๒. นายขจิตร ชัยนิคม
๑๓. นายสุรชัย ชินชัย ๑๔. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ
๑๕. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง ๑๖. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
๑๗. นางศรัณยา ไชยสุต ๑๘. รองศาสตราจารย์นิศา ชูโต
๑๙. นางสุธีรา วิจิตรานนท์ ๒๐. รองศาสตราจารย์จุรี วิจิตรวาทการ
๒๑. นางเรืองรวี เกตุผล ๒๒. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
๒๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร สุคันธวณิช ๒๔. ศาสตราจารย์เพ็ญศรี พิชัยสนิธ
๒๕. นางสาวอุษา เลิศศรีสันทัด ๒๖. นางผุสดี ตามไท
๒๗. คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ๒๘. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๒๙. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๓๐. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์
๓๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๓๒. นางสาวอรดี สุทธศรี
๓๓. นางทิชา ณ นคร ๓๔. นางยุวดี นิ่มสมบุญ
๓๕. นางกอบกุล นพอมรบดี
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๓ ฉบับ)
*************************
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และ
กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗
เรื่อง ให้คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ ๓๔ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน นายพรเสก
กาญจนจารี ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้กล่าวนำ คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช
ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๐ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องด่วนลำดับที่ ๒๐ คือ ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก
๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๓)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี)
และผู้เสนอ ได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสตรี ตาม
มาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ต้องประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวน
กรรมาธิการทั้งหมด โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายเสริมศักดิ์ การุญ ๒. นายนิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว
๓. นายธวัชชัย ธรรมรักษ์ ๔. นายปกรณ์ นิลประพันธ์
๕. นายสมคิด ใจยิ้ม ๖. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
๗. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๙. นางผณินทรา ภัคเกษม ๑๐. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๑. นายบุญเติม จันทะวัฒน์ ๑๒. นายขจิตร ชัยนิคม
๑๓. นายสุรชัย ชินชัย ๑๔. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ
๑๕. นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง ๑๖. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
๑๗. นางศรัณยา ไชยสุต ๑๘. รองศาสตราจารย์นิศา ชูโต
๑๙. นางสุธีรา วิจิตรานนท์ ๒๐. รองศาสตราจารย์จุรี วิจิตรวาทการ
๒๑. นางเรืองรวี เกตุผล ๒๒. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
๒๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมพร สุคันธวณิช ๒๔. ศาสตราจารย์เพ็ญศรี พิชัยสนิธ
๒๕. นางสาวอุษา เลิศศรีสันทัด ๒๖. นางผุสดี ตามไท
๒๗. คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ๒๘. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ
๒๙. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๓๐. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์
๓๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๓๒. นางสาวอรดี สุทธศรี
๓๓. นางทิชา ณ นคร ๓๔. นางยุวดี นิ่มสมบุญ
๓๕. นางกอบกุล นพอมรบดี
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๓ ฉบับ)
*************************