= คณะผู้เข้าประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สเยี่ยมชมรัฐสภา
วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะผู้เข้าประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี ๒๕๔๗ จำนวน ๔๔ คน ซึ่งนำคณะมาโดยคุณสุรางค์ เปรมปรีด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= การจัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร ปี ๒๕๔๗
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร ซึ่งในปีนี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวในภูมิภาคต่าง ๆ ไปแล้วทั้งสิ้น ๓ แห่ง ได้แก่ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคเหนือ (เชียงใหม่) และล่าสุดภาคใต้ได้มีการจัดกิจกรรมที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา สำหรับในการจัดกิจกรรมการได้มีการสัมมนา กลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดรวบรวมปัญหาของแต่ละภูมิภาค โดยแบ่งประเด็นปัญหาที่สำคัญประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้มีการนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งในแต่ละภูมิภาคได้มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และการจัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจรครั้งต่อไปนั้นจะจัดขึ้น ที่ภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง
= เวียดนามศึกษาดูงานรัฐสภาไทย
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การรับรองนายเหงียน วัน เอี่ยว รองประธานสภาแห่งชาติ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาดูงานด้านนิติบัญญัติ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
รองประธานฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีที่รัฐสภาไทยมีโอกาสได้รับรองประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และคณะ พร้อมทั้งได้สนทนาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่มีความใกล้ชิดกันโดยตลอด ทั้งในระดับบริหารและระดับนิติบัญญัติ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างคณะรัฐสภาไทยและเวียดนามมาโดยตลอด และการมาครั้งนี้ทราบว่ามีเป้าหมายเพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย การตรากฎหมายของรัฐสภาไทย และการปฏิบัติงานของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หวังว่าคงได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นใหม่หลายองค์กรที่น่าไปศึกษาดูงาน อาทิ ศาลปกครอง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
จากนั้น รองประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม ได้กล่าวขอบคุณ รองประธานฯ ที่ให้โอกาสเข้าเยี่ยมคารวะพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ต้อนรับระหว่างการพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่มาบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การร่างกฎหมาย และการบริหารงานบุคคลของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสาระความรู้ที่ได้รับนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างมากในการที่จะนำไปพัฒนาการร่างกฎหมายของเวียดนาม โดยโอกาสหน้าจะเดินทางมาศึกษาดูงานด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก จากนั้นได้ ขอเชิญรัฐสภาไทยเข้าร่วมประชุมรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (Asia Europe Parliamentary Partnership - ASEP) ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และขอเรียนเชิญรองประธานฯ ไปเยือนประเทศเวียดนามในโอกาสต่อไปด้วย
= เตรียมการประชุม IPAIT
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธิ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IPAIT) เป็นประธานในการประชุมเพื่อจัดเตรียมการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๒ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ
และในวันเดียวกันนี้ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๒ (IPAIT) เพื่อวางแผนด้านการประชาสัมพันธ์ของการประชุมดังกล่าว
= กรรมาธิการการกีฬาร่วมแสดงความยินดี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายภิญโญ นิโรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ พลตรีจารึก อารีราชการัณย์ เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ การกีฬา ในโอกาสได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านกีฬาของโลก "รางวัล MERIT AWARD" ของคณะกรรมการโอลิมปิคระหว่างประเทศ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๓๒๐๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= กรรมาธิการการพาณิชย์เยี่ยมชมรถไฟใต้ดิน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา นายเรวัต สิรินุกูล ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิม-รัชมงคล โดยมีผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุม ๒ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
= เปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตยประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๙.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจะจัดฝึกอบรม ตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ โดยมีเยาวชนจากทั่วประเทศมาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๑๖๐ คน
โครงการฝึกอบรม "ยุวชนประชาธิปไตย" จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมทั้งกระตุ้นให้ เยาวชนมีความสนใจศึกษาหาความรู้และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ข่าวสาร ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครองของประเทศ และสร้างจิตสำนึกให้มีคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจะได้นำมาขยายผลและสร้างเครือข่ายในการทำกิจกรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
= กฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์สำคัญอย่างไรกับคนทุกวัยทุกเพศ
ปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในปัจจุบันนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ปลอดภัย การล่วงละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การทอดทิ้งหรือทำร้าย ทารก และปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นอกจากจะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขแล้ว ยังเป็นเรื่องทางสังคมวัฒนธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังเกี่ยวพันกับการให้ความคุ้มครองสิทธิอนามัย การเจริญพันธุ์ของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการเชิงกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา จึงได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "กฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์ สำคัญอย่างไรกับคนทุกวัยทุกเพศ" ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ เพื่อระดม ข้อคิดเห็นในการบัญญัติกฎหมายและเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิอนามัย การเจริญพันธุ์ด้วย
= สัมมนา "ร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ"
ผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากทรัพย์สินทางปัญญาที่แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันนั้น จะเกิด คุณค่าอนันต์หากนำไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์กร พัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่จะมีโทษมหันต์ หากนำไปใช้เพื่อเป็นบทเรียนหรือแบบอย่างในทางไม่สร้างสรรค์ ซึ่งในกรณีนี้การมองต่างมุมก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยผู้ใช้อำนาจรัฐที่พิจารณาแล้วเห็นว่า ภาพยนตร์ ภาพโฆษณา เทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ เข้าข่ายทำให้วัฒนธรรมของไทยได้รับความกระทบกระเทือนไม่มากก็น้อย ในขณะที่ผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นงานศิลปะมิใช่ลามกอนาจาร ซึ่งข้อโต้แย้งนี้เองได้ก่อให้เกิดเหตุจูงใจให้บรรดา ผู้ประกอบการประสงค์จะกำกับดูแล ควบคุมกันเอง เช่นเดียวกับทนายความที่มีสภาทนายความ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์จะมีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันสร้างกฎหมายขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับกิจการภาพยนตร์ เทป และวัสดุโทรทัศน์ ตลอดจนธุรกิจต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการสัมมนาเชิงประชาพิจารณ์ เรื่อง "ร่าง พระราชบัญญัติภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ" ในวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ เพื่อระดมความคิด จากผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาพยนตร์ เทป และวัสดุโทรทัศน์ เพื่อบรรจุเข้าไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. โดยมีนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ซึ่งจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล นายธนิตย์ จิตต์นุกูล พ.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ นางกรรณิกา ธรรมเกษร นายอภิชาติ หาลำเจียก และท่านอื่น ๆ อีกมากมายร่วมสัมมนาด้วย
= เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปิด "โครงการเต้นแอโรบิค" เพื่อสุขภาพ
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาทางกายและจิต เพื่อชีวิตที่ดีและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (การออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค) ในวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
การจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย เรียนรู้หลักการพัฒนากาย และวิธีการออก กำลังกายที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่งเสริมให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นเพื่อให้การออกกำลังกายเป็นผลดีต่อสุขภาพจึงควรศึกษาข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ออกกำลังกายดังนี้คือ
๑. ควรแต่งกายด้วยชุดออกกำลังกาย
๒. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่หักโหมจนเกินไป
๓. ไม่ดื่มน้ำมากจนเกินไปขณะออกกำลังกาย
ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างผู้รักการออกกำลังกายสามารถไปลงทะเบียนตามที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้และร่วมกิจกรรมได้ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ - วันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๗ ทุกวันจันทร์ วันอังคาร และวันศุกร์ของสัปดาห์ ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ เวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
= อบรมปฏิบัติธรรม "ถือเป็นวันปฏิบัติงาน"
นายพิทูร พุ่มหิรัญ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) มีหนังสือลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความประสงค์สมัครเข้าอบรม หลักสูตรการปฏิบัติธรรมถือเป็นวันปฏิบัติราชการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทางพระพุทธศาสนาผ่านการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติราชการ ส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติจะเกิดภูมิคุ้มกันการพัฒนาจิตใจ ก่อให้เกิดพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมด้วยความสมัครใจ จึงไม่ถือเป็นวันลา ครั้งละ ๓-๕ วันต่อปี โดยจะต้องนำหลักฐานรับรองที่แสดงผลการผ่านเข้าร่วมปฏิบัติธรรมจากวัดที่เข้าไปปฏิบัติธรรมกลับมาแสดงกับหน่วยงานต้นสังกัด
= ขอเชิญบริจาคเพื่อบูรณะซ่อมแซมศาลฯ
ขอเชิญข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมบริจาคเงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมศาลพ่อปู่สุธีระมงคล ศาลเสด็จพ่อประสิทธิโชค และศาลตายาย ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
โดยจะทำพิธีการยกศาลไปปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสวยงาม ในระหว่างวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗ - วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ และจะดำเนินการทำบุญบวงสรวงใหญ่ภายในเดือนเมษายน
จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ โดยบริจาคได้ที่กลุ่มงานบริหารทั่วไปของแต่ละสำนัก แล้วนำส่งสำนักการคลังและงบประมาณ ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
= ผู้ทรงคุณวุฒิ "ปปง."
วุฒิสภามีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ทั้ง ๙ คน ประกอบด้วย
๑. พล.ต.ต.กัมพล อรุณปลอด
๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
๓. นายนริศ ชัยสูตร
๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๕. พล.ต.ท.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์
๗. นายวัฒนา รัตนวิจิตร
๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส
๙. พล.อ.สมชัย สมประสงค์
โดยกระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการนั้น ผ่านคณะกรรมการสรรหาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๒ ประเภท คือ โดยตำแหน่ง ๑๖ ท่าน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๙ ท่าน รวม ๒๕ ท่าน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและปฏิบัติงานธุรการอื่น
๒. ดำเนินการรับรายงานการทำธุรกรรม และแจ้งการตอบรับรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. ดำเนินการเก็บรวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ รายงานและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม
๔. ดำเนินการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด การยึด และอายัดทรัพย์สิน และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน
๕. ดำเนินการจัดให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การให้การศึกษาและ ฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีการจัดโครงการดังกล่าวขึ้น
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรม รวมทั้งงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแต่งตั้ง
๗. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โดยปัจจุบัน พ.ต.อ.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
รับฟังระเบียบวาระการประชุม การประชุมคณะกรรมาธิการ และกำหนดการ ปฏิบัติราชการของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทางโทรศัพท์อัตโนมัติ กดหมายเลข ๐ ๒๒๔๔ ๑๙๐๐
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ปฎิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรค การเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช)
ต่อจากนั้น คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ได้ลุกขึ้นกล่าวคำปฏิญาณตน
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องด่วน
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อน ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยมีการนำร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันมาพิจารณารวมกัน ซึ่งเสนอโดย ๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ ๒. นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ
จากนั้น นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงต่อ ที่ประชุมว่า จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๒๑/๒๕๔๖ ว่าพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์ใช้เป็นชื่อรองอันจะทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุคคลอื่นมาขอตั้งชื่อสกุลที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนโดยระบบอิเล็กทรอนิคส์ และการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้อัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลชื่อบุคคลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญัติดังกล่าว และได้มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันได้ เช่น ฝ่ายชายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตกลงกับฝ่ายหญิงซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ขอเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของฝ่ายหญิงอาจทำให้กระทบถึงเรื่องลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์และสถานะภาพทางสังคมได้ รวมทั้งหากคู่สมรสตกลงกันไม่ได้เช่น ฝ่ายชายไม่ยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลร่วมด้วยอาจเป็นการทำให้ฝ่ายหญิงเสียสิทธิได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดระบบการสืบค้นการเปลี่ยนชื่อ สกุล ให้รวดเร็วและถูกต้อง เป็นการป้องกันการเปลี่ยนชื่อ สกุล เพื่อหลบหนีเนื่องจากกระทำความผิด หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๐๙ เสียง ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
๒. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖ และ
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๖(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗)
ที่ประชุมได้มีมติให้การรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง ๑๐ ครั้งดังกล่าว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับ เรื่อง การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มเติมในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ ซึ่งคณะกรรมาธิการตรวจ รายงานการประชุมพิจารณาเสร็จแล้ว
ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อเปิดเผยรายงานการประชุมลับ เรื่อง การพิจารณา สรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีการลงมติด้วยคะแนน ๑๗๓ เสียง
๒. รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเปิดกาสิโนในประเทศให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งนายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวจากประเทศต่าง ๆ ที่เปิดบ่อนกาสิโน ในปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงผลดีและผลเสียที่กระทบต่อประเทศไทยและประชาชนทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งทางด้านเศรษฐกิจนั้น สามารถสร้างรายได้เข้ารัฐจากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตการ ท่องเที่ยว การลดภาระของเจ้าหน้าที่ในการปราบปราม การพนันเถื่อน การสร้างงานให้ประชาชน การช่วยลดปัญหาอิทธิพลและลดปัญหานำเงินออกไปเล่นการพนันนอกประเทศได้ ส่วนผลกระทบทางด้านสังคมนั้นจะมีผลกระทบต่อครอบครัว จะก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินและความยากจน เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างคนในครอบครัว นำไปสู่ครอบครัวล่มสลาย ซึ่งการพนันเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม ขัดต่อหลักศาสนา เป็น หนทางแห่งความเสื่อม โดยทำให้เกิดการสร้างความขัดแย้งทางความคิดของประชาชน ระหว่างผู้เล่น การพนันกับผู้ไม่เล่นการพนัน ซึ่งเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิด ดังนั้นคณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นว่า ถ้ามีการเปิดบ่อนการพนันในประเทศไทยจะสามารถควบคุมได้โดยเปิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อจากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และมีการเสนอแนะโดยให้คำนึงถึงเรื่องศีลธรรมและ จริยธรรมเป็นหลัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้ง จัดทำประชาพิจารณ์ และให้มีการพิจารณาถึงผลเสียในด้านต่าง ๆ ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อจะได้หามาตรการในการป้องกันและแก้ไขต่อไป
หลังจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๑๖ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้ คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๓.๑๐ นาฬิกา
จากนั้น ได้มีการประชุมต่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายสนั่น สุธากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการสอบคัดเลือกผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การจัดให้มีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้การทดสอบคัดเลือกนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อให้ทัน ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปิดเทอม จึงเป็นความจำเป็นมากกว่าการเร่งรีบ สำหรับการสอบคัดเลือก ผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาในครั้งนี้ถือว่าไม่ขัดต่อกฎหมายและเป็นไปด้วยความโปร่งใส รวมทั้งการสอบคัดเลือกนั้นเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นซึ่งกระทรวงศึกษาธิการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกดังกล่าว
๒. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สาเหตุของการก่อการไม่สงบทางภาคใต้นั้น เกิดจากความแตกต่างทางความคิด และไม่อยากให้รีบด่วนสรุปกรณีการหายตัวไปของนายสมชายไปรวมกับเหตุการณ์อื่น โดยเฉพาะนำไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่ก่อการ ไม่สงบ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเต็มที่แล้ว นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้กล่าวยืนยันว่า เหตุการณ์การหายตัวไปของนายสมชายไม่ได้เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และขณะนี้ได้รับข้อมูลว่านายสมชายยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตามจะได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจ และขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอดทน ให้การสืบสวนสอบสวนเสร็จสิ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
๓. กระทู้ถามสด ของนายมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งปริมาณน้ำฝนในปีนี้ถือว่ามีน้อยกว่าปีที่แล้วมาก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการหามาตรการเพื่อเตรียมการลดปัญหาภัยแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้แจ้งให้ประชาชนได้ทราบและแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย รวมทั้งมีการจัดรถน้ำไปให้บริการในพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านภัยแล้ง นอกจากนี้ยังได้จัดงบฉุกเฉินในการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลและจัดบริการน้ำประปาหมู่บ้านอีกด้วย อีกทั้งยังมีมาตรการป้องกันไฟป่าเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความแห้งแล้งได้ ตลอดจนยังมีการให้บริการฝนหลวง หากมีการร้องขอเข้ามา อย่างไรก็ตามได้มีการรวบรวมผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในแต่ละจังหวัด ซึ่งหากพบว่ายังมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นก็จะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป
สำหรับการแก้ไขอย่างยั่งยืนนั้นได้มีการจัดทำโครงการเครือข่ายน้ำผ่านระบบชลประทาน ซึ่งจะดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเป็นหลัก
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การส่งเสริมหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การขยายฐานภาษี ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ทางรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องติดภารกิจจึงได้ขอเลื่อนไปถามตอบในสัปดาห์หน้า
หลังจากนั้นประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่อง นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ในการเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมา
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------------------------
วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับคณะผู้เข้าประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี ๒๕๔๗ จำนวน ๔๔ คน ซึ่งนำคณะมาโดยคุณสุรางค์ เปรมปรีด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ณ ห้องรับรองหมายเลข ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= การจัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร ปี ๒๕๔๗
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจร ซึ่งในปีนี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าวในภูมิภาคต่าง ๆ ไปแล้วทั้งสิ้น ๓ แห่ง ได้แก่ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคเหนือ (เชียงใหม่) และล่าสุดภาคใต้ได้มีการจัดกิจกรรมที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา สำหรับในการจัดกิจกรรมการได้มีการสัมมนา กลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดรวบรวมปัญหาของแต่ละภูมิภาค โดยแบ่งประเด็นปัญหาที่สำคัญประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้มีการนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งในแต่ละภูมิภาคได้มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และการจัดกิจกรรมรัฐสภาสัญจรครั้งต่อไปนั้นจะจัดขึ้น ที่ภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง
= เวียดนามศึกษาดูงานรัฐสภาไทย
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การรับรองนายเหงียน วัน เอี่ยว รองประธานสภาแห่งชาติ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาดูงานด้านนิติบัญญัติ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
รองประธานฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีที่รัฐสภาไทยมีโอกาสได้รับรองประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และคณะ พร้อมทั้งได้สนทนาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่มีความใกล้ชิดกันโดยตลอด ทั้งในระดับบริหารและระดับนิติบัญญัติ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างคณะรัฐสภาไทยและเวียดนามมาโดยตลอด และการมาครั้งนี้ทราบว่ามีเป้าหมายเพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย การตรากฎหมายของรัฐสภาไทย และการปฏิบัติงานของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หวังว่าคงได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นใหม่หลายองค์กรที่น่าไปศึกษาดูงาน อาทิ ศาลปกครอง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
จากนั้น รองประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม ได้กล่าวขอบคุณ รองประธานฯ ที่ให้โอกาสเข้าเยี่ยมคารวะพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ต้อนรับระหว่างการพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่มาบรรยายเกี่ยวกับกระบวนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การร่างกฎหมาย และการบริหารงานบุคคลของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสาระความรู้ที่ได้รับนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเกิดประโยชน์อย่างมากในการที่จะนำไปพัฒนาการร่างกฎหมายของเวียดนาม โดยโอกาสหน้าจะเดินทางมาศึกษาดูงานด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก จากนั้นได้ ขอเชิญรัฐสภาไทยเข้าร่วมประชุมรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (Asia Europe Parliamentary Partnership - ASEP) ซึ่งเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และขอเรียนเชิญรองประธานฯ ไปเยือนประเทศเวียดนามในโอกาสต่อไปด้วย
= เตรียมการประชุม IPAIT
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธิ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IPAIT) เป็นประธานในการประชุมเพื่อจัดเตรียมการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๒ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ
และในวันเดียวกันนี้ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๒ (IPAIT) เพื่อวางแผนด้านการประชาสัมพันธ์ของการประชุมดังกล่าว
= กรรมาธิการการกีฬาร่วมแสดงความยินดี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายภิญโญ นิโรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ พลตรีจารึก อารีราชการัณย์ เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ การกีฬา ในโอกาสได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านกีฬาของโลก "รางวัล MERIT AWARD" ของคณะกรรมการโอลิมปิคระหว่างประเทศ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๓๒๐๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= กรรมาธิการการพาณิชย์เยี่ยมชมรถไฟใต้ดิน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา นายเรวัต สิรินุกูล ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิม-รัชมงคล โดยมีผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุม ๒ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
= เปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตยประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๙.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจะจัดฝึกอบรม ตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ โดยมีเยาวชนจากทั่วประเทศมาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๑๖๐ คน
โครงการฝึกอบรม "ยุวชนประชาธิปไตย" จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมทั้งกระตุ้นให้ เยาวชนมีความสนใจศึกษาหาความรู้และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ข่าวสาร ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครองของประเทศ และสร้างจิตสำนึกให้มีคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งจะได้นำมาขยายผลและสร้างเครือข่ายในการทำกิจกรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป
= กฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์สำคัญอย่างไรกับคนทุกวัยทุกเพศ
ปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ในปัจจุบันนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ปลอดภัย การล่วงละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การทอดทิ้งหรือทำร้าย ทารก และปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นอกจากจะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขแล้ว ยังเป็นเรื่องทางสังคมวัฒนธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังเกี่ยวพันกับการให้ความคุ้มครองสิทธิอนามัย การเจริญพันธุ์ของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการเชิงกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา จึงได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "กฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์ สำคัญอย่างไรกับคนทุกวัยทุกเพศ" ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ เพื่อระดม ข้อคิดเห็นในการบัญญัติกฎหมายและเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิอนามัย การเจริญพันธุ์ด้วย
= สัมมนา "ร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ"
ผลิตภัณฑ์อันเนื่องมาจากทรัพย์สินทางปัญญาที่แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุบันนั้น จะเกิด คุณค่าอนันต์หากนำไปใช้เพื่อการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์กร พัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่จะมีโทษมหันต์ หากนำไปใช้เพื่อเป็นบทเรียนหรือแบบอย่างในทางไม่สร้างสรรค์ ซึ่งในกรณีนี้การมองต่างมุมก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยผู้ใช้อำนาจรัฐที่พิจารณาแล้วเห็นว่า ภาพยนตร์ ภาพโฆษณา เทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ เข้าข่ายทำให้วัฒนธรรมของไทยได้รับความกระทบกระเทือนไม่มากก็น้อย ในขณะที่ผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นงานศิลปะมิใช่ลามกอนาจาร ซึ่งข้อโต้แย้งนี้เองได้ก่อให้เกิดเหตุจูงใจให้บรรดา ผู้ประกอบการประสงค์จะกำกับดูแล ควบคุมกันเอง เช่นเดียวกับทนายความที่มีสภาทนายความ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์จะมีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันสร้างกฎหมายขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับกิจการภาพยนตร์ เทป และวัสดุโทรทัศน์ ตลอดจนธุรกิจต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการสัมมนาเชิงประชาพิจารณ์ เรื่อง "ร่าง พระราชบัญญัติภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ" ในวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ เพื่อระดมความคิด จากผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาพยนตร์ เทป และวัสดุโทรทัศน์ เพื่อบรรจุเข้าไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. โดยมีนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา ซึ่งจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล นายธนิตย์ จิตต์นุกูล พ.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ นางกรรณิกา ธรรมเกษร นายอภิชาติ หาลำเจียก และท่านอื่น ๆ อีกมากมายร่วมสัมมนาด้วย
= เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปิด "โครงการเต้นแอโรบิค" เพื่อสุขภาพ
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาทางกายและจิต เพื่อชีวิตที่ดีและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (การออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค) ในวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
การจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิคของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย เรียนรู้หลักการพัฒนากาย และวิธีการออก กำลังกายที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่งเสริมให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นเพื่อให้การออกกำลังกายเป็นผลดีต่อสุขภาพจึงควรศึกษาข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ออกกำลังกายดังนี้คือ
๑. ควรแต่งกายด้วยชุดออกกำลังกาย
๒. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่หักโหมจนเกินไป
๓. ไม่ดื่มน้ำมากจนเกินไปขณะออกกำลังกาย
ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างผู้รักการออกกำลังกายสามารถไปลงทะเบียนตามที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้และร่วมกิจกรรมได้ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ - วันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๗ ทุกวันจันทร์ วันอังคาร และวันศุกร์ของสัปดาห์ ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ เวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
= อบรมปฏิบัติธรรม "ถือเป็นวันปฏิบัติงาน"
นายพิทูร พุ่มหิรัญ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) มีหนังสือลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความประสงค์สมัครเข้าอบรม หลักสูตรการปฏิบัติธรรมถือเป็นวันปฏิบัติราชการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการทางพระพุทธศาสนาผ่านการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติราชการ ส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติจะเกิดภูมิคุ้มกันการพัฒนาจิตใจ ก่อให้เกิดพฤติกรรมในเชิงสร้างสรรค์ความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมด้วยความสมัครใจ จึงไม่ถือเป็นวันลา ครั้งละ ๓-๕ วันต่อปี โดยจะต้องนำหลักฐานรับรองที่แสดงผลการผ่านเข้าร่วมปฏิบัติธรรมจากวัดที่เข้าไปปฏิบัติธรรมกลับมาแสดงกับหน่วยงานต้นสังกัด
= ขอเชิญบริจาคเพื่อบูรณะซ่อมแซมศาลฯ
ขอเชิญข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมบริจาคเงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมศาลพ่อปู่สุธีระมงคล ศาลเสด็จพ่อประสิทธิโชค และศาลตายาย ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์
โดยจะทำพิธีการยกศาลไปปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสวยงาม ในระหว่างวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗ - วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ และจะดำเนินการทำบุญบวงสรวงใหญ่ภายในเดือนเมษายน
จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ โดยบริจาคได้ที่กลุ่มงานบริหารทั่วไปของแต่ละสำนัก แล้วนำส่งสำนักการคลังและงบประมาณ ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
= ผู้ทรงคุณวุฒิ "ปปง."
วุฒิสภามีมติด้วยเสียงข้างมากเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ทั้ง ๙ คน ประกอบด้วย
๑. พล.ต.ต.กัมพล อรุณปลอด
๒. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
๓. นายนริศ ชัยสูตร
๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๕. พล.ต.ท.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
๖. นายมนตรี โสคติยานุรักษ์
๗. นายวัฒนา รัตนวิจิตร
๘. นายวีระพงษ์ บุญโญภาส
๙. พล.อ.สมชัย สมประสงค์
โดยกระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการนั้น ผ่านคณะกรรมการสรรหาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๒ ประเภท คือ โดยตำแหน่ง ๑๖ ท่าน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๙ ท่าน รวม ๒๕ ท่าน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและปฏิบัติงานธุรการอื่น
๒. ดำเนินการรับรายงานการทำธุรกรรม และแจ้งการตอบรับรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. ดำเนินการเก็บรวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ รายงานและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม
๔. ดำเนินการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด การยึด และอายัดทรัพย์สิน และบริหารจัดการทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน
๕. ดำเนินการจัดให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การให้การศึกษาและ ฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีการจัดโครงการดังกล่าวขึ้น
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรม รวมทั้งงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแต่งตั้ง
๗. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โดยปัจจุบัน พ.ต.อ.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
รับฟังระเบียบวาระการประชุม การประชุมคณะกรรมาธิการ และกำหนดการ ปฏิบัติราชการของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทางโทรศัพท์อัตโนมัติ กดหมายเลข ๐ ๒๒๔๔ ๑๙๐๐
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ปฎิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรค การเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช)
ต่อจากนั้น คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ได้ลุกขึ้นกล่าวคำปฏิญาณตน
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องด่วน
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อน ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยมีการนำร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันมาพิจารณารวมกัน ซึ่งเสนอโดย ๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ ๒. นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ
จากนั้น นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงต่อ ที่ประชุมว่า จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๒๑/๒๕๔๖ ว่าพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์ใช้เป็นชื่อรองอันจะทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุคคลอื่นมาขอตั้งชื่อสกุลที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนโดยระบบอิเล็กทรอนิคส์ และการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้อัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลชื่อบุคคลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญัติดังกล่าว และได้มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันได้ เช่น ฝ่ายชายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตกลงกับฝ่ายหญิงซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ขอเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของฝ่ายหญิงอาจทำให้กระทบถึงเรื่องลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์และสถานะภาพทางสังคมได้ รวมทั้งหากคู่สมรสตกลงกันไม่ได้เช่น ฝ่ายชายไม่ยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลร่วมด้วยอาจเป็นการทำให้ฝ่ายหญิงเสียสิทธิได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดระบบการสืบค้นการเปลี่ยนชื่อ สกุล ให้รวดเร็วและถูกต้อง เป็นการป้องกันการเปลี่ยนชื่อ สกุล เพื่อหลบหนีเนื่องจากกระทำความผิด หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๐๙ เสียง ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรง อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (อยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)
๒. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖ และ
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๖(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗)
ที่ประชุมได้มีมติให้การรับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง ๑๐ ครั้งดังกล่าว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ดังนี้
๑. รายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับ เรื่อง การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มเติมในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ ซึ่งคณะกรรมาธิการตรวจ รายงานการประชุมพิจารณาเสร็จแล้ว
ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อเปิดเผยรายงานการประชุมลับ เรื่อง การพิจารณา สรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติมฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีการลงมติด้วยคะแนน ๑๗๓ เสียง
๒. รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเปิดกาสิโนในประเทศให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งนายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวจากประเทศต่าง ๆ ที่เปิดบ่อนกาสิโน ในปัจจุบัน ทำให้ทราบถึงผลดีและผลเสียที่กระทบต่อประเทศไทยและประชาชนทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งทางด้านเศรษฐกิจนั้น สามารถสร้างรายได้เข้ารัฐจากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตการ ท่องเที่ยว การลดภาระของเจ้าหน้าที่ในการปราบปราม การพนันเถื่อน การสร้างงานให้ประชาชน การช่วยลดปัญหาอิทธิพลและลดปัญหานำเงินออกไปเล่นการพนันนอกประเทศได้ ส่วนผลกระทบทางด้านสังคมนั้นจะมีผลกระทบต่อครอบครัว จะก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินและความยากจน เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างคนในครอบครัว นำไปสู่ครอบครัวล่มสลาย ซึ่งการพนันเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม ขัดต่อหลักศาสนา เป็น หนทางแห่งความเสื่อม โดยทำให้เกิดการสร้างความขัดแย้งทางความคิดของประชาชน ระหว่างผู้เล่น การพนันกับผู้ไม่เล่นการพนัน ซึ่งเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิด ดังนั้นคณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นว่า ถ้ามีการเปิดบ่อนการพนันในประเทศไทยจะสามารถควบคุมได้โดยเปิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อจากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และมีการเสนอแนะโดยให้คำนึงถึงเรื่องศีลธรรมและ จริยธรรมเป็นหลัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้ง จัดทำประชาพิจารณ์ และให้มีการพิจารณาถึงผลเสียในด้านต่าง ๆ ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อจะได้หามาตรการในการป้องกันและแก้ไขต่อไป
หลังจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน ๒๑๖ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้ คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๓.๑๐ นาฬิกา
จากนั้น ได้มีการประชุมต่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายสนั่น สุธากุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการสอบคัดเลือกผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ถามรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า การจัดให้มีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้การทดสอบคัดเลือกนั้น เป็นการดำเนินการเพื่อให้ทัน ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปิดเทอม จึงเป็นความจำเป็นมากกว่าการเร่งรีบ สำหรับการสอบคัดเลือก ผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาในครั้งนี้ถือว่าไม่ขัดต่อกฎหมายและเป็นไปด้วยความโปร่งใส รวมทั้งการสอบคัดเลือกนั้นเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นซึ่งกระทรวงศึกษาธิการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกดังกล่าว
๒. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง กรณีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า สาเหตุของการก่อการไม่สงบทางภาคใต้นั้น เกิดจากความแตกต่างทางความคิด และไม่อยากให้รีบด่วนสรุปกรณีการหายตัวไปของนายสมชายไปรวมกับเหตุการณ์อื่น โดยเฉพาะนำไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่ก่อการ ไม่สงบ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบอย่างเต็มที่แล้ว นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้กล่าวยืนยันว่า เหตุการณ์การหายตัวไปของนายสมชายไม่ได้เกี่ยวข้องกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และขณะนี้ได้รับข้อมูลว่านายสมชายยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตามจะได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจ และขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอดทน ให้การสืบสวนสอบสวนเสร็จสิ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
๓. กระทู้ถามสด ของนายมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งปริมาณน้ำฝนในปีนี้ถือว่ามีน้อยกว่าปีที่แล้วมาก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการหามาตรการเพื่อเตรียมการลดปัญหาภัยแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้แจ้งให้ประชาชนได้ทราบและแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย รวมทั้งมีการจัดรถน้ำไปให้บริการในพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านภัยแล้ง นอกจากนี้ยังได้จัดงบฉุกเฉินในการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลและจัดบริการน้ำประปาหมู่บ้านอีกด้วย อีกทั้งยังมีมาตรการป้องกันไฟป่าเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความแห้งแล้งได้ ตลอดจนยังมีการให้บริการฝนหลวง หากมีการร้องขอเข้ามา อย่างไรก็ตามได้มีการรวบรวมผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในแต่ละจังหวัด ซึ่งหากพบว่ายังมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นก็จะได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อไป
สำหรับการแก้ไขอย่างยั่งยืนนั้นได้มีการจัดทำโครงการเครือข่ายน้ำผ่านระบบชลประทาน ซึ่งจะดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างการเกษตรเป็นหลัก
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การส่งเสริมหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๒. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การขยายฐานภาษี ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งในเรื่องของกระทู้ถามดังกล่าวนี้ ทางรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องติดภารกิจจึงได้ขอเลื่อนไปถามตอบในสัปดาห์หน้า
หลังจากนั้นประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่อง นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ในการเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมา
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------------------------