สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เลี้ยงปลาทองเพื่อความสุขและเพลิดเพลิน
ในบรรดาปลาที่เลี้ยงกันอยู่เวลานี้ “ ปลาทอง ” เป็นปลาที่ผู้คนยังคงนิยมเลี้ยงกันอยู่มาก แม้ว่าจะมีการนำเข้าปลาราคาแพงอยู่ตลอดเวลาก็ตาม ยิ่งรูปร่าง สีสันสวยงามมากเท่าใด ราคาก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
สายพันธุ์ปลาทองมีมากมายหลากหลายพันธุ์ แต่ที่พบเห็นเป็นที่นิยมเลี้ยงในบ้านเราเวลานี้เห็นจะเป็น “ปลาทองออรันดายักษ์“ ซึ่งมีขนาดตัวโตกว่าปลาทองทั่วไปหลายเท่าตัว ลักษณะลำตัวและครีบค่อนข้างยาว ส่วนหัวทู่ มีก้อนเนื้อ(วุ้น) ยกขึ้นสูง ตาสีดำหรือน้ำตาล สดใส เป็นเงางาม แนวสันหลังและสันท้องโค้งมน ท้องอูมเล็กน้อย เกล็ดเรียงจากต้นคอถึงหาง มีสีเข้มสดใส
พื้นฐานทั่วไปของปลาชนิดนี้ มีวงจรชีวิตอยู่ได้ 4-5 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแล ที่สำคัญอย่าเลี้ยงปลาตากแดด น้ำต้องสะอาด ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน อายุ 1-1ปีครึ่ง ก็วางไข่และฟักได้ดีในฤดูหนาว หากอยู่ในสภาวะอากาศที่เหมาะสม สามารถฟักเป็นตัวได้ภายใน 2-4 วัน ส่วนราคาที่มีการซื้อขายกันอยู่ในเวลานี้ มีตั้งแต่ 5 บาท ไปจนถึง 5 แสนบาท ขึ้นกับสีสันความงาม ซึ่งการเลี้ยงให้มีสีสวยนั้นก็ไม่ยาก เช้าให้อาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูนา ช่วงเย็นให้เป็นไรแดงหรือลูกน้ำเท่านี้ก็ ทำให้ปลามีสีสันสวยงาม แล้วจะเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสุขและเพลิดเพลินให้กับชีวิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-11 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 966.17 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 374.14 ตัน สัตว์น้ำจืด 592.03 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.05 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.11 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 1.55 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 17.94 ตัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.26 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.52 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.26 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.33 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 274.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 272.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 290.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 294.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.98 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.20 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15-19 มี.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 15-21 มีนาคม 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
เลี้ยงปลาทองเพื่อความสุขและเพลิดเพลิน
ในบรรดาปลาที่เลี้ยงกันอยู่เวลานี้ “ ปลาทอง ” เป็นปลาที่ผู้คนยังคงนิยมเลี้ยงกันอยู่มาก แม้ว่าจะมีการนำเข้าปลาราคาแพงอยู่ตลอดเวลาก็ตาม ยิ่งรูปร่าง สีสันสวยงามมากเท่าใด ราคาก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
สายพันธุ์ปลาทองมีมากมายหลากหลายพันธุ์ แต่ที่พบเห็นเป็นที่นิยมเลี้ยงในบ้านเราเวลานี้เห็นจะเป็น “ปลาทองออรันดายักษ์“ ซึ่งมีขนาดตัวโตกว่าปลาทองทั่วไปหลายเท่าตัว ลักษณะลำตัวและครีบค่อนข้างยาว ส่วนหัวทู่ มีก้อนเนื้อ(วุ้น) ยกขึ้นสูง ตาสีดำหรือน้ำตาล สดใส เป็นเงางาม แนวสันหลังและสันท้องโค้งมน ท้องอูมเล็กน้อย เกล็ดเรียงจากต้นคอถึงหาง มีสีเข้มสดใส
พื้นฐานทั่วไปของปลาชนิดนี้ มีวงจรชีวิตอยู่ได้ 4-5 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแล ที่สำคัญอย่าเลี้ยงปลาตากแดด น้ำต้องสะอาด ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน อายุ 1-1ปีครึ่ง ก็วางไข่และฟักได้ดีในฤดูหนาว หากอยู่ในสภาวะอากาศที่เหมาะสม สามารถฟักเป็นตัวได้ภายใน 2-4 วัน ส่วนราคาที่มีการซื้อขายกันอยู่ในเวลานี้ มีตั้งแต่ 5 บาท ไปจนถึง 5 แสนบาท ขึ้นกับสีสันความงาม ซึ่งการเลี้ยงให้มีสีสวยนั้นก็ไม่ยาก เช้าให้อาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูนา ช่วงเย็นให้เป็นไรแดงหรือลูกน้ำเท่านี้ก็ ทำให้ปลามีสีสันสวยงาม แล้วจะเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสุขและเพลิดเพลินให้กับชีวิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-11 ก.พ. 2547 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 966.17 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 374.14 ตัน สัตว์น้ำจืด 592.03 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.05 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 82.11 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 1.55 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 17.94 ตัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.26 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.52 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.26 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.33 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 274.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 272.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 290.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 294.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.98 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.20 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15-19 มี.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 15-21 มีนาคม 2547--จบ--
-สก-