ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังยังไม่เสนอ ครม.พิจารณา พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก และ พรบ.ธุรกิจสถาบันการ
เงิน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.ก.คลัง กล่าวว่า ก.คลังจะไม่เร่งนำเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้ ครม.
พิจารณาอนุมัติในสมัยของรัฐบาลนี้ เพราะเหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะปิดสภาผู้แทนราษฎร คงไม่สามารถพิจารณา
ได้ทันอย่างแน่นอน และในขณะนี้ต้องการให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างไปอย่างธรรมชาติ ดำเนินการควบ
รวมกิจการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นตามนโยบายของแผนแม่บทพัฒนาสถาบันการเงิน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ
หนึ่ง ดังนั้น การผลักดันให้มีกฎหมายใหม่ ๆ ทั้งเรื่องสถาบันประกันเงินฝากและธุรกิจสถาบันการเงินจึงไม่มี
ความจำเป็นในช่วงเวลานี้ ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. ได้กล่าวว่าจะหารือกับ ก.คลังเพื่อเร่งให้
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ออกมาบังคับใช้ เพื่อสนับสนุนให้การควบรวมกิจการทำได้คล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น
เนื่องจาก พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินทำให้มีความชัดเจนของการถือหุ้นระหว่างสถาบันการเงินมากขึ้น และ
พรบ.สถาบันประกันเงินฝากทำให้สถาบันการเงินขนาดเล็กมีความกระตือรือร้นที่จะควบรวมกับสถาบันการเงินอื่น
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสถาบันการเงินที่ใหญ่กว่า (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตรียมหารือ ธ.พาณิชย์ศึกษาหลักเกณฑ์แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
ว่า
จากการที่ ก.คลังต้องการให้ ธ.พาณิชย์ของรัฐเข้าไปช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนว่า
ธปท. จะขอดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องที่รับได้ในส่วนของ ธปท.
จะเรียก ธ.พาณิชย์ของรัฐเข้าหารือก่อน แต่ถ้าเป็นธนาคารเฉพาะกิจเป็นเรื่องของ ก.คลังที่จะเป็นผู้
มอบนโยบาย เพราะเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินนโยบายสนองรัฐอยู่แล้ว ปัจจุบันหนี้ภาค
ประชาชนมีอยู่ประมาณ 600,000 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ในระบบ 500,000 ล้านบาท และอีก 100,000 ล้าน
บาท เป็นหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ หนี้ที่จะซื้อหรือปรับโครงสร้างไม่ใช่หนี้เสีย แต่เป็นหนี้ที่มีการชำระปกติ แต่ต้อง
การดึงหนี้นอกระบบเข้ามาในระบบ โดยธนาคารรัฐที่รับผิดชอบจะแบ่งความรับผิดชอบ เช่น หนี้ของภาคเกษตร
ธกส.จะรับไปทั้งหมด แต่หากเป็นหนี้ภาคประชาชนอาจเป็น ธ.ออมสิน หรือ ธ.กรุงไทยที่ต้องรับไปดำเนินการ
โดยการยืดหนี้ (ผู้จัดการ, โพสทูเดย์)
3. สินเชื่อ ธ.พาณิชย์ไทยทั้งระบบเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้น 5.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน
ศูนย์
วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อเงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ วันที่ 29 ก.พ.47 ปราก
ฎว่ายอดคงค้างสินเชื่อมีจำนวน 3,924,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 23,595 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
0.6% และเพิ่มขึ้น 5.83% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สิน
เชื่อปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 15,087 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.59% โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้นสูงสุด 7,590
ล้านบาท จากสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ สินเชื่อเพื่อการนำเข้า และตั๋วเงินต่าง ๆ ส่วน ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.
กรุงไทย และธ.กสิกรไทย เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ส่วนกลุ่มธนาคารขนาด
กลาง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.นครหลวงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และธ.ทหารไทย สินเชื่อเพิ่มขึ้นรวม 7,002 ล้าน
บาท โดยเป็นการเพิ่มของสินเชื่อประเภทเงินกู้มีระยะเวลา สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และสินเชื่อเพื่อการค้า
และในกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน 1,506 ล้านบาท
สำหรับเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือน ก.พ.47 มียอดรวมทั้งสิ้น 5,177,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากเดือนก่อน 19,340 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่ม 0.37% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4.41% (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เหตุการณ์ไม่สงบในตะวันออกกลางอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น นายเทียนไชย จงพีร์เพียร
ที่
ปรึกษาด้านพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความวุ่นวาย
ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ หากบานปลายไปสู่กลุ่มประเทศอาหรับก็จะทำให้ราคาน้ำมันในตะวันออกกลาง
ปรับตัวสูงขึ้น แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบกับไทยมากนัก เพราะไทยขนส่งน้ำมันจากแหล่งดูไบ ซึ่งเป็น
แหล่งน้ำมันหลักและเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการผลิตน้ำมัน และการขนส่งไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ของอิสราเอล ซึ่งขณะนี้
ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 30 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มว่าในต้นเดือน เม.ย.47 เป็นต้นไป
ราคาจะเริ่มลดลง เพราะยุโรปและอเมริกากำลังจะพ้นจากฤดูหนาว ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกมากว้านซื้อน้ำมัน
ดิบเพื่อสำรองไว้ และการที่กลุ่มโอเปกประกาศเลื่อนการลดกำลังการผลิตน้ำมันตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ออกไป
เป็นวันที่ 1 มิ.ย. ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบยังคงมีจำนวน 24.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเหมือนเดิม (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กระตุ้นให้ทุกประเทศแก้ปัญหาหรือปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี
เช่น
ในขณะนี้ รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 23 มี.ค.47 Anne Krueger ประธาน IMF กล่าวว่าทั้งประเทศร่ำ
รวยและประเทศกำลังพัฒนาควรใช้ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังขยายตัวแก้ปัญหาหรือปฏิรูปโครงสร้าง
เศรษฐกิจซึ่งหากดำเนินการในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่า เช่น ปัญหาภาคธุรกิจและภาค
การธนาคารของญี่ปุ่น ปัญหาความต้องการภายในประเทศที่ยังอ่อนแอของประเทศในยุโรป และปัญหาการขาด
ดุลงบประมาณของ สรอ. ซึ่งปัญหาเหล่านี้ฝ่ายบริหารประเทศมักจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ทางการเมือง ซึ่งการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาหรือไม่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทำให้โอกาสที่จะดำเนิน
การสำเร็จน้อยลง (รอยเตอร์)2. จีนจำเป็นต้องเร่งการปฎิรูปเศรษฐกิจเพื่อการสร้างงาน รายงาน
จากฮ่องกง เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 47 ธ.เพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank | ADB)
กล่าวชมเชยจีนที่ให้ความสำคัญในการบรรเทาความยากจน แต่เห็นว่าต้องส่งเสริมภาคเอกชนเพื่อให้มีการ
สร้างงานมากขึ้น นาย Bruce Murray ผู้แทนธพ.จีนกล่าวว่า การที่จีนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มงานในปีนี้ถึง 13
ล้านตำแหน่งนั้นยังไม่เพียงพอนอกจากนั้นยังกล่าวสรรเสริญปธน. Hu Jintao ของจีนว่า มีความตระหนักถึง
การสร้างงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนยากจนก่อนโดยมิได้คำนึงถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจแต่
เพียงอย่างเดียว ส่วน ADB คาดว่าจีนจำเป็นต้องสร้างงานประมาณ 15-20 ล้านตำแหน่งเพื่อรองรับผู้ที่จะ
เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่จำนวน 8 ล้านคน และแรงงานส่วนเกินในภาคการเกษตรกรรมอีก จำนวน 150 |
200 ล้านคน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่น ที่ประชาชนจำนวนมากต้องออกจากภาคการเกษตร รวมถึงภาค
เอกชนในประเทศต้องเป็นจักรกลสำคัญในการสร้างงาน และการปฎิรูปเป็นความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ADB เห็นว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8.3 ในปีนี้ และร้อยละ 8.2 ในปีหน้า นอกจากนั้นนาย
Murray ยังเสริมว่าการปฎิรูปภาคเอกชนรวมทั้งปรับปรุงให้มีความโปร่งใส ลดการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่อง
สำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจในจีน ตามผลการสำรวจของ ADB (รอยเตอร์)3. PPI ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.5 ในเดือนก.พ. 47 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิด
เผยว่า ในเดือนก.พ. 47 ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index - PPI) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดราคา
สินค้าจากโรงงาน สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเท่ากับเดือนม.ค. เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ
สูงขึ้นขณะที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในบางภาคธุรกิจที่สำคัญ อาทิ ธุรกิจยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้จีนได้
พยายามยับยั้งการลงทุนในภาคดังกล่าว โดยวิตกว่าการขยายตัวที่มากจนเกินไปจะทำให้สต็อกวัตถุดิบหมดไป
และส่งผลให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กกล้า ในเดือนก.พ. มีราคาเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 22 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว (รอยเตอร์)4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.47
ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 23 มี.ค.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภค (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.47 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีราคาผู้
บริโภค เป็นผลจากราคาเครื่องนุ่งห่มและสินค้าเบ็ดเตล็ดลดลงร้อยละ 2.4 และ 0.2 ตามลำดับ ขณะที่ราคา
อาหารซึ่งมีสัดส่วนในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคถึงร้อยละ 28 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีสาเหตุหลัก
จากผักและเนื้อหมูที่มีราคาแพงขึ้น หลังจากที่สัตว์ปีกได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้ ต้นทุนการขน
ส่งและสื่อสารก็เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 0.5 เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงแพงขึ้น และต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลก็
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อใน
เดือน ก.พ.47 เมื่อเทียบต่อปี กลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.3 ในเดือน ม.ค.47 สูงกว่าเล็ก
น้อยจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 8 อันเป็นผลจากภาษีการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 จากร้อยละ 4 เมื่อช่วงต้นปี ประกอบกับการที่
ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว อนึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 47 ที่ระดับประมาณร้อยละ 1.2
สูงกว่าปี 46 ร้อยละ 0.5 นอกจากนี้ ทางการสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ
3.5-5.5 จากร้อยละ 1.1 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
24/3/2490 23/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.479 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.2724/39.5606 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1200 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
679.22/10.26 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
31.48 31.03 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังยังไม่เสนอ ครม.พิจารณา พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก และ พรบ.ธุรกิจสถาบันการ
เงิน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.ก.คลัง กล่าวว่า ก.คลังจะไม่เร่งนำเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้ ครม.
พิจารณาอนุมัติในสมัยของรัฐบาลนี้ เพราะเหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะปิดสภาผู้แทนราษฎร คงไม่สามารถพิจารณา
ได้ทันอย่างแน่นอน และในขณะนี้ต้องการให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างไปอย่างธรรมชาติ ดำเนินการควบ
รวมกิจการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นตามนโยบายของแผนแม่บทพัฒนาสถาบันการเงิน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ
หนึ่ง ดังนั้น การผลักดันให้มีกฎหมายใหม่ ๆ ทั้งเรื่องสถาบันประกันเงินฝากและธุรกิจสถาบันการเงินจึงไม่มี
ความจำเป็นในช่วงเวลานี้ ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. ได้กล่าวว่าจะหารือกับ ก.คลังเพื่อเร่งให้
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ออกมาบังคับใช้ เพื่อสนับสนุนให้การควบรวมกิจการทำได้คล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น
เนื่องจาก พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินทำให้มีความชัดเจนของการถือหุ้นระหว่างสถาบันการเงินมากขึ้น และ
พรบ.สถาบันประกันเงินฝากทำให้สถาบันการเงินขนาดเล็กมีความกระตือรือร้นที่จะควบรวมกับสถาบันการเงินอื่น
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสถาบันการเงินที่ใหญ่กว่า (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. เตรียมหารือ ธ.พาณิชย์ศึกษาหลักเกณฑ์แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
ว่า
จากการที่ ก.คลังต้องการให้ ธ.พาณิชย์ของรัฐเข้าไปช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนว่า
ธปท. จะขอดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องที่รับได้ในส่วนของ ธปท.
จะเรียก ธ.พาณิชย์ของรัฐเข้าหารือก่อน แต่ถ้าเป็นธนาคารเฉพาะกิจเป็นเรื่องของ ก.คลังที่จะเป็นผู้
มอบนโยบาย เพราะเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินนโยบายสนองรัฐอยู่แล้ว ปัจจุบันหนี้ภาค
ประชาชนมีอยู่ประมาณ 600,000 ล้านบาท แยกเป็นหนี้ในระบบ 500,000 ล้านบาท และอีก 100,000 ล้าน
บาท เป็นหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ หนี้ที่จะซื้อหรือปรับโครงสร้างไม่ใช่หนี้เสีย แต่เป็นหนี้ที่มีการชำระปกติ แต่ต้อง
การดึงหนี้นอกระบบเข้ามาในระบบ โดยธนาคารรัฐที่รับผิดชอบจะแบ่งความรับผิดชอบ เช่น หนี้ของภาคเกษตร
ธกส.จะรับไปทั้งหมด แต่หากเป็นหนี้ภาคประชาชนอาจเป็น ธ.ออมสิน หรือ ธ.กรุงไทยที่ต้องรับไปดำเนินการ
โดยการยืดหนี้ (ผู้จัดการ, โพสทูเดย์)
3. สินเชื่อ ธ.พาณิชย์ไทยทั้งระบบเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้น 5.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน
ศูนย์
วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อเงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ วันที่ 29 ก.พ.47 ปราก
ฎว่ายอดคงค้างสินเชื่อมีจำนวน 3,924,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 23,595 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
0.6% และเพิ่มขึ้น 5.83% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สิน
เชื่อปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 15,087 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.59% โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้นสูงสุด 7,590
ล้านบาท จากสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ สินเชื่อเพื่อการนำเข้า และตั๋วเงินต่าง ๆ ส่วน ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.
กรุงไทย และธ.กสิกรไทย เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ส่วนกลุ่มธนาคารขนาด
กลาง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.นครหลวงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และธ.ทหารไทย สินเชื่อเพิ่มขึ้นรวม 7,002 ล้าน
บาท โดยเป็นการเพิ่มของสินเชื่อประเภทเงินกู้มีระยะเวลา สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และสินเชื่อเพื่อการค้า
และในกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน 1,506 ล้านบาท
สำหรับเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือน ก.พ.47 มียอดรวมทั้งสิ้น 5,177,343 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากเดือนก่อน 19,340 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่ม 0.37% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4.41% (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เหตุการณ์ไม่สงบในตะวันออกกลางอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น นายเทียนไชย จงพีร์เพียร
ที่
ปรึกษาด้านพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความวุ่นวาย
ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ หากบานปลายไปสู่กลุ่มประเทศอาหรับก็จะทำให้ราคาน้ำมันในตะวันออกกลาง
ปรับตัวสูงขึ้น แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบกับไทยมากนัก เพราะไทยขนส่งน้ำมันจากแหล่งดูไบ ซึ่งเป็น
แหล่งน้ำมันหลักและเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการผลิตน้ำมัน และการขนส่งไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ของอิสราเอล ซึ่งขณะนี้
ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 30 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มว่าในต้นเดือน เม.ย.47 เป็นต้นไป
ราคาจะเริ่มลดลง เพราะยุโรปและอเมริกากำลังจะพ้นจากฤดูหนาว ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกมากว้านซื้อน้ำมัน
ดิบเพื่อสำรองไว้ และการที่กลุ่มโอเปกประกาศเลื่อนการลดกำลังการผลิตน้ำมันตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ออกไป
เป็นวันที่ 1 มิ.ย. ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบยังคงมีจำนวน 24.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเหมือนเดิม (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กระตุ้นให้ทุกประเทศแก้ปัญหาหรือปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี
เช่น
ในขณะนี้ รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 23 มี.ค.47 Anne Krueger ประธาน IMF กล่าวว่าทั้งประเทศร่ำ
รวยและประเทศกำลังพัฒนาควรใช้ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังขยายตัวแก้ปัญหาหรือปฏิรูปโครงสร้าง
เศรษฐกิจซึ่งหากดำเนินการในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำจะได้รับผลกระทบมากกว่า เช่น ปัญหาภาคธุรกิจและภาค
การธนาคารของญี่ปุ่น ปัญหาความต้องการภายในประเทศที่ยังอ่อนแอของประเทศในยุโรป และปัญหาการขาด
ดุลงบประมาณของ สรอ. ซึ่งปัญหาเหล่านี้ฝ่ายบริหารประเทศมักจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
ทางการเมือง ซึ่งการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาหรือไม่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทำให้โอกาสที่จะดำเนิน
การสำเร็จน้อยลง (รอยเตอร์)2. จีนจำเป็นต้องเร่งการปฎิรูปเศรษฐกิจเพื่อการสร้างงาน รายงาน
จากฮ่องกง เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 47 ธ.เพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank | ADB)
กล่าวชมเชยจีนที่ให้ความสำคัญในการบรรเทาความยากจน แต่เห็นว่าต้องส่งเสริมภาคเอกชนเพื่อให้มีการ
สร้างงานมากขึ้น นาย Bruce Murray ผู้แทนธพ.จีนกล่าวว่า การที่จีนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มงานในปีนี้ถึง 13
ล้านตำแหน่งนั้นยังไม่เพียงพอนอกจากนั้นยังกล่าวสรรเสริญปธน. Hu Jintao ของจีนว่า มีความตระหนักถึง
การสร้างงานเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนยากจนก่อนโดยมิได้คำนึงถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจแต่
เพียงอย่างเดียว ส่วน ADB คาดว่าจีนจำเป็นต้องสร้างงานประมาณ 15-20 ล้านตำแหน่งเพื่อรองรับผู้ที่จะ
เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่จำนวน 8 ล้านคน และแรงงานส่วนเกินในภาคการเกษตรกรรมอีก จำนวน 150 |
200 ล้านคน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่น ที่ประชาชนจำนวนมากต้องออกจากภาคการเกษตร รวมถึงภาค
เอกชนในประเทศต้องเป็นจักรกลสำคัญในการสร้างงาน และการปฎิรูปเป็นความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ADB เห็นว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 8.3 ในปีนี้ และร้อยละ 8.2 ในปีหน้า นอกจากนั้นนาย
Murray ยังเสริมว่าการปฎิรูปภาคเอกชนรวมทั้งปรับปรุงให้มีความโปร่งใส ลดการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่อง
สำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจในจีน ตามผลการสำรวจของ ADB (รอยเตอร์)3. PPI ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.5 ในเดือนก.พ. 47 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิด
เผยว่า ในเดือนก.พ. 47 ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index - PPI) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดราคา
สินค้าจากโรงงาน สูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเท่ากับเดือนม.ค. เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ
สูงขึ้นขณะที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในบางภาคธุรกิจที่สำคัญ อาทิ ธุรกิจยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้จีนได้
พยายามยับยั้งการลงทุนในภาคดังกล่าว โดยวิตกว่าการขยายตัวที่มากจนเกินไปจะทำให้สต็อกวัตถุดิบหมดไป
และส่งผลให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กกล้า ในเดือนก.พ. มีราคาเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 22 จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว (รอยเตอร์)4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.47
ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 23 มี.ค.47 สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภค (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.47 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีราคาผู้
บริโภค เป็นผลจากราคาเครื่องนุ่งห่มและสินค้าเบ็ดเตล็ดลดลงร้อยละ 2.4 และ 0.2 ตามลำดับ ขณะที่ราคา
อาหารซึ่งมีสัดส่วนในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคถึงร้อยละ 28 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีสาเหตุหลัก
จากผักและเนื้อหมูที่มีราคาแพงขึ้น หลังจากที่สัตว์ปีกได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้ ต้นทุนการขน
ส่งและสื่อสารก็เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 0.5 เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงแพงขึ้น และต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลก็
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อใน
เดือน ก.พ.47 เมื่อเทียบต่อปี กลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.3 ในเดือน ม.ค.47 สูงกว่าเล็ก
น้อยจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 8 อันเป็นผลจากภาษีการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 จากร้อยละ 4 เมื่อช่วงต้นปี ประกอบกับการที่
ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว อนึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 47 ที่ระดับประมาณร้อยละ 1.2
สูงกว่าปี 46 ร้อยละ 0.5 นอกจากนี้ ทางการสิงคโปร์ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ
3.5-5.5 จากร้อยละ 1.1 ในปี 46 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
24/3/2490 23/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.479 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.2724/39.5606 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1200 - 1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
679.22/10.26 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
31.48 31.03 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-