การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ปฎิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช)
ต่อจากนั้น คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ได้ลุกขึ้นกล่าวคำปฏิญาณตน
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องด่วน
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อน ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยมีการนำร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันมาพิจารณารวมกัน ซึ่งเสนอโดย ๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ ๒. นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ
จากนั้น นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงต่อ ที่ประชุมว่า จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๒๑/๒๕๔๖ ว่าพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์ใช้เป็นชื่อรองอันจะทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุคคลอื่นมาขอตั้งชื่อสกุลที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนโดยระบบอิเล็กทรอนิคส์ และการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้อัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ
และให้บริการข้อมูลชื่อบุคคลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้อง
กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญัติดังกล่าว และได้มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันได้ เช่น ฝ่ายชายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตกลงกับฝ่ายหญิงซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ขอเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของฝ่ายหญิงอาจทำให้กระทบถึงเรื่องลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์และสถานะภาพทางสังคมได้ รวมทั้งหากคู่สมรสตกลงกันไม่ได้เช่น ฝ่ายชายไม่ยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลร่วมด้วยอาจเป็นการทำให้ฝ่ายหญิงเสียสิทธิได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดระบบการสืบค้นการเปลี่ยนชื่อ สกุล ให้รวดเร็วและถูกต้อง เป็นการป้องกันการเปลี่ยนชื่อ สกุล เพื่อหลบหนีเนื่องจากกระทำความผิด หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๐๙ เสียง ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
-------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช)
ต่อจากนั้น คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช ได้ลุกขึ้นกล่าวคำปฏิญาณตน
๒. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๓. รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องด่วน
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อน ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน โดยมีการนำร่างพระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันมาพิจารณารวมกัน ซึ่งเสนอโดย ๑. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร กับคณะ ๒. นางผณินทรา ภัคเกษม กับคณะ
จากนั้น นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงต่อ ที่ประชุมว่า จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ ๒๑/๒๕๔๖ ว่าพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๒ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์ใช้เป็นชื่อรองอันจะทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบุคคลอื่นมาขอตั้งชื่อสกุลที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนโดยระบบอิเล็กทรอนิคส์ และการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้อัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ
และให้บริการข้อมูลชื่อบุคคลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้อง
กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญัติดังกล่าว และได้มีการตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกันได้ เช่น ฝ่ายชายซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตกลงกับฝ่ายหญิงซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ขอเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของฝ่ายหญิงอาจทำให้กระทบถึงเรื่องลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์และสถานะภาพทางสังคมได้ รวมทั้งหากคู่สมรสตกลงกันไม่ได้เช่น ฝ่ายชายไม่ยอมให้ฝ่ายหญิงใช้นามสกุลร่วมด้วยอาจเป็นการทำให้ฝ่ายหญิงเสียสิทธิได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดระบบการสืบค้นการเปลี่ยนชื่อ สกุล ให้รวดเร็วและถูกต้อง เป็นการป้องกันการเปลี่ยนชื่อ สกุล เพื่อหลบหนีเนื่องจากกระทำความผิด หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๐๙ เสียง ไม่เห็นชอบ ๑ เสียง งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
-------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร