ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังเตรียมควบรวมกิจการ 2 บริษัทเครดิตบูโร นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกันระหว่าง บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) บริษัท ข้อมูลเครดิต
ไทย จำกัด สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมมี
ความเห็นว่า บริษัทเครดิตบูโรทั้ง 2 แห่ง ควรมีการควบรวมกิจการกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่อง
จากมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน โดยข้อมูลของ CCIS จะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้ารายใหญ่ ส่วนข้อมูลของศูนย์
ข้อมูลเครดิตไทยจะเป็นข้อมูลของลูกค้ารายย่อยเป็นจำนวนมากนับล้านราย โดยการควบรวมกิจการครั้งนี้ ก.
คลังจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนไม่เกิน 49% และอาจเพิ่มทุนเข้าไปอีกแต่เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก รวมทั้งอาจ
ดึงบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นด้วยเพื่อไม่ให้
เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ส่วนรูปแบบคือจะรวมกันในลักษณะเป็นองค์กรแห่งใหม่ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไข
กฎหมาย เพราะสามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตที่ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานได้
และได้มอบหมายให้ สศค. ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบัน รวมถึงราคาหุ้นที่จะรับซื้อ
และภาระหนี้ของ CCIS ด้วย(ผู้จัดการ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังให้กรมสรรพากรทบทวนขยายเวลามาตรการลดภาษีบริษัทที่จะเข้าตลาดหุ้น นายสม
คิด
จาตุศรีพิทักษ์ รมว. ก.คลัง กล่าวว่า ได้สั่งให้กรมสรรพากรพิจารณาทบทวนการขยายเวลามาตรการลดภาษี
รายได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 25% ให้กับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังจะสิ้นสุดใน
วันที่ 5 ก.ย.47 ว่าจะสามารถดำเนินอย่างไรได้บ้าง รวมทั้งคิดหามาตรการทางภาษีสนับสนุนให้ประชาชนหัน
มาลงทุนในสถาบันกองทุนของคนไทยมากขึ้น เพื่อให้การพัฒนาตลาดทุนเป็นไปด้วยดี ปัจจุบันตลาดทุนของไทยมี
ขนาด 2 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นนักลงทุนต่างประเทศ 1.1 ล้านล้านบาท นักลงทุนสถาบันของไทย 4
แสนล้านบาท และรายย่อย 5 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. คาดว่าการไม่เสนอ ครม. พิจารณา พรบ.สถาบันประกันเงินฝากไม่กระทบแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท. สายนโยบายสถาบันการเงิน กล่าวถึงกรณีที่
มีข่าวว่า ก.คลังจะไม่นำ พรบ.สถาบันประกันเงินฝากเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาในสมัยการประชุมนี้
ว่า คาดว่าจะไม่กระทบต่อการดำเนินการของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan)
และจากการหารือกับ ก.คลัง ธปท.ต้องการให้มีกรอบเวลาในการประกาศใช้ที่ชัดเจน เพราะเป็น พรบ.ที่จะ
ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการบังคับใช้อย่างเป็นขั้นตอน จึงควรมีกรอบเวลาในการใช้ที่ชัดเจน ซึ่งหาก พรบ.
ดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว ธปท. จะทยอยออกมาตรการในการประกันเงินฝากทีละขั้นตอนและ
ค่อย ๆ ลดการประกันเงินฝากทั้งจำนวนของทุกสถาบันการเงินลง คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ปีหลัง
จากการตั้งสถาบันประกันเงินฝากจึงจะสามารถลดการประกันเงินฝากได้เต็มรูปแบบ และเมื่อมีสถาบันประกัน
เงินฝากแล้วจะไม่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกัน (ผู้จัดการ)
4. บล.ภัทรวิเคราะห์ ธ.พาณิชย์ไทยมีฐานะการดำเนินงานดีขึ้น บล.ภัทรวิเคราะห์ว่า ภาค
การ
ธนาคารไทยกำลังเติบโตได้ดีหลังจากเกิดวิกฤตการเงินปี 40 ธ.พาณิชย์ไทยหลายแห่งได้ผ่านพ้นกระบวนการ
ปลดเปลื้องหนี้จำนวนมาก มูลหนี้เทียบจีดีพีลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด 136% ในปี 40 เหลือ 78% ในปี 46
โดยสัดส่วนสินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากของ ธ.พาณิชย์ไทยลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด 110% ในปี 39
เหลือต่ำสุด 68.9% ในเดือน ม.ค.46 ทั้งนี้ จากงบบัญชีธนาคารในเดือน ก.พ.47 ยังคงส่งสัญญาณและ
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจและ ธ.พาณิชย์ไทยเติบโตไปพร้อมกัน ขณะที่สินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากยังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากยังคงแข็งแกร่งขึ้นตลอด 2-3 เดือนที่ผ่าน
มา โดยเพิ่มขึ้น 2.4% นับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 ซึ่งมีความเห็นว่าภาวะที่ผลประกอบการภาคธนาคารไทยไม่ดี
ตลอดระยะ 6 ปีที่ผ่านมาสิ้นสุดลงแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 จะเติบโตที่ระดับ
ร้อยละ 0.4 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 24 มี.ค.47 รอยเตอร์รายงานการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 จะเติบโตที่ระดับร้อยละ 0.4
โดยนักเศรษฐศาสตร์มองว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ นัก
เศรษฐศาสตร์เห็นว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ.จะไม่เติบโตในระดับที่มั่นคงจนกว่าตัว
เลขการจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เป็นหนึ่ง
ในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยระหว่างปี 43-46
อนึ่ง จะมีการรายงานตัวเลขการใช้จ่ายประจำเดือน ก.พ.47 อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 26 มี.ค.47
พร้อมกับตัวเลขรายได้ส่วนบุคคล ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.2 ในเดือน
ม.ค.47 (รอยเตอร์)
2. การใช้จ่ายผู้บริโภค และระดับหนี้ของสรอ. ในระยะสั้นยังไม่มีเสถียรภาพ รายงานจาก
Dublin เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 นาย George Soros ผู้จัดการกองทุนพันล้าน กล่าวว่า ความสมดุล
ระหว่างการใช้จ่ายมากขึ้นของผู้บริโภคและการขาดดุลงปม.ของสรอ. จะไม่เป็นไปอย่างยั่งยืนแม้ว่าจะเป็นใน
ระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตามโดยนาย Soros มีความเห็นว่าการใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ที่หาได้ไม่ใช่เรื่องที่น่า
วิตกแต่อย่างใด ในขณะที่รัฐบาลสรอ.คาดว่ายอดขาดดุลงปม.ของสรอ.ในปีนี้ทำสถิติสูงสุดถึง 521 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 4.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของ
รัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งหนี้ภาคเอกชนก็สูงขึ้นด้วย นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มวินัย
ทางการคลัง(รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยที่สูงกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนี รายงานจาก
เบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 นาย Wolfgang Clement รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยที่ค่อน
ข้างสูงและการแข็งค่าของเงินยูโรส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดย OECD คาดว่า
ธ.กลางยุโรปอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของยูโรโซนในสัปดาห์หน้า และอาจทบทวนประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มสหภาพยุโรปอาจจะชะลอตัว ทั้งนี้นาย Clement
แจ้งต่อ OECD ว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันมาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือต้น
ทุนที่เกิดจากการรวมเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันภายหลังปี 33 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใน
ระดับสูงที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ. และเมื่อ
เร็วๆนี้ที่ทางการเยอรมนีได้กดดันให้ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศที่กำลัง
อ่อนแอ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับสินค้าส่งออกของเยอรมนีซึ่งผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ
จากการแข็งค่าของเงินยูโร อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในแถบเอเซียก็มีส่วนช่วย
ให้อุปสงค์ในสินค้าทุนของเยอรมนีแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
4. รมว.คลังอังกฤษกล่าวว่าการกู้ยืมของครัวเรือนอังกฤษยังไม่อยู่ในจุดที่น่ากังวล รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 24 มี.ค.47 รมว.คลังอังกฤษ (Gordon Brown) เปิดเผยว่า จากการที่ก่อนหน้านี้ เจ้า
หน้าที่ของ ธ.กลางอังกฤษได้กล่าวเตือนว่า การกู้ยืมของครัวเรือนอังกฤษเติบโตเร็วเกินไปและอาจส่งผล
กระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอนาคต ซึ่ง ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งนับตังแต่
เดือน พ.ย. เพื่อลดการกู้ยืมของครัวเรือนดังกล่าวนั้น ตนเห็นว่า ภาวะดังกล่าวยังไม่น่ากังวลเช่นนั้น เห็น
ได้จาก การใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้ของผู้บริโภคที่มีสัดส่วนเป็นประมาณร้อยละ 7 ของรายได้ เปรียบเทียบกับ
ร้อยละ 15 ในปี 23 และการชำระหนี้เงินกู้จำนองมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 15 ของรายได้ เทียบกับร้อยละ 30
นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมของอังกฤษยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคา
บ้านก็เติบโตในระดับพอประมาณ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะเศรษฐกิจในปี 47 นี้ ดีกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
และสัญญาณต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจอังกฤษจะกลับมาสมดุลในปีนี้และปีหน้า (รอยเตอร์)
5. ยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.7 จากปีก่อน รายงาน
จาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 25 มี.ค.47 ยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 47 มีจำนวน 1.4069 ล้านล้าน
เยน หรือประมาณ 13.22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.7 จากปีก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลไปยัง
ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น ยอดส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากปีก่อน ในขณะที่
ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 1.0 จากปีก่อน โดยยอดส่งออกไปยังจีนมีจำนวน 590 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.9 จากปีก่อน ในขณะที่ยอดนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตัวเลขยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวชี้ให้เห็น
ว่าการส่งออกกำลังนำญี่ปุ่นให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งดำเนินมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีในขณะที่
การบริโภคในประเทศยังคงชะลอตัว (รอยเตอร์)
เศรษฐกิจ
25/3/47 24/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.486 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.3088/39.6020 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
677.61/10.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
31.21 31.48 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังเตรียมควบรวมกิจการ 2 บริษัทเครดิตบูโร นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกันระหว่าง บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด (CCIS) บริษัท ข้อมูลเครดิต
ไทย จำกัด สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมมี
ความเห็นว่า บริษัทเครดิตบูโรทั้ง 2 แห่ง ควรมีการควบรวมกิจการกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่อง
จากมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน โดยข้อมูลของ CCIS จะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้ารายใหญ่ ส่วนข้อมูลของศูนย์
ข้อมูลเครดิตไทยจะเป็นข้อมูลของลูกค้ารายย่อยเป็นจำนวนมากนับล้านราย โดยการควบรวมกิจการครั้งนี้ ก.
คลังจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนไม่เกิน 49% และอาจเพิ่มทุนเข้าไปอีกแต่เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก รวมทั้งอาจ
ดึงบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นด้วยเพื่อไม่ให้
เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ส่วนรูปแบบคือจะรวมกันในลักษณะเป็นองค์กรแห่งใหม่ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไข
กฎหมาย เพราะสามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตที่ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธานได้
และได้มอบหมายให้ สศค. ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบัน รวมถึงราคาหุ้นที่จะรับซื้อ
และภาระหนี้ของ CCIS ด้วย(ผู้จัดการ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังให้กรมสรรพากรทบทวนขยายเวลามาตรการลดภาษีบริษัทที่จะเข้าตลาดหุ้น นายสม
คิด
จาตุศรีพิทักษ์ รมว. ก.คลัง กล่าวว่า ได้สั่งให้กรมสรรพากรพิจารณาทบทวนการขยายเวลามาตรการลดภาษี
รายได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 25% ให้กับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังจะสิ้นสุดใน
วันที่ 5 ก.ย.47 ว่าจะสามารถดำเนินอย่างไรได้บ้าง รวมทั้งคิดหามาตรการทางภาษีสนับสนุนให้ประชาชนหัน
มาลงทุนในสถาบันกองทุนของคนไทยมากขึ้น เพื่อให้การพัฒนาตลาดทุนเป็นไปด้วยดี ปัจจุบันตลาดทุนของไทยมี
ขนาด 2 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นนักลงทุนต่างประเทศ 1.1 ล้านล้านบาท นักลงทุนสถาบันของไทย 4
แสนล้านบาท และรายย่อย 5 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. คาดว่าการไม่เสนอ ครม. พิจารณา พรบ.สถาบันประกันเงินฝากไม่กระทบแผนพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธปท. สายนโยบายสถาบันการเงิน กล่าวถึงกรณีที่
มีข่าวว่า ก.คลังจะไม่นำ พรบ.สถาบันประกันเงินฝากเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาในสมัยการประชุมนี้
ว่า คาดว่าจะไม่กระทบต่อการดำเนินการของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan)
และจากการหารือกับ ก.คลัง ธปท.ต้องการให้มีกรอบเวลาในการประกาศใช้ที่ชัดเจน เพราะเป็น พรบ.ที่จะ
ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการบังคับใช้อย่างเป็นขั้นตอน จึงควรมีกรอบเวลาในการใช้ที่ชัดเจน ซึ่งหาก พรบ.
ดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว ธปท. จะทยอยออกมาตรการในการประกันเงินฝากทีละขั้นตอนและ
ค่อย ๆ ลดการประกันเงินฝากทั้งจำนวนของทุกสถาบันการเงินลง คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ปีหลัง
จากการตั้งสถาบันประกันเงินฝากจึงจะสามารถลดการประกันเงินฝากได้เต็มรูปแบบ และเมื่อมีสถาบันประกัน
เงินฝากแล้วจะไม่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกัน (ผู้จัดการ)
4. บล.ภัทรวิเคราะห์ ธ.พาณิชย์ไทยมีฐานะการดำเนินงานดีขึ้น บล.ภัทรวิเคราะห์ว่า ภาค
การ
ธนาคารไทยกำลังเติบโตได้ดีหลังจากเกิดวิกฤตการเงินปี 40 ธ.พาณิชย์ไทยหลายแห่งได้ผ่านพ้นกระบวนการ
ปลดเปลื้องหนี้จำนวนมาก มูลหนี้เทียบจีดีพีลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด 136% ในปี 40 เหลือ 78% ในปี 46
โดยสัดส่วนสินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากของ ธ.พาณิชย์ไทยลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด 110% ในปี 39
เหลือต่ำสุด 68.9% ในเดือน ม.ค.46 ทั้งนี้ จากงบบัญชีธนาคารในเดือน ก.พ.47 ยังคงส่งสัญญาณและ
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจและ ธ.พาณิชย์ไทยเติบโตไปพร้อมกัน ขณะที่สินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากยังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิเทียบเงินฝากยังคงแข็งแกร่งขึ้นตลอด 2-3 เดือนที่ผ่าน
มา โดยเพิ่มขึ้น 2.4% นับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 ซึ่งมีความเห็นว่าภาวะที่ผลประกอบการภาคธนาคารไทยไม่ดี
ตลอดระยะ 6 ปีที่ผ่านมาสิ้นสุดลงแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 จะเติบโตที่ระดับ
ร้อยละ 0.4 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 24 มี.ค.47 รอยเตอร์รายงานการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 จะเติบโตที่ระดับร้อยละ 0.4
โดยนักเศรษฐศาสตร์มองว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ นัก
เศรษฐศาสตร์เห็นว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลของ สรอ.จะไม่เติบโตในระดับที่มั่นคงจนกว่าตัว
เลขการจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เป็นหนึ่ง
ในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยระหว่างปี 43-46
อนึ่ง จะมีการรายงานตัวเลขการใช้จ่ายประจำเดือน ก.พ.47 อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 26 มี.ค.47
พร้อมกับตัวเลขรายได้ส่วนบุคคล ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.2 ในเดือน
ม.ค.47 (รอยเตอร์)
2. การใช้จ่ายผู้บริโภค และระดับหนี้ของสรอ. ในระยะสั้นยังไม่มีเสถียรภาพ รายงานจาก
Dublin เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 นาย George Soros ผู้จัดการกองทุนพันล้าน กล่าวว่า ความสมดุล
ระหว่างการใช้จ่ายมากขึ้นของผู้บริโภคและการขาดดุลงปม.ของสรอ. จะไม่เป็นไปอย่างยั่งยืนแม้ว่าจะเป็นใน
ระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตามโดยนาย Soros มีความเห็นว่าการใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ที่หาได้ไม่ใช่เรื่องที่น่า
วิตกแต่อย่างใด ในขณะที่รัฐบาลสรอ.คาดว่ายอดขาดดุลงปม.ของสรอ.ในปีนี้ทำสถิติสูงสุดถึง 521 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 4.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของ
รัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งหนี้ภาคเอกชนก็สูงขึ้นด้วย นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มวินัย
ทางการคลัง(รอยเตอร์)
3. อัตราดอกเบี้ยที่สูงกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนี รายงานจาก
เบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 47 นาย Wolfgang Clement รมว.เศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยที่ค่อน
ข้างสูงและการแข็งค่าของเงินยูโรส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดย OECD คาดว่า
ธ.กลางยุโรปอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของยูโรโซนในสัปดาห์หน้า และอาจทบทวนประมาณการการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มสหภาพยุโรปอาจจะชะลอตัว ทั้งนี้นาย Clement
แจ้งต่อ OECD ว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันมาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือต้น
ทุนที่เกิดจากการรวมเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันภายหลังปี 33 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใน
ระดับสูงที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแข็งค่าของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ. และเมื่อ
เร็วๆนี้ที่ทางการเยอรมนีได้กดดันให้ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศที่กำลัง
อ่อนแอ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับสินค้าส่งออกของเยอรมนีซึ่งผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ
จากการแข็งค่าของเงินยูโร อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในแถบเอเซียก็มีส่วนช่วย
ให้อุปสงค์ในสินค้าทุนของเยอรมนีแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
4. รมว.คลังอังกฤษกล่าวว่าการกู้ยืมของครัวเรือนอังกฤษยังไม่อยู่ในจุดที่น่ากังวล รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 24 มี.ค.47 รมว.คลังอังกฤษ (Gordon Brown) เปิดเผยว่า จากการที่ก่อนหน้านี้ เจ้า
หน้าที่ของ ธ.กลางอังกฤษได้กล่าวเตือนว่า การกู้ยืมของครัวเรือนอังกฤษเติบโตเร็วเกินไปและอาจส่งผล
กระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอนาคต ซึ่ง ธ.กลางอังกฤษได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งนับตังแต่
เดือน พ.ย. เพื่อลดการกู้ยืมของครัวเรือนดังกล่าวนั้น ตนเห็นว่า ภาวะดังกล่าวยังไม่น่ากังวลเช่นนั้น เห็น
ได้จาก การใช้จ่ายเพื่อการชำระหนี้ของผู้บริโภคที่มีสัดส่วนเป็นประมาณร้อยละ 7 ของรายได้ เปรียบเทียบกับ
ร้อยละ 15 ในปี 23 และการชำระหนี้เงินกู้จำนองมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 15 ของรายได้ เทียบกับร้อยละ 30
นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมของอังกฤษยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคา
บ้านก็เติบโตในระดับพอประมาณ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะเศรษฐกิจในปี 47 นี้ ดีกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
และสัญญาณต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจอังกฤษจะกลับมาสมดุลในปีนี้และปีหน้า (รอยเตอร์)
5. ยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.7 จากปีก่อน รายงาน
จาก
โตเกียว เมื่อวันที่ 25 มี.ค.47 ยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. 47 มีจำนวน 1.4069 ล้านล้าน
เยน หรือประมาณ 13.22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.7 จากปีก่อน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลไปยัง
ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น ยอดส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากปีก่อน ในขณะที่
ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 1.0 จากปีก่อน โดยยอดส่งออกไปยังจีนมีจำนวน 590 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.9 จากปีก่อน ในขณะที่ยอดนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตัวเลขยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวชี้ให้เห็น
ว่าการส่งออกกำลังนำญี่ปุ่นให้หลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งดำเนินมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีในขณะที่
การบริโภคในประเทศยังคงชะลอตัว (รอยเตอร์)
เศรษฐกิจ
25/3/47 24/3/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
39.486 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
39.3088/39.6020 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
677.61/10.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
31.21 31.48 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-