กรุงเทพ--26 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (25 มีนาคม 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้หารือข้อราชการกับนายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และเป็นประธานการ
ประชุมร่วมไทย-กัมพูชาว่าด้วยการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภูมิหลังการพัฒนาร่วม
เขาพระวิหาร เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-กัมพูชา เมื่อ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ซึ่งทั้ง
สองฝ่ายต่างเห็นชอบในหลักการให้ร่วมมือกันพัฒนาเขาพระวิหารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านการส่งเสริม
การท่องเที่ยว การศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การพัฒนาพื้นที่ในปริมณฑลรอบปราสาทเขาพระวิหาร
เพื่อยกสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งเพื่อให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็น
สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างไทยและกัมพูชา หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-
กัมพูชาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาต่างได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่วมมือกันในการ
ดำเนินการเรื่องนี้ โดยในส่วนของฝ่ายไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขา
พระวิหาร มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการ
ต่าง ๆ โดยภายใต้กรรมการดังกล่าว ยังมีอนุกรรมการอีก 2 ชุด คือ (1) คณะอนุกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์
ปราสาทเขาพระวิหาร มีนายเตช บุนนาค เป็นประธาน และ (2) คณะอนุกรรมการวางแผนพัฒนาร่วมเขา
พระวิหาร มีนายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการและ
คณะอนุกรรมการทั้งสองดังกล่าวได้ดำเนินการตามความรับผิดชอบ เพื่อศึกษาแนวทางและนำเสนอข้อมูลสำหรับ
การพัฒนาเขาพระวิหารให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย การดำเนินงานมีความคืบหน้ามาตามลำดับ
ในส่วนของกัมพูชาได้จัดตั้ง “คณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อพัฒนาพื้นที่ตาเฒ่าและปราสาทเขา
พระวิหาร” มีนายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการชุดดัง
กล่าวจะร่วมมือกับคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร (ฝ่ายไทย) เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนา
ร่วมเขาพระวิหารและปริมณฑลต่อไป ผลการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่
1. ให้การพัฒนาร่วมเขาพระวิหารเป็นโครงการความร่วมมือที่เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพบนพื้นฐาน
ของผลประโยชน์ร่วมกันที่แท้จริง
2. ดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ปราสาทเขาพระวิหารให้คงคุณค่าด้านความงาม ศิลปะ ประวัติศาสตร์
และโบราณคดี เพื่อเป็นมรดกของมนุษยชาติสืบไป โดยเป็นการดำเนินการร่วมกับองค์การ UNESCO หลังจากที่
มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
3. ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อสภาพชีวิตและ
ความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองฝ่าย เช่น สิ่งแวดล้อม การเก็บกู้กับระเบิด ฯลฯ
4. ดำเนินการให้โครงการพัฒนาร่วมนี้ เกื้อหนุนและสอดคล้องกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ อาทิ
ACMECS สามเหลี่ยมมรกต ฯลฯ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
5. ยินดีต้อนรับการเข้ามีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือและร่วมมือของประเทศที่สาม องค์การระว่าง
ประเทศ และภาคเอกชน ในการร่วมพัฒนาเขาพระวิหาร
6. เกี่ยวกับเรื่องเส้นเขตแดน ได้ตกลงกันในหลักการที่จะให้มีการสำรวจสภาพภูมิประเทศร่วมกัน
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปักปันหลักเขตแดนในอนาคต โดยจะไม่ให้ปัญหาด้านเขตแดนมาเป็นอุปสรรคต่อ
โครงการร่วมพัฒนานี้ ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามหลักการดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการกำหนดแผน
พัฒนาเขาพระวิหารอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และอาจจำเป็น
ต้องตั้งขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกัน และเสนอแนวความคิดและแนวทางดำเนินการให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้ความ
ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป โดยที่นายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา รับผิด
ชอบหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างไทย-กัมพูชา ในการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจึง
ได้หารือกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีในเรื่องอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อการพัฒนา
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อาทิ ในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ความร่วมมือ
ด้านแรงงาน ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมในกรอบคณะกรรมการร่วมสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา และการ
พัฒนาเส้นทางหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการติดต่อไปมา
หาสู่กันระหว่างประชาชน รวมทั้งได้หารือกันเกี่ยวกับโครงการที่จะมีส่วนช่วยเชื่อมโยงด้านคมนาคมใน
ภูมิภาค ได้แก่ โครงการพัฒนาเส้นทางหมายเลข 48(เกาะกง-สแรอัมเบิล) โดยความช่วยเหลือ
ของรัฐบาลไทยด้วย การประชุมและการหารือข้อราชการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นไปในบรรยากาศแห่งมิตรภาพ
และความร่วมมือที่ใกล้ชิด ด้วยความจริงใจและเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน สะท้อนถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นและ
อบอุ่นระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งสองฝ่ายถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศทั้งสอง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (25 มีนาคม 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้หารือข้อราชการกับนายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และเป็นประธานการ
ประชุมร่วมไทย-กัมพูชาว่าด้วยการพัฒนาร่วมเขาพระวิหาร ที่กระทรวงการต่างประเทศ ภูมิหลังการพัฒนาร่วม
เขาพระวิหาร เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-กัมพูชา เมื่อ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 ซึ่งทั้ง
สองฝ่ายต่างเห็นชอบในหลักการให้ร่วมมือกันพัฒนาเขาพระวิหารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านการส่งเสริม
การท่องเที่ยว การศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การพัฒนาพื้นที่ในปริมณฑลรอบปราสาทเขาพระวิหาร
เพื่อยกสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งเพื่อให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็น
สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างไทยและกัมพูชา หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-
กัมพูชาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาต่างได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่วมมือกันในการ
ดำเนินการเรื่องนี้ โดยในส่วนของฝ่ายไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขา
พระวิหาร มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการ
ต่าง ๆ โดยภายใต้กรรมการดังกล่าว ยังมีอนุกรรมการอีก 2 ชุด คือ (1) คณะอนุกรรมการบูรณปฏิสังขรณ์
ปราสาทเขาพระวิหาร มีนายเตช บุนนาค เป็นประธาน และ (2) คณะอนุกรรมการวางแผนพัฒนาร่วมเขา
พระวิหาร มีนายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการและ
คณะอนุกรรมการทั้งสองดังกล่าวได้ดำเนินการตามความรับผิดชอบ เพื่อศึกษาแนวทางและนำเสนอข้อมูลสำหรับ
การพัฒนาเขาพระวิหารให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย การดำเนินงานมีความคืบหน้ามาตามลำดับ
ในส่วนของกัมพูชาได้จัดตั้ง “คณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อพัฒนาพื้นที่ตาเฒ่าและปราสาทเขา
พระวิหาร” มีนายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการชุดดัง
กล่าวจะร่วมมือกับคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร (ฝ่ายไทย) เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนา
ร่วมเขาพระวิหารและปริมณฑลต่อไป ผลการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่
1. ให้การพัฒนาร่วมเขาพระวิหารเป็นโครงการความร่วมมือที่เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพบนพื้นฐาน
ของผลประโยชน์ร่วมกันที่แท้จริง
2. ดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ปราสาทเขาพระวิหารให้คงคุณค่าด้านความงาม ศิลปะ ประวัติศาสตร์
และโบราณคดี เพื่อเป็นมรดกของมนุษยชาติสืบไป โดยเป็นการดำเนินการร่วมกับองค์การ UNESCO หลังจากที่
มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
3. ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อสภาพชีวิตและ
ความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองฝ่าย เช่น สิ่งแวดล้อม การเก็บกู้กับระเบิด ฯลฯ
4. ดำเนินการให้โครงการพัฒนาร่วมนี้ เกื้อหนุนและสอดคล้องกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ อาทิ
ACMECS สามเหลี่ยมมรกต ฯลฯ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
5. ยินดีต้อนรับการเข้ามีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือและร่วมมือของประเทศที่สาม องค์การระว่าง
ประเทศ และภาคเอกชน ในการร่วมพัฒนาเขาพระวิหาร
6. เกี่ยวกับเรื่องเส้นเขตแดน ได้ตกลงกันในหลักการที่จะให้มีการสำรวจสภาพภูมิประเทศร่วมกัน
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปักปันหลักเขตแดนในอนาคต โดยจะไม่ให้ปัญหาด้านเขตแดนมาเป็นอุปสรรคต่อ
โครงการร่วมพัฒนานี้ ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามหลักการดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการกำหนดแผน
พัฒนาเขาพระวิหารอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง และอาจจำเป็น
ต้องตั้งขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกัน และเสนอแนวความคิดและแนวทางดำเนินการให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้ความ
ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป โดยที่นายสก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา รับผิด
ชอบหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างไทย-กัมพูชา ในการเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจึง
ได้หารือกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีในเรื่องอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อการพัฒนา
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา อาทิ ในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ความร่วมมือ
ด้านแรงงาน ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมในกรอบคณะกรรมการร่วมสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา และการ
พัฒนาเส้นทางหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการติดต่อไปมา
หาสู่กันระหว่างประชาชน รวมทั้งได้หารือกันเกี่ยวกับโครงการที่จะมีส่วนช่วยเชื่อมโยงด้านคมนาคมใน
ภูมิภาค ได้แก่ โครงการพัฒนาเส้นทางหมายเลข 48(เกาะกง-สแรอัมเบิล) โดยความช่วยเหลือ
ของรัฐบาลไทยด้วย การประชุมและการหารือข้อราชการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เป็นไปในบรรยากาศแห่งมิตรภาพ
และความร่วมมือที่ใกล้ชิด ด้วยความจริงใจและเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน สะท้อนถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นและ
อบอุ่นระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งสองฝ่ายถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศทั้งสอง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-