บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๐๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง คือ
(๑) เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นสมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวแล้วสรุปว่า พระราชกำหนดทั้งสองฉบับเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง
ที่ประชุมรับทราบ
(๒) เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตาม
รัฐธรรมนูญในการตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ….
ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวแล้วสรุปว่า การที่รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. พร้อมส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้า
ทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๙๓ หากก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ได้ตรวจพบปัญหาข้อความที่ขัดแย้งกันในร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นความไม่สอดคล้องในการดำเนินการให้ถูกต้องตรงตามมติของวุฒิสภาที่ให้คงไว้ตามร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎร
เฉพาะมาตรา ๑๘ (๙) และมาตรา ๕๒ รัฐสภาในฐานะที่เป็นองค์กรให้คำแนะนำ
และยินยอมในการตราร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๒ ย่อมจะนำ
ร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับคืนมาพิจารณาปรับปรุงให้ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามมติ
ของวุฒิสภาเฉพาะประเด็นที่ไม่สอดคล้องกันตามคำร้องดังกล่าวนั้นเสียก่อน
แล้วจึงส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์
ทรงลงพระปรมาภิไธย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๓ ต่อไปได้
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑, ๑๒ ระเบียบวาระที่ ๔.๕, ๔.๖, ๔.๔ และ
๔.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมเห็นชอบให้รวมพิจารณาพระราชกำหนดในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๑ และ ๑๒ พร้อมกันไปเนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน แต่ให้ลงมติ
ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงเหตุผล ทีละฉบับ ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจง โดยในระหว่างการพิจารณาพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ต่อมาที่ประชุมได้มีมติให้ปิดอภิปราย และก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้สั่งเลื่อนการลงมติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ ไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๐๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่างๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
๓. ผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง คือ
(๑) เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นสมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวแล้วสรุปว่า พระราชกำหนดทั้งสองฉบับเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง
ที่ประชุมรับทราบ
(๒) เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตาม
รัฐธรรมนูญในการตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ….
ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวแล้วสรุปว่า การที่รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. พร้อมส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้า
ทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๙๓ หากก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ได้ตรวจพบปัญหาข้อความที่ขัดแย้งกันในร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นความไม่สอดคล้องในการดำเนินการให้ถูกต้องตรงตามมติของวุฒิสภาที่ให้คงไว้ตามร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎร
เฉพาะมาตรา ๑๘ (๙) และมาตรา ๕๒ รัฐสภาในฐานะที่เป็นองค์กรให้คำแนะนำ
และยินยอมในการตราร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๒ ย่อมจะนำ
ร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับคืนมาพิจารณาปรับปรุงให้ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามมติ
ของวุฒิสภาเฉพาะประเด็นที่ไม่สอดคล้องกันตามคำร้องดังกล่าวนั้นเสียก่อน
แล้วจึงส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์
ทรงลงพระปรมาภิไธย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๓ ต่อไปได้
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑, ๑๒ ระเบียบวาระที่ ๔.๕, ๔.๖, ๔.๔ และ
๔.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑)
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
ที่ประชุมเห็นชอบให้รวมพิจารณาพระราชกำหนดในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๑ และ ๑๒ พร้อมกันไปเนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน แต่ให้ลงมติ
ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงเหตุผล ทีละฉบับ ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจง โดยในระหว่างการพิจารณาพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม ต่อมาที่ประชุมได้มีมติให้ปิดอภิปราย และก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้สั่งเลื่อนการลงมติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ ไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓