วันนี้เป็นวันที่พวกเราในฐานะที่เป็นส.สฝ่ายนิติบัญญัติได้มาพิจารณาถึงกรอบหลักสำคัญของการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองภายใต้ระบอบนิติรัฐ คือ การที่เราได้พิจารณากฎหมายหลักคือ กฏหมายรัฐธรรมนูญอีกวาระหนึ่ง ซึงมีความภูมิใจมากถ้าหากได้มีส่วนในการเข้าไปเป็นกรรมาธิการก็ดีหรือการอภิปรายก็ดีในประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นความภูมิใจของสมาชิกรัฐสภาแห่งนี้ ผมจำได้ว่าในระบบรัฐสภาแห่งนี้ตั้งแต่ในช่วงผมเข้ามา ตั้งแต่เรามีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 25 ประเด็น ซึ่งมรีเพื่อนสมาชิกในรัฐสภาแห่งนี้หลายทานได้มีส่วนสำคัญในการที่จะดำเนินการตามโครงการพัฒนาประชาธิปไตยปฏิรูประบบการเมืองของเรา และนั่นคือความภาคภูมิใจด้วยกัน
แน่นอนที่สุดผมเองหรือแม้แต่ท่านผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเราเป็นส.ส.รุ่นเดียวกัน เราก็ภาคภูมิใจว่า ในส่วนที่เราเป็นสมาชิกสภาฯ และส่วนที่เราเป็นนักการเมือง เราก็มีความภาคภูมิใจถึงแม้ว่าเพื่อนสมาชิกในสภานี้บางท่านอาจจะไม่มีความต่อเนื่องในช่วงระยะหลังที่ได้มีการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ผมยืนยันว่าการที่เพื่อนสมาชิกในรัฐสภาแห่งนี้ได้มีส่วนในการที่จะวางกรอบหลักในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยวางกรอบอยู่ที่ผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองเป็นหลัก และไม่คิดที่มีวาระซ่อนเร้นในการที่จะเสนอกฎหมายหลักดังกล่าว ผมคิดว่าการกำหนดท่าทีที่ตรงไปตรงมา การกำหนดแนวคิดที่สามารถพิสูจน์ได้ และการดำเนินการที่จะพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือย่างแน่นอน ผมไม่เชื่อว่าใครจะมองว่าใครจะเป็นอริยะบุคคลในการที่จะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ได้ครับ แต่ผมว่าความเป็นจริงนั้นเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายมากกว่าครับ
ประเด็นวันนี้ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดในร่างครับ เพราะว่าเพื่อนสมาชิกในรัฐสภานี้ได้เสนอร่างและได้พูดถึงหลักการไปแล้ว แต่ผมมีประเด็นที่อยากจะกราบเรียนท่านประธาน 2 ประเด็นครับ
ประเด็นแรกผมคิดว่า ในวันนี้กรอบความคิดที่เราโต้เถียงกันไม่ใช่เป็นเรื่องของการแพ้ชนะ ไม่ใช่เป้นเรื่องของการให้เกียรติ หรือเรื่องของศักดิ์ศรีนักการเมือง แต่เป้นเรื่องที่เราต้องการวางระบบหลักของบ้านเมือง ถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นช่องทางในทางการเมือง ที่ไม่ใช่เป็นการที่จะไปยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งระบบ หรือว่าการไปแก้ไขกฎมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับระบบหลัก แต่เป็นการที่เราจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแกก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพียงประเด็นในเรื่องคณะกรรมการสรรหาในมาตรา 297 ในกรณที่จะต้องเลือกกรรมการสรรหาป.ป.ช.เท่านั้น แต่โดยข้อเท้จริงท่านประธานครับ ถ้าเราคิดแต่เพียงเฉพาะหน้า และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเพื่อให้เสร็จเฉพาะหน้า เหมือนที่ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่า ต้องไปซ่อมในส่วนที่เสีย ผมคิดว่าหลักของบ้านเมืองเราคิดเพียงเท่านี้ไม่พอหรอกครับ หรือผมได้ฟังท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขปัยหาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีคณะกรรมการสรรหา เดิมทีเดียวครับ กรอบความคิดที่ว่าจะให้คณะกรรมการสรรหานั้นได้มีส่วนสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ปลอดจากการแทรกแซงหรือก้าวก่ายในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดำรงอยู่จริงในช่วงที่ผ่านมาในช่วงการบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญในหลายทางมีควมาชัดเจนว่า องค์กรอิสระซึ่งโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ผมอยากจะผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า เราต้องการที่จะให้มีอำนาจตรวจสอบอำนาจรัฐนี้ขึ้นมา ท่านประธานคงจะจำได้ครับว่า อย่าว่าแต่องค์กรอิสระเลยครับ ตอนที่เราหยิบประเด็นในการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ 25 ประเด็น เมื่อเราพูดถึงศาลปกครองมีการโต้แย้งมากครับตอนนั้น ไม่มีการยอมรับ เพราะกลัวว่าฝ่ายราชการจะเกิดความเสียหายครับ
เมื่อเราพูดถึงผู้ตรวจการรัฐสภาในสภาแห่งนี้ผมจำได้มีเพื่อนสมาชิกบางคนว่าเราต้องการให้ผู้ตรวจการรัฐสภานั้นมาตรวจสมาชิกรัฐสภา นี่คืออะไรครับท่านประธาน นี่คือเครื่องชี้ให้เห้นว่ากรอบความคิดในทางการเมืองยังแตกต่างกันอยู่จริงครับ ผมไม่เชื่อในความมีประสบการณ์ครับ ว่ามีประสบการณ์ในการเป็นส.ส.ต่อเนื่องหลายสมัยแล้ว มันเป็นเครื่องประกันความมีศักดิ์ศรีว่า เราจะมีแนวความคิดที่เป็นกรอบความคิดใหม่ในทางการเมืองในเชิงปฏิรูปอย่างเป็นระบบหรือไม่ แต่ผมเชื่อในหลักของวิสัยทัศน์ และความตั้งใจจริงของบุคคลนั้นๆ ว่ามีแนวความคิดในเรื่องระบบประชาธิปไตยเช่นไรมากกว่า
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมกราบเรียนว่า กรอบแนวความคิดแรกในจุดที่เราต้องไปแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญต่อกรณีคณะกรรมการสรรหานั้น ไม่ได้กรอบอยู่ที่ตัวบุคคล แต่กรอบอยู่ที่ว่า เราต้องการที่จะให้คณะกรรมการสรรหาป.ป.ช. ที่ต้องแก้ไขอย่างรีบด่วนนั้นได้ดำเนินการภายใน 30 วัน เพราะว่า 30 วัน ท่านประธานคงทราบดีครับ เราเอามาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคราวนี้ไม่ได้เลย เพราะ 30 วันนี้มีผลต่อท่านประธานที่นั่งอยู่ตรงนี้คือ ท่านสุชน ครับ ท่านเป็นประธานวุมิสภา ท่านต้องเป้นประธานในการตั้งกรรมการสรรหา ท่านเริ่มแล้วใช่ไหมครับ ท่านเริ่มของท่านไปแล้ว ผมทราบครับ ท่านเข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ประเด็นครับ ประเด็นอยู่ที่ว่าการมองที่แตกต่างกันครับท่านประธาน มองที่แตกต่างกัน คือ ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ต้องไปแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อจะให้ไปแก้คณะกรรมการสรรหาของป.ป.ช.เท่านั้น แต่เรามองว่าความคิดนี้ไม่ใช่เท่านั้น มันมีต่อผลกระทบต่อกรอบความคิดว่า เมื่อในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรอบที่เราต้องการให้องค์กรอิสระมันเป็นอิสระจริง เป้นการใช้อำนาจในการตรวจสอบเกิดขึ้นจริงนระบบประชาธิปไตยของเราได้มีหลักประกันความเชื่อมั่นจากจุดเริ่มต้นตั้งแต่การดำเนินการที่จะสรรหากรรมการขององค์กรชุดต่างๆ นั้น นี่คือที่มาที่มีการเสนอร่างของพรรคฝ่ายค้าน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเอาชนะทัดทานหรือไม่มีเจตนาที่จะสร้างกระแสเลย บังเอิญผมเองเป็นรองประธานวิปฝ่ายค้านแล้วได้แถลงข่าวว่า เราต้องการที่จะให้การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ไปเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างหลักความคิดในเรื่องของการที่จะให้องค์กรตรวจสอบในการใช้อำนาจรัฐนั้น ปราศจากผู้ที่ต้องใช้อำนาจรัฐ
มีต่อ..............
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
แน่นอนที่สุดผมเองหรือแม้แต่ท่านผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเราเป็นส.ส.รุ่นเดียวกัน เราก็ภาคภูมิใจว่า ในส่วนที่เราเป็นสมาชิกสภาฯ และส่วนที่เราเป็นนักการเมือง เราก็มีความภาคภูมิใจถึงแม้ว่าเพื่อนสมาชิกในสภานี้บางท่านอาจจะไม่มีความต่อเนื่องในช่วงระยะหลังที่ได้มีการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ผมยืนยันว่าการที่เพื่อนสมาชิกในรัฐสภาแห่งนี้ได้มีส่วนในการที่จะวางกรอบหลักในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยวางกรอบอยู่ที่ผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองเป็นหลัก และไม่คิดที่มีวาระซ่อนเร้นในการที่จะเสนอกฎหมายหลักดังกล่าว ผมคิดว่าการกำหนดท่าทีที่ตรงไปตรงมา การกำหนดแนวคิดที่สามารถพิสูจน์ได้ และการดำเนินการที่จะพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือย่างแน่นอน ผมไม่เชื่อว่าใครจะมองว่าใครจะเป็นอริยะบุคคลในการที่จะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ได้ครับ แต่ผมว่าความเป็นจริงนั้นเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายมากกว่าครับ
ประเด็นวันนี้ผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า ผมจะไม่พูดถึงรายละเอียดในร่างครับ เพราะว่าเพื่อนสมาชิกในรัฐสภานี้ได้เสนอร่างและได้พูดถึงหลักการไปแล้ว แต่ผมมีประเด็นที่อยากจะกราบเรียนท่านประธาน 2 ประเด็นครับ
ประเด็นแรกผมคิดว่า ในวันนี้กรอบความคิดที่เราโต้เถียงกันไม่ใช่เป็นเรื่องของการแพ้ชนะ ไม่ใช่เป้นเรื่องของการให้เกียรติ หรือเรื่องของศักดิ์ศรีนักการเมือง แต่เป้นเรื่องที่เราต้องการวางระบบหลักของบ้านเมือง ถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นช่องทางในทางการเมือง ที่ไม่ใช่เป็นการที่จะไปยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งระบบ หรือว่าการไปแก้ไขกฎมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับระบบหลัก แต่เป็นการที่เราจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแกก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพียงประเด็นในเรื่องคณะกรรมการสรรหาในมาตรา 297 ในกรณที่จะต้องเลือกกรรมการสรรหาป.ป.ช.เท่านั้น แต่โดยข้อเท้จริงท่านประธานครับ ถ้าเราคิดแต่เพียงเฉพาะหน้า และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเพื่อให้เสร็จเฉพาะหน้า เหมือนที่ท่านนายกรัฐมนตรีบอกว่า ต้องไปซ่อมในส่วนที่เสีย ผมคิดว่าหลักของบ้านเมืองเราคิดเพียงเท่านี้ไม่พอหรอกครับ หรือผมได้ฟังท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่านก็ได้ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขปัยหาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีคณะกรรมการสรรหา เดิมทีเดียวครับ กรอบความคิดที่ว่าจะให้คณะกรรมการสรรหานั้นได้มีส่วนสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ปลอดจากการแทรกแซงหรือก้าวก่ายในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดำรงอยู่จริงในช่วงที่ผ่านมาในช่วงการบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญในหลายทางมีควมาชัดเจนว่า องค์กรอิสระซึ่งโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น ผมอยากจะผมอยากจะกราบเรียนท่านประธานว่า เราต้องการที่จะให้มีอำนาจตรวจสอบอำนาจรัฐนี้ขึ้นมา ท่านประธานคงจะจำได้ครับว่า อย่าว่าแต่องค์กรอิสระเลยครับ ตอนที่เราหยิบประเด็นในการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ 25 ประเด็น เมื่อเราพูดถึงศาลปกครองมีการโต้แย้งมากครับตอนนั้น ไม่มีการยอมรับ เพราะกลัวว่าฝ่ายราชการจะเกิดความเสียหายครับ
เมื่อเราพูดถึงผู้ตรวจการรัฐสภาในสภาแห่งนี้ผมจำได้มีเพื่อนสมาชิกบางคนว่าเราต้องการให้ผู้ตรวจการรัฐสภานั้นมาตรวจสมาชิกรัฐสภา นี่คืออะไรครับท่านประธาน นี่คือเครื่องชี้ให้เห้นว่ากรอบความคิดในทางการเมืองยังแตกต่างกันอยู่จริงครับ ผมไม่เชื่อในความมีประสบการณ์ครับ ว่ามีประสบการณ์ในการเป็นส.ส.ต่อเนื่องหลายสมัยแล้ว มันเป็นเครื่องประกันความมีศักดิ์ศรีว่า เราจะมีแนวความคิดที่เป็นกรอบความคิดใหม่ในทางการเมืองในเชิงปฏิรูปอย่างเป็นระบบหรือไม่ แต่ผมเชื่อในหลักของวิสัยทัศน์ และความตั้งใจจริงของบุคคลนั้นๆ ว่ามีแนวความคิดในเรื่องระบบประชาธิปไตยเช่นไรมากกว่า
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมกราบเรียนว่า กรอบแนวความคิดแรกในจุดที่เราต้องไปแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญต่อกรณีคณะกรรมการสรรหานั้น ไม่ได้กรอบอยู่ที่ตัวบุคคล แต่กรอบอยู่ที่ว่า เราต้องการที่จะให้คณะกรรมการสรรหาป.ป.ช. ที่ต้องแก้ไขอย่างรีบด่วนนั้นได้ดำเนินการภายใน 30 วัน เพราะว่า 30 วัน ท่านประธานคงทราบดีครับ เราเอามาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคราวนี้ไม่ได้เลย เพราะ 30 วันนี้มีผลต่อท่านประธานที่นั่งอยู่ตรงนี้คือ ท่านสุชน ครับ ท่านเป็นประธานวุมิสภา ท่านต้องเป้นประธานในการตั้งกรรมการสรรหา ท่านเริ่มแล้วใช่ไหมครับ ท่านเริ่มของท่านไปแล้ว ผมทราบครับ ท่านเข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ประเด็นครับ ประเด็นอยู่ที่ว่าการมองที่แตกต่างกันครับท่านประธาน มองที่แตกต่างกัน คือ ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ต้องไปแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อจะให้ไปแก้คณะกรรมการสรรหาของป.ป.ช.เท่านั้น แต่เรามองว่าความคิดนี้ไม่ใช่เท่านั้น มันมีต่อผลกระทบต่อกรอบความคิดว่า เมื่อในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กรอบที่เราต้องการให้องค์กรอิสระมันเป็นอิสระจริง เป้นการใช้อำนาจในการตรวจสอบเกิดขึ้นจริงนระบบประชาธิปไตยของเราได้มีหลักประกันความเชื่อมั่นจากจุดเริ่มต้นตั้งแต่การดำเนินการที่จะสรรหากรรมการขององค์กรชุดต่างๆ นั้น นี่คือที่มาที่มีการเสนอร่างของพรรคฝ่ายค้าน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเอาชนะทัดทานหรือไม่มีเจตนาที่จะสร้างกระแสเลย บังเอิญผมเองเป็นรองประธานวิปฝ่ายค้านแล้วได้แถลงข่าวว่า เราต้องการที่จะให้การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ไปเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างหลักความคิดในเรื่องของการที่จะให้องค์กรตรวจสอบในการใช้อำนาจรัฐนั้น ปราศจากผู้ที่ต้องใช้อำนาจรัฐ
มีต่อ..............
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-