นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนในภาคก่อสร้างขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน การใช้จ่ายภาครัฐทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงขยายตัวดี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการผลิตขยายตัวดีเช่นกันเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
เครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะลดลงจากความกังวลของการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 18.7 ต่อปี ในเดือนก่อน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 105.2 จุด ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่ 107.5 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับของการระบาดของไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เครื่องชี้ภาวะการลงทุนในภาคก่อสร้างยังขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อย โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวร้อยละ 88.6 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีเกี่ยวข้องกับ ธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 568.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง ตามการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง และยานยนต์ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมกราคมยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.6
สินเชื่อขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดย สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี ในเดือนมกราคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 1.2 ต่อปีในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคมเกินดุลทั้งสิ้น 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) รายได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 412,197 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.2 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 470,613 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 58,416 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,679 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 114,096 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 เท่ากับ 2,889.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.95 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 27.15 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.8 ต่อปี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ 2) ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.7 ต่อปี ในเดือนก่อน 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 105.2 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 107.5 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 และ 8.4 ต่อปี
การลงทุนในภาคก่อสร้างยังคงขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อย โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 88.6 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม 2) การลงทุนในสินค้าทุนชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และ 4.7 ต่อปี ในเดือนมกราคม เทียบกับร้อยละ 48.1 และ 35.4 ต่อปี ในเดือนธันวาคม เนื่องจากในเดือนธันวาคมมีการนำเข้าเครื่องบินและรถไฟฟ้าทำให้มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ 3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงบ้างจากข่าวการระบาดของไข้หวัดนกและสถานะการณ์ในชายแดนภาคใต้โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมกราคมอยู่ที่ 50.4 จุด ลดลงจาก 52.5 จุดในเดือนธันวาคม 4) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 15.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 20.4 ต่อปี 5) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี การใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวสูง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 86.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี ประกอบด้วยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ต่อปี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) การส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อปี ส่วนปริมาณการส่งออกหดตัวร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือนมกราคม 2) การนำเข้าขยายตัวดี โดยมูลค่าการนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อปี ในเดือนมกราคม 3) ดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเกินดุลทั้งสิ้น 568.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 14.2 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 74.6 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 73.0 ในเดือนก่อน
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมกราคมปรับตัวสูงขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs เดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.8 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ลดลงจากร้อยละ 15.3 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.16 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนธันวาคมจำนวน 46 พันล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 สินเชื่ออนุมัติใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 465.3 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 9 แห่ง อยู่ที่ 1.67 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนธันวาคมขาดทุนสุทธิ จำนวน 6,567 ล้านบาท เนื่องจาก สถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งได้สำรองหนี้สูญ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 สถาบันการเงินเฉพาะกิจขาดทุนสุทธิ 1,529 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 มีกำไรสุทธิ จำนวน 13,703 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวและผักผลไม้ 2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนกุมภาพันธ์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคมเกินดุลทั้งสิ้น 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากดุลบริการที่เกินดุลสูงตามภาวะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี 4) ทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 คิดเป็น 6.3 เดือนของมูลค่าการนำเข้าหรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้เบื้องต้นรวม 86,444 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,892 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.8) และมีรายได้สุทธิรวม 78,290 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.1)
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) รายได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 463,641 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 92,190 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.3) โดยมีรายได้สุทธิ 419,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 86,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.8) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ด้านรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 74,959 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.32) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 65,652 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9,307 ล้านบาทในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค. 46- ก.พ. 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 470,613 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.96 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 419,095 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.77 ของวงเงินงบประมาณ และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 51,518 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 385,545 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 46.34 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 33,550 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 17.12 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 66,398 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 74,958.6 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 8,560 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 29,243.6 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 37,803 ล้านบาทสำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 นั้นรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวม 412,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 54,337 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 ขณะเดียวกันมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบัน และปีก่อนรวม 470,613 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 84,729 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 58,416 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,679 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลรวมทั้งสิ้น 114,096 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 68,804.9 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 85,976 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 17,171 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 671 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,658 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 14,184 ล้านบาท
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 398,822 ล้านบาท และมีรายจ่ายรวม 504,876 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 106,054 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 2,969 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 43,399 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล 65,624 ล้านบาท
3.3 คาดการณ์ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2547
3.3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดตลอดปีงบประมาณ 2547 คาดว่ารัฐบาลจะมีดุลเงินสดขาดดุลรวม 158,905 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี) หรือคิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP (ปีที่แล้วขาดดุล 40,763 ล้านบาท) โดยคาดว่าจะมีรายได้ 1,063,600 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณ 1,168,705 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 135,500 ล้านบาท) ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 105,105 ล้านบาท ส่วนดุลนอกงบประมาณคาดว่าจะขาดดุลประมาณ 53,800 ล้านบาท
3.3.2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.ตลอดปี 2547 คาดว่ารัฐบาลจะมีดุลการคลังขาดดุล 112,498 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี) คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP เทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเกินดุล 10,646 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP
4. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 เท่ากับ 2,889.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.95 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของ GDP โดยแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,619.6 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 852.6 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 417.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 27.15 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.83 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลลดลงสุทธิ 2.8 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 11.8 พันล้านบาท และหนี้ FIDF เพิ่มขึ้นสุทธิ 17.0 พันล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่สามารถรับเงินฝากได้ตามกฎหมาย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และธนาคารอิสลาม
สถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์( ธอส. ) ธนาคารอิสลาม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์( ธอส. ) ธนาคารอิสลาม บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 4/2547 26 มีนาคม 2547--
-นท-
เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนในภาคก่อสร้างขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน การใช้จ่ายภาครัฐทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนยังคงขยายตัวดี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการผลิตขยายตัวดีเช่นกันเพื่อรองรับการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี และฐานะการคลังอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง
เครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะลดลงจากความกังวลของการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก และปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 18.7 ต่อปี ในเดือนก่อน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 105.2 จุด ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนที่ 107.5 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับของการระบาดของไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เครื่องชี้ภาวะการลงทุนในภาคก่อสร้างยังขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อย โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวร้อยละ 88.6 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีเกี่ยวข้องกับ ธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี
การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง โดยรายจ่ายจากงบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 568.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูง ตามการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง และยานยนต์ ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมกราคมยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 74.6
สินเชื่อขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดย สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี ในเดือนมกราคม ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจในเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 1.2 ต่อปีในเดือนก่อน เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหาร อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคมเกินดุลทั้งสิ้น 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองทางการอยู่ที่ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
ฐานะการคลังของรัฐบาลมีความมั่นคงและอยู่ในกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) รายได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 412,197 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.2 ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 470,613 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 58,416 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,679 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 114,096 ล้านบาท สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 เท่ากับ 2,889.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.95 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 27.15 ของ GDP
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2547
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดี แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดย 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.8 ต่อปี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ 2) ภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากสินค้าคงทนในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.7 ต่อปี ในเดือนก่อน 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 105.2 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ 107.5 จุด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ 4) มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 และ 8.4 ต่อปี
การลงทุนในภาคก่อสร้างยังคงขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรชะลอตัวเล็กน้อย โดย 1) รายได้ภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เดือนกุมภาพันธ์ยังคงขยายตัวดีที่ร้อยละ 88.6 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราเดิม 2) การลงทุนในสินค้าทุนชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และ 4.7 ต่อปี ในเดือนมกราคม เทียบกับร้อยละ 48.1 และ 35.4 ต่อปี ในเดือนธันวาคม เนื่องจากในเดือนธันวาคมมีการนำเข้าเครื่องบินและรถไฟฟ้าทำให้มูลค่าและปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ 3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงบ้างจากข่าวการระบาดของไข้หวัดนกและสถานะการณ์ในชายแดนภาคใต้โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมกราคมอยู่ที่ 50.4 จุด ลดลงจาก 52.5 จุดในเดือนธันวาคม 4) มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 15.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 20.4 ต่อปี 5) ปริมาณการจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี การใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวสูง โดยรายจ่ายงบประมาณตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (GFS) เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 86.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี ประกอบด้วยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ต่อปี การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง 1) การส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อปี ส่วนปริมาณการส่งออกหดตัวร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือนมกราคม 2) การนำเข้าขยายตัวดี โดยมูลค่าการนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 25.5 ต่อปี ส่วนปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อปี ในเดือนมกราคม 3) ดุลการค้าเดือนกุมภาพันธ์ยังคงเกินดุลทั้งสิ้น 568.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ภาคการผลิตขยายตัวดี ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรรวม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ (ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ขยายตัวร้อยละ 14.2 ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตส่งออกระหว่างร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมกราคมอยู่ที่ร้อยละ 74.6 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 73.0 ในเดือนก่อน
สินเชื่อและเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดย 1) เงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมกราคมปรับตัวสูงขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี 2) สินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs เดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 12.8 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ลดลงจากร้อยละ 15.3 ในไตรมาสก่อน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ มีฐานะการเงินที่มั่นคง โดย 1) เงินฝากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ระดับ 1.16 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ต่อปี 2) สินเชื่อ คงขยายตัวได้ดี โดยสินเชื่อคงค้างโดยรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 1.18 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี และเป็นสินเชื่อที่อนุมัติใหม่ในเดือนธันวาคมจำนวน 46 พันล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 สินเชื่ออนุมัติใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 465.3 พันล้านบาท 3) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ2ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 118.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด 4) อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไปแล้วยังคงสูงกว่ามาตรฐาน กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราร้อยละ 8.5 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 15 5) สินทรัพย์โดยรวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 9 แห่ง อยู่ที่ 1.67 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 ส่วนผลประกอบการของสถาบันการเฉพาะกิจเดือนธันวาคมขาดทุนสุทธิ จำนวน 6,567 ล้านบาท เนื่องจาก สถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งได้สำรองหนี้สูญ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 สถาบันการเงินเฉพาะกิจขาดทุนสุทธิ 1,529 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2546 มีกำไรสุทธิ จำนวน 13,703 ล้านบาท
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวและผักผลไม้ 2) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนกุมภาพันธ์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน 3) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคมเกินดุลทั้งสิ้น 812 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลมาจากดุลบริการที่เกินดุลสูงตามภาวะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี 4) ทุนสำรองทางการอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 คิดเป็น 6.3 เดือนของมูลค่าการนำเข้าหรือประมาณ 3.7 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
ฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547
1. ด้านรายได้
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้เบื้องต้นรวม 86,444 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,892 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 1.8) และมีรายได้สุทธิรวม 78,290 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 0.1)
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547) รายได้รวมของรัฐบาลสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณในอัตราที่ค่อนข้างสูง โดยมีรายได้รวม 463,641 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 92,190 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.3) โดยมีรายได้สุทธิ 419,040 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 86,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.8) สาเหตุที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นมากเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้นมาก
2. ด้านรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 74,959 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.32) โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบัน 65,652 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 9,307 ล้านบาทในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ต.ค. 46- ก.พ. 47) ได้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 470,613 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.96 โดยในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 419,095 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.77 ของวงเงินงบประมาณ และเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 51,518 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันนั้น เป็นการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ จำนวน 385,545 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 46.34 ของงบประจำทั้งสิ้น) และงบลงทุน จำนวน 33,550 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 17.12 ของงบลงทุนทั้งสิ้น)
3. ฐานะการคลัง
3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสด
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 66,398 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 74,958.6 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 8,560 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 29,243.6 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดขาดดุล 37,803 ล้านบาทสำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 นั้นรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวม 412,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 54,337 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 ขณะเดียวกันมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบัน และปีก่อนรวม 470,613 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 84,729 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 58,416 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุล 55,679 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลรวมทั้งสิ้น 114,096 ล้านบาท
3.2 ฐานะการคลังตามระบบ สศค.
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 68,804.9 ล้านบาท มีรายจ่ายรวม 85,976 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 17,171 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 671 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,658 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุล 14,184 ล้านบาท
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายได้รวม 398,822 ล้านบาท และมีรายจ่ายรวม 504,876 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ต่ำกว่ารายจ่าย 106,054 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับรายจ่ายจากเงินกู้จากต่างประเทศ 2,969 ล้านบาท และดุลการคลังของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล 43,399 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล 65,624 ล้านบาท
3.3 คาดการณ์ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2547
3.3.1 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดตลอดปีงบประมาณ 2547 คาดว่ารัฐบาลจะมีดุลเงินสดขาดดุลรวม 158,905 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี) หรือคิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP (ปีที่แล้วขาดดุล 40,763 ล้านบาท) โดยคาดว่าจะมีรายได้ 1,063,600 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณ 1,168,705 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 135,500 ล้านบาท) ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุล 105,105 ล้านบาท ส่วนดุลนอกงบประมาณคาดว่าจะขาดดุลประมาณ 53,800 ล้านบาท
3.3.2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.ตลอดปี 2547 คาดว่ารัฐบาลจะมีดุลการคลังขาดดุล 112,498 ล้านบาท (รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี) คิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP เทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเกินดุล 10,646 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP
4. หนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 เท่ากับ 2,889.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.95 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.4 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของ GDP โดยแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,619.6 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 852.6 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 417.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ หนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณคิดเป็นร้อยละ 27.15 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.83 ในเดือนที่แล้ว)
หนี้สาธารณะคงค้าง ที่เปลี่ยนไปเป็นผลจากหนี้คงค้างรัฐบาลลดลงสุทธิ 2.8 พันล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 11.8 พันล้านบาท และหนี้ FIDF เพิ่มขึ้นสุทธิ 17.0 พันล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่สามารถรับเงินฝากได้ตามกฎหมาย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และธนาคารอิสลาม
สถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์( ธอส. ) ธนาคารอิสลาม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์( ธอส. ) ธนาคารอิสลาม บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย(บตท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 4/2547 26 มีนาคม 2547--
-นท-