= พิธีเปิดโครงการยุวชนประชาธิปไตย ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
= คณะยุวชนประชาธิปไตยเยี่ยมรัฐสภา
รัฐสภาโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำคณะยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๑/๒๕๔๗ เข้าถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ และเยี่ยมคารวะ พร้อมทั้งรับฟังโอวาทจากนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายสุชน ชาลีเครือประธานวุฒิสภา ในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม คณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ต่อมาคณะยุวชนฯ ได้เข้าฟังและศึกษาดูงานการประชุมของคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
สำหรับในช่วงบ่ายคณะยุวชนฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำ ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเมืองปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นนายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้บรรยายเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาให้แก่ คณะยุวชนฯ ได้รับทราบถึงกระบวนการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติว่ามีการทำหน้าที่อย่างไร และ ในช่วงสุดท้ายคณะยุวชนฯ ได้รับประสบการณ์จริงอีกรูปแบบหนึ่ง คือ "ได้เข้าฟังการประชุมสภาผู้แทนราษฎร" ณ ห้องประชุมรัฐสภา ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ทูตสหราชอาณาจักรคนใหม่เข้าเยี่ยมคารวะ
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายเดวิด วิลเลียม ฟอลล์ เอกอัครราชทูต สหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคาร รัฐสภา ๑
นายเดวิด วิลเลียม ฟอลล์ ได้กล่าวขอบคุณประธานรัฐสภาที่ให้โอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะ และกล่าวแสดงความยินดีที่ได้ประจำอยู่ในประเทศไทย เพราะใช้ชีวิตอยู่ทีประเทศไทยมานานกว่า ๒๐ ปี จึงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี และเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยมีการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากในอดีตเป็นอย่างมาก และประชาชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองมากขึ้น
นายอุทัย กล่าวแสดงความยินดีต่อเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร และยินดีกับประเทศไทยที่มีเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่มีความรู้ในเรื่องของประเทศเป็นอย่างดี พร้อมกับได้สนทนาแลกเปลี่นความรู้ในเรื่องการเมืองการปกครองของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสนทนาถึงการเมืองการปกครองในประเทศต่าง ๆ พร้อมทั้งได้แสดงเจตนารมณ์ในการให้ความสนับสนุนและ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
= โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องออกกำลังกาย ชั้น ๒ อาคารสโมสรรัฐสภา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน ลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างสโมสรรัฐสภากับมูลนิธิแพทย์แผนไทยพัฒนา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือในการจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โดยทางสโมสรรัฐสภาได้ ปรับปรุงสถานที่ให้กับมูลนิธิฯ เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเพื่อ สุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการตรวจสุขภาพทดลองสมรรถภาพด้วยการประยุกต์เครื่องกายบริหารแบบปัจจุบันไว้ด้วย โดยมีผู้ร่วมลงนามประกอบด้วยนายแพทย์วุฒิกิจ ธนะภูมิ ประธานมูลนิธิฯ นายริศร ทองธิราช เลขานุการคณะกรรมการสโมสรรัฐสภา แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ สมาชิกวุฒิสภา และแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ เลขานุการมูลนิธิฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป โดยจะมีบริการนวดเท้าเพื่อสุขภาพ แช่เท้า ด้วยสมุนไพร นวดกดจุดคลายเมื่อย ประคบด้วยสมุนไพร นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นวดบ่า คอ ไหล่ กดจุดศีรษะคลายเครียด และนวดน้ำมันเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยจะเปิดให้บริการอย่างเป็น ทางการในเดือนเมษายน ๒๕๔๗ นี้
= กิจกรรมการเต้นแอโรบิค
วันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนน ประดิพัทธ์ นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการเต้น แอโรบิค ที่จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ออกกำลังกาย ทำให้เกิดการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิต เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
= เปิดตัวหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒
ด้วยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ จะจัดเสวนาเปิดตัวหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒ ขึ้น ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๗ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ ณ เวทีเอเทรียม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง นายประภัสสร เสวิกุล นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์ ร่วมเป็นวิทยากรเสวนา และนายรักษ์มนัญญา สมเทพ เป็น ผู้ดำเนินการเสวนา
ผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถซื้อหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒ ได้ภายในบริเวณงาน จะได้รับหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๑ แถมอีก ๑ เล่ม
ในการจัดงานครั้งนี้จะมีการถ่ายทอดเสียงการเสวนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา คลื่นความถี่ เอฟ เอ็ม ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป
= การสัมมนาเรื่อง "พนักงานราชการ"
ด้วยในวันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "พนักงานราชการ" ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบพนักงานราชการและแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างของส่วนราชการ รวมทั้งก่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนของส่วนราชการฝ่ายนิติบัญญัติให้กับ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบุคลากร
การจัดสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องมาจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ นั้น ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการปรับปรุงกระบวนการจ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างส่วนราชการ ให้มีความหลากหลายและเกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนภาครัฐและให้การปฏิบัติราชการมีความยืดหยุ่นคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นการ รองรับระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลในองค์กรภาครัฐ โดยแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะข้าราชการมืออาชีพและลักษณะพนักงานราชการ
ดังนั้น คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้โดยอนุโลม
= รับสมัครคัดเลือกบุคคล
ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ในตำแหน่งนักวิชาการระดับปริญญาตรี ๕ อัตรา และระดับปริญญาโท ๑๒ อัตรา โดยมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งดังนี้
ระดับปริญญาตรี
๑. ปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ
๒. ปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
๓. ปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์
๔. ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์
๕. ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์
๖. ปริญญาตรีทางสังคมศาสตร์
๗. ปริญญาตรีทางนิเทศศาสตร์
๘. ปริญญาตรีทางบรรณารักษศาสตร์
๙. ปริญญาตรีทางสารนิเทศศาสตร์
๑๐. ปริญญาตรีทางการท่องเที่ยว
๑๑. ปริญญาตรีทางการบัญชี
๑๒. ปริญญาตรีทางการเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาโท
๑. ปริญญาโททางบริหารธุรกิจ
๒. ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์
๓. ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ ด้านแรงงาน
๔. ปริญญาโททางรัฐศาสตร์
๕. ปริญญาโททางนิติศาสตร์
๖. ปริญญาโททางสังคมศาสตร์
๗. ปริญญาโททางวิทยาศาสตร์
๘. ปริญญาโททางวิทยาศาสตร์การแพทย์
๙. ปริญญาโททางการท่องเที่ยว
๑๐. ปริญญาโททางพลศึกษา
๑๑. ปริญญาโททางเทคโนโลยีทางการศึกษา
๑๒. ปริญญาโททางเกษตรศาสตร์
๑๓. ปริญญาโททางการบัญชี
๑๔. ปริญญาโททางพัฒนาการเศรษฐกิจ
ผู้ที่สนใจขอรายละเอียด พร้อมทั้งยื่นใบสมัครได้ที่กลุ่มงานบริหารงานบุคคล สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๖ ถนนพระรามที่ ๖ กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หรือ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ หรือเว็บไซต์ของรัฐสภา ที่ www.parliament.go.th ในระหว่างวันที่ ๒๒ มีนาคม-๒ เมษายน ๒๕๔๗ ในวันและเวลาราชการ
= การประชุมประจำปียุวชนประชาธิปไตยรวมรุ่น (ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗)
จากการที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอบรมโครงการยุวชนประชาธิปไตย เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่ยุวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งยุวชนนอกระบบการศึกษา โดยต้องการให้ยุวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ระดับสูง เพื่อที่จะสร้างยุวชนที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประชาธิปไตยและพร้อมที่จะรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมในอนาคตซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็น อย่างมาก มีการสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ประชาธิปไตย รวมทั้งทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง
โครงการยุวชนประชาธิปไตย ได้เริ่มจัดฝึกอบรมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ โดยเนื้อหาของหลักสูตรการอบรมจะประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น เรื่องแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เรื่ององค์กรอิสระและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และเรื่องเยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานองค์กรอิสระต่าง ๆ ด้วย อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่ยุวชนผู้เข้ารับการอบรมอีกด้วย สำหรับปี ๒๕๔๕ มีการอบรมทั้งสิ้นจำนวน ๔ รุ่น ๆ ละ ๗๕ คน รวม ๓๐๐ คน ปี ๒๕๔๖ มีการอบรมทั้งสิ้นจำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑๕๐ คน รวม ๓๐๐ คน และในปี ๒๕๔๗ นี้ จะมีการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย โดยเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือ จะมีการฝึกอบรมจำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑๖๐ คน รวม ๓๒๐ คน และ จากการที่มียุวชนประชาธิปไตยซึ่งผ่านการฝึกอบรมได้ทำกิจกรรมสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ประชาธิปไตยรวมทั้งทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้ยุวชนประชาธิปไตยได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเองที่ได้ดำเนินไปแล้ว ทั้งที่ประสบความสำเร็จ และพบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้กับยุวชนประชาธิปไตยคนอื่นทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางพัฒนากิจกรรม การสร้างเครือข่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากที่สุด จึงได้มีการจัดการประชุมประจำปี ยุวชนประชาธิปไตยรวมรุ่น (ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗) ขึ้น ซึ่งจะมี ยุวชนประชาธิปไตยจากทั่วประเทศเข้าร่วมการประชุมกว่า ๙๐๐ คน โดยการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
= แข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา ประจำปี ๒๕๔๗
รัฐสภาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ (Konrad Adenauer Foundation) จะจัดให้มีการแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตลอดจนเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การแข่งขันจะแบ่งเป็น ๒ รอบ คือ รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ การคัดเลือก จะดำเนินการแข่งขันระหว่างวันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยกำหนดให้เขตตรวจราชการที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๑๑ และ ๑๒ แข่งขันวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ ส่วนเขตตรวจราชการที่ ๑, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ และเขตตรวจราชการส่วนกลาง แข่งขันวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อคัดเลือกตัวแทนของแต่ละเขต ตรวจราชการเข้าชิงชนะเลิศในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
สำหรับรางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่ของประธานรัฐสภา พร้อมเกียรติบัตรและเงินทุน การศึกษา จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท ส่วนรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับโล่ของประธานรัฐสภา พร้อมเกียรติบัตรและเงินทุนการศึกษา จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชยจะได้รับเกียรติบัตรและเงินทุนการศึกษา รางวัลละ ๖,๐๐๐ บาท
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธ ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง
๒.๔.๑ เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็น
สมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่
๒.๔.๒ เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญในการตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ….
โดยในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถามประธานรัฐสภาเนื่องจากมีประเด็นสงสัยรวม ๓ ประเด็น คือ
๑. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการส่งเรื่องที่มีความขัดแย้งให้องค์กรอิสระพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องต่าง ๆ
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎเกิดจากสาเหตุใด
ระหว่างการบันทึกคำอภิปรายคลาดเคลื่อนกับความเห็นขัดแย้ง
๓. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะต้องทำอย่างไร
ต่อไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้เฉพาะในส่วนของวุฒิสภาเท่านั้น
ซึ่งประธานฯ ได้ตอบข้อคำถามดังนี้
๑. การส่งเรื่องต่าง ๆ ไปยังองค์กรอิสระเพื่อให้มีคำวินิจฉัยนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของแต่ละเรื่องเป็นหลักเพราะแต่ละเรื่องมีเนื้อหาสาระและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎนั้นเกิดจากสาเหตุใด ต้องรอมติของวุฒิสภาที่จะส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ซึ่งหากไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญต้องนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
๓. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ราชภัฎอย่างชัดเจน และให้แก้ไขเฉพาะประเด็นที่มีความขัดแย้งเท่านั้นไม่ต้องแก้ไขทั้งฉบับโดยให้ วุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ดังนั้นภายหลังจากได้รับคำวินิจฉัยแล้วในฐานะประธานรัฐสภาจึงส่งบันทึกไปให้วุฒิสภาดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้วควรจะส่งร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้งเหมือนกับกระบวนการพิจารณากฎหมายทั่วไปที่ใช้อยู่ กล่าวคือ เมื่อกฎหมายผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและหากมีการแก้ไขในขั้นตอนของวุฒิสภาต้องส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง ดังนั้นจึงน่าจะอนุโลมให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎใช้กระบวนการพิจารณานี้ด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อน เรื่องด่วนที่ ๑๑ พระราชกำหนด เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และเรื่องด่วนที่ ๑๒ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขึ้น มาพิจารณาก่อนและต่อด้วย เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๔ เรื่อง คือ ร่างพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ลำดับต่อมา นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีเนื้อหาสาระให้การเพิ่มโทษความผิดฐานการก่อการร้ายเข้าไปในประมวลกฎหมาย
อาญาซึ่งมีขอบข่ายในลักษณะดังนี้คือ การที่ผู้ก่อการร้ายบังคับขู่เข็ญ รัฐบาลไทยและต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง รวมทั้งการก่อเหตุอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ หรือของบุคคล หรือต่อ สิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิด หรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างสำคัญและกำหนดให้บุคคลที่ขู่เข็ญที่จะก่อการร้าย การสะสมกำลังพล อาวุธต่าง ๆ มีความผิดด้วยสำหรับบุคคลซึ่ง สหประชาชาติมีมติหรือประกาศของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับรองแล้วกำหนดให้เป็นผู้ก่อการร้ายให้มีความผิดตามพระราชกำหนดนี้ด้วย อีกทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ ๑๓๗๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
การพิจารณาพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงอนุญาตให้พิจารณาและอภิปรายไปในคราวเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเสนอร่าง พระราชกำหนดฉบับนี้ว่าสาระสำคัญ คือ การเพิ่มเติมความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาเป็นฐานความผิดในกฎหมายการฟอกเงินด้วยเพื่อให้สามารถใช้กลไกตามกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้ายได้ ประกอบกับสถานการณ์การก่อการร้าย ที่ประสงค์ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันมีมากขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้ม จะเกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายธานินทร์ ใจสมุทร นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายอลงกรณ์ พลบุตร นายสาธิต ปิตุเตชะ นายสนั่น สุธากุล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายสุวโรช พะลัง ได้อภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ของรัฐบาลว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรที่ต้องตรากฎหมายเป็นพระราชกำหนด เหตุผลการตรากฎหมายฉบับนี้เหมาะสมกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใดสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหรือไม่ ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลกระทบกับบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ส่วนประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดในลักษณะนี้ได้ใช่หรือไม่ ในทางกลับกันการตรากฎหมายนี้จะสามารถยับยั้งการก่อการร้ายได้จริงหรือ สาเหตุที่ต้อง รวบรัดการตรากฎหมายอยู่ภายใต้การกดดันจากต่างประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนเป็นที่ตั้งหรือไม่ นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลนำหลักรัฐศาสตร์เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศไปพร้อมกับหลักนิติศาสตร์ด้วย สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานฟอกเงินนั้นการขยายฐานความผิดนั้นจะเป็นการสร้างภาวะอันตรายให้กับประเทศมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ การเพิ่มอำนาจรัฐให้มากขึ้นในกฎหมายฟอกเงินนั้นสามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในประเทศได้จริงหรือในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลอภิปรายสนับสนุนการเห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ ในหลายประเด็น คือ
๑. เพราะภาวะของทั้งโลกมีการก่อการร้ายรุนแรงมากขึ้นและเข้ามาใกล้ประเทศเรา
ด้วย จนกระทั่งมีบุคคลผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศมาหลบซ่อนตัวในประเทศไทย ดังนั้นต้องมีเครื่องมือ ในการจัดการกับผู้ก่อการร้าย และการก่อการร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกประเทศในโลก
๒. เราเป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติดังนั้นจึงต้องให้ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ
๓. การใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
โดยตรงเป็นเพียงใกล้เคียงเท่านั้น และไม่ครอบคลุมจนถึงความเสียหายที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
๔. พระราชกำหนดนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่ามีความชอบธรรมที่จะบังคับใช้ได้
๕. การออกกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ใช้บังคับกับประชาชนทั่วไปทุกคน
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ตอบข้อซักถามการอภิปรายของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรว่าพระราชกำหนดนี้ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน สำหรับประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่นั้นไม่ครอบคลุมกับฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการออกกฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในประเทศมิได้เกิดจากการกดดันจากต่างประเทศแต่อย่างใด
จากนั้น นายสนั่น สุธากุล เสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมจึงสั่งปิดประชุม
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยในระเบียบวาระที่ ๑ เป็นกระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอัน
เนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
๒. รับทราบเรื่องการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของหน่วยประจำชาติไทย ประจำปี
๒๕๔๖ ด้วยประธานรัฐสภาในฐานะประธานหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา หรือ IPU สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเซียและแปซิฟิค และองค์การรัฐสภาอาเซียน ได้เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีของหน่วยประจำชาติไทย ทั้ง ๓ หน่วย ตามข้อบังคับหน่วยประจำชาติไทยทั้ง ๓ หน่วย พ.ศ. ๒๕๒๕ ข้อ ๖ ในวันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา ๑ จึงขอเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมตามกำหนดวันและเวลาดังกล่าว
๓. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี)
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาการทุจริตและการแทรกแซงราคาผลผลิตการเกษตร ซึ่งนายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการทุจริตและแทรกแซงราคาผลผลิตการเกษตร ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การแทรกแซงผลผลิตราคาเกษตรตกต่ำในการทุจริตลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด ทุเรียน และกฎหมายทางการเกษตรของสหรัฐอเมริกา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องของการทุจริตในผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นจี่ ลำไย ข้าว เงาะ ทั้งในด้านของราคา การระบายสินค้า การแปรรูปสินค้า และมาตรการการดำเนินการกับผู้ทุจริตที่จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายว่า รายงานผลการพิจารณาศึกษานี้ยังไม่มี ข้อมูลมากเพียงพอ ซึ่งในเรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ได้พิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่าง เต็มที่ และได้เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการทุจริตจริง แต่ในการศึกษานี้ทาง คณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งสมมติฐานของการทุจริตไว้ และได้เสนอแนะให้มีมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการแทรกแซงนั้นยังมีช่องว่างอยู่อีกมาก ทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย
จากนั้นได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางและมีการเสนอแนะโดยให้สถาบันเกษตรกรมีส่วนร่วมในการรับจำนำผลผลิต และควรเพิ่มจำนวนจุดรับจำนำให้มากขึ้น รวมทั้งเครื่องชั่งน้ำหนักของโรงสีจะต้องมีมาตรฐานและตรวจสอบได้
หลังจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี รับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๒๓๓ เสียง และส่งเรื่อง ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา
จากนั้น ได้มีการประชุมต่อในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และการจ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยหลังจากโรคไข้หวัดนกระบาดสิ้นสุดลง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้จ่ายเงินค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออย่างเป็นธรรมให้กับผู้ประสบภัย เพราะมาตรการในการควบคุมไข้หวัดนก ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรจะไม่สามารถควบคุม ได้โดยง่าย จึงได้ดำเนินการเรื่องค่าชดเชยอย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยแบ่งการช่วยเหลือและการชดเชยเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกให้เงินสดชดเชยสำหรับไก่ไข่ตัวละ ๔๐ บาท และให้ไก่ไข่อายุ ๑๘ สัปดาห์ อีก ๑ ตัว สำหรับไก่เนื้อให้เงินสดตัวละ ๒๐ บาท ส่วนค่าเสียหายนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้เบิกงวดเงินจากกรมบัญชีกลางไปแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการส่งเงินดังกล่าว ไปยังจังหวัด เพื่อดำเนินการแจกจ่ายให้กับเกษตรกรต่อไป
๒. กระทู้ถามสดของนางผณินทรา ภัคเกษม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างฝายและขุดลอกลำน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเชียงใหม่เท่านั้น แต่จากการตรวจสอบปรากฏว่า มีหลายจังหวัดต้องประสบกับภัยแล้ง และสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศโดยด่วนแล้ว โดยการนำฝนหลวงเข้าไปช่วยในบริเวณที่มีความชื้นสัมพัทธ์เกิน ๖๐% ส่วนในอำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่านั้น รัฐบาลจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจับกุมผู้ต้องหาและเหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ในภาคใต้เป็นภาคที่มีลักษณะพิเศษ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากปัญหาภายนอกประเทศด้วย พร้อมกันนี้ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลได้ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) และ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๔๓ (พตท.) ทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเหตุอื่น ส่วนกรณีเรื่องการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้วิธีการอุ้มนั้น ได้มีการกำชับกันมาตลอดว่า ห้ามใช้วิธีการอุ้มโดยเด็ดขาด แม้ว่าจะอยู่ในช่วงประกาศใช้ กฎอัยการศึกก็ตาม ต้องให้นำหมายศาลไปนำผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย มาสอบสวน และให้ดำเนินการอย่างโปร่งใสด้วย และไม่เชื่อว่า นายสมชาย นีละไพจิตร ถูกอุ้มเพราะคดีเจไอ
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนออกไปตอบ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
๒. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การลดภาษีให้บริษัทต่างชาติ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทู้ถามดังกล่าว ผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาบัณฑิตว่างงาน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถาม ดังกล่าว ผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
= คณะยุวชนประชาธิปไตยเยี่ยมรัฐสภา
รัฐสภาโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำคณะยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๑/๒๕๔๗ เข้าถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ และเยี่ยมคารวะ พร้อมทั้งรับฟังโอวาทจากนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายสุชน ชาลีเครือประธานวุฒิสภา ในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม คณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ต่อมาคณะยุวชนฯ ได้เข้าฟังและศึกษาดูงานการประชุมของคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ
สำหรับในช่วงบ่ายคณะยุวชนฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำ ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเมืองปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นนายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้บรรยายเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาให้แก่ คณะยุวชนฯ ได้รับทราบถึงกระบวนการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติว่ามีการทำหน้าที่อย่างไร และ ในช่วงสุดท้ายคณะยุวชนฯ ได้รับประสบการณ์จริงอีกรูปแบบหนึ่ง คือ "ได้เข้าฟังการประชุมสภาผู้แทนราษฎร" ณ ห้องประชุมรัฐสภา ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ทูตสหราชอาณาจักรคนใหม่เข้าเยี่ยมคารวะ
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน รัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายเดวิด วิลเลียม ฟอลล์ เอกอัครราชทูต สหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคาร รัฐสภา ๑
นายเดวิด วิลเลียม ฟอลล์ ได้กล่าวขอบคุณประธานรัฐสภาที่ให้โอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะ และกล่าวแสดงความยินดีที่ได้ประจำอยู่ในประเทศไทย เพราะใช้ชีวิตอยู่ทีประเทศไทยมานานกว่า ๒๐ ปี จึงมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี และเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยมีการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากในอดีตเป็นอย่างมาก และประชาชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการเมืองการปกครองมากขึ้น
นายอุทัย กล่าวแสดงความยินดีต่อเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร และยินดีกับประเทศไทยที่มีเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่มีความรู้ในเรื่องของประเทศเป็นอย่างดี พร้อมกับได้สนทนาแลกเปลี่นความรู้ในเรื่องการเมืองการปกครองของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสนทนาถึงการเมืองการปกครองในประเทศต่าง ๆ พร้อมทั้งได้แสดงเจตนารมณ์ในการให้ความสนับสนุนและ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
= โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องออกกำลังกาย ชั้น ๒ อาคารสโมสรรัฐสภา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน ลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างสโมสรรัฐสภากับมูลนิธิแพทย์แผนไทยพัฒนา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือในการจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โดยทางสโมสรรัฐสภาได้ ปรับปรุงสถานที่ให้กับมูลนิธิฯ เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยเพื่อ สุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการตรวจสุขภาพทดลองสมรรถภาพด้วยการประยุกต์เครื่องกายบริหารแบบปัจจุบันไว้ด้วย โดยมีผู้ร่วมลงนามประกอบด้วยนายแพทย์วุฒิกิจ ธนะภูมิ ประธานมูลนิธิฯ นายริศร ทองธิราช เลขานุการคณะกรรมการสโมสรรัฐสภา แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ สมาชิกวุฒิสภา และแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ เลขานุการมูลนิธิฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป โดยจะมีบริการนวดเท้าเพื่อสุขภาพ แช่เท้า ด้วยสมุนไพร นวดกดจุดคลายเมื่อย ประคบด้วยสมุนไพร นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นวดบ่า คอ ไหล่ กดจุดศีรษะคลายเครียด และนวดน้ำมันเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยจะเปิดให้บริการอย่างเป็น ทางการในเดือนเมษายน ๒๕๔๗ นี้
= กิจกรรมการเต้นแอโรบิค
วันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนน ประดิพัทธ์ นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการเต้น แอโรบิค ที่จัดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ออกกำลังกาย ทำให้เกิดการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิต เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
= เปิดตัวหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒
ด้วยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ จะจัดเสวนาเปิดตัวหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒ ขึ้น ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๗ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ ณ เวทีเอเทรียม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง นายประภัสสร เสวิกุล นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์ ร่วมเป็นวิทยากรเสวนา และนายรักษ์มนัญญา สมเทพ เป็น ผู้ดำเนินการเสวนา
ผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถซื้อหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๒ ได้ภายในบริเวณงาน จะได้รับหนังสือวรรณกรรมการเมือง รางวัล "พานแว่นฟ้า" ครั้งที่ ๑ แถมอีก ๑ เล่ม
ในการจัดงานครั้งนี้จะมีการถ่ายทอดเสียงการเสวนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา คลื่นความถี่ เอฟ เอ็ม ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกาเป็นต้นไป
= การสัมมนาเรื่อง "พนักงานราชการ"
ด้วยในวันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "พนักงานราชการ" ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบพนักงานราชการและแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างของส่วนราชการ รวมทั้งก่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนของส่วนราชการฝ่ายนิติบัญญัติให้กับ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบุคลากร
การจัดสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องมาจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ นั้น ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการปรับปรุงกระบวนการจ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างส่วนราชการ ให้มีความหลากหลายและเกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนภาครัฐและให้การปฏิบัติราชการมีความยืดหยุ่นคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นการ รองรับระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐแนวใหม่ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลในองค์กรภาครัฐ โดยแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะข้าราชการมืออาชีพและลักษณะพนักงานราชการ
ดังนั้น คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้โดยอนุโลม
= รับสมัครคัดเลือกบุคคล
ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ในตำแหน่งนักวิชาการระดับปริญญาตรี ๕ อัตรา และระดับปริญญาโท ๑๒ อัตรา โดยมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งดังนี้
ระดับปริญญาตรี
๑. ปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ
๒. ปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ ด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
๓. ปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์
๔. ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์
๕. ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์
๖. ปริญญาตรีทางสังคมศาสตร์
๗. ปริญญาตรีทางนิเทศศาสตร์
๘. ปริญญาตรีทางบรรณารักษศาสตร์
๙. ปริญญาตรีทางสารนิเทศศาสตร์
๑๐. ปริญญาตรีทางการท่องเที่ยว
๑๑. ปริญญาตรีทางการบัญชี
๑๒. ปริญญาตรีทางการเกษตรศาสตร์
ระดับปริญญาโท
๑. ปริญญาโททางบริหารธุรกิจ
๒. ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์
๓. ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ ด้านแรงงาน
๔. ปริญญาโททางรัฐศาสตร์
๕. ปริญญาโททางนิติศาสตร์
๖. ปริญญาโททางสังคมศาสตร์
๗. ปริญญาโททางวิทยาศาสตร์
๘. ปริญญาโททางวิทยาศาสตร์การแพทย์
๙. ปริญญาโททางการท่องเที่ยว
๑๐. ปริญญาโททางพลศึกษา
๑๑. ปริญญาโททางเทคโนโลยีทางการศึกษา
๑๒. ปริญญาโททางเกษตรศาสตร์
๑๓. ปริญญาโททางการบัญชี
๑๔. ปริญญาโททางพัฒนาการเศรษฐกิจ
ผู้ที่สนใจขอรายละเอียด พร้อมทั้งยื่นใบสมัครได้ที่กลุ่มงานบริหารงานบุคคล สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารทิปโก้ ชั้น ๑๖ ถนนพระรามที่ ๖ กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หรือ โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๙-๑๒ หรือเว็บไซต์ของรัฐสภา ที่ www.parliament.go.th ในระหว่างวันที่ ๒๒ มีนาคม-๒ เมษายน ๒๕๔๗ ในวันและเวลาราชการ
= การประชุมประจำปียุวชนประชาธิปไตยรวมรุ่น (ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗)
จากการที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอบรมโครงการยุวชนประชาธิปไตย เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่ยุวชนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งยุวชนนอกระบบการศึกษา โดยต้องการให้ยุวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ระดับสูง เพื่อที่จะสร้างยุวชนที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประชาธิปไตยและพร้อมที่จะรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมในอนาคตซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็น อย่างมาก มีการสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ประชาธิปไตย รวมทั้งทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง
โครงการยุวชนประชาธิปไตย ได้เริ่มจัดฝึกอบรมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ โดยเนื้อหาของหลักสูตรการอบรมจะประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น เรื่องแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เรื่ององค์กรอิสระและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และเรื่องเยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานองค์กรอิสระต่าง ๆ ด้วย อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่ยุวชนผู้เข้ารับการอบรมอีกด้วย สำหรับปี ๒๕๔๕ มีการอบรมทั้งสิ้นจำนวน ๔ รุ่น ๆ ละ ๗๕ คน รวม ๓๐๐ คน ปี ๒๕๔๖ มีการอบรมทั้งสิ้นจำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑๕๐ คน รวม ๓๐๐ คน และในปี ๒๕๔๗ นี้ จะมีการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย โดยเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือ จะมีการฝึกอบรมจำนวน ๒ รุ่น ๆ ละ ๑๖๐ คน รวม ๓๒๐ คน และ จากการที่มียุวชนประชาธิปไตยซึ่งผ่านการฝึกอบรมได้ทำกิจกรรมสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ประชาธิปไตยรวมทั้งทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้ยุวชนประชาธิปไตยได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเองที่ได้ดำเนินไปแล้ว ทั้งที่ประสบความสำเร็จ และพบกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้กับยุวชนประชาธิปไตยคนอื่นทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางพัฒนากิจกรรม การสร้างเครือข่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากที่สุด จึงได้มีการจัดการประชุมประจำปี ยุวชนประชาธิปไตยรวมรุ่น (ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๗) ขึ้น ซึ่งจะมี ยุวชนประชาธิปไตยจากทั่วประเทศเข้าร่วมการประชุมกว่า ๙๐๐ คน โดยการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
= แข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา ประจำปี ๒๕๔๗
รัฐสภาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ (Konrad Adenauer Foundation) จะจัดให้มีการแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับรัฐสภา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตลอดจนเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การแข่งขันจะแบ่งเป็น ๒ รอบ คือ รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ การคัดเลือก จะดำเนินการแข่งขันระหว่างวันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยกำหนดให้เขตตรวจราชการที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๑๑ และ ๑๒ แข่งขันวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ ส่วนเขตตรวจราชการที่ ๑, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ และเขตตรวจราชการส่วนกลาง แข่งขันวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อคัดเลือกตัวแทนของแต่ละเขต ตรวจราชการเข้าชิงชนะเลิศในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
สำหรับรางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่ของประธานรัฐสภา พร้อมเกียรติบัตรและเงินทุน การศึกษา จำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท ส่วนรางวัลรองชนะเลิศจะได้รับโล่ของประธานรัฐสภา พร้อมเกียรติบัตรและเงินทุนการศึกษา จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชยจะได้รับเกียรติบัตรและเงินทุนการศึกษา รางวัลละ ๖,๐๐๐ บาท
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธ ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง
๒.๔.๑ เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็น
สมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง หรือไม่
๒.๔.๒ เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญในการตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ….
โดยในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถามประธานรัฐสภาเนื่องจากมีประเด็นสงสัยรวม ๓ ประเด็น คือ
๑. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการส่งเรื่องที่มีความขัดแย้งให้องค์กรอิสระพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องต่าง ๆ
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎเกิดจากสาเหตุใด
ระหว่างการบันทึกคำอภิปรายคลาดเคลื่อนกับความเห็นขัดแย้ง
๓. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะต้องทำอย่างไร
ต่อไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้เฉพาะในส่วนของวุฒิสภาเท่านั้น
ซึ่งประธานฯ ได้ตอบข้อคำถามดังนี้
๑. การส่งเรื่องต่าง ๆ ไปยังองค์กรอิสระเพื่อให้มีคำวินิจฉัยนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของแต่ละเรื่องเป็นหลักเพราะแต่ละเรื่องมีเนื้อหาสาระและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎนั้นเกิดจากสาเหตุใด ต้องรอมติของวุฒิสภาที่จะส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ซึ่งหากไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญต้องนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
๓. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ราชภัฎอย่างชัดเจน และให้แก้ไขเฉพาะประเด็นที่มีความขัดแย้งเท่านั้นไม่ต้องแก้ไขทั้งฉบับโดยให้ วุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ดังนั้นภายหลังจากได้รับคำวินิจฉัยแล้วในฐานะประธานรัฐสภาจึงส่งบันทึกไปให้วุฒิสภาดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้วควรจะส่งร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้งเหมือนกับกระบวนการพิจารณากฎหมายทั่วไปที่ใช้อยู่ กล่าวคือ เมื่อกฎหมายผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและหากมีการแก้ไขในขั้นตอนของวุฒิสภาต้องส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง ดังนั้นจึงน่าจะอนุโลมให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎใช้กระบวนการพิจารณานี้ด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อน เรื่องด่วนที่ ๑๑ พระราชกำหนด เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และเรื่องด่วนที่ ๑๒ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขึ้น มาพิจารณาก่อนและต่อด้วย เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๔ เรื่อง คือ ร่างพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ลำดับต่อมา นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีเนื้อหาสาระให้การเพิ่มโทษความผิดฐานการก่อการร้ายเข้าไปในประมวลกฎหมาย
อาญาซึ่งมีขอบข่ายในลักษณะดังนี้คือ การที่ผู้ก่อการร้ายบังคับขู่เข็ญ รัฐบาลไทยและต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง รวมทั้งการก่อเหตุอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ หรือของบุคคล หรือต่อ สิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิด หรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างสำคัญและกำหนดให้บุคคลที่ขู่เข็ญที่จะก่อการร้าย การสะสมกำลังพล อาวุธต่าง ๆ มีความผิดด้วยสำหรับบุคคลซึ่ง สหประชาชาติมีมติหรือประกาศของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับรองแล้วกำหนดให้เป็นผู้ก่อการร้ายให้มีความผิดตามพระราชกำหนดนี้ด้วย อีกทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ ๑๓๗๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
การพิจารณาพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงอนุญาตให้พิจารณาและอภิปรายไปในคราวเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเสนอร่าง พระราชกำหนดฉบับนี้ว่าสาระสำคัญ คือ การเพิ่มเติมความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาเป็นฐานความผิดในกฎหมายการฟอกเงินด้วยเพื่อให้สามารถใช้กลไกตามกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้ายได้ ประกอบกับสถานการณ์การก่อการร้าย ที่ประสงค์ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันมีมากขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้ม จะเกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายธานินทร์ ใจสมุทร นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายอลงกรณ์ พลบุตร นายสาธิต ปิตุเตชะ นายสนั่น สุธากุล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายสุวโรช พะลัง ได้อภิปรายการไม่เห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ของรัฐบาลว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรที่ต้องตรากฎหมายเป็นพระราชกำหนด เหตุผลการตรากฎหมายฉบับนี้เหมาะสมกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใดสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหรือไม่ ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลกระทบกับบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ส่วนประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดในลักษณะนี้ได้ใช่หรือไม่ ในทางกลับกันการตรากฎหมายนี้จะสามารถยับยั้งการก่อการร้ายได้จริงหรือ สาเหตุที่ต้อง รวบรัดการตรากฎหมายอยู่ภายใต้การกดดันจากต่างประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนเป็นที่ตั้งหรือไม่ นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลนำหลักรัฐศาสตร์เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศไปพร้อมกับหลักนิติศาสตร์ด้วย สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานฟอกเงินนั้นการขยายฐานความผิดนั้นจะเป็นการสร้างภาวะอันตรายให้กับประเทศมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ การเพิ่มอำนาจรัฐให้มากขึ้นในกฎหมายฟอกเงินนั้นสามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรง ในประเทศได้จริงหรือในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลอภิปรายสนับสนุนการเห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ ในหลายประเด็น คือ
๑. เพราะภาวะของทั้งโลกมีการก่อการร้ายรุนแรงมากขึ้นและเข้ามาใกล้ประเทศเรา
ด้วย จนกระทั่งมีบุคคลผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศมาหลบซ่อนตัวในประเทศไทย ดังนั้นต้องมีเครื่องมือ ในการจัดการกับผู้ก่อการร้าย และการก่อการร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกประเทศในโลก
๒. เราเป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติดังนั้นจึงต้องให้ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ
๓. การใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
โดยตรงเป็นเพียงใกล้เคียงเท่านั้น และไม่ครอบคลุมจนถึงความเสียหายที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
๔. พระราชกำหนดนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่ามีความชอบธรรมที่จะบังคับใช้ได้
๕. การออกกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ใช้บังคับกับประชาชนทั่วไปทุกคน
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ตอบข้อซักถามการอภิปรายของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรว่าพระราชกำหนดนี้ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน สำหรับประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่นั้นไม่ครอบคลุมกับฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการออกกฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในประเทศมิได้เกิดจากการกดดันจากต่างประเทศแต่อย่างใด
จากนั้น นายสนั่น สุธากุล เสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมจึงสั่งปิดประชุม
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยในระเบียบวาระที่ ๑ เป็นกระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอัน
เนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
๒. รับทราบเรื่องการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของหน่วยประจำชาติไทย ประจำปี
๒๕๔๖ ด้วยประธานรัฐสภาในฐานะประธานหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา หรือ IPU สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเซียและแปซิฟิค และองค์การรัฐสภาอาเซียน ได้เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีของหน่วยประจำชาติไทย ทั้ง ๓ หน่วย ตามข้อบังคับหน่วยประจำชาติไทยทั้ง ๓ หน่วย พ.ศ. ๒๕๒๕ ข้อ ๖ ในวันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรัฐสภา อาคารรัฐสภา ๑ จึงขอเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมตามกำหนดวันและเวลาดังกล่าว
๓. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี)
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาการทุจริตและการแทรกแซงราคาผลผลิตการเกษตร ซึ่งนายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการทุจริตและแทรกแซงราคาผลผลิตการเกษตร ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การแทรกแซงผลผลิตราคาเกษตรตกต่ำในการทุจริตลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด ทุเรียน และกฎหมายทางการเกษตรของสหรัฐอเมริกา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องของการทุจริตในผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลิ้นจี่ ลำไย ข้าว เงาะ ทั้งในด้านของราคา การระบายสินค้า การแปรรูปสินค้า และมาตรการการดำเนินการกับผู้ทุจริตที่จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายว่า รายงานผลการพิจารณาศึกษานี้ยังไม่มี ข้อมูลมากเพียงพอ ซึ่งในเรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ได้พิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่าง เต็มที่ และได้เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีการทุจริตจริง แต่ในการศึกษานี้ทาง คณะกรรมาธิการฯ ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งสมมติฐานของการทุจริตไว้ และได้เสนอแนะให้มีมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการแทรกแซงนั้นยังมีช่องว่างอยู่อีกมาก ทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย
จากนั้นได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางและมีการเสนอแนะโดยให้สถาบันเกษตรกรมีส่วนร่วมในการรับจำนำผลผลิต และควรเพิ่มจำนวนจุดรับจำนำให้มากขึ้น รวมทั้งเครื่องชั่งน้ำหนักของโรงสีจะต้องมีมาตรฐานและตรวจสอบได้
หลังจากนั้น ประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี รับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๒๓๓ เสียง และส่งเรื่อง ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา
จากนั้น ได้มีการประชุมต่อในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายตรีพล เจาะจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และการจ่ายค่าชดเชยให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยหลังจากโรคไข้หวัดนกระบาดสิ้นสุดลง ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้จ่ายเงินค่าชดเชยและเงินช่วยเหลืออย่างเป็นธรรมให้กับผู้ประสบภัย เพราะมาตรการในการควบคุมไข้หวัดนก ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรจะไม่สามารถควบคุม ได้โดยง่าย จึงได้ดำเนินการเรื่องค่าชดเชยอย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยแบ่งการช่วยเหลือและการชดเชยเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกให้เงินสดชดเชยสำหรับไก่ไข่ตัวละ ๔๐ บาท และให้ไก่ไข่อายุ ๑๘ สัปดาห์ อีก ๑ ตัว สำหรับไก่เนื้อให้เงินสดตัวละ ๒๐ บาท ส่วนค่าเสียหายนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้เบิกงวดเงินจากกรมบัญชีกลางไปแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการส่งเงินดังกล่าว ไปยังจังหวัด เพื่อดำเนินการแจกจ่ายให้กับเกษตรกรต่อไป
๒. กระทู้ถามสดของนางผณินทรา ภัคเกษม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างฝายและขุดลอกลำน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเชียงใหม่เท่านั้น แต่จากการตรวจสอบปรากฏว่า มีหลายจังหวัดต้องประสบกับภัยแล้ง และสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศโดยด่วนแล้ว โดยการนำฝนหลวงเข้าไปช่วยในบริเวณที่มีความชื้นสัมพัทธ์เกิน ๖๐% ส่วนในอำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่านั้น รัฐบาลจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจับกุมผู้ต้องหาและเหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ว่า ในภาคใต้เป็นภาคที่มีลักษณะพิเศษ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากปัญหาภายนอกประเทศด้วย พร้อมกันนี้ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลได้ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) และ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๔๓ (พตท.) ทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นนั้นไม่เป็นความจริง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเหตุอื่น ส่วนกรณีเรื่องการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้วิธีการอุ้มนั้น ได้มีการกำชับกันมาตลอดว่า ห้ามใช้วิธีการอุ้มโดยเด็ดขาด แม้ว่าจะอยู่ในช่วงประกาศใช้ กฎอัยการศึกก็ตาม ต้องให้นำหมายศาลไปนำผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย มาสอบสวน และให้ดำเนินการอย่างโปร่งใสด้วย และไม่เชื่อว่า นายสมชาย นีละไพจิตร ถูกอุ้มเพราะคดีเจไอ
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนออกไปตอบ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗
๒. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การลดภาษีให้บริษัทต่างชาติ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทู้ถามดังกล่าว ผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
๓. กระทู้ถามของนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาบัณฑิตว่างงาน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถาม ดังกล่าว ผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------