นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ ‘นายกฯทักษิณ คุยกับประชาชน’ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะจัดการกับปัญหาความยากจน โดยมีโครงการขึ้นทะเบียนคนจน รวมถึงแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนว่า นโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล มักเริ่มด้วยการพูดให้ชาวบ้านเข้าใจว่า รัฐบาลจะแจกเงินไปใช้หนี้ ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ขอตั้งข้อสังเกตในคำประกาศของนายกฯดังนี้
ประการที่ 1. รัฐบาลกำลังใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ โกหกหลอกลวงประชาชน เพราะแท้จริงแล้วการประกาศแก้ปัญหาคนจน ใช้วิธีการทางบัญชี โดยการยืดเวลาและปรับโครงสร้างหนี้ให้เบาลงซึ่งเป็นวิธีการปกติที่เคยปกิบัติมาอยู่แล้ว ทำให้คนจนที่ลงทะเบียนก็ยังมีหนี้สินติดตัวต่อไป นอกจากนี้ชาวบ้านก็ยังเข้าใจว่า นายกฯจะแจกเงินทุกคนที่ไปลงทะเบียนเพื่อนำไปใช้หนี้ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ส่วนนี้รัฐบาลจะต้องชี้แจงให้กับประชาชนได้เข้าใจ
ประการที่ 2. พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงว่า การแก้ปัญหาในวิธีการดังกล่าวจะเข้าในลักษณะของ ‘อัฐยาย ซื้อขนมยาย’ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของแต่ละธนาคารที่เข้าไปรับภาระซื้อหนี้ตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงจะกระทบต่อฐานะทางการเงินของประเทศในที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีต่อไปนี้คือ กรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส ) มีหนี้ที่คนจนลงทะเบียนไว้ถึง 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่รัฐบาลให้ ธ.ก.ส รับภาระในการยืดหนี้ ลดหนี้ หรือตัดหนี้สูญ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดว่าแต่ละวิธีจะเข้าไปแก้ปัญหาหนี้จำนวนเท่าไร หรือกรณีที่ธนาคารออมสิน ต้องรับภาระตามนโยบายรัฐบาลซึ่งมีมูลหนี้ที่คนจนลงทะเบียนไว้ 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระดูแลเงินให้กู้ปกติถึง 2.08 แสนล้านบาทและเงินรับฝากทั่วไปอีก 5.2 แสนล้านบาท
ประการที่ 3. หนี้คนจนที่ไปขึ้นทะเบียนนั้น มีการแยกแยะชนิดประเภทหรือไม่ เพราะหนี้ที่ปรากฏอยู่ในสถาบันการเงิน เช่น ในบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ฯ ธนาคารเอเชีย หรือธนาคารยูโอบีรัตนสิน ฯ เป็นคนจนจริงหรือไม่ ในส่วนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะได้ติดตามข้อมูลต่อไป
ประการที่ 4. เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายการหนี้คนจนที่ไปขึ้นทะเบียนนั้นมีหนี้อยู่ในกองทุนหมู่บ้านถึง 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นข้อพิสูจน์ว่าคนจนที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถชำระคืนได้
ประการที่ 5. ขณะนี้รัฐบาลกำลังถึงทางตัน ไม่มีทางออกที่จะแก้ปัญหาความล้มเหลว ในโครงการต่างๆของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้ ธนาคารประชาชน ซึ่งรัฐบาลไม่รู้ว่าจะนำเงินจากไหนมาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงใช้วิธีให้คนจนลงทะเบียนคละเคล้าปะปนหนี้ที่เกิดจากโครงการต่างๆเสียใหม่ ซึ่งแท้จริงแล้วชาวบ้านที่เป็นหนี้จากโครงการต่างๆของรัฐบาลก็มาลงทะเบียนเป็นหนี้ตามสถาบันการเงินของรัฐบาลทั้งสิ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28/03/47--จบ--
-สส-
ประการที่ 1. รัฐบาลกำลังใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ โกหกหลอกลวงประชาชน เพราะแท้จริงแล้วการประกาศแก้ปัญหาคนจน ใช้วิธีการทางบัญชี โดยการยืดเวลาและปรับโครงสร้างหนี้ให้เบาลงซึ่งเป็นวิธีการปกติที่เคยปกิบัติมาอยู่แล้ว ทำให้คนจนที่ลงทะเบียนก็ยังมีหนี้สินติดตัวต่อไป นอกจากนี้ชาวบ้านก็ยังเข้าใจว่า นายกฯจะแจกเงินทุกคนที่ไปลงทะเบียนเพื่อนำไปใช้หนี้ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ส่วนนี้รัฐบาลจะต้องชี้แจงให้กับประชาชนได้เข้าใจ
ประการที่ 2. พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงว่า การแก้ปัญหาในวิธีการดังกล่าวจะเข้าในลักษณะของ ‘อัฐยาย ซื้อขนมยาย’ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของแต่ละธนาคารที่เข้าไปรับภาระซื้อหนี้ตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงจะกระทบต่อฐานะทางการเงินของประเทศในที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีต่อไปนี้คือ กรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส ) มีหนี้ที่คนจนลงทะเบียนไว้ถึง 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่รัฐบาลให้ ธ.ก.ส รับภาระในการยืดหนี้ ลดหนี้ หรือตัดหนี้สูญ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดว่าแต่ละวิธีจะเข้าไปแก้ปัญหาหนี้จำนวนเท่าไร หรือกรณีที่ธนาคารออมสิน ต้องรับภาระตามนโยบายรัฐบาลซึ่งมีมูลหนี้ที่คนจนลงทะเบียนไว้ 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระดูแลเงินให้กู้ปกติถึง 2.08 แสนล้านบาทและเงินรับฝากทั่วไปอีก 5.2 แสนล้านบาท
ประการที่ 3. หนี้คนจนที่ไปขึ้นทะเบียนนั้น มีการแยกแยะชนิดประเภทหรือไม่ เพราะหนี้ที่ปรากฏอยู่ในสถาบันการเงิน เช่น ในบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ฯ ธนาคารเอเชีย หรือธนาคารยูโอบีรัตนสิน ฯ เป็นคนจนจริงหรือไม่ ในส่วนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะได้ติดตามข้อมูลต่อไป
ประการที่ 4. เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายการหนี้คนจนที่ไปขึ้นทะเบียนนั้นมีหนี้อยู่ในกองทุนหมู่บ้านถึง 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นข้อพิสูจน์ว่าคนจนที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านไม่สามารถชำระคืนได้
ประการที่ 5. ขณะนี้รัฐบาลกำลังถึงทางตัน ไม่มีทางออกที่จะแก้ปัญหาความล้มเหลว ในโครงการต่างๆของรัฐบาล เช่น กองทุนหมู่บ้าน พักชำระหนี้ ธนาคารประชาชน ซึ่งรัฐบาลไม่รู้ว่าจะนำเงินจากไหนมาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงใช้วิธีให้คนจนลงทะเบียนคละเคล้าปะปนหนี้ที่เกิดจากโครงการต่างๆเสียใหม่ ซึ่งแท้จริงแล้วชาวบ้านที่เป็นหนี้จากโครงการต่างๆของรัฐบาลก็มาลงทะเบียนเป็นหนี้ตามสถาบันการเงินของรัฐบาลทั้งสิ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28/03/47--จบ--
-สส-