ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่ามาตรการเพิ่มเติมการควบคุมการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตของ ธปท.จะสามารถประกาศ
ใช้ได้ในวันที่ 1 เม.ย.47 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มาตรการบัตรเครดิตที่
ธปท.เตรียมนำออกมาควบคุมการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิต จะสามารถประกาศใช้ได้ในวันที่ 1 เม.ย.47 โดย
ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ มาตรการที่จะออกมาดูแลเพิ่มเติมเรื่องธุรกิจบัตร
เครดิตอาจจะมีผลกระทบในบางกลุ่มบ้าง แต่โดยรวมแล้วเกิดผลดีกับทั้งระบบ โดยมาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว
ประกอบด้วย ให้ผู้ให้บริการบัตรเครดิตระมัดระวังไม่ให้เครดิตผู้ถือบัตรรวมกันทุกบัตรเกินกว่า 5 เท่าของเงิน
เดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อปี เพิ่มวงเงินในการผ่อนชำระรายเดือนจากเดิมจ่ายขั้นต่ำร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10
ของยอดหนี้ รวมถึงกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือนให้ยกเลิกบัตรทันที และห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการ
บัตรเครดิตเข้าหาลูกค้าเป็นรายตัวหรือเร่งรัดให้มีการทำบัตรเครดิต โดยให้การทำบัตรเครดิตเกิดจากความ
พร้อมและความตั้งใจของลูกค้าจริงๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมดูแลการก่อหนี้ของประชาชน (โลกวันนี้ 27-28)
2. สมาคมธนาคารไทยตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์ฝาก-ถอนเงินเพื่อทำหน้าที่แทน
คลังจังหวัด เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลจะมีการยกเลิกคลังจังหวัดในการทำหน้า
ฝาก-ถอนเงินสดของสาขา ธพ.ทั้งระบบ เพื่อเปลี่ยนบทบาทของคลังจังหวัดให้ทำหน้าที่ดูแลภาวะเศรษฐกิจของ
จังหวัดนั้นๆ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.47 เป็นต้นไปนั้น สมาคมฯ ได้หารือกับธนาคารสมาชิกทุกแห่ง และจัด
ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดในการศึกษาถึงการจัดตั้งศูนย์ฝาก-ถอนเงิน ที่จะทำหน้าที่แทนคลังจังหวัดในระยะต่อ
ไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ธพ.แต่ละแห่งได้จัดตั้งศูนย์ขึ้นเอง เพื่อใช้ในการสนับสนุนสาขาของแต่ละแห่ง หรือหาก
ธพ.แห่งใดยังมีศูนย์ฝาก-ถอนเงินไม่เพียงพอก็สามารถใช้บริการของศูนย์ ธพ.อื่นๆ ได้ ซึ่งเชื่อว่าสามารถ
ดำเนินการได้ตามปกติหลังจากที่ยกเลิกคลังจังหวัด (ผู้จัดการรายวัน)
3. ทีซีบีพร้อมควบรวมกิจการบริษัทเครดิตบูโรตามนโยบายของ ก.คลัง กรรมการผู้จัดการ
บริษัทข้อมูลเครดิตไทย (ทีซีบี) เปิดเผยว่า ทีซีบีพร้อมให้ความร่วมมือในการควบรวมกิจการกับบริษัทข้อมูล
เครดิตกลาง (ซีซีไอเอส) ตามนโยบายของ ก.คลัง หากการควบรวมเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้ใช้บริการ
และทำให้ระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่ง โดยขอให้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นการรวมกันโดยเสมอภาค (Merger
of two equals) ไม่มีการเทกโอเวอร์ โดยควรจะเป็นสูตร A+B เท่ากับ C ในส่วนของชื่อบริษัทใหม่ อาจ
จะเป็น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Nation credit bureau : NCB) (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรการลูกค้าชั้นดีเยี่ยมลงร้อยละ 0.5 นายวรา
เทพ วรากร รมช.คลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งล่าสุด เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่
เกษตรกรลูกค้าชั้นดีเยี่ยมหรือชั้น AAA ที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดลงร้อยละ 0.5 จากเดิมมีอัตราร้อยละ
7 ต่อปี เหลือร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.47 เป็นต้นไป เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
ในครัวเรือนของเกษตรกรที่มีวินัยทางการเงิน ซึ่งมีจำนวน 1,618,700 ครัวเรือน หรือร้อยละ 54 ของลูกค้า
ธ.ก.ส. นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ยังให้ ธ.ก.ส.ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
กู้ลงอีกร้อยละ 0.5 ในอีก 6 เดือนข้างหน้าด้วย รวมถึงเห็นชอบในหลักการให้ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการ
ธนาคารสหกรณ์ใน ธ.ก.ส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการบริหารจัดการเงินในระบบสหกรณ์ และ
เพื่อเป็นศูนย์กลางสนับสนุนข้อมูลทางธุรกิจแก่ระบบสหกรณ์ (โลกวันนี้)
5. คาดว่าการเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียจะสามารถดำเนินการครั้งสุดท้ายในเดือน
พ.ค.47 นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกประจำ ก.
คลัง เปิดเผยว่า การเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย มีความคืบหน้าไปมาก
แล้ว โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากันมาแล้วประมาณ 8 ครั้ง และคาดว่าจะทำการเจรจาครั้งสุดท้ายประมาณ
เดือน พ.ค.47 นี้ สำหรับประเด็นหลักของการเจรจารอบล่าสุดคือ การทำสัญญาในการคุ้มครองและปกป้อง
การลงทุนของนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศ และการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าร่วมกัน โดยในส่วนของสินค้าจะเลือก
เปิดเฉพาะรายการที่แต่ละประเทศมีความพร้อม สำหรับการเจรจาเพื่อการเปิดเสรีทางการเงินนั้น ตามข้อ
ตกลงจะมีการเจรจาในปี 2551 หลังจากการเจรจาในส่วนของสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 ไว้ที่ระดับ 1.5-2.0% รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.47 กระทรวงการเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า เยอรมนีจะคงอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ระดับ 1.5 — 2.0% แม้ว่าผลการสำรวจบรรยากาศทางธุรกิจของ Ifo (Ifo business
climate index) จะลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนมี.ค.นี้ก็ตาม โดยดัชนีลดลงอยู่ที่ระดับ 95.4 จาก
96.4 ในเดือน ก.พ.47 สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 95.7 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 26 มี.ค.47
ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่แรก
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ ECB อาจต้องปรับอัตราดอกเบี้ย
ลงอีกจากปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 2.0 หากมีความจำเป็น เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ โดยในช่วง 2-3 สัปดาห์
ที่ผ่านมานี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวไม่มีทิศทางที่แน่นอน ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเด่นชัด
จึงยังไม่มี (รอยเตอร์)
3. จีดีพีไตรมาส 4 ปี 46 ของอังกฤษเพิ่มขึ้น 0.9% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 26 มี.ค.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 4 ปี 46 ที่ยังไม่ได้ปรับตัวเลขขยายตัวเพิ่มขึ้น
0.9% นับเป็นตัวเลขดีที่สุดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 43 โดยตัวเลขยอดรวมของภาคการบริการที่ยังไม่ได้ปรับ
เพิ่มขึ้น 1.0% ส่วนการใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ปรับตัวเลขแล้วลดลงอยู่ที่ 0.9% จาก 1.1% และได้มีการ
ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 46 อยู่ที่ระดับ 2.2% จากเดิม 2.3% ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้
ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยหรือค่าเงินมากนัก แต่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้อยู่ที่ระดับ 5.228 พันล้านปอนด์ จากระดับ 6.28 พันล้านปอนด์ ในไตรมาส 3 ของปี 46 อัน
เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5.9 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
ทำให้ยอดรวมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 46 อยู่ที่ระดับ 18.760 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 17.813 พัน
ล้านปอนด์ ในปี 45 แต่ต่ำกว่าของปี 44 ที่ขาดดุลสูงถึง 23.5 พันล้านปอนด์ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในปี 46 รายงานจากกัว
ลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.47 ธ.กลางมาเลเซียรายงานยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 46
มีจำนวน 21.8 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปี 45 ซึ่ง
มีจำนวน 20.5 พันล้านริงกิต อันเป็นผลจากการลงทุนโดยตรงในภาคบริการและภาคการผลิตเพิ่มขึ้น โดย
ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นการนำกำไรกลับมาลงทุนใหม่ในโครงการเดิม
โดยเฉพาะในภาคการผลิต และมีการลงทุนในภาคการผลิตโครงการใหม่จำนวน 11.2 พันล้านริงกิตในปี 46
เทียบกับ 6.9 พันล้านริงกิตในปี 45 มาเลเซียได้ผ่อนคลายกฎการถือครองหุ้นและการเข้ามาทำงานของชาว
ต่างประเทศหลังจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิตลดลงถึงร้อยละ 41 ในปี 45 เมื่อผู้
ผลิตชาวต่างประเทศหันไปลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าอย่างจีน โดยการลงทุนจากต่างประเทศมีสัดส่วน
ประมาณ 1 ใน 3 ของการลงทุนโดยภาคเอกชนทั้งหมดในมาเลเซีย (รอยเตอร์)
5. ภาวะเงินเฟ้อในสิงคโปร์ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 26 มี.ค.47 รัฐบาลสิงคโปร์รายงานว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับกลุ่มผู้มีราย
ได้น้อยและรายได้ปานกลางซึ่งมีจำนวนครัวเรือนประมาณร้อยละ 20 และ 60 ตามลำดับของครัวเรือนทั้งหมด
ในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 0.7 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของราคาบุหรี่ การใช้กระแสไฟฟ้า
และอาหาร โดยสิงคโปร์ได้ประกาศขึ้นอัตราภาษีผู้บริโภคอีกร้อยละ 25 จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 ซึ่งมีผล
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และจะขึ้นราคาการใช้กระแสไฟฟ้าอีกเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. นี้
จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 46 สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้มากซึ่งมี
จำนวนครัวเรือนร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดในสิงคโปร์กลับลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของราคา
รถยนต์ บ้าน และการท่องเที่ยว โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อปี
สูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 ในปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/3/47 26/3/47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.561 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3810/39.6667 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 665.25/11.88 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.67 30.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คาดว่ามาตรการเพิ่มเติมการควบคุมการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตของ ธปท.จะสามารถประกาศ
ใช้ได้ในวันที่ 1 เม.ย.47 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มาตรการบัตรเครดิตที่
ธปท.เตรียมนำออกมาควบคุมการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิต จะสามารถประกาศใช้ได้ในวันที่ 1 เม.ย.47 โดย
ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ มาตรการที่จะออกมาดูแลเพิ่มเติมเรื่องธุรกิจบัตร
เครดิตอาจจะมีผลกระทบในบางกลุ่มบ้าง แต่โดยรวมแล้วเกิดผลดีกับทั้งระบบ โดยมาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว
ประกอบด้วย ให้ผู้ให้บริการบัตรเครดิตระมัดระวังไม่ให้เครดิตผู้ถือบัตรรวมกันทุกบัตรเกินกว่า 5 เท่าของเงิน
เดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อปี เพิ่มวงเงินในการผ่อนชำระรายเดือนจากเดิมจ่ายขั้นต่ำร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10
ของยอดหนี้ รวมถึงกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือนให้ยกเลิกบัตรทันที และห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการ
บัตรเครดิตเข้าหาลูกค้าเป็นรายตัวหรือเร่งรัดให้มีการทำบัตรเครดิต โดยให้การทำบัตรเครดิตเกิดจากความ
พร้อมและความตั้งใจของลูกค้าจริงๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมดูแลการก่อหนี้ของประชาชน (โลกวันนี้ 27-28)
2. สมาคมธนาคารไทยตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์ฝาก-ถอนเงินเพื่อทำหน้าที่แทน
คลังจังหวัด เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลจะมีการยกเลิกคลังจังหวัดในการทำหน้า
ฝาก-ถอนเงินสดของสาขา ธพ.ทั้งระบบ เพื่อเปลี่ยนบทบาทของคลังจังหวัดให้ทำหน้าที่ดูแลภาวะเศรษฐกิจของ
จังหวัดนั้นๆ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.47 เป็นต้นไปนั้น สมาคมฯ ได้หารือกับธนาคารสมาชิกทุกแห่ง และจัด
ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดในการศึกษาถึงการจัดตั้งศูนย์ฝาก-ถอนเงิน ที่จะทำหน้าที่แทนคลังจังหวัดในระยะต่อ
ไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ธพ.แต่ละแห่งได้จัดตั้งศูนย์ขึ้นเอง เพื่อใช้ในการสนับสนุนสาขาของแต่ละแห่ง หรือหาก
ธพ.แห่งใดยังมีศูนย์ฝาก-ถอนเงินไม่เพียงพอก็สามารถใช้บริการของศูนย์ ธพ.อื่นๆ ได้ ซึ่งเชื่อว่าสามารถ
ดำเนินการได้ตามปกติหลังจากที่ยกเลิกคลังจังหวัด (ผู้จัดการรายวัน)
3. ทีซีบีพร้อมควบรวมกิจการบริษัทเครดิตบูโรตามนโยบายของ ก.คลัง กรรมการผู้จัดการ
บริษัทข้อมูลเครดิตไทย (ทีซีบี) เปิดเผยว่า ทีซีบีพร้อมให้ความร่วมมือในการควบรวมกิจการกับบริษัทข้อมูล
เครดิตกลาง (ซีซีไอเอส) ตามนโยบายของ ก.คลัง หากการควบรวมเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้ใช้บริการ
และทำให้ระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่ง โดยขอให้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นการรวมกันโดยเสมอภาค (Merger
of two equals) ไม่มีการเทกโอเวอร์ โดยควรจะเป็นสูตร A+B เท่ากับ C ในส่วนของชื่อบริษัทใหม่ อาจ
จะเป็น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Nation credit bureau : NCB) (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรการลูกค้าชั้นดีเยี่ยมลงร้อยละ 0.5 นายวรา
เทพ วรากร รมช.คลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ครั้งล่าสุด เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่
เกษตรกรลูกค้าชั้นดีเยี่ยมหรือชั้น AAA ที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดลงร้อยละ 0.5 จากเดิมมีอัตราร้อยละ
7 ต่อปี เหลือร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.47 เป็นต้นไป เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
ในครัวเรือนของเกษตรกรที่มีวินัยทางการเงิน ซึ่งมีจำนวน 1,618,700 ครัวเรือน หรือร้อยละ 54 ของลูกค้า
ธ.ก.ส. นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ยังให้ ธ.ก.ส.ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
กู้ลงอีกร้อยละ 0.5 ในอีก 6 เดือนข้างหน้าด้วย รวมถึงเห็นชอบในหลักการให้ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการ
ธนาคารสหกรณ์ใน ธ.ก.ส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการบริหารจัดการเงินในระบบสหกรณ์ และ
เพื่อเป็นศูนย์กลางสนับสนุนข้อมูลทางธุรกิจแก่ระบบสหกรณ์ (โลกวันนี้)
5. คาดว่าการเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียจะสามารถดำเนินการครั้งสุดท้ายในเดือน
พ.ค.47 นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกประจำ ก.
คลัง เปิดเผยว่า การเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย มีความคืบหน้าไปมาก
แล้ว โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากันมาแล้วประมาณ 8 ครั้ง และคาดว่าจะทำการเจรจาครั้งสุดท้ายประมาณ
เดือน พ.ค.47 นี้ สำหรับประเด็นหลักของการเจรจารอบล่าสุดคือ การทำสัญญาในการคุ้มครองและปกป้อง
การลงทุนของนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศ และการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าร่วมกัน โดยในส่วนของสินค้าจะเลือก
เปิดเฉพาะรายการที่แต่ละประเทศมีความพร้อม สำหรับการเจรจาเพื่อการเปิดเสรีทางการเงินนั้น ตามข้อ
ตกลงจะมีการเจรจาในปี 2551 หลังจากการเจรจาในส่วนของสินค้าเสร็จสิ้นแล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เยอรมนีคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 ไว้ที่ระดับ 1.5-2.0% รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.47 กระทรวงการเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยว่า เยอรมนีจะคงอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ระดับ 1.5 — 2.0% แม้ว่าผลการสำรวจบรรยากาศทางธุรกิจของ Ifo (Ifo business
climate index) จะลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนมี.ค.นี้ก็ตาม โดยดัชนีลดลงอยู่ที่ระดับ 95.4 จาก
96.4 ในเดือน ก.พ.47 สอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 95.7 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 26 มี.ค.47
ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่แรก
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ ECB อาจต้องปรับอัตราดอกเบี้ย
ลงอีกจากปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 2.0 หากมีความจำเป็น เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ โดยในช่วง 2-3 สัปดาห์
ที่ผ่านมานี้ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวไม่มีทิศทางที่แน่นอน ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเด่นชัด
จึงยังไม่มี (รอยเตอร์)
3. จีดีพีไตรมาส 4 ปี 46 ของอังกฤษเพิ่มขึ้น 0.9% รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 26 มี.ค.47
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า จีดีพีในไตรมาส 4 ปี 46 ที่ยังไม่ได้ปรับตัวเลขขยายตัวเพิ่มขึ้น
0.9% นับเป็นตัวเลขดีที่สุดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 43 โดยตัวเลขยอดรวมของภาคการบริการที่ยังไม่ได้ปรับ
เพิ่มขึ้น 1.0% ส่วนการใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ปรับตัวเลขแล้วลดลงอยู่ที่ 0.9% จาก 1.1% และได้มีการ
ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 46 อยู่ที่ระดับ 2.2% จากเดิม 2.3% ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้
ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยหรือค่าเงินมากนัก แต่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 ลดลงมากกว่าที่
คาดการณ์ไว้อยู่ที่ระดับ 5.228 พันล้านปอนด์ จากระดับ 6.28 พันล้านปอนด์ ในไตรมาส 3 ของปี 46 อัน
เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5.9 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ
ทำให้ยอดรวมการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 46 อยู่ที่ระดับ 18.760 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 17.813 พัน
ล้านปอนด์ ในปี 45 แต่ต่ำกว่าของปี 44 ที่ขาดดุลสูงถึง 23.5 พันล้านปอนด์ (รอยเตอร์)
4. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในปี 46 รายงานจากกัว
ลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.47 ธ.กลางมาเลเซียรายงานยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 46
มีจำนวน 21.8 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปี 45 ซึ่ง
มีจำนวน 20.5 พันล้านริงกิต อันเป็นผลจากการลงทุนโดยตรงในภาคบริการและภาคการผลิตเพิ่มขึ้น โดย
ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นการนำกำไรกลับมาลงทุนใหม่ในโครงการเดิม
โดยเฉพาะในภาคการผลิต และมีการลงทุนในภาคการผลิตโครงการใหม่จำนวน 11.2 พันล้านริงกิตในปี 46
เทียบกับ 6.9 พันล้านริงกิตในปี 45 มาเลเซียได้ผ่อนคลายกฎการถือครองหุ้นและการเข้ามาทำงานของชาว
ต่างประเทศหลังจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคการผลิตลดลงถึงร้อยละ 41 ในปี 45 เมื่อผู้
ผลิตชาวต่างประเทศหันไปลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าอย่างจีน โดยการลงทุนจากต่างประเทศมีสัดส่วน
ประมาณ 1 ใน 3 ของการลงทุนโดยภาคเอกชนทั้งหมดในมาเลเซีย (รอยเตอร์)
5. ภาวะเงินเฟ้อในสิงคโปร์ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
วันที่ 26 มี.ค.47 รัฐบาลสิงคโปร์รายงานว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับกลุ่มผู้มีราย
ได้น้อยและรายได้ปานกลางซึ่งมีจำนวนครัวเรือนประมาณร้อยละ 20 และ 60 ตามลำดับของครัวเรือนทั้งหมด
ในสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 0.7 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของราคาบุหรี่ การใช้กระแสไฟฟ้า
และอาหาร โดยสิงคโปร์ได้ประกาศขึ้นอัตราภาษีผู้บริโภคอีกร้อยละ 25 จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 ซึ่งมีผล
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และจะขึ้นราคาการใช้กระแสไฟฟ้าอีกเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. นี้
จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 46 สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้มากซึ่งมี
จำนวนครัวเรือนร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดในสิงคโปร์กลับลดลงร้อยละ 0.3 จากการลดลงของราคา
รถยนต์ บ้าน และการท่องเที่ยว โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อปี
สูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 ในปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในปีที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/3/47 26/3/47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.561 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3810/39.6667 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 665.25/11.88 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.67 30.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-