แท็ก
ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมอาเซียน
ประเทศญี่ปุ่น
เกาหลีใต้
ประเทศจีน
กรุงเทพ--10 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน+3) ที่นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการประชุมอาเซียน+3 ครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกภูมิภาคอาเซียน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS) ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือถึงความแตกต่างของการประชุมอาเซียน+3 และ EAS ซึ่งจะมีขึ้นที่ประเทศมาเลเซียในปลายปีนี้ โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า EAS จะไม่ซ้ำซ้อนกับอาเซียน+3 และอาเซียนเป็นกลุ่มผู้ขับเคลื่อนของ EAS ซึ่งจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย แต่สนใจและมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาค รวมทั้งสามารถส่งเสริมความแข็งแกร่งก้าวหน้าให้ภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วยได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทสอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ได้กำหนดไว้ คือ เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมกับอาเซียน และเป็นประเทศที่พร้อมจะเข้าร่วมสนธิสัญญาไมตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียน (TAC) ดังนั้น อินเดียที่แสดงความสนใจจะเข้าร่วมการประชุมจึงนับว่ามีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ก็จะเข้าร่วมการประชุมด้วย เนื่องจากนิวซีแลนด์ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่าพร้อมจะเข้าร่วม TAC ในขณะเดียวกัน ออสเตรเลียก็มีท่าทีตอบสนองทางบวกเช่นกัน
2. การส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซ็ม ครั้งที่ 7 ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมของฝ่ายยุโรป เนื่องจากผู้แทนของประเทศเอเชียเป็นระดับรัฐมนตรีแทบทั้งหมด ในขณะที่ประเทศยุโรปหลายประเทศได้ส่งผู้แทนระดับรองลงมาเข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีความกังวลว่าอาจมีผลให้อาเซ็มมีบทบาทลดลงในอนาคต ดังนั้น ประเทศ ผู้ประสานงานจะประสานงานและส่งสัญญาณดังกล่าวให้ฝ่ายยุโรปทราบต่อไป
3. การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องดังกล่าว และจะได้มีการหารือกันในรายละเอียดต่อไป ในโอกาสนี้ ประเทศจีนได้ประกาศสนับสนุน ดร.ศุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีของไทย ในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติและที่ประชุมก็เห็นด้วยที่ว่าเป็นวาระของเอเชียที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อนายโคฟี อันนัน ครบวาระ
ในวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
- การหารือกับนางมาร์เกริต้า โบนิแวร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ และเห็นพ้องกันว่ายังมีประเด็น
ที่จะต้องหารือกันอีกมาก ซึ่งจะไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลาอันสั้นหรือภายในเดือนกันยายน ศกนี้ ตามที่เลขาธิการสหประชาชาติได้กำหนดไว้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะกำหนดกรอบเวลาในเรื่องนี้ ในโอกาสนี้ ฝ่ายอิตาลีได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทหลักๆ ของไทยในการสนับสนุนกระบวนการปรองดองภายในพม่า และการสร้างความสมานฉันท์ภายในอาเซียน เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคในความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนในอนาคต และคาดว่าจะมีการหารือเรื่องนี้ในการการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จะมีขึ้นที่เวียงจันทน์ในเดือนกรกฎาคม 2548
- การหารือกับนางเบนิต้า เฟอร์เรโร วาลด์เนอร์ กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ กรรมาธิการยุโรปฯ แสดงความยินดีที่ไทยและประชาคมยุโรปได้เริ่มการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมืออย่างครบวงจรระหว่างสองฝ่าย และความเป็นไปได้ในการจัดเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประชาคมยุโรปกับไทย และกับอาเซียนในอนาคตด้วย
ในโอกาสนี้ ดร.กันตธีร์ฯ ได้แสดงความกังวลเรื่องปัญหาการส่งออกกุ้งของไทย สืบเนื่องจากการที่ประชาคมยุโรปได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ให้แก่ไทยจากการประกาศใช้ระบบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแบบใหม่ ซึ่งกรรมาธิการประชาคมยุโรปฯ ได้กล่าวว่าการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้ากุ้งไทยน่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม
เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากติดขัดเรื่องการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้าส่งออกด้านสิ่งทอของอินเดียและจีน ซึ่งจัดรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติด้วย
- การหารือกับนายแฟเรนท์ โซโมยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงลู่ทางที่จะส่งเสริมและขยายการค้าระหว่างกันให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือในการลงทุนด้านยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ รวมทั้งด้านสาธารณสุขและสปา ซึ่งฮังการีมีศักยภาพที่จะช่วยให้สินค้าและบริการของไทยในเรื่องต่างๆ นี้ผ่านเข้าสู่ตลาดยุโรปได้มากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการจัดประชุมคณะกรรมการร่วม (JC) และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองที่จะให้แก่ประเทศที่สามด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน+3) ที่นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการประชุมอาเซียน+3 ครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกภูมิภาคอาเซียน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit — EAS) ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือถึงความแตกต่างของการประชุมอาเซียน+3 และ EAS ซึ่งจะมีขึ้นที่ประเทศมาเลเซียในปลายปีนี้ โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า EAS จะไม่ซ้ำซ้อนกับอาเซียน+3 และอาเซียนเป็นกลุ่มผู้ขับเคลื่อนของ EAS ซึ่งจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย แต่สนใจและมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาค รวมทั้งสามารถส่งเสริมความแข็งแกร่งก้าวหน้าให้ภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วยได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทสอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ได้กำหนดไว้ คือ เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมกับอาเซียน และเป็นประเทศที่พร้อมจะเข้าร่วมสนธิสัญญาไมตรีว่าด้วยความร่วมมือของอาเซียน (TAC) ดังนั้น อินเดียที่แสดงความสนใจจะเข้าร่วมการประชุมจึงนับว่ามีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่าออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ก็จะเข้าร่วมการประชุมด้วย เนื่องจากนิวซีแลนด์ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่าพร้อมจะเข้าร่วม TAC ในขณะเดียวกัน ออสเตรเลียก็มีท่าทีตอบสนองทางบวกเช่นกัน
2. การส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซ็ม ครั้งที่ 7 ที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมของฝ่ายยุโรป เนื่องจากผู้แทนของประเทศเอเชียเป็นระดับรัฐมนตรีแทบทั้งหมด ในขณะที่ประเทศยุโรปหลายประเทศได้ส่งผู้แทนระดับรองลงมาเข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมมีความกังวลว่าอาจมีผลให้อาเซ็มมีบทบาทลดลงในอนาคต ดังนั้น ประเทศ ผู้ประสานงานจะประสานงานและส่งสัญญาณดังกล่าวให้ฝ่ายยุโรปทราบต่อไป
3. การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องดังกล่าว และจะได้มีการหารือกันในรายละเอียดต่อไป ในโอกาสนี้ ประเทศจีนได้ประกาศสนับสนุน ดร.ศุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีของไทย ในการสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติและที่ประชุมก็เห็นด้วยที่ว่าเป็นวาระของเอเชียที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อนายโคฟี อันนัน ครบวาระ
ในวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
- การหารือกับนางมาร์เกริต้า โบนิแวร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติ และเห็นพ้องกันว่ายังมีประเด็น
ที่จะต้องหารือกันอีกมาก ซึ่งจะไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลาอันสั้นหรือภายในเดือนกันยายน ศกนี้ ตามที่เลขาธิการสหประชาชาติได้กำหนดไว้ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะกำหนดกรอบเวลาในเรื่องนี้ ในโอกาสนี้ ฝ่ายอิตาลีได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทหลักๆ ของไทยในการสนับสนุนกระบวนการปรองดองภายในพม่า และการสร้างความสมานฉันท์ภายในอาเซียน เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคในความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนในอนาคต และคาดว่าจะมีการหารือเรื่องนี้ในการการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จะมีขึ้นที่เวียงจันทน์ในเดือนกรกฎาคม 2548
- การหารือกับนางเบนิต้า เฟอร์เรโร วาลด์เนอร์ กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ กรรมาธิการยุโรปฯ แสดงความยินดีที่ไทยและประชาคมยุโรปได้เริ่มการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมืออย่างครบวงจรระหว่างสองฝ่าย และความเป็นไปได้ในการจัดเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประชาคมยุโรปกับไทย และกับอาเซียนในอนาคตด้วย
ในโอกาสนี้ ดร.กันตธีร์ฯ ได้แสดงความกังวลเรื่องปัญหาการส่งออกกุ้งของไทย สืบเนื่องจากการที่ประชาคมยุโรปได้ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ให้แก่ไทยจากการประกาศใช้ระบบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแบบใหม่ ซึ่งกรรมาธิการประชาคมยุโรปฯ ได้กล่าวว่าการคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้ากุ้งไทยน่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม
เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากติดขัดเรื่องการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้าส่งออกด้านสิ่งทอของอินเดียและจีน ซึ่งจัดรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติด้วย
- การหารือกับนายแฟเรนท์ โซโมยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงลู่ทางที่จะส่งเสริมและขยายการค้าระหว่างกันให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือในการลงทุนด้านยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ รวมทั้งด้านสาธารณสุขและสปา ซึ่งฮังการีมีศักยภาพที่จะช่วยให้สินค้าและบริการของไทยในเรื่องต่างๆ นี้ผ่านเข้าสู่ตลาดยุโรปได้มากขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการจัดประชุมคณะกรรมการร่วม (JC) และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองที่จะให้แก่ประเทศที่สามด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-