แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-16 มี.ค. 2547) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 930.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 432.50 ตัน สัตว์น้ำจืด 497.57 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.10 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.91 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.55 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 21.45 ตัน
การตลาด
สมาคมแช่เยือกแข็งแก้ปัญหาถูกกดราคา “ ซูริมิ ”
นายทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำในฐานะประธานคณะกรรมการซูริมิและผลิตภัณฑ์ปลา สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทผู้ส่งออกซูริมิจำนวน 16 บริษัทกำลังได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบปลา(ปลาไล้กอ ปลาทรายแดง ปลาตาหวาน) เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมนี้เป็นช่วงมรสุม น้ำทะเลร้อนขึ้น ประกอบกับ น้ำมันดีเซลมีราคาแพง ค่าเงินที่แข็งตัวขึ้น รวมทั้งความเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้านในการอนุญาตทำสัมปทานประมงของพม่าและอินโดนีเซีย ทำให้เรือประมงต้องชะลอการออกจับปลา ปริมาณปลาที่จับได้น้อยลง ส่งผลให้ราคาปลาที่เป็นวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าหลักคือ ญี่ปุ่น ได้พยายามกดราคารับซื้อซูริมิ ขณะที่อินเดียคู่แข่งก็ขายตัดราคาซูริมิจากไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกภาระขาดทุนหนัก คาดว่าปี 2547 ยอดการส่งออกซูริมิประเภทปลาบดแช่เย็นแช่แข็ง ปลาแปรรูป เช่น ปูอัด ลูกชิ้น ปลาชุบแป้ง เต้าหูปลา ฯลฯ ของประเทศไทยจะมีปริมาณและมูลค่าลดลงประมาณ 10% จากปี 2546 ที่มียอดการส่งออกรวมเกือบ 200,000 ตัน มูลค่า 13,142 ล้านบาท
ดังนั้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องวัตถุดิบและการขายตัดราคากันเองของผู้ส่งออกไทย บริษัทส่งออกซูริมิ 16 ราย ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย จึงรวมตัวกันจัดตั้ง ”คณะอนุกรรมการซูริมิ” ขึ้น เพื่อจะได้สร้างอำนาจกลไกราคาการส่งออกซูริมิให้เกิดเสถียรภาพ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการซื้อขายระหว่างสมาชิก ซึ่งส่งผลให้ผู้นำเข้าจากญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ กลยุทธ์ต่อรอง เพื่อซื้อสินค้าในราคาต่ำได้ รวมถึงการแก้ปัญหาด้านวัตถุดิบ เพื่อช่วยเหลือชาวประมงไม่ต้องถูกกดราคาซื้อวัตถุดิบ โดยการสร้างมาตรฐานของราคาขายเนื้อปลาบด ราคาจะได้ไม่ต่ำลงไปเรื่อยๆ อย่างปัจจุบัน เมื่อผู้ส่งออกถูกกดราคา ก็จะมากดราคาซื้อวัตถุดิบจากชาวประมงอีกทอดหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.44 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.26 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 271.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 274.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 290.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.20 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22-26 มี.ค. 2547)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 22-28 มีนาคม 2547--จบ--
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-16 มี.ค. 2547) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 930.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 432.50 ตัน สัตว์น้ำจืด 497.57 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.10 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.91 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.55 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 30.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 21.45 ตัน
การตลาด
สมาคมแช่เยือกแข็งแก้ปัญหาถูกกดราคา “ ซูริมิ ”
นายทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำในฐานะประธานคณะกรรมการซูริมิและผลิตภัณฑ์ปลา สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทผู้ส่งออกซูริมิจำนวน 16 บริษัทกำลังได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบปลา(ปลาไล้กอ ปลาทรายแดง ปลาตาหวาน) เนื่องจากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมนี้เป็นช่วงมรสุม น้ำทะเลร้อนขึ้น ประกอบกับ น้ำมันดีเซลมีราคาแพง ค่าเงินที่แข็งตัวขึ้น รวมทั้งความเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้านในการอนุญาตทำสัมปทานประมงของพม่าและอินโดนีเซีย ทำให้เรือประมงต้องชะลอการออกจับปลา ปริมาณปลาที่จับได้น้อยลง ส่งผลให้ราคาปลาที่เป็นวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าหลักคือ ญี่ปุ่น ได้พยายามกดราคารับซื้อซูริมิ ขณะที่อินเดียคู่แข่งก็ขายตัดราคาซูริมิจากไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกภาระขาดทุนหนัก คาดว่าปี 2547 ยอดการส่งออกซูริมิประเภทปลาบดแช่เย็นแช่แข็ง ปลาแปรรูป เช่น ปูอัด ลูกชิ้น ปลาชุบแป้ง เต้าหูปลา ฯลฯ ของประเทศไทยจะมีปริมาณและมูลค่าลดลงประมาณ 10% จากปี 2546 ที่มียอดการส่งออกรวมเกือบ 200,000 ตัน มูลค่า 13,142 ล้านบาท
ดังนั้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องวัตถุดิบและการขายตัดราคากันเองของผู้ส่งออกไทย บริษัทส่งออกซูริมิ 16 ราย ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย จึงรวมตัวกันจัดตั้ง ”คณะอนุกรรมการซูริมิ” ขึ้น เพื่อจะได้สร้างอำนาจกลไกราคาการส่งออกซูริมิให้เกิดเสถียรภาพ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการซื้อขายระหว่างสมาชิก ซึ่งส่งผลให้ผู้นำเข้าจากญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ กลยุทธ์ต่อรอง เพื่อซื้อสินค้าในราคาต่ำได้ รวมถึงการแก้ปัญหาด้านวัตถุดิบ เพื่อช่วยเหลือชาวประมงไม่ต้องถูกกดราคาซื้อวัตถุดิบ โดยการสร้างมาตรฐานของราคาขายเนื้อปลาบด ราคาจะได้ไม่ต่ำลงไปเรื่อยๆ อย่างปัจจุบัน เมื่อผู้ส่งออกถูกกดราคา ก็จะมากดราคาซื้อวัตถุดิบจากชาวประมงอีกทอดหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.44 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.26 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 271.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 274.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 280.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 290.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.20 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.22 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22-26 มี.ค. 2547)เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.32 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 22-28 มีนาคม 2547--จบ--
-สก-